Kids, Activities, Music, Craft, Food Fun....
Group Blog
 
All blogs
 

พัฒนาการเด็กวัย 1 ปี 1 เดือน - 1 ปี 3 เดือน

Smiley ระยะ 1 ปี 1 เดือน - 1 ปี 3 เดือน Smiley


คุณพ่อคุณแม่ปรารถนาให้ลูกน้อย มีพัฒนาการที่ดี
ทั้งร่างกายและสติปัญญา การฝึกกระตุ้นพัฒนาการต้อง
คำนึงถึงความพร้อมและความสามารถในเรื่องทักษะ
การรู้จักช่วยเหลือตัวเอง ความรู้ความเข้าใจภาษาและ
พัฒนาการทางร่างกายของเด็กแต่ละคนแต่ละวัย
ตลอดจนการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะวัย 2 ปี
ลูกน้อยจะมีระยะความตั้งใจ สนใจได้ต่ำกว่า 7 นาที


ในวัย 1-2 ปี ลูกเพิ่งผ่านวัย จากการเป็นทารกตัวน้อยๆ
เติบโตก้าวสู่ปีที่ 2 ของชีวิต จึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ต่อการพัฒนาความสามารถ และศักยภาพด้านต่างๆ
ให้เหมาะสมกับลูกน้อยเพื่อเป็นพื้นฐาน นำไปสู่
การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ



พัฒนาการของเด็กปกติ
- เดินจากเครื่องเรือนอันหนึ่ง ไปยังเครื่องเรือนอีกอันหนึ่ง
   ที่วางห่างกัน 1-2 ก้าวได้
- เดินเข็นรถไปได้ประมาณ 10-15 ซ.ม.
- เดินได้เองโดยยังยกแขนสูง
- โยนลูกบอลได้



- ต่อก้อนไม้สี่เหลี่ยมลูกบาศก์ได้ 2 ก้อน
- ค้นหาวัตถุที่ซ่อนไว้ใต้ผ้าผืนหนึ่งในสองผืนได้
- เลียนแบบคว่ำขวดเทเพื่อเอาลูกเกดที่อยู่ในขวด
- เลือกวัตถุตามสั่งได้ถูกต้อง 2 ชนิด เช่น ลูกบอล, รถยนต์
- สามารถเปล่งเสียงโต้ตอบโดยการออกเสียงสูงต่ำ
- ใช้คำพยางค์เดียว ได้ 2 คำ เช่น หม่ำ, ไป
- สามารถบอกชื่อวัตถุได้ถูกต้องเมื่อถามว่า "นี่อะไร"
- ดื่มน้ำจากถ้วยแก้วโดยไม่มีการช่วยเหลือ แต่ส่วนใหญ่ยังหกอยู่
  และวางคืนที่เดิมได้



- ใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากได้ แต่ยังมีอาหารหกมาก
- ถอดถุงเท้า หรือหมวกได้
- สามารถยื่นของเล่นให้แม่ เมื่อแม่พูดว่า "ให้แม่, ขอของหนูบ้าง"


การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- วางเก้าอี้หรือโต๊ะเป็นมุม ให้ห่างกัน 1-2 ก้าว และวางของเล่นที่ลูกสนใจ
  ไว้บนโต๊ะ บอกให้ลูกเดินจากเครื่อนเรือนอันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง
  โดยเอื้อมมือไปเกาะก่อนแล้ว ก้าวขาตามไป เป็นการเปลี่ยนที่เกาะพยุง
  จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- ส่งลูกบอลให้ลูกถือ คุณแม่ช่วยจับแขนลูกโยนลูกบอลไปยังคุณพ่อ 2-3 ครั้ง
  ถ้าลูกปล่อยลูกบอลไปได้ให้ชมทุกครั้ง ต่อจากนั้นส่งลูกบอลให้ลูก
  แล้วบอกให้ลูกโยนเอง



