นิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ใน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บอกกันก่อน
นิทานโบราณคดี นี้ นิพนธ์โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูง แต่เพื่อความง่ายในการเล่า และการกล่าวถึงพระองค์ท่าน จึงขอใช้ราชาศัพท์แต่พอดี เป็นลักษณะการเล่าให้ฟัง ก็แล้วกันนะครับ อาจฟังดูเป็นลิเกไปหน่อย ไม่ถูกต้องตามแบบแผนนัก แตก็่ฟังง่ายดีนะ ครับ ย้อนอดีตกันหน่อย
จำได้ว่า หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ต้องอ่านคือเรื่อง พระครูวัดฉลอง โดยคุณครูบอกว่า เป็นเรื่องหนึ่งในที่มีอยู่ในหนังสือ นิทานโราณคดี ซึ่งนิพนธ์โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักหนังสือ "นิทานโบราณคดี" .. ในครั้งนั้น เมื่อฟังชื่อ ก็เห็นว่า แปลกดี แต่ก็ยังไม่ได้ขวานขวายมาอ่าน เพราะยังไม่ได้แปลงร่างมาเป็นหนอนหนังสือรูปหล่อ เหมือนในปัจจุบัน ในที่สุด จึงลืมไปเสีย จนเมื่อโตขึ้น จากเด็กน้อย มัธยมรูปหล่อ มาเป็น หนอน (หนังสือ) ตัวใหญ่ๆ่ เดิน เข้าๆ ออกๆ ร้านหนังสือ บ่อยขึ้น จึงได้มีโอกาสเห็นหนังสือ นิทานโบราณคดี อีกครั้ง และบ่อยขึ้นเรื่อยๆ แต่ ก็ยัง ไม่ได้ คิดจะซื้อมาอ่าน แต่กตั้งใจไว้ว่า ซักวันต้องอ่านให้ได้ แต่จนแล้วจนรอด ... ก็ด้วยความที่หนังสือเล่มนี้ หนา เอาการอยู่ และยังกลัวอีกด้วยว่า จะไปเจอกับการเทศนาวิชาประวัติศาสตร์ น่าเบื่อๆ จึงผลัดวัน ประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง ในวันที่ไม่มีหนังสือจะอ่าน เพราะหนังสือที่หมายหัวไว้นั้น ได้เก็บอ่านจนหมด ไม่มีเหลือ ประกอบกับ หนังสือเล่มหลังๆ ที่ได้อ่านแล้วนั้น เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติสยาม อยู่หลายเรื่อง จึงเกิดความสนุกที่จะอ่าน เรื่องราวแนวนั้นต่อไปต่อไปอีก แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือประวัติศาสตร์ที่จะอ่านนั้น ต้อง ไม่เป็นลักษณะ ของตำราเรียน และถ้าได้เป็นแบบ ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ก็จะดีมาก (เพราะ็ยังติดใจวิธีการเขียน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อยู่หลายเล่ม) ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้ไปถอยหนังสือ นิทานโบราณคดี ป้ายแดง มาจากร้าน ดอกหญ้า สาขาเมเจอร์ รังสิต 1 เล่ม (โฆษณาให้หน่อย เพราะไปถอยมาบ่อย จน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิก พนักงานก็ยังลด 5 - 10% ให้ทุกครั้ง อิอิ )
ทำไมจึงเรียกว่านิทานโบราณคดี จะว่าไป "นิทานโบราณคดี " ก็เป็นหนังสือ ประเภท ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ได้เหมือนกัน (ซึ่งแบบนี้ล่ะ ผม ชอบจริงๆ) เพราะเกิดขึ้นมาจาก การที่ท่านทรงเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตการทำงาน ให้ลูกหลานฟังในเวลาหลังอาหารเย็น และธิดาของท่านองค์หนึ่งคือ ม.