Black Smokers...อะไรเหรอ???
เนื่องจาก ต้องทำรายงานส่งอาจารย์
ก็เลยเอามาลงเป็นความรู้ในนี้ซะด้วยดีกว่า
หลังจากที่ไม่ได้อัพบล็อคมานาน ฮ่าๆๆ



Black smokers คือ ปล่องบนพื้นทะเลที่เกิดจากของไหลร้อน (hydrothermal fluids) ที่ได้รับความร้อนจากกระเปาะแมกมา (magma chamber) ไหลออกมาจากรอยแตกบริเวณพื้นทะเล เข้าปะทะกับน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนที่เป็นกลุ่มแร่ซัลไฟด์ขนาดเล็ก มีสีดำ คล้ายควัน (Black smoke) พบครั้งแรกในปีค.ศ. 1979 โดยยานสำรวจใต้ทะเลลึกชื่อ Alvin ของสหรัฐอเมริกา บริเวณ 21องศาเหนือของ East Pacific Rise โดยทั่วไปแล้วจะเกิดบริเวณสันกลางมหาสมุทร (mid-ocean ridges) และบริเวณ back-arc basin ในส่วนที่เป็นแนวภูเขาไฟใต้ทะเล

โดยทั่วไปแล้ว ปล่องเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ Black Smokers และ White Smokers ซึ่ง Black smokers จะมีอุณหภูมิที่สูงกว่า ให้สารประกอบซัลไฟด์และเหล็กออกมาปริมาณมาก และเกิดเป็นตะกอนคล้ายควันสีดำขึ้น ส่วน White smokers นั้นนอกจากจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าแล้ว ปล่องยังมีขนาดเล็กกว่าอีกด้วย แร่ที่สะสมตัวส่วนใหญ่มีสีขาว จึงไม่เกิดควันสึดำขึ้น ซึ่งปล่องทั้งสองชนิดนี้จะก่อตัวสูงขึ้นได้ระยะหนึ่ง และจะพังทลายลงมาเมื่อสูงเกินไป


รูปแสดงบริเวณที่พบ Black smoke
Source : //www.gly.uga.edu/railsback/1121MOR&Smoker.jpeg




Black smoker ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีการสะสมตัวของแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (ส่วนใหญ่เป็นแร่ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ) และพบสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงแบคทีเรียบางชนิดที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อน ซึ่งสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยของเหลวที่มีองค์ประกอบทางเคมีที่เข้มข้นที่ไหลออกมาจากปล่องได้

รูปแสดงสิ่งมีชีวิต(ปูเยติและหนอนท่อ)ที่พบบริเวณ Black smokers
Source : //www.ufoarea.com/main_uniquelife.html





รูปแสดงการพัฒนาของ Black Smokers
Source : //www.whoi.edu/oceanus/viewArticle.do?id=2400



การพัฒนาของ Black smokers แบ่งออกเป็นสองขั้นตอนหลัก ดังรูป
Stage 1 ของไหลร้อนที่มีแคลเซียมสูง อุณหภูมิสูง (~350oC) ไหลออกมาจากปล่องเข้าทำปฏิกิริยากับน้ำทะเลอุณหภูมิต่ำ (~2 oC) ที่มีส่วนประกอบของสารประกอบซัลเฟตและแคลเซียมสูง ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมซัลเฟต (anhydrite) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบของโลหะกลุ่มซัลไฟด์และออกไซด์เกิดขึ้นอีกด้วย การตกตะกอนอย่างรวดเร็วนี้ส่งผลให้เกิดควันสีดำขึ้นบริเวณปากปล่อง
Stage 2 เมื่อปล่องมีการสะสมพอกตัวขึ้น ผนังของปล่องจะถูกพอกด้วย anhydrite และเกิดแร่chalcopyrite (copper-iron sulfide) ตกสะสมโดยฉาบอยู่ภายในปล่อง หลังจากนั้นเมื่อของผสมระหว่างน้ำทะเลกับของไหลร้อนไหลผ่านรูพรุนหรือช่องว่างของปล่อง เกิดการไหลวนและแพร่กระจาย (advection and diffusion) ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวของ Zinc sulfides, copper-iron sulfide และ iron sulfide ในรูพรุนนั้น ทำให้ปล่องมีรูพรุนลดลงและมีโลหะสะสมมากขึ้น