- แสดงวิธีการต่อก้อนไม้ให้ลูกดู แล้วรื้อแบบออก ยื่นก้อนไม้ให้ลูก 1 ก้อน
  แล้วบอกให้ลูกทำตาม
- ปูผ้า 2 ผืนไว้ใกล้ๆ กันบนโต๊ะ เอาของเล่นซ่อนไว้ใต้ผ้าผืนที่หนึ่ง
  แล้วให้เด็กหา ทำหลายๆ ครั้ง หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นซ่อนไว้ใต้ผ้าผืนที่สองบ้าง
- ใส่ลูกเกดในขวดแสดงวิธีเอียงขวดคว่ำปากขวดลง เพื่อให้ลูกเกดหล่นออกมา
  ลองให้ลูกทำตามเมื่อลูกเทลูกเกดออกมาได้ ให้ลูกเกดเป็นรางวัล ถ้าลูกทำไม่ได้
  ให้คุณแม่จับมือลูกเทขวดแล้วจึงปล่อยให้ลูกทำเอง
- เล่านิทานง่ายๆ ประกอบโดย ทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เช่น สุนัขเห่า "โฮ่งๆ" แมวร้อง "เหมียวๆ"



- ในเวลารับประทานอาหารก่อนป้อนข้าว พูดคำว่า "หม่ำๆ" เมื่อแต่งตัวเสร็จให้พูดคำว่า
  "ไป" ก่อนแล้วพาเดินออกจากห้อง
- ใช้สิ่งของที่ลูกคุ้นเคย เช่น ตุ๊กตา, นม หยิบของเล่นให้ลูกดูถมาว่า "นี่อะไร" รอให้ลูกตอบ
  ถ้าลูกไม่ตอบ ให้บอกลแะให้ลูกพูดตามแล้วถามซ้ำ จนตอบได้


อุปกรณ์ / ของเล่น
- รถของเล่น
- ลูกบาศก์



- รถเข็น
- ถ้วยที่วางคว่ำซ้อนกันได้
- ผ้า 2 ผืน
- ขวดเล็กๆ
- หนังสือรูปภาพสัตว์
- ลูกบอล
- ขวดนม



credit: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี





 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2551 19:12:56 น.
Counter : 24786 Pageviews.  

พัฒนาการเด็กวัย 10-12 เดือน

Smiley  ระยะ 10-12 เดือน  Smiley


ช่วงก่อนอายุ 1 ปี ลูกน้อยจะมีระยะความตั้งใจสนใจได้ 5 นาที
และตั้งใจในการทำกิจกรรมได้อย่างมีเป้าหมาย มีการทดลองมีเหตุผล
เริ่มเข้าใจคำสั่งง่ายๆ เลียนแบบการกระทำง่ายๆ จากคุณพ่อคุณแม่
และคนรอบข้าง เริ่มรู้จักการฝึก เพื่อการเรียนรู้มากขึ้น



Smiley  10-12 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- เริ่มตั้งไข่ ยืนเองได้ชั่วครู่ โดยกางแขนขาเพื่อทรงตัว
- เดินโดยช่วยจูงมือลูกทั้ง 2 ข้าง
- จากท่ายืนหย่อนตัวลงนั่ง โดยใช้มือเกาะเครื่องเรือนช่วยพยุงตัว
- คลานขึ้นบันได
- ชี้นิ้วไปที่ของที่ต้องการ
- ทำตามคำสั่งง่ายๆ ที่มีท่าทางประกอบทีละอย่าง
   เช่น ยื่นของให้เวลาผู้ใหญ่ขอ



- พูดคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้อย่างน้อย 1 คำ เช่น พ่อ, แม่
- ถือช้อนและพยายามเอาอาหารเข้าปาก
- ใช้นิ้วหยิบอาหารกินได้
- กัด เคี้ยวและกลืนได้




- ทำเสียงหรือท่าทางให้รู้ เมื่อปวด จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
- จ้องมองไปที่หนังสือ พร้อมกับผู้ใหญ่นาน 2-3 วินาที
- หันตามเสียงเรียกชื่อ
- รู้จักสมาชิกในบ้านเมื่อเอ่ยชื่อ
- ตอบสนองต่อคำสั่งที่หนักแน่น โดยหยุดการกระทำ
- เลียนแบบการเคลื่อนไหวของหน้า เช่น หยีตา จู๋ปาก แลบลิ้น ยิ้มหวาน
- ร่วมเล่นเกมส์ จ๊ะเอ๋
- เล่นการใช้สิ่งของตามหน้าที่ง่ายๆ ได้ เช่น เล่นหวีผม ป้อนอาหาร