จ. หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ได้เห็นว่า เรื่องราวต่างๆที่ทรงเล่านั้น มีคุณค่า และเกรงว่าจะสูญไป ท่านหญิงพูนพิศสมัย จึงได้ทรงขอร้อง ให้กรมพระยาดำรง รวบรวมเขียนเรื่องดังกล่าวขึ้นเป็นหนังสือ ซึ่ง กรมพระยาดำรง ท่านก็เห็นสมควร ตามนั้น แต่กรมพระยาดำรง ท่านปรารภว่า ลักษณะการเขียนของท่านั้น เป็นในลักษณะผู้ใหญ่เล่าให้เด็กฟัง โดยที่ วัน เดือนปี ของเรื่องนั้นๆ อาจจะ เลือนไปบ้าง จึงเห็นว่า น่าจะใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ เพียงแต่อ่านไป ให้ได้ความรู้ และ อนุรักษ์ เรื่องราวโบราณไว้ ไม่ให้สูญ ดันั้น จึงให้เรียกเรื่องที่ท่านเล่าว่าเป็น นิทาน ดังนั้น เรื่องราวต่างๆ ทั้งหลาย ตามที่ ท่านได้รู้ ได้เห็น ได้ยินได้ฟัง และถ่ายทอดออกมานี้จึงเรียกว่าเป็น "นิทานโบราณคดี" ก็ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้ หนังสือเล่มนีเป็นหนึ่งในหนังสือจำนวนมากที่ท่านได้เขียนขึ้น แต ่เล่มนี้ ออกจะ สำคัญกว่าเล่มอื่น อยู่สักหน่อย ตรงที่ เล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายในพระชนม์ชีพของท่าน เนื่องจาก หลังการเขียนเล่มนี้เสร็จเพียง ไม่กี่วัน ท่านก็ สิ้นพระชนม์
เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ มันก็คล้ายกับการดูหนังพีเรียตของช่อง 7 สีทีวีเพื่อใคร ซักเรื่อง นั่นแหละ ครับ เราจะได้รู้ว่า 100 กว่าปีที่แล้วนั้น (หรือมากกว่านั้น) ประเทศไทยของเรานั้นเป็นอย่างไร ผู้คนในสมัยนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ กันอย่างไร มีความคิดเห็น เกี่ยวกับ สิ่งต่างๆอย่างไร เหมือน กับคนสมัยนี้ หรือไม่ ... ซึ่งเรื่องต่างๆนั้น มันก็น่าจะเชื่อถือได้ดีเสียด้วยซิ ก็เนื่องจาก กรมพระยาดำรง ท่านเกิดทัน จึงได้ยินกับหู ได้เห็นกับตา หรือไม่ ก็ได้ รับฟัง มาจากผู้ใหญ่ของท่าน (คิดดูซิ ว่าจะกี่ปี ) ซึ่งเราๆคงหาฟังกันไม่ได้ในสมัยนี้ (ก็ต้องอาศัยอ่านเอานี่แหละ) และที่สำคัญที่สุด กรมพระยาดำรง ท่านไม่ได้เป็นเจ้านายหัวโบราณ นับถือผีสางนางไม้ หรือ เชื่อโชคลางเลื่อนลอย แต่จะนับได้ว่า ท่านนั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ เลยทีเดียว (แน่ล่ะซิ .. ท่านเป็นบิดาของประวัติศาสตร์ นิ) ก็เพราะว่า ข้อมูลที่ท่านรับฟังมาอีกต่อนึงนั้น ท่านจะวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล และนำมาประมวลกัน ก่อนนำเสนอ ประกอบกับข้อวินิฉัยของท่าน เพราะฉะนั้น ก็เชื่อถือได้เลยทีเดียวเชียว เราจะได้รู้ว่า รัชกาลที่ 1 ท่านทำอะไรบ้าง เมื่อครั้งสร้างกรุง และ มีกิจกรรม อะไรบ้างบริเวณรอบๆ พระบรมมหาราชวัง เช่น รถรางต้องหลบช้างหลวง ขณะที่เดินไปอาบน้ำที่ท่าช้าง หรือการที่มีคนชอบแหย่ ช้างหลวงตกมัน ให้วิ่งไล่บนถนนข้างสนามหลวง ซึ่งเป็นที่ครึกครื้นมิใช่น้อย ... ก็น่าสนุกดีนะครับ ... ซึ่งถ้าใครทำงานอยู่แถวนั้น หรือเรียนอยู่แถวนั้น ก็น่าจะได้ลองอ่านดู คงนึกภาพออกไม่ยาก อ้อ ! นอกจากเรื่องในพระนครแล้ว เรื่องตามหัวเมืองก็สนุกมิใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การ ปกครอง บ้านเมืองสมัยก่อน ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร รวมไปถึง เรื่องของโจรร้าย ที่เรียกกันว่า "ไอ้เสือ" ก็สนุก และน่าสนใจมิใช่น้อย
