ศีล สมาธิ ปัญญา

การใช้ชีวิตแบบฆราวาสชั้นเลิศ ชั้นรองเลิศ และชั้นธรรมดา

การดำรงชีพชั้นเลิศ ของฆราวาส
คหบดี! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด (เกินไปจนทรมานตน) ด้วย, ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดย ธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย,
แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;

คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสี่ คือ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด, ควร สรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ, ควรสรรเสริญ โดยฐานะที่สาม ในข้อที่เขา แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ, ควรสรรเสริญโดยฐานะ ที่สี่ ในข้อที่เขา ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.

คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ ทั้งสี่เหล่านี้.


- ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๔/๙๑.




การดำรงชีพชั้นรองเลิศ ของฆราวาส


คหบดี! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด
แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด ,ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดย ธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ แต่เขากำหนัด ลุ่มหลง ไม่มีปกติเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น,

คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสาม ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง คือ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด, ควร สรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ, ควรสรรเสริญ โดยฐานะที่สาม ในข้อที่เขา แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ, แต่ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง ในข้อที่เขา กำหนัด มัวเมา ลุ่มหลง ไม่มีปกติเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.
คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสาม ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่งนี้
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๓/๙๑.



การดำรงชีพชั้นธรรมดา ของฆราวาส


คหบดี! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด , ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดย ธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แต่ไม่แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ

คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะสอง ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง คือ ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด, ควร สรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ, แต่ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่ง ในข้อที่เขา ไม่แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญ,
คหบดี! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะทั้งสอง ควรติเตียนโดยฐานะหนึ่งนี้
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๓/๙๑.




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 15 กรกฎาคม 2552 17:40:24 น.   
Counter : 480 Pageviews.  

ทรงสอน นักเรียน นักแต่ง นักสวด นักคิด ที่ยังไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรม

ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ
เวทัลละ แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่คนอื่น
โดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี
- ผู้อยู่ด้วยธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา
โดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วย
ธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุคิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา,
แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เรา
เรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยิ่งมิใช่ธรรมวิหารี - ผู้อยู่ด้วยธรรม.




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2552   
Last Update : 10 มิถุนายน 2552 17:36:31 น.   
Counter : 275 Pageviews.  

การสาธยายมนต์

ประโยชน์ของการสาธยายมนต์

1.เพื่อเกิดความเข้าใจในอรรถในธรรม จนเกิดปีติ ความสุข จิตตั้งมั่น เป็นเหตุให้บรรลุธรรม

2.เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระรัตนไตร

3.เพื่อการรอบรู้ในมรรควิธีที่ง่ายอันจะเป็นประโยชน์ในการภาวนา

4.เพื่อให้เกิดความทรงจำ และดำรงไว้ซึ่งคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า

5.เพื่อการสืบสายถ่ายทอด บอกสอน ซึ่งเนื้อธรรมแท้ที่เป็นพุทธวัจน์

6.เพื่อความคล่องปาก คล่องแคล่วในหลักพุทธวัจนะ ทรงธรรมทรงวินัย อันจะเป็นประโยชน์แก่การอรรถาธิบายแจกแจงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น



การสาธยายมนต์ที่เป็นไปเพื่อวิมุตติ

" ภิกษุทั้งหลาย.... ภิกษุ เมื่อได้กระทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิศดาร ตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา อยู่ ,
เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่เธอทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิศดารตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมาอย่างไร .
เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม , ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ;
เมื่อปราโมทแล้ว ปีติย่อมเกิด ;
เมื่อใจมีปิติ กายย่อมระงับ :
ผู้มีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข ;
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ภิกษุทั้งหลาย! นี่คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
ซึ่งในธรรมนั้นเมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ ,
จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงความ สิ้นรอบ
หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับซึ่งธรรมอันเกษมจาโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ "

ที่มา หนังสือสวดมนต์จากพระโอษฐ์ รวบรวมโดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ วัดนาป่าพง





 

Create Date : 10 ตุลาคม 2551   
Last Update : 10 ตุลาคม 2551 21:48:32 น.   
Counter : 331 Pageviews.  

ญาณ ๕

๗. สมาธิสูตร
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญ
สมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหา
ประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน
คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป ๑ สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑
สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรม
เอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอัน
เป็นสสังขาร ๑ ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณ
มิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้
อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2551   
Last Update : 13 พฤษภาคม 2551 22:17:39 น.   
Counter : 246 Pageviews.  

สัมปชัญญะ ๔

สัมปชัญญะ 4 (ความรู้ตัว, ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ชัด, ความรู้ทั่วชัด, ความตระหนัก - clear comprehension; clarity of consciousness; awareness)

1. สาตถกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่า อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้ว จะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรม จึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย - clear comprehension of purpose)

2. สัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน - clear comprehension of suitability)

3. โคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน คือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ไม่ปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย - clear comprehension of the domain)

4. อสัมโมหสัปชัญญะ (รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน คือเมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งที่กระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏ เป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น - clear comprehension of non-delusion, or of reality)




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2551   
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2551 21:12:56 น.   
Counter : 232 Pageviews.  


ทำเป็นทำ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ทำเป็นทำ's blog to your web]