References
Woods Hole Oceanographic Institution, How to Build a Black Smoker Chimney[Online], available at //www.whoi.edu/oce anus/viewArticle.do?id=2400 [December 1,1998]
Lamont-Doherty Earth Observatry and the Healy team, Glossary[online], available at //www.earthscape.org/rl/hea01/ hea01r.html#a [2001]
Von Damm, K.L., C.M. Parker, R.A. Zierenberg, M.D. Lilley, E.J. Olson, D.A. Clague and J.S. McClain, 2005. The Escanaba Trough, Gorda Ridge hydrothermal system: Temporal stability and subseafloor complexity, p.4971-4984.
National Oceanography Center, Hydrothermal vents[Online], available at //www.noc.soton.ac.uk/chess/education/ edu_htv.php [May 2008]
K.C. Macdonald, Department of Geological Sciences, University of California, Mid-Ocean Ridge[Online], available at //en carta.msn.com/ encyclopedia_761595522/Mid-Ocean_Ridge.html[2008]



Create Date : 23 กันยายน 2551
Last Update : 23 กันยายน 2551 2:30:07 น.
Counter : 7393 Pageviews.

1 comment
Tunnels : ผจญภัยใต้อุโมงค์


เป็นหนังสือเล่มแรก ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
ที่ทำให้เราอ่านแล้ววางไม่ลง
ถ้าถามว่า สนุกเหรอ...
บอกไม่ถูกแฮะ
รู้แค่...

เดินเข้าไปในร้านซี-เอ็ด
เห็นหน้าปก...สีดำ ตรงสเปค
ลองเข้าไปจับๆดู
เฮ้ย เอาเล่มนี้แหละ
เหมือมีอะไรดึงดูดเราให้ซื้อ
ซื้อมาเมื่อวาน
เริ่มอ่านเมื่อคืนตอนห้าทุ่ม
แล้วก็ไม่หลับไม่นอน
เพิ่งจามานอนตอนบ่ายๆ
แล้วก็อ่านตอตอนสองทุ่ม
จนบัดนี้...อ่านจบแล้ว

520 หน้า
กับเวลาที่อ่าน
มันดูรวดเร็วเหลือเกิน

แต่นับว่า เป็นอะไรที่น่าสนใจจริงๆ
เพราะเราไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน
ขนาดแฮร์รี่ ลอร์ด หรือว่า the dark is rising
ยังไม่เคยไม่หลับไม่นอนแบบนี้


มาเข้าเรื่องดีกว่า
ชือหนังสือ : ผจญภัยใต้อุโมงค์ (TUNNELS)
ผู้เขียน : ร็อดเดริก กอร์ดอน และ ไบรอัน วิลเลียมส์
ผู้แปล : งามพรรณ เวชชาชีวะ



Create Date : 02 มีนาคม 2551
Last Update : 2 มีนาคม 2551 0:57:52 น.
Counter : 1356 Pageviews.

28 comment
สึนามิชายฝั่งทะเลอันดามัน
สืบเนื่องจากการได้รับอีเมล์แบบฟอร์เวิร์ดฉบับนึง
และก็จาทำโครงงานเกี่ยวกะเรื่องนี้
วันนี้ เลยนำความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกัน
ข้อมูลจาก //www.ipst.ac.th/science/Tsunami.htm
ขออนุญาตนำมาปรับภาษาให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นนะคะ



ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาวทั้งทางด้านอ่าวไทยและอันดามัน ชายฝั่งทะเลทางอันดามันมีความสวยงามตามธรรมชาติ ประกอบด้วยหมู่เกาะ หาดทราย และทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย ความสวยงามเหล่านี้บางครั้งก็มีสิ่งโหดร้าย เศร้าสลดแอบแฝงอยู่ด้วย ซึ่งได้พิสูจน์ให้คนไทยทั้งประเทศเห็นกัน


ดังเช่นเหตุการณ์ที่คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) จากข้อมูลของกรมธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (USGS, 2005) รายงานว่าได้เกิดแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย(ภาพที่ 1) มีขนาดของแผ่นดินไหว 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งจัดเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรง ทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย


จากแผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิ (Tsunami) ตามมาและเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ 09.35 น. คลื่นนี้ได้สร้างความเสียหายบริเวณชายฝั่งทะเลของ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล เป็นอย่างมาก




รูปที่ 1



คลื่นสึนามิเมื่อกระทบฝั่งจะมีความรุนแรงมากทำให้น้ำทะเลโถมเข้าสู่ชายฝั่งอย่างรุนแรงและไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พัดพาสิ่งของและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายหาดและที่อยู่ห่างออกไปพังทลายเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตจากการที่น้ำทะเลได้ไหลทะลักเข้าสู่ชายฝั่ง ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ รวมทั้งหมดกว่า 94,200 ราย และยังมีผู้สูญหายอีกหลายพันคน (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 7 มกราคม 2548)
พร้อมทั้งส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงามติดอันดับโลกของประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากสร้างความสูญเสียให้กับประเทศไทยแล้ว ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซีย และพม่า ก็เผชิญกับ เหตุการณ์คลื่นยักษ์นี้เช่นกัน และได้รับความเสียหายที่ไม่อาจประเมินค่าได้




คลื่นสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ?


