It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
All blogs
 

ห้องที่ชื่อว่า "ใจ"


 ใจ ของเรานั้น
ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า
เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้น
สถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที
เป็นต้นว่า เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง  

เมื่อ - -
เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็น  ห้องน้ำ
เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็น  ห้องพระ
เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็น ห้องครัว
เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็น ห้องนอน
เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็น ห้องรับแขก
เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็น ห้อง วี ไอ พี

ห้องแห่งหัวใจของเรา
ก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย
ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ
ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน

เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็น คนใจดี
เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็น คนใจบุญ
เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็น คน ใจ ร้อน
เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็น คน ใจ ทราม
เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็น คน ใจ เสาะ
เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็น คน ใจ สู้
เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็น คน ใจ ลอย

เห็นด้วยหรือไม่ว่า
ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย
เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเรา
ให้เป็นไปอย่างไรก็ได้


พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า
ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์ ...
หรือบางทีก็ตรัสว่า "จิตฺเตน นียติ โลโก "
แปลว่า โลกหมุนไปตามใจสั่งการ
โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง
โลกคือชีวิต จะหมุนซ้าย หมุนขวา หมุนตรงหรือหมุนเอียง หมุนไปข้างหน้าสข หรือว่าหมุนไปข้างหลัง
ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับ
พฤติกรรมของใจทั้งหมดทั้งสิ้น

ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า
เราบรรจุอะไรลงไป
ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น


ทุกวันนี้ เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า
เราบรรจุอะไร
ลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง
ความรู้ ความงมงาย
ความรัก ความโกรธ ความเกลียด
ความโลภ ความดี ความชั่ว
ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด
สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้
Smiley
ชีวิตจะเป็นอย่างไร
รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย
ขึ้นสูงหรือลงต่ำ
สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง ...




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2557 11:00:55 น.
Counter : 1479 Pageviews.  

สำคัญที่ปัจจุบัน




เด็กชายคนหนึ่ง มากราบเรียนถามคุณยายว่า ชาติก่อน เขาเคยเกิดเป็นใคร เป็นอะไรมาก่อน คุณยายตอบว่า เรื่องชาติก่อนจะเป็นยังไง เอาไว้ก่อน สำคัญอยู่ที่ตัวคุณในปัจจุบัน จะทำอะไรให้กับตัวเอง เอาตัวเองให้รอด

คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
10 มีนาคม พ.ศ.2534



Smiley




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2557 10:21:46 น.
Counter : 1130 Pageviews.  

ที่มาของคำว่านาค และข้อห้ามของการบวช


เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

พญานาคนี้เอง เป็นต้นเหตุของการให้เกิดข้อห้ามบุคคลที่ไม่สมควรบวช ไม่ให้บวช แต่ก็เป็นบุญของพญานาคตนนี้ ที่ทำให้เกิดข้อบัญญัตินี้ขึ้น เพราะถ้าให้บวชไปก็จะเกิดความวุ่นวาย เกิดความหวาดกลัว ความระแวง จะทำให้ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่ใครเลย

เรื่องมีอยู่ว่า ในกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรายังทรงมีพระชนม์อยู่ มีพญานาคตนหนึ่ง เกิดความเบื่อหน่ายในกำเนิดนาคของตน มีความคิดอยากจะพ้นจากความเป็นพญานาค และอยากได้อัตภาพเป็นมนุษย์โดยเร็วนั้น เราจะต้องบวชเป็นพระภิกษุเชื้อชาติศากยบุตรเป็นผู้ซึ้งประพฤติพรหมจรรย์ มีความสงบ มีศีล มีกัลยาณธรรม จึงแปลงกายเป็นมนุษย์ปลอมมาบวช ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ระแวง หรือรู้ว่าเป็นพญานาคปลอมมาจึงให้บวช