เนื้อหาในเล่มมีอะไีบ้าง เนื้อหาในเล่มนั้น อาจจะเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ครับ
1 .) เรื่องที่ว่า้ด้วยเรื่องราวในพระนคร 2.) เรื่องที่ว่าด้วยเรื่องราวตามหัวเมืองต่างๆ และ 3.) เรื่องราวเมื่อครั้งเสด็จไปต่างประเทศ แล้วก็ขอเล่าเรื่องแต่ละกลุ่มโดยสังเขป เลยนะครับ 1.) เรื่องราวในพระนคร อ่านแล้ว ก็ได้รู้ถึงบรรยากาศเก่าๆของพระนคร เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว อันเป็นสิ่งที่ท่านเห็นด้วยตาเอง หรือได้พูดคุยสนทนากับบุคคลต่างๆ โดยเรื่องราวดังกล่าว บางครั้งก็ย้อนไปได้เมื่อครั้งตั้งกรุง กระทั่ง เลยไป ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็เนื่องจากขุนนางเก่าสมัยครั้งกรงุศรี นั้น ก็ยังสืบเชื้อสาย แล้วกลับเข้ามา รับราชการอยู่ในสมัยนี้มิใช่น้อย ท่านจึงมีโอกาสรับรูเรื่องราวต่างๆ ผ่านท่านต่างเหล่านั้น ในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 นั้น ประเทศสยาม มีการปรับตัวสู่ความเป็นอารยะ เฉกเช่นประเทศตะวันตก โดย กรมพระยาดำรง ท่านก็มีบทบาท ที่สำคัญยิ่งในหลายๆด้าน สิ่งต่างๆที่จะทำให้สยามเป็นอารยะ และเป็นที่ยอมรับนั้น หลายๆอย่างเป็นของใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงระบบราชการ ระบบการทหาร ระปกการปกครองประเทศให้เป็นเทศาภิบาล รวมทั้งการปรับปรุงระบบสาธารณะสุขและการอนามัย (ซึ่งเรื่องนี้ออกจะสนุกอยู่สักหน่อย) อันได้แก่ การตั้งโรงพยาบาล การปรับความคิดเกี่ยวกับการคลอดสมัย การทำเซรุ่มพิษสุนัขบ้า การปลูกฝี เป็นต้น ถึงตรงนี้ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเราชาวไทยนั้นโชคดีขนาดไหน ที่ได้พระเจ้าแผ่นดินที่ปรีชาขนาดไหน ใครที่ได้เคยอ่าน "พม่าเสียเมือง" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท ก็คงจะเห็นเช่นเดียวกับผมนะครับว่า เราชาวสยามนั้นโชคดีจริงๆ เพราะ ยุคของ พระเจ้าสีป่อ อันเป็นกษัตริย์ องค์สุดท้ายของกรุงพม่านั้น ก็มีรัชสมัยอยู่ในช่วง ร.4 และ ร.5 ของเรา นี่เอง หากแต่ ในช่วงนั้นราชสำนักพม่านั้นปิดตัวเอง ไม่ยอมรับการกระแสการเปลี่ยนแปลงจากโลกตะวันตก มีการแก่งแย่งชิงดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ของราชสำนักมากกว่า ประชาชน ในที่สุดจึงเสียเอกราชแก่อังกฤษไป ผิดกับราชสำนักสยาม ดังนั้นจึงต้องนับเป็นพระคุณมหาศาลทีเดียวนะครับ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า จน ถึง พระพุทธเจ้าหลวง ทำให้สยาม อยู่รอดปลอดภัย และเป็นไท มาจนบัดนี้ แม้จะต้องเจ็บตัวบ้างเล็กน้อยก็ตาม
... ออกทะเลไปไกลเชียว ... พาย กลับเข้าหาฝั่งดีกว่า ... หุหุ ... 
