เสียงของไม้ชนิดต่างๆ ที่นิยมนำมาทำขลุ่ย


ไม้จริง หรือไม้เนื้อแข็งที่ผ่านการเจาะรูด้วยเครื่องมือช่าง แบ่งเป็นที่นิยมหลายประเภทไม้ จากประสบการณ์ตรงของผมเอง พอจะสรุปได้ดังนี้

  1. ไม้สัก ไม้สักเป็นไม้สีสวยอ่อนๆ ขลุ่ยในภาพนี้ให้เครดิตช่างโสภณครับ นุ่มละมุน มีเสียงที่อ่อนหวาน เสียงออกจะเบา ทุ้ม เหมาะกับการเป่าคนเดียวในที่ทึบ เป่านอกบ้านเสียงหายหมด ข้อเสียคือตรงจุดนี้นั่นแหละ ไม่อาจนำไปเป่าร่วมกับวงได้ เพราะเสียงเบาเกิน แต่หลังจากที่ได้ทำการทดสอบ เสียงเบาหรือดังอยู่ที่ช่างทำขลุ่ยด้วยเช่นกัน ขลุ่ยของช่างหลายท่านที่ฝีมือติดความนิยม ไม้สักเสียงดังเช่นกัน เช่น ไม้สักท่านโสภณ เป็นต้น ผมจึงย้ำเสมอว่าอยู่ที่ช่างมากกว่าที่ไม้




  1. ไม้ชิงชัง เป็นไม้เนื้อแข็งมาก เสียงค่อนข้างหวานกระด้าง สำหรับคนที่ชอบเป่าแนวลูกทุ่ง ผมแนะนำตัวนี้เลย




  1. ไม้ดำดง ไม้ชนิดนี้สวยงามมาก ส่วนตัวชอบแบบติดลายเหลืองๆ มาด้วย เสียงขลุ่ยจะหวานมาก นุ่มมาก แต่ไม่ทุ้ม (ปล. ส่วนตัวผมชอบไม้ชนิดนี้ครับ)




  1. ไม้มะริด เสียงจะอยู่ตรงกลางระหว่างไม้ชิงชักกับไม้สัก อันนี้ด้วยความเข้าใจของผมนะครับ เสียงมันจะหวานก็ไม่หวาน จะแข็งก็ไม่แข็ง อยู่กลางๆ แต่ผมชอบลายไม้มะริดครับ




  1. ไม้มะเกลือดำ เสียงออกแข็งดุๆ ส่วนตัวเคยทำมาใช้ 2 เลา แตกง่ายมาก อยู่ๆ ก็ลั่นแตกไปดื้อๆ ตรงส่วนนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นที่ผมเองหรือว่าไม้มันลั่นง่าย




  1. ไม้มะเกลือเลือด ในภาพประกอบเป็นเครดิตคุณเติ้ลครับ ผมเคยลองใช้อยู่แต่เป็นของคนอื่น ไม่ใช่ของคุณเติ้ลนะ เสียงนุ่มแหลม ใช้ได้เลย แต่พอขึ้นเสียงสูงจะแหบๆ ตรงจุดนี้ไม่แน่ใจว่า เป็นที่ช่างหรือตัวไม้




  1. ไม้พญางิ้วดำ เสียงออกด้านๆ แต่ใสกังวาร ฟังไปฟังมาคล้ายขลุ่ยพีวีซี




  1. ไม้กระพี้เขาควาย เสียงคล้ายชิงชัน แต่หวานกว่า




  1. ไม้รัก เสียงออกเบาๆ ส่วนตัวผมไม่ชอบครับ เพราะจะหวานก็ไม่หวาน จะดุก็ไม่ดุ ถ้าเป็นรักแดงบางชนิด จะมีพิษ คนแพ้อาจผิวอักเสบได้ต้องระวัง




  1. ไม้พยุง เสียงหวานออกดุๆ ไพเราะใช้ได้เลย




  1. ไม้รวก ผมให้คะแนนไม้รวกเป็นอันดับ 1 ครับ ข้อเสียคือพกไปไหนมาไหนลำบาก ผมเคยใส่กล่องอย่างดิบดีบินไปอเมริกา พอเปิดกล่องแตกตั้งแต่หัวยันหางขลุ่ย T^T
    ข้อเสียของไม้ลวก คือ โคนใหญ่ปลายเรียว ทำเสียงคีย์สากลไม่ตรงหรือตรงยากมาก และเสี่ยงต่อการชำรุดง่าย




  1. พีวีซี ภาพนี้เครดิตภาพช่างวิรัตน์ ส่วนตัวผมมองว่าเสียงดีกว่าไม้บางเลานะครับ แถมเสียงไม่ค่อยตกเวลาอากาศเปลี่ยน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่างด้วย เพราะมี 3 ท่อนที่สามารถปรับจูนเสียงได้ โดยการขยับเลาให้ยาวขึ้นทั้งหัวท้ายให้เท่ากันนั่นเอง โดยที่เมื่อขลุ่ยยาวขึ้น เสียงจะต่ำลง ใช้ปรับในกรณีที่อากาศร้อนที่ทำให้ขลุ่ยเสียงสูงขึ้น



  2. ไม้ตะแบกขาว เสียงคล้ายไม้สักมาก แต่จะดุกว่า และหวานน้อยกว่า



  3. ขลุ่ยไม้มะขาม เสียงใสกังวาลดัง แต่แข็งกร้าว ไม่เหมาะเอามาเล่นเพลงเศร้านัก



  4. ไม้แอฟริกันแบ็คหวูด (African Blackwood) สีดำของไม้พอส่องกับแสงจะออกสีทองปนเหลืองส้ม เสียงคล้ายคลึงไม้พยุงมาก แต่ใสและกังวาลกว่า ส่วนความนุ่มน้อยกว่าไม้พยุงนิดหน่อย






ทั้งนี้ทั้งนั้นเสียงจะดีกว่าที่เขียนไว้ หรือใช้งานได้มากกว่าที่เขียนไว้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเก่ง ของช่างที่ทำขลุ่ย ส่วนตัวผมเองเคยเห็นกับตาแล้วว่าช่างเก่งๆ สามารถทำให้เสียงไม้แต่ละชนิดดีขึ้นอย่างผิดตา ได้จริงๆ




* หมายเหตุ สำหรับภาพประกอบที่ใช้ ผมนำมาจาก Google นะครับ บางภาพผมทราบที่มาก็จะใส่เครดิตไว้ให้ หากเจ้าของภาพมาเจอภายหลังแล้วยืนยันได้ว่าเป็นเจ้าภาพจริง ต้องการให้ใส่เครดิตเพิ่ม หรือจะให้นำภาพออกก็ยินดีครับ




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 3 สิงหาคม 2560 9:51:15 น.
Counter : 9615 Pageviews.

2 comments
  
ชอบไม้มะริด
โดย: กรกช IP: 182.232.162.189 วันที่: 5 กันยายน 2560 เวลา:9:30:46 น.
  
-- อัพเดท --
ตอนนี้คุณครูพี่จีสมีเว็บไซต์แล้วนะคะ ข้อมูลในนี้อาจจะไม่ได้อัพเดท ถ้ายังไงรบกวนตามไปอ่านที่เว็บได้เลยค่ะ https://sites.google.com/view/jeed
โดย: StarniC วันที่: 15 ตุลาคม 2561 เวลา:15:21:32 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

StarniC
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30