การคำนวนเงินปันผลจ่าย เพื่อการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคำนวนเงินปันผลจ่าย เพื่อการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. ปรัชญาของเครดิตภาษีเงินปันผล
1.1 บริษัทส่วนใหญ่ทำมาหาได้ มีกำไร และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จากกำไรก้อนดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้น
เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผล จากกำไรดังกล่าวมาให้กับผู้ลงทุน
. และผู้ลงทุนนำเงินปันผลดังกล่าว มาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อีก
ก็จะเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน จากกำไรก้อนเดียวกัน
1.2 เพื่อสนับสนุนให้ ประชาชน ลงทุนในบริษัท เป็นการช่วยให้เศรษฐกิจของชาติขยายตัว
ดังนั้นเครดิตภาษีเงินปันผล จึงเกิดขึ้น โดยกฎหมายให้ทางเลือก ว่าจะนำเงินปันผลมารวมคำนวณ
. เป็นเงินได้ใน
ภงด. หรือจะเลือกถูกหัก ณ ที่จ่าย แล้วไม่ต้องนำมารวมคำนวณในแบบ ภงด. อีก
.. แต่ถ้านำมารวมคำนวณใน ภงด. ก็ต้องนำรายได้ เงินปันผล
ทุกก้อน มาคำนวณ
. จะเลือกเฉพาะบางบริษัทมารวมไม่ได้
2. เทคนิคคร่าว ๆ ว่า
จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล หรือไม่ พิจารณา จาก :-
2.1 ถ้าผู้ใดมีเงินได้สุทธิ
ที่ต้องเสียภาษีใน rate 20% ขึ้นไป ก็ขอให้ลืมเรื่องนี้ไปซะ เพราะเงินปันผลหักภาษี ณ ที่จ่าย เพียง 10% เอง ดังนั้นเลือกไม่ใช้เครดิตภาษี เงินปันผล เราจะได้ประโยชน์มากกว่า
. ดังนั้น เวลายื่นแบบ ภงด. เพื่อเสียภาษี ก็ไม่ต้องนำ รายได้เงินปันผลเข้ามารวมคำนวณอีก
.. แต่ทั้งนี้ก็ไม่แน่เสมอไป ขอให้พิจารณา ปัจจัยข้อ 3.1.2 ที่จะกล่าวต่อไป
2.2 ถ้าผู้ใดมีเงินได้สุทธิ
อยู่ใน rate 5% และ 10% ก็น่าจะ เลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล เนื่องจากมีโอกาสได้รับเงิน ภาษีคืน
3. ปัจจัยพิจารณา ว่า เงินปันผล สามารถใช้เครดิตภาษี ได้หรือไม่
3.1 บริษัทที่ลงทุน เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่
3.1.1 มีภาษี - สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผล
ได้ แต่จะอัตราเท่าไร
. ขึ้นอยู่กับว่า บริษัทที่ลงทุน เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละเท่าไร เช่น ภาษีร้อยละ 30 - เครดิตภาษีเงินปันผล 3/7 ภาษีร้อยละ 25 - เครดิตภาษีเงินปันผล 1/3 ภาษีร้อยละ 20 - เครดิตภาษีเงินปันผล 1/4 ภาษีร้อยละ 10 - เครดิตภาษีเงินปันผล 1/9
สูงสุดที่ 3/7 ครับ
วิธีคิดเครดิตภาษี = อัตราภาษี / (100 - อัตราภาษี) ถ้าบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผล
ในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ใน
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
3.1.2 ไม่เสียภาษี - ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้
. แต่ ให้พิจารณา ว่า ไม่เสียภาษี
เนื่องจากอะไร ก) เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และบริษัทยังอยู่ในช่วงเวลา
ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นเงินปันผล ก้อนนี้ ผู้ลงทุน
ถึงแม้ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผล แต่ก็ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้
เพื่อคำนวณภาษี ดังนั้น
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เราถูกหักไว้
. ก็อาจสามารถขอคืนได้ทั้งก้อน โดยคำนวณภาษีตามวิธีปกติ ข) กฎหมายพิเศษยกเว้น เช่น พาณิชย์นาวี เป็นต้น (บริษัทเรือ อู่เรือ ส่วนใหญ่ เข้าข่ายเกณฑ์ข้อนี้
แต่ควรตรวจสอบกับบริษัทนั้น ๆ อีกครั้ง ว่าจดทะเบียนยกเว้น ตามกฎหมาย หรือไม่) ดังนั้นเงินปันผล ก้อนนี้ ผู้ลงทุน
ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่ก็ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้
เพื่อคำนวณภาษี ดังนั้น
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่เราถูกหักไว้
. ก็อาจสามารถขอคืนได้ทั้งก้อน โดยคำนวณภาษีตามวิธีปกติ
ค) กำไรสุทธิส่วนที่ได้หักผลขาดทุนยกมาไม่เกิน 5 ปี ดังนั้นเงินปันผล ก้อนนี้ ผู้ลงทุน
ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีได้ และไม่ได้รับยกเว้น
โดยต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี อีกด้วย
4. วิธีการคำนวณภาษี .. โดยใช้เครดิตภาษีเงินปันผล ตัวอย่าง นาย ก. มีรายได้เงินเดือน ทั้งปี 300,000 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือน 12,000 บาท เงินปันผล (แบบบริษัทเสียภาษี 30%) 2,000 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินปันผล 200 บาท
รายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว (300,000 60,000 30,000) 210,000.00 บวก : เงินปันผล 2,000.00 เครดิตภาษีเงินปันผล (2,000 * 3/7) 857.14 รวมรายได้ที่ใช้คำนวณภาษี 212,857.14
คำนวณภาษี 100,000 บาทแรก อัตราภาษี 0% ภาษีที่คำนวนได้ 0.00 112,857.14 บาท อัตราภาษี 10% ภาษีที่คำนวนได้ 11,285.71 รวมภาษีที่ต้องชำระ 11,285.71 หัก : ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือน ( 12,000.00 ) ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินปันผล ( 200.00 ) เครดิตภาษีเงินปันผล ( 857.14 ) ภาษีที่ชำระเกิน (ขอคืน) ( 1,771.43 )
หวังว่าเกร็ด เล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ จะทำให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เข้าใจเรื่องเครดิตภาษีเงินปันผลบ้าง
ไม่มาก
ก็น้อย
//www.rd.go.th/publish/11162.0.html
ที่มา : กระทู้จาก Pantip >>> //topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3327067/I3327067.html
Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2554 |
|
6 comments |
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2554 14:55:36 น. |
Counter : 4371 Pageviews. |
|
 |
|