สึนามิเป็นภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียกคลื่นไหวสะเทือนในทะเล (seismic sea wave) ที่ส่วนมากเกิดจากแผ่นดินไหว โดยบางครั้งอาจเกิดจากแผ่นดินถล่มใต้น้ำทะเล หรืออาจเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำทะเล และอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดได้เช่นกัน
โดยส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนของพืดหินตามแนวรอยเลื่อนที่สัมพันธ์กับรอยต่อของแผ่นธรณีภาคซึ่งมีหลายรูปแบบ มักจะเกิดในบริเวณที่แผ่นธรณีภาคมุดเข้าหากัน นักธรณีวิทยาได้แบ่งแผ่นธรณีภาคของโลกออกเป็น 2 ประเภท คือ
- แผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป (continental plate)
- แผ่นธรณีภาค ใต้มหาสมุทร (oceanic plate)
ทั้ง 2 ประเภทรวมกันมีจำนวนประมาณ 13 แผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่ทั้งชนกัน มุดเข้าหากัน และเลื่อนผ่านกันตลอดเวลา

ประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นธรณีภาค ภาคพื้นทวีป ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย ซึ่งมีแนวรอยต่อกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร ที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย (ภาพที่ 2)



ภาพที่ 2


แนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซียและแผ่นธรณีภาคอินเดียในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตมุดตัวของแผ่นธรณีภาค (subduction zone) ซึ่งแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า แผ่นธรณีภาคอินเดีย จะมุดเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซีย (ภาพที่ 3) โดยมีแนวอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขึ้นไปทางทิศเหนือจนเข้าไปถึงแผ่นดินของประเทศพม่าและอินเดีย

อัตราการมุดตัวเข้าใต้แผ่นธรณีภาคยูเรเซียจะมีอัตราปีละประมาณ 6 เซนติเมตร (USGS, 2004) และตรงเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร (trench) ซึ่งแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่นี่ ส่งผลให้เกิดแรงเครียดและมีการสะสมพลังงานในแผ่นที่มุดตัว จนในที่สุดก็จะเกิดคลื่นแผ่นดินไหวขึ้น

จากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมอยู่ภายในโลกจึงทำให้เกิดรอยเลื่อนมากมาย และเกิดรอยแยกและการทรุดตัวของพื้นท้องทะเลอันดามัน



ภาพที่ 3



รอยเลื่อนที่เกิดอยู่ในพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ซึ่งเป็นการเลื่อนขึ้นลงของพื้นที่ในแนวดิ่ง การเลื่อนนี้จะทำให้พื้นที่ทรุดลง




การเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิ


ก. ก่อนที่แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลและพื้นท้องทะเลจะอยู่ในสภาพปกติ



ข. หลังเกิดแผ่นดินไหว พื้นท้องทะเลเกิดรอยเลื่อนขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงชั่วขณะ



ค. น้ำทะเลที่ไหลทะลักเข้ามาในแอ่งเกินกว่าจะรับไว้ได้ ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย



ง. การกระเพื่อมขึ้นลงของระดับน้ำทะเลก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้เกิดคลื่นที่มีแอมพลิจูดต่ำหรือคลื่นมีระดับความสูงต่ำ แต่มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก และคลื่นได้แผ่กระจายออกไปทั่วทุกทิศทุกทางเข้าหาชายฝั่งทะเล





ข้อแนะนำ


แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิเสมอไป แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิจะต้องมีขนาดมากกว่า 7.0 ริกเตอร์และเกิดอยู่ใต้ท้องทะเลหรือเกิดอยู่ใกล้ท้องทะเลซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของพื้นท้องทะเลในแนวดิ่งหรือรอยเลื่อนปกติเป็นร่องลึกและเป็นพื้นที่กว้าง



Create Date : 29 พฤษภาคม 2550
Last Update : 29 พฤษภาคม 2550 17:40:53 น.
Counter : 1568 Pageviews.

7 comment

กบน้อยในกะลาใหญ่
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]