** ให้นมแม่ หรือนมผสม 3 มื้อและก่อนนอน
*** อาหารหลัก 3 มื้อ สับหรือบดหยาบเพื่อให้หัดเคี้ยว


การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- คุณแม่ยืนอยู่ข้างหลังลูก ช่วยจับมือลูกไว้ ให้อยู่ระดับหน้าอก
   แล้วจูงลูกเดินไปข้างหน้า
- ให้ลูกเกาะเครื่องเรือน โดยวางของเล่นบนพื้นห้อง กระตุ้นให้ลูกหย่อนตัว
   ลงนั้งที่พื้นเพื่อจะหยิบของเล่น
- พูดคุย ชี้ชวนให้ลูกสังเกตสิ่งต่างๆและสิ่งที่กำลังทำ เช่น ชี้นิ้วไปที่ขวดนม
   เมื่อลูกหิว หรือชี้นิ้วขณะดูต้นไม้ หมา แมวและให้ลูกทำท่าชี้นิ้วเลียนแบบตาม
- ตักอาหารใส่ช้อนยื่นให้ลูก โดยคุณแม่ช่วยจับมือลูกให้ถือช้อนนั้น
   เอาอาหารเข้าปาก
- จับลูกนั่งบนตักให้คุณพ่อคุณแม่เปิดหนังสือ และพูดกับลูก เกี่ยวกับรูปภาพนั้น
   บอกลูก เช่น "มองดูซิ" จัดเวลาให้ลูกดูหนังสือ เวลาเดียวกันทุกวัน
   หรือในช่วงที่ลูกสนใจ




- ถามถึงคน หรือสัตว์เลี้ยงที่ลูกคุ้นเคย เช่น ถามว่า " แม่อยู่ไหน"
   จนกว่าลูกจะหันมองคนที่เอ่ยชื่อ
- เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก โดยเอาผ้าบางๆ คลุมศีรษะลูก แล้วพูดว่า " อยู่ไหน "
   ดึงผ้าคลุมออก พูดว่า " จ๊ะเอ๋ "


อุปกรณ์ / ของเล่น
- โต๊ะสูงระดับอก
- ตุ๊กตา
- ลูกบอลเล็ก



- ช้อนเล็กสามารถใช้มือกำด้ามช้อนได้ถนัด
- หนังสือรูปภาพสัตว์ที่มีภาพสี



credit: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี






Free TextEditor




 

Create Date : 12 กันยายน 2551    
Last Update : 12 กันยายน 2551 23:05:26 น.
Counter : 3628 Pageviews.  

พัฒนาการเด็กวัย 7-9 เดือน

Smiley  ระยะ 7-9 เดือน  Smiley


ช่วงวัยนี้ลูกน้อยสามารถใช้สายตา ประสานกับมือ ทำกิจกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน
และลูกน้อยก็จะเกิดการเรียนรู้ และทำพฤติกรรมเช่นนี้ซ้ำ ถ้าเกิดความพอใจ
การให้ลูกน้อยได้มีโอกาสเรียนรู้เพื่อพัฒนาโดยคุณพ่อคุณแม่ เป็นผู้นำทาง แนะทาง
ให้เขาได้ฝึกฝน เขาจะมีโอกาสเลียนแบบที่ดี เป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี
ทั้งร่างกายและจิตใจ


Smiley  7 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- ในท่านอนคว่ำ เคลื่อนตัวไปข้างๆ ได้เป็นวงกลม
- จากท่านอนคว่ำ ลุกขึ้นมาอยู่ในท่านั่งได้
- ใช้แขนสองข้างเหนี่ยวตัวลุกขึ้นยืน ขาทั้ง 2 ข้าง เหยียดตรง
- หยิบของเล่นและถือไว้ในมือข้างละชิ้น
- เขย่ากรุ๋งกริ๋งได้คล่องแคล่วนาน 20-30 วินาที
- ออกเสียงต่างๆ เช่น อา, อู, มามา
- จ้องมองหรือร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า




การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- จับลูกน้อยนอนคว่ำบนพื้น วางของเล่นไว้ด้านข้างใน ระยะที่มือลูกน้อยเอื้อมไม่ถึง
- จับลูกน้อยให้อยู่ในท่าคลานหรือท่านั่ง ตรงหน้าโต๊ะที่มีของเล่น กระตุ้นให้ลูกน้อย
ลุกขึ้นยืนหยิบของเล่น




