อาหารกับปริมาณโคเรสเตอรอล



เคยสงสัยมาหลายที ว่า อาหารที่เรากินๆ อยู่เนี่ย มันมีโคเรสเตอรอลในปริมาณเท่าไหร่ ระหว่างว่างๆ เลยหาข้อมูลเรื่อง อาหารกับปริมาณโคเรสเตอรอล ที่มีอยู่ในอาหารแต่ละชนิด ก็เลยหยิบมาฝากกันนะครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อน เพราะเวลาที่เราไปตรวจสุขภาพ มักจะมีค่าคอเรสเตอรอล สี่อัน มันคือค่าของไขมันที่อยู่ในเลือดนะครับ ซึ่งถ้ามีไขมันชนิดที่ไม่ดีอยู่มากไป ก็อาจจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดตีบตัน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย... ไขมันในเลือด เวลาเราไปตรวจ มักจะมีสี่อย่างดังนี้ครับ
  • โคเรสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไม่ควรมากกว่า 200 (หน่วยคือ มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร)
  • ไขมันดี (HDL Cholesterol) ไม่ควรต่ำกว่า 40 ในผู้หญิงและ 50 ในผู้ชาย
  • ไขมันร้าย (LDL Cholesterol) ไม่ควรมากกว่า 130 (คนเป็นเบาหวาน, โรคหัวใจ, ความดันสูง ไม่ควรมากกว่า 100)
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerine) ไม่ควรมากกว่า 150


HDL กับ Triglycerine  มักมาคู่กันแบบตรงกันข้าม คือ HDL สูง Tri มักจะต่ำ แปลว่าดี ส่วนคนที่ HDL ต่ำ มักจะเจอ Tri สูง ซึ่ง คนอ้วน ชอบกินของหวาน มัน ไม่ออกกำลังกาย และดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ มักเจอ Tri สูง ซึ่งไม่ดีนะครับ เสี่ยงต่อหัวใจขาดเลือดและโรคอื่นๆอีกมาก... ส่วนไขมันในเลือด มันมาจากตับผลิต และมาจากอาหารที่เรากิน เรื่องตับเราอาจยังคุมไม่ได้ แต่เรื่องอาหาร เราเลือกได้ครับ


ซ้ายมือคือหลอดเลือดปกติ ส่วนขวามือคือหลอดเลือดที่มีไขมันพอกอุดอยู่ ลองนึกดูว่าถ้ามันไปอยู่ที่หลอดเลือดจุดสำคัญอย่างสมอง นี่ สยองเลยนะ

แม้ว่าเราอาจจะยังปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้ไม่หมด แต่เราสามารถเลือกลด เลือกทาน หรือแม้แต่งดอาหารบางอย่างได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไปนัก สำหรับอาหารต่างๆ มีระดับโคเรสเตอรอลดังนี้ครับ

  • ไข่แดง - ไข่ไก่ 1 ฟอง มี 188 มิลลิกรัม
  • ไข่แดง - ไข่เป็ด 1 ฟอง มี 333 มิลลิกรัม 
  • ไข่เป็ดทั้งฟอง 1 ฟอง มี 326 มิลลิกรัม (มีไข่ขาว)
  • ไข่ไก่ทั้งฟอง 1 ฟอง มี 214 มิลลิกรัม
  • ไข่นกกระทาทั้งฟอง 1 ฟอง มี 51 มิลลิกรัม
  • ตับไก่ 1 ช้อนโต๊ะ มี 57 มิลลิกรัม
  • ไข่ปลาซาบะ 1 ช้อนโต๊ะ มี 57 มิลลิกรัม
  • ปอดวัว 1 ช้อนโต๊ะ มี 60 มิลลิกรัม
  • ไข่ปูม้า 1 ช้อนโต๊ะ มี 41 มิลลิกรัม
  • หัวปลาหมึกกล้วย 1 ช้อนโต๊ะ มี 45 มิลลิกรัม
  • ตัวปลาหมึกกล้วย 1 ช้อนโต๊ะ มี 35 มิลลิกรัม
  • ตับเป็ด 1 ช้อนโต๊ะ มี 40 มิลลิกรัม
  • หอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ มี 39 มิลลิกรัม
  • ตับวัว 1 ช้อนโต๊ะ มี 37 มิลลิกรัม
  • ตับหมู 1 ช้อนโต๊ะ มี 62 มิลลิกรัม
  • หอยแครง 1 ช้อนโต๊ะ มี 33 มิลลิกรัม
  • กุ้งแชบ๊วย 1 ช้อนโต๊ะ มี 31 มิลลิกรัม
  • กุ้งกุลาดำ 1 ช้อนโต๊ะ มี 28 มิลลิกรัม
  • เนยสด 1 ช้อนชา มี 7 มิลลิกรัม
  • มันกุ้ง 1 ช้อนโต๊ะ มี 14 มิลลิกรัม
  • เนื้อปูม้ากลางๆ 1 ช้อนตัว มี 86 มิลลิกรัม
  • เนื้อเป็ด 1 ช้อนโต๊ะ มี 12 มิลลิกรัม
  • ปลากระพงขาว 1 ช้อนโต๊ะ มี 10 มิลลิกรัม
  • อกไก่ไม่ติดมัน 1 ช้อนโต๊ะ มี 9 มิลลิกรัม
  • เนื้อปลาซาบะ 1 ช้อนโต๊ะ มี 9 มิลลิกรัม
  • ปลากระพงแดง 1 ช้อนโต๊ะ มี 8 มิลลิกรัม
  • เนื้อปลาทูน่า 1 ช้อนโต๊ะ มี 8 มิลลิกรัม
  • เนื้อสันในหมู 1 ช้อนโต๊ะ มี 7 มิลลิกรัม
  • ไข่ขาว - ไข่ไก่ 1 ฟอง มี 0 มิลลิกรัม (อาหารในฝัน)

อาหารเหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่าง คร่าวๆเองนะครับ และ ไม่ใช่ว่า ทานเข้าไปแล้วไขมันในเลือดจะเพิ่มขึ้น ตามที่เห็นในข้อมูลด้านบน เพราะ มันต้องไปผ่านกระบวนการหลายอย่าง กว่าจะกลายเป็นไขมันในเลือดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างการของแต่ละคนด้วยนะครับ... คราวหลังกินข้าวมันไก่ สั่งเนื้อ อกไม่หนัง นะ



ตัวอย่างของอาหาร ทำร้ายร่างกาย ด้วยไขมัน ระดับ Super High Fat เลย



ในตอนต่อไป เราจะมาเจาะลึกเรื่องอาหารที่เหมาะกับคน โคเรสเตอรอลสูง กับคนที่มีระดับไตรกรีเซอไลน์สูงกันมั่ง จะได้ลดๆให้ถูกต้อง โดยยังสามารถเลือกกินของอร่อยได้อยู่.. ชีวิตใช้ให้คุ้มให้ดี มีสุขแบบไม่เครียดครับ :D





 

Create Date : 05 กันยายน 2555   
Last Update : 5 กันยายน 2555 15:14:10 น.   
Counter : 4259 Pageviews.  

กรดไหลย้อนเข้ากล่องเสียง



ไม่ได้เขียน Blog มานานเหลือเกิน เนื่องจากติดภาระยุ่งมาก แต่ช่วงนี้มีเหตุให้ต้องมาเฝ้าคุณหลานสุดที่รัก ที่โรงพยาบาล หลายๆวัน อยู่ที่โรงพยาบาลมีเวลาว่างเยอะเลยครับ :D เดินหาอะไรทำในโรงพยาบาล มาหลายวัน อ่านหนังสือจบไปหลายเล่ม และพบว่า ที่โรงพยาบาลมีข้อมูลสุขภาพดีๆเยอะแยะ อย่ากระนั้นเลย เอามาแชร์กันดีกว่า ไหนๆก็ว่างแล้ว.. เครดิตข้อมูลทั้งหมด มอบให้โรงพยาบาล สมิติเวช นะครับ เรื่องที่จะทยอยเขียนเรื่องแรก ขอเริ่มจากโรคภัยใกล้ตัวที่ไม่ค่อยคิดว่าเป็นกันคือ กรดไหลย้อนเข้ากล่องเสียง ครับ

อาการของโรคนี้ เบสิคมากๆ ไม่สังเกตุ ก็เป็นซ้ำซากเรื้อรังนะครับ เพราะแก้ไม่ถูกจุด กลุ่มอาการก็ประมาณนี้ คือ
  • มีกลิ่นปาก เหม็น ออกมาจากภายในลำคอ ขมในลำคอ
  • จุกแน่นลำคอ
  • เสียงแหบ ต้องกระแอมบ่อยๆ
  • ไอเรื้อรัง
  • กลืนลำบาก (ไม่เกี่ยวกับกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนะครับ)
  • เสมหะลงคอบ่อยๆ
  • แสบร้อนลิ้นปี่ แต่อาการนี้จะพบไม่บ่อย
โรคนี้จะแตกต่างจาก กรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหารนะครับ อันนั้นอาการเด่นจะแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่มาก กรด มันไหลมาคาอยู่บริเวณหลอดอาหาร อาการจะอยู่แถวนั้นเป็นหลัก

