Group Blog
 
All Blogs
 

เชียงคาน...

หลังจากตะลอนถ่ายรูปที่ด่านซ้ายจนหมดแรง พวกเราก้อเริ่มออกเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงคาน

เออออ...อยู่ที่ไหนหว่า...

คือ เชียงคานเป็นอำเภอเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขงสงบเงียบ



มีที่พัก ร้านอาหารและบริการล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งโขง นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกที่ขึ้นชื่อของอำเภอคือผ้านวม มะพร้าวแก้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนไม่ควรพลาดที่จะซื้อเป็นของฝากและยังมีแหล่งท่องเที่ยวให้นักเดินทางได้สัมผัสอีกด้วย




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 6 สิงหาคม 2548 8:26:56 น.
Counter : 389 Pageviews.  

เรื่อง..ของ...ผี...

พี่พี่ เราไปเที่ยวงานผีตาโขนกันเถอะ..
อยากไปเหรอ...เพื่อนเค้าจะจัดไปอยู่เหมือนกันนะ...

ดีใจจริงวุ้ย...เรานี่ช่างโชคดีเสียนี่กระไร มีคนพาไปเที่ยวอีกละ



หลังจากล้อเคลื่อนจาก ptt สนามเป้า...ทำไมต้องเป็นที่นี่หว่า... หลับตลอดทางจนถึงอำเภอด่านซ้าย... เฮ้อ ตื่นเต้นจริง เคยเห็นแต่คนอื่นถ่ายรูปมาโชว์ คราวนี้เราได้ไปเที่ยวบ้างแล้ว



เอออ ประวัติมันเป็นมายังงัยหว่า...ทำไมถึงเรียกว่าผีตาโขนหละ...



นี่เลยน้อง...ผีตาโขนคือขบวนแห่ใส่หน้ากาก ซึ่งพิธีฉลองจัดขึ้นในวันแรกของพิธีทำบุญ 3 วัน เรียกว่า "บุญพระเวส"


ในภาษาไทย เทศกาลประจำปีนี้จะมีขึ้นในเดือน พฤษภาคม มิถุนายน หรือ กรกฎาคม ที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อด่านซ้าย ในจังหวัดเลยของภาคอีสาน



ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากต้นมะพร้าวแกะสลักและ สวมศีรษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน



ต้นกำเนิดของพิธีผีตาโขนนี้ไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่ก็พอที่จะท้าวความไปยังตำนานทางพุทธศาสนา ได้ว่า ในชาติก่อนหน้าที่จะถือกำเนิดมาเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นเจ้าชาย ผู้เป็นที่รักยิ่งของ ทวยราษฎร์ ทรงพระนามว่า พระเวสสันดร กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเสด็จออกนอกพระนครไปเป็นเวลานานเสีย จนเหล่าพสกนิกรของพระองค์ลืมพระองค์ไปแล้ว และยังคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียแล้วด้วยซ้ำไป



แต่จู่ๆ พระองค์ก็เสด็จกลับมา พสกนิกรของพระองค์ต่างปลื้ม ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันเฉลิมฉลองการ เสด็จกลับมาอย่างเอิกเกริกส่งเสียงดังกึกก้อง จนกระทั่งปลุกผู้ที่ตายไปแล้วให้มาเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงไปด้วย



ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผุ้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาร่วมระลึกนึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วยการจัดพิธีต่างๆ การเฉลิมฉลองและการแต่งกายใส่หน้ากากคล้ายภูติผีปีศาจ แต่เหตุผลที่แท้จริง เบื้องหลังพิธีนี้ก็อาจจะเนื่องมาจาก ความจริงที่ว่าชาวนาต้องการกระตุ้นฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และเพื่อเป็นการให้ศีลให้พรแก่พืชผลอีกด้วย



ในวันที่ 2 ของงานบุญนี้ ชาวบ้านจะร้องรำทำเพลงไปตามทางสู่วัด แล้วจึงจุดบั้งไฟเพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่า ขบวนแห่ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว นอกจากนี้ผู้ที่จัดงาน ก็ยังจัดให้มีการประกวดหน้ากากที่สวยงามที่สุด การแต่งกาย และผู้ที่รำสวย แล้วยังมีการแจกโล่ห์ทองเหลืองแก่ผู้ชนะในแต่ละวัยอีกด้วย



แต่สิ่งที่ชื่นชอบกันมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการแข่งขันเต้นรำ และเมื่อวันสุดท้ายของงานบุญมาถึง ชาวบ้านก็จะไปรวมกันที่วัดโพนชัย เพื่อฟังพระธรรมเทศนา 13 กัณฑ์ แสดงโดยพระภิกษุวัดนั้นและแล้ววันนั้นเวลาแห่งการถอดหน้ากากปีศาจและเครื่องแต่งกายเพื่อสวมใส่ในปีต่อไปก็มาถึง



นับจากนี้ไปพวกเขาต้องกลับไปสู่ท้องนาอีกครั้ง โดยการทำนาเพื่อหาเลี้ยงชีพ ตามอย่างบรรพบุรุษของตนที่สืบ ทอดกันมา




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 13:48:42 น.
Counter : 423 Pageviews.  


wayfaring
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add wayfaring's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.