โดยพระนาคนั้นได้อาศัยอยู่กับพระภิกษุรูปหนึ่งในกุฎิหลังสุดท้าย ในเวลากลางคืน เพื่อนภิกษุรูปนั้นก็ได้พักผ่อนจำวัดไปตามปรกติ แต่ภิกษุนาคนั้นไม่สามารถนอนได้สนิท เพราะถ้าเผลอตัวหลับสนิท ร่างจะกลับกลายเป็นพญานาคทันที จึงต้องนั่งโงกโยกเย้ก แอบงีบหลับแบบนก พอรุ่งเช้าเพื่อนภิกษุออกไปเดินจงกลม พระนาคเห็นเป็นโอกาสดีจึงเอนหลังดับดิ่งหลับสนิท ร่างจึงกลับเป็นพญานาคดังเดิม นอนคดเต็มกุฎิทั้งหลัง


เพื่อนพระภิกษุสหาย พอเดินจงกรมเสร็จ จึงกลับไปที่กุฎิ ผลักบานประตูเข้าไป เห็นเป็นงูตัวใหญ่นอนคดเต็มกุฎิ ก็ตกใจร้องขึ้น พวกภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงร้องนั้น ต่างก็ตกใจพากันวิ่งเข้ามาถามว่า "อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม" พระภิกษุรูปนั้นจึงบอกว่า "งูครับ งูตัวใหญ่ นอนคดเต็มกุฎิของผม" พญานาคได้ยินเสียงนั้น จึงตื่นขึ้นได้สติ กลับร่างเป็นภิกษุ นั่งสมาธิอยู่บนที่นอน เพื่อนภิกษุทั้งหลายจึงพากันเดินเข้าไป ถามพระนาคว่า "ท่านเป็นใคร ท่านทำอย่างนี้ทำไม" พญานาคจึงบอกความประสงค์ของตน ภิกษุทั้งหลายจึงพากันไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ปรารภเรื่องพญานาคปลอมบวชเป็นเหตุ และให้พุทธโอวาทแก่พญานาคนั้นว่า " เธอเป็นพญานาค มีสภาพที่ไม่เจริญต่อพุทธวินัยเป็นธรรมดา" " ไปเถิด เธอจงไปรักษาอุโบสถศีลในวันพระ 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรม 8ค่ำ" " ด้วยวิธีนี้เธอจะพ้นจากความเป็นพญานาค และได้อัตภาพเป็นมนุษย์


พญานาคนั้นเสียใจเป็นอย่างมาก จนถึงกลับหลั่งน้ำตาเพราะความน้อยเนื้อต่ำใจว่าตนไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงขอร้องให้หมู่ภิกษุเรียกผู้ที่จะบวชเป็นพระว่านาค เพื่อให้ระลึกถึงตน และชื่อของตนจะได้ปรากฏอยู่ชั่วกาลนาน


THE END.

คลิกชมภาพและอ่านต่อ....




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2557    
Last Update : 10 ตุลาคม 2557 21:31:25 น.
Counter : 3439 Pageviews.  

อานิสงส์แห่งการบูชา..




 ขึ้นชื่อว่าบุญนั้นไม่มีคำว่าเล็กน้อยเลย
แต่ย่อมส่งผลตลอดต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกที่ทำไปตราบเข้าสู่พนะนิพพานทีเดียวนะ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
จงปลื้มแสนปลื้ม...ปลื้มพันล้านปลื้ม..
ปลื้มไว้ในกลางใจใสๆ ของเราทุกดวง..
ปลื้มไว้ตราบนิจนิรันดร์ เทอญฯ
สาธุ นิพพานปัจจโย โหตุ ๚

เรื่องราวต่างๆในพระคัมภีร์ไม่เคยมีปรากฏมาเลยว่า บุคคลผู้ที่มีจิตเลื่อมใสได้กระทำการบูชาเจดีย์ด้วยดอกไม้ของหอมแล้ว จะนำพาบุคคลนั้นไปสู่อบายได้ หากบุคคลนั้นไม่ได้ทำอนันตริยกรรม คือ กรรมอันหนัก ๕ ประการ กรรมนั้นย่อมส่งผลให้ไปสู่สุคติแต่เพียงฝ่ายเดียว

ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๑๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบุนนาค


เราเป็นนายพรานเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ได้เห็นดอกบุนนาคกำลังบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้น อันมีกลิ่นหอมตลบอบอวลแล้ว ได้ก่อสถูปที่กองทรายบูชาแด่พระพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น
>> เราไม่รู้จักทุคติเลย << นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.


ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งมีนามว่าตโมนุทะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.