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคนี้
พบได้ทุกเพศ ทุกวัย แปลว่า ใครๆก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมสะสมของแต่ละคน และสภาพร่างกานยของแต่ละคน ซึ่ง สาเหตุที่เป็น ก็มาจากการที่หูรูดตรงหลอดอาหารกั้นกระเพาะมันเกิดคลายตัว ทั้งๆที่ควรจะปิดสนิทกั้นกรดเอาไว้ พอมันคลายตัวกรดก็ไหลมากัดทำลายเนื้อเยื่อ สาเหตุที่คลายตัวน่าจะมาจาก การทานอาหารพวกที่มีกรดเยอะ ของเปรี้ยวจัดนั่นแหละตัวดี น้ำอัดลมซ่าๆ แอลกอฮอลล์ ช็อคโกแลต นอกจากนี้ กาแฟ และความเครียด ก็เป็นปัจจัยที่ เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้
เฮ้อ... ความเครียด กะ แอลกอฮอลล์ นี่ แทบจะโดนทุกโรคเลยนะเนี่ย




โรคนี้ รุนแรงแค่ไหน
ถ้ายังไม่รักษา และเป็นซ้ำๆซากๆ จากพฤติกรรมเดิมๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการอักเสบระคายเคืองเรื้อรัง เสียงแหบ ไอเรื้อรัง มีกลิ่นปาก ซึ่งทำให้เสียบุคคลิกภาพ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ด้วย



หูรูดจ๋า เปิดอ้าขนาดนี้ จะกันกรดยังไงจ๊ะ



มะเร็ง... อันตรายที่ใครๆ ไม่ควรเสี่ยง...

แล้วจะแก้ไข หรือรักษาได้ยังไง
ต้องประกอบกันทั้ง การปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และ การรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดครับ
การเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องทำอะไรบ้าง
  • ลดแอลกอฮอลล์ ดื่มได้ แต่ให้มันน้อยลงหน่อย 
  • ลด ช็อคโกแลต อาหารมันๆ อาหารรสจัดจ้าน อาหารหรือผลไม้เปรี้ยวๆ น้ำอัดลม และกาแฟ
  • 2-3 ชั่วโมง ก่อนจะนอน ได้โปรด อย่า กิน อันนี้สำหรับบางคน ถึงกะนอนไม่หลับเลยนะ
  • อย่ากินเยอะในแต่ละมื้อ อย่าเอาอย่างพวกทีวีแชมป์เปี้ยนนะ คนพวกนั้นเค้าไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นพวก ระบบย่อยมีปัญหา กินเท่าไร ก็ออกมาหมด 
  • หลังอาหาร พักซะหน่อย อย่ารีบออกกำลังกายทันที
  • ถ้าอ้วน เกินขนาด ก็ลดน้ำหนักหน่อย
  • อย่าใส่เสื้อผ้ารัดติ้วเกินไป
  • นอนเตียงที่ปรับได้ โดยปรับเตียงให้เอียงขึ้นสักครึ่งฟุต อย่าเพิ่มความสูงของหมอนหรือแค่นอนหนุนหมอนสูงขึ้น เพราะมันจะไปเพิ่มความดันในช่องท้อง 
ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เพื่อไม่ให้เป็นโรค หรือไม่ให้กลับมาเป็นอีก ส่วนการรักษา ไปพบแพทย์ หมอเค้าจะประเมินให้ยา อาจจะใช้เวลารักษาสัก 2-3 เดือน หรือบางราย อาจจะต้องผ่าตัด แต่ผมว่าคุ้ม กับการมีชีวิตที่ดีขึ้น บุคคลิกดีขึ้น และที่สำคัญ ลดความเสี่ยงมะเร็งได้ด้วย
คุ้มค่าน่าทำครับ

วันนี้เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวค่อยๆ หาบทความมาเขียนแก้เบื่ออีกเรื่อยๆครับ 




 

Create Date : 03 กันยายน 2555   
Last Update : 3 กันยายน 2555 0:54:28 น.   
Counter : 1467 Pageviews.  


brothervoohoo
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add brothervoohoo's blog to your web]