อุปกรณ์ / ของเล่น
- ตุ๊กตายาง ลูกบอลเล็ก
- พื้นราบ
- โต๊ะเตี้ย
- เก้าอี้


Smiley  8 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- คลานได้เองไปได้ไกล 2 เมตร
- จากท่าคลานเกาะเครื่องเรือนเหนี่ยวตัวขึ้นนั่งคุกเข่า และคงอยู่ในท่านี้ได้นาน
- ยืนเกาะโต๊ะ โดยทรงตัวอยู่บนขามากกว่าแขน
- ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ หยิบของจากพื้น
- มองตามของเล่นที่ทำตก
- เล่นของเล่นได้เองตามลำพังนาน 10 นาที
- ออกเสียง 2 พยางค์ซ้ำๆ เช่น มามา, ดาดา
- ทักทายพ่อแม่หรือคนคุ้นเคยด้วยการยิ้มหรือส่งเสียงดัง
- เลียนแบบการตบมือ และโบกมือลา
- ใช้มือหยิบอาหารกินได้ อาหารหลักแทนนม 1 มื้อ



การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- วางลูกน้อยในท่าคลานพร้อมกับวางของเล่นด้านหน้าเด็ก ห่างประมาณ 2 เมตร
- จับลูกน้อยให้อยู่ในท่าคลานตรงหน้าโต๊ะที่มีของเล่น บอกให้เด็กไปเอาของเล่น
- จับลูกน้อยให้ยืนเกาะที่โต๊ะหรือเครื่องพยุง วางของเล่นไว้ให้เด็กเล่น
- ออกเสียงให้ลูกน้อย เลียนแบบตาม
- ให้พ่อแม่ไปจากห้องและกลับเข้ามาใหม่
- ตบมือทำเป็นตัวอย่าง ให้ลูกน้อยเลียนแบบ พูดว่า "ตบมือ"
- โบกมือลา ให้ลูกน้อยเลียนแบบ พูดว่า "บ๊ายบาย"




อุปกรณ์ / ของเล่น
- พื้นที่มั่นคง
- ตุ๊กตายางรูปสัตว์
- โต๊ะเตี้ยหรือราวของเล่น
- โต๊ะหรือเครื่องพยุงสูงระดับอก
- ตะกร้าของเล่น
- ถ้วยพลาสติกมีหู 2 ข้าง



 


Smiley  9 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- เกาะเดินไปข้างๆ โดยหันหน้าเข้าหาเครื่องเรือน
- ยืนได้โดยช่วยจับมือลูกน้อยไว้เพียงข้างเดียว
- หยิบของออกจากกล่อง
- จีบนิ้วเพื่อหยิบลูกเกด
- ส่งเสียง "หม่ำๆ"  "จ๋าจ๊ะ"
** อาหารหลักแทนนม 1 มื้อ




การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- เกาะยืนบนพื้นที่ปลอดภัย โดยผู้ใหญ่ดูแลใกล้ชิด ควรอุ้มให้น้อยลง
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำอยู่กับลูก เช่น อาบน้ำ, กินข้าว
- หัดให้ลูกน้อยจีบนิ้ว (โดยใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้) หยิบลูกเกดขึ้นมา
อุปกรณ์ / ของเล่น
- เครื่องเรือนสูงระดับอก
- กล่องใส่ของเล่น



credit: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี


Free TextEditor




 

Create Date : 02 กันยายน 2551    
Last Update : 2 กันยายน 2551 1:55:48 น.
Counter : 3304 Pageviews.  

พัฒนาการเด็กวัย 4-6 เดือน

Smiley  ระยะ 4-6 เดือน  Smiley


พัฒนาการของลูกน้อยจะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นส่วนมาก เช่น
การพลิกคว่ำหงาย การเคลื่อนไหว ใครพูดด้วยก็สนใจมอง ทำให้ลูกได้รับการพัฒนา
ทั้งสติปัญญา อารมณ์และสังคม


ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะทราบพัฒนาการตามปกติ เพื่อเปรียบเทียบกับ
พัฒนาการของลูกน้อย ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือช้ากว่าปกติ
เพื่อจะได้ฝึกกระตุ้นพัฒนาการและพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ
ของลูกน้อยให้เหมาะสมต่อไป