มีวาระพระบาลีใน “ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน” ว่า
“ผู้ใดพึงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็ดี พึงบูชาพระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดของพระพุทธเจ้าแม้นิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมากเสมอกัน”

การบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นการบูชาอันสูงสุด เพราะพระองค์เป็นสุดยอด ของบรรดาผู้ควรบูชาทั้งหมด เสมือนเขาพระสุเมรุเป็นประมุขของบรรพตทั้งหลาย



พระอัครสาวกอีกรูปหนึ่ง มีชื่อว่า สาคระ ได้เห็นยักษ์ตนหนึ่งกำลังเศร้าโศก จึงได้ปลอบโยนและเทศน์ให้ฟังว่า

"ผู้ใดพึงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็ดี พึงบูชาพระธาตุ แม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดของพระพุทธเจ้า แม้นิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญมีผลมากเสมอกัน"

เพราะฉะนั้นท่านจงบูชาพระสถูปเจดีย์ของพระชินเจ้าเถิด ยักษ์ฟังแล้ว เกิดแรงบันดาลใจ ได้แวะเวียนไปกราบไหว้พระเจดีย์ และทำจิตให้เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า เจริญพุทธานุสติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ทั้งวันและคืน ทำเช่นนั้นตลอด ๕ ปี ครั้นละจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ในกัปที่ ๗๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามเดียวกันถึง ๔ ครั้งว่า ภูริปัญญา สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ

>> ตั้งแต่นั้นท่านไม่เคยไปเกิดเป็นยักษ์อีก ได้เวียนวนอยู่ในสุคติภูมิเพียงอย่างเดียว นี่เป็นอานิสงส์ที่เกิดจากการบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งแม้จะดับขันธปรินิพพานไปแล้ว อานิสงส์แห่งความเลื่อมใสนั้น ก็ไม่ลดน้อยถอยลงไป ผลนั้นยังส่งต่อมาถึงภพชาติสุดท้าย ทำให้ท่านได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด <<





 

Create Date : 06 ตุลาคม 2557    
Last Update : 6 ตุลาคม 2557 8:16:12 น.
Counter : 1123 Pageviews.  

ความหมายของศีล 5

 ศีล 5
คำว่า ศีล นั้น มีคำแปล และความหมายหลายนัย ดังต่อไปนี้ คือ


1. ศีล มาจากคำว่า ”สิระŽ” ซึ่งแปลว่า ศีรษะ หรือ ยอด เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดคนนั้น แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การมีทรัพย์สิน อำนาจ ความรู้ หรือความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น หากแต่อยู่ที่ความบริสุทธิ์ของศีล ซึ่งเป็นที่ยอมรับยกย่องของเหล่าบัณฑิตว่า ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สุด

  2. ศีล มาจากคำว่า “ สีละŽ” ซึ่งแปลว่า ปกติ เพราะปกติของคนเรานั้นย่อมรักชีวิตของตน และเห็นคุณค่าชีวิตของคนอื่น เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงยินดีในการรักษาศีล เพราะไม่ปรารถนาจะเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน การรักษาศีลจึงเป็นการนำไปสู่ความเป็นคนที่ปกติสมบูรณ์

  3. ศีล มาจากคำว่า “ สีตะละŽ” ซึ่งแปลว่า เย็น เพราะผู้ที่รักษาศีล จะมีความเย็นกาย เย็นใจ ดุจดัง บุคคลผู้อาบน้ำชำระกายหมดจดดีแล้ว นั่งพักอยู่ ณ ร่มไม้ใหญ่ ความสงบเยือกเย็นนี้ แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ ก็จะรู้สึกปลอดภัย เย็นใจไปด้วย

  4. ศีล มาจากคำว่า “ สิวะŽ” ซึ่งแปลว่า ปลอดโปร่ง เพราะผู้ที่รักษาศีลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะนึกถึงการกระทำของตนเรื่องใด ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นโทษ ไม่มีสิ่งใดเดือดร้อนกังวลใจ จึงมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง โล่งใจ และปลอดจากเวรภัยทั้งหลาย