Smiley  4 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- นอนคว่ำยกศีรษะชันคอได้สูง ยกอกพ้นจากพื้น
- หัดพลิกคว่ำ
- เมื่อจับมือดึงขึ้นนั่งจะยกศีรษะและไหล่ขึ้นตาม
- เอามือตะปบของ
- มองตามได้รอบ ( 180 องศา )
- ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะเสียงดัง
- ยิ้มและทำท่าดีใจ เมื่อเห็นหน้าพ่อแม่และคนคุ้นเคย
- ชอบเล่นกับคน
- แสดงอารมณ์ทางสีหน้า
- เริ่มให้กล้วยครูด ข้าวบด ไข่แดงสุก



การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- ให้ลูกน้อยนอนคว่ำบนที่นอนค่อนข้างแข็งและกว้างพอ
   เพื่อให้หัดพลิกตะแคงตัวในที่ปลอดภัย
- จัดหาสิ่งของสีสด (ปลอดภัย) ให้หยิบจับและมองตาม
- พ่อแม่หมั่นพูดคุยเล่นกับลูกน้อย
- พูดเลียนเสียงลูกน้อย
อุปกรณ์ / ของเล่น
- พื้นที่ราบ
- ของเขย่า กรุ๋งกริ๋ง
- ตุ๊กตายางรูปสัตว์



Smiley  5 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- ในท่านอนคว่ำกลิ้งหงายได้บางครั้ง
- นั่งโดยไม่พยุงได้นาน 1 นาที โดยนั่งตัวเอนมาข้างหน้า
- ยืนหันหน้าพิงเครื่องเรือน
- หยิบของเล่นโดยกางมือออกแล้วหยิบ
- เปลี่ยนมือถือวัตถุ
การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- วางลูกน้อยนอนคว่ำวางของเล่นไว้ด้านข้างของเด็กในระยะที่มือเอื้อมไม่ถึง
   เพื่อให้ลูกกลิ้งตัวไปจับของเล่น
- จับลูกน้อยในท่านั่งบนพื้นที่มั่นคง โดยไม่ช่วยพยุง
- จัดให้ลูกน้อยยืนหันหน้าพิงอ่างน้ำที่มีของเล่นที่น่าสนใจ เช่น
    เรือแล่นไปมา (พ่อแม่ต้องอยู่ใกล้ชิด)
- หาของเล่นที่ปลอดภัยให้หยิบจับเคาะ เขย่าของ
อุปกรณ์ / ของเล่น
- เรือของเล่น


Smiley  6 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- คว่ำและหงายได้เอง
- หัดคืบไปข้างหลังแล้วจึงไปข้างหน้า
- นั่งเองยังต้องใช้มือพยุงตัวได้นาน 10 นาที โดยไม่ล้มและใช้มือเล่นของเล่นได้
- คว้าจับของด้วยฝ่ามือทีละข้าง
- จับของเคาะกับพื้น
- หันตามเสียงเรียกชื่อ
- ส่งเสียงต่างๆ กัน
- ชอบยิ้มและสนใจมองตัวเองในกระจก
**ให้นมแม่
**อาหารหลักแทนนม 1 มื้อ โดยเพิ่มเนื้อสัตว์และผักต้มเปื่อยบดละเอียดให้ครบ 5 หมู่



การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- วางสิ่งของไว้ตรงหน้า ให้ลูกน้อยสนใจ เพื่อคืบไปหยิบจับของ
- ร้องเพลง พูดคุยเวลาทำสิ่งต่างๆ
- เรียกชื่อลูกน้อย คน และสิ่งของที่ลูกน้อยสนใจ
อุปกรณ์ / ของเล่น
- ตุ๊กตารูปสัตว์
- ลูกบอลเล็ก
- กระจกส่องหน้า




credit: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี




Free TextEditor




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2551    
Last Update : 2 กันยายน 2551 1:12:21 น.
Counter : 3260 Pageviews.  

พัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด - 3 เดือน

Smiley วัยทารก Smiley


นับเป็นก้าวแรกของชีวิต ดังนั้นผู้ใหญ่ต้องให้ความรัก ความอบอุ่น
และความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการแห่งชีวิต


วิธีการเลี้ยงดูที่ถูกและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่ลูกน้อยได้รับตั้งแต่แรกเกิด จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ที่จะช่วยพัฒนาการทางการเรียนรู้ ทารกจะรวบรวมประสบการณ์ครั้งแรกๆ
ด้วยความยากลำบากและเป็นไปได้ช้า ลูกน้อยจะได้ประสบการณ์
ต่อเมื่อเคยมีประสบการณ์มาก่อน ทำให้ขบวนการเรียนรู้ง่ายและเร็วขึ้น ดังนั้น
การเรียนรู้ของเด็กวัยโตก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ลูกน้อยเคยมีมาก่อน
ตั้งแต่วัยทารกนั่นเอง




Smiley แรกเกิด
พัฒนาการของเด็กปกติ
- ลูกน้อยสามารถได้ยินเสียงและภาพ โดยเฉพาะตัวบุคคลที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
- เคลื่อนไหวแขนขาเท่ากันทั้ง 2 ข้าง
การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- ใช้การสัมผัสลูบไล้ อุ้ม กอดลูกน้อยด้วยความอ่อนโยนอย่างสม่ำเสมอ
- ร้องเพลงกล่อมลูกเบาๆ หรือเปิดไขลานเครื่องเล่นเสียงดนตรี
- พูดคุยโดยให้เด็กเห็นหน้าตาท่าทางของผู้อุ้มที่ยิ้มแย้มด้วย
อุปกรณ์ / ของเล่น
- พื้นที่ราบ
- เครื่องเล่นดนตรีแบบไขลาน
- ภาพขาว-ดำ


Smiley 1 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- เมื่อจับลูกน้อยให้นอนคว่ำ จะเริ่มเหยียดขาและยกศีรษะหันไปมาได้
- ลูกน้อยสามารถมองเห็นในระยะ 8-12 นิ้ว โดยจะมองตามได้บ้าง
   ถ้ามองหน้าสบตา  จะยิ้ม
- เมื่อได้ยินเสียง ลูกน้อยจะหยุดฟังเสียง ทำเสียงในลำคอ และเริ่มรู้จักร้องไห้
- กำมือแน่น



Smiley 2 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- นอนคว่ำชันคอได้ ยกศีรษะสูง 45 องศา
- จับนั่งจะตั้งศีรษะตรงได้ชั่วครู่
- มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย ผ่านกึ่งลำกลางตัว
- สนใจหันหาเสียง ทำเสียงในลำคอมากขึ้น
- มือกำหลวมๆ
การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- ให้นอนคว่ำเล่นบนที่นอน
- ช่วยจับมือลูกถือของเล่นเขย่า
- แขวนสิ่งของสีสดใสชิ้นโตๆ ห่าง 8-12 นิ้วให้มอง
- มองหน้าสบตาเอียงหน้าไปมาให้มองตาม
อุปกรณ์ / ของเล่น
- โมบายของแขวนสีสดๆ ชิ้นโตๆ
- ของเขย่า



Smiley 3 เดือน
พัฒนาการของเด็กปกติ
- ยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 90 องศา และหันศีรษะได้โดยใช้แขนทั้ง 2 ข้างรับน้ำหนักตัว
- ในท่านั่งควบคุมศีรษะให้ตั้งตรงได้นาน 5 วินาที
- ในท่ายืนขารับน้ำหนักบ้าง แต่ขาถ่าง สะโพกงอ ตัวเอนไปข้างหน้า
- ขณะนอนหงาย นำมือทั้ง 2 ข้าง จับเข้าหากัน
- ทำเสียงอ้อแอ้ เมื่อมีคนคุยด้วย
การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ
- จับลูกน้อยนอนคว่ำ แล้วใช้ของสีสดๆ หรือของเขย่าให้มีเสียง แล้วยกของให้สูงช้าๆ
ลูกน้อยจะใช้สายตามองตาม ศีรษะจะยกขึ้น
- พยุงลูกน้อยโดยจับบริเวณอก ให้เท้าเหยียบบนพื้น โดยหันหน้าลูกน้อยเข้าหาแม่
พูดคุยให้เกิดความสนุกสนาน
- ขณะป้อนนมจับมือลูกน้อยทั้ง 2 ข้าง มาแตะที่ขวดนม
- มองสบตาเด็กพูดคุยและยิ้มด้วย




credit: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี




Free TextEditor




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2551    
Last Update : 2 กันยายน 2551 1:11:01 น.
Counter : 1994 Pageviews.  


FtLhoii
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add FtLhoii's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.