      ดังนั้น ศีล จึงเป็นคุณธรรม ที่ทำให้เข้าถึงความเป็นยอดคน เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ มีความเป็นปกติ เป็นผู้ที่เย็นกาย เย็นใจ และมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ปลอดภัยอยู่เสมอ

สำหรับความหมายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวไว้ว่า

     ศีล คือ “ เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติ ผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ)

     ศีล คือ “ เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด)

  ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว

    ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ

แม้ศีลจะมีหลายความหมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เจตนา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า

     ศีล คือ ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ

การรักษาศีล จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุ คือวิธีการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่เราตั้งใจงดเว้นจาก ความชั่ว ตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนใคร ย่อมจะเกิดกระแสแห่งความดี เกิดความเมตตาขึ้นมาในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ อันเป็นเครื่องชำระจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ การรักษาศีลจึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และจิตใจให้บริสุทธิ์ดีงามยิ่งขึ้น

     นอกจากนี้ ศีลยังเป็นคุณธรรมอันงามด้วยคุณลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นคุณธรรมที่รักษา กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นคุณธรรมอันจะนำไปสู่กุศลธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิ(Meditation) และปัญญา ต่อไป

  •  วัตถุประสงค์ของการรักษาศีล

     หากเราเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องรักษา ก็จะทำให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง รักษาแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ที่แท้จริงของศีล ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรักษาแบบทำตามกันมา หรือว่ารักษาไปอย่างนั้น ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย

  •   การรักษาศีล มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

     1. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบัน ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

     2. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต

     3. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม

     4. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

     5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้

วัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 เป็นวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุข ไม่ต้อง ประสบพบเจอกับความทุกข์ ความเดือดร้อน หรือความเสื่อมเสีย ในภพชาติปัจจุบัน เพราะผู้ที่ไม่รักษาศีล มักเบียดเบียน หรือทำความเดือดร้อนให้กับตนเอง หรือผู้อื่น และเมื่อทำแล้ว ความเดือดร้อนที่เป็นผลจาก การกระทำนั้น ย่อมย้อนกลับมาหาตัวเอง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยสังคามวัตถุสูตร4) ว่า

“ ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมได้ รับการด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้งเคียดตอบ ฉะนั้น เพราะความหมุนกลับแห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขาแย่งชิงŽ”

     หากแต่ละคนในสังคมรักษาศีล ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ครอบครัวหรือสังคมนั้นย่อมมีความ สงบสุขเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมอย่างนี้


วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เป็นวัตถุประสงค์สำหรับป้องกันความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้น ในภพชาติเบื้องหน้า เพราะการไม่รักษาศีล ย่อมเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ และหากเกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็จะมีอายุสั้น เป็นผู้ที่ไม่สมประกอบ ร่างกายพิกลพิการ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ล้วน นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสิ้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อป้องกันความทุกข์ในภพชาติเบื้องหน้าอย่างนี้

     วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 การรักษาศีล เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรม คือสมาธิและปัญญา โดย สมาธิจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยศีลที่บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน หากไม่มีศีล สมาธิก็เกิดไม่ได้ เพราะศีลเป็นเครื่อง ช่วยควบคุมกายกับวาจา ในขณะที่สมาธิเป็นเครื่องช่วยควบคุมใจ ดังนั้น เมื่อกายกับวาจาไม่สงบ ใจก็ยากที่จะสงบได้ เมื่อใจไม่สงบแล้ว สมาธิก็ยากที่จะเกิด และเมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญารู้แจ้งในเรื่องความจริงของ ชีวิตก็ย่อมไม่เกิดขึ้นไปด้วย เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถกำจัดกิเลสอาสวะเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เมื่อไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องประสบกับความทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อยู่ร่ำไป แต่เมื่อรักษาศีลได้เป็นอย่างดี สมาธิก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และเมื่อสมาธิเกิด ปัญญาก็เกิดตามมา เมื่อปัญญาเกิด ก็สามารถจะกำจัดกิเลสอาสวะ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ดังนั้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพานอย่างนี้
SmileySmileySmileySmileySmiley
สนใจศึกษารายละเอียดคลิกอ่าน....




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2557    
Last Update : 3 ตุลาคม 2557 9:56:32 น.
Counter : 1294 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.