นอกจากเรื่องราวการบรหารราชการงานเมืองแล้ว ยังมีเกร็ด หรือเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น เรื่องของ นายกุหลาบ เจ้าของหนังสือ พงศาวดารฉบับ ขุนหลวงหาวัด ซึ่งแก ก็ เกรียน ได้สุดๆ ไปเลย โดยที่ใน หลวงรัชกาลที่ 5 ท่านก็ดี๊ ดี ไม่เอาความ อะไีรมากมาย อ่านแล้วก็สนุกดีครับ 
2.) เรื่องราวที่ออกตรวจราชการตามหัวเมือง กรมพระยาดำรง ท่านทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรก และ ด้วยความที่ท่าน ออกจะเป็นเจ้านายหัวก้าวหน้า (เป็นบุญประเทศในตอนนั้นทีเดียว) ท่านจึงดำริว่า ควรมีการ ออกตรวจราชการ ตามเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาจักร ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้นไม่มี เพราะ ในอดีตจะถือกันว่า เจ้านายผู้ใหญ่ จะ เสด็จไปยังหัวเมืองต่างๆ ก็เฉพาะมีเรื่องร้ายแรงจริงๆ หรือ เฉพาะเมื่อยามมีศึกสงคราม มาประชิดบ้านเมืองเท่านั้น และการเดินทางออกตรวจราชการ ตามหัวเมืองต่างๆ ที่ท่านได้ นำมาเล่า ไว้หลายเรื่อง นั้น อ่านไป อ่านไปอ่านมา แล้วนึกไปว่า นี่เรากำลังอ่านเพชรพระอุมาอยู่เรอะ !! ด้วยภาพการเดินทางที่ท่านบรรยายนั้นมันช่างทรหดเหลือเกิน เช่น การเดินทางไปแค่ เพชรบูรณ์ นั้น มันช่างเหมือนกับ ฉากเดินป่าในเพชรพระอุมา ซะนี่กระไร เจอสิงสาราสัตว์ สารพัด นี่แค่เพชรบูรณ์นะ ไม่ต้องนึกถึงเลยว่าการ เดินทางไปถึงมณฑลพายัพ (เชียงใหม่) นั้น จะขนาดไหน !!! อ่านเรื่องราวตามหัวเมืองต่างๆ ตามที่ท่านเล่านั้น ก็เพลินดีครับ ได้รู้ได้เห็น ว่าสภาพบ้านเมือง ที่คนกรุงเทพ เรียกกันว่าต่างจังหวัดนั้น สมัยก่อนเป็นอย่างไร สำหรับคนที่ชอบแบกเป้ไปเที่ยวที่ต่างๆ ถ้า อ่าน ก็คงชอบใจไม่น้อยนะครับ เพราะสิ่งที่ได้ไปเห็นในปัจจุบัน กับ อดีตเมื่อร้อกว่าปีที่แล้วเนี่ย มันคนละเรื่องกันจริงๆ แต่ ... รู้ไหมครับ ? ... สิ่งหนึ่ง ที่รู้สึกได้ว่า ไม่เปลี่ยนเลยตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา คืออะไร ? .. สิ่งนั้น คือ รอยยิ้ม และน้ำใจของคนไทย ไงครับ ... ลองอ่านเรื่อง "เสด็จประพาสต้น" ของในหลวงรัชกาลที่ 5 ดูซิครับ ... แล้วก็ ลองแบกเป้ ไปเที่ยวต่างจังหวัด (แบกเป้ไปพบปะผู้คนนะครับ .. ไม่ใช่ไปกับ ทัวร์) ไปสัมผัส ดูซิครับ ... แล้วจะเห็นว่า ความมีน้ำใจของคนไทยเนี่ย มันอยู่ในสายเลือดจริงๆ วันนี้นั่งคุยกับฝรั่งคนหนึ่ง ที่เจอกันทุกวันที่ ฟิตเนส แกเป็นคนอังกฤษ ที่ไปเกิดและเติบโตที่ ประเทศอเมริกาใต้ อายุตอนนี้ก็น่าจะ 60 - 70 แล้วล่ะ เมื่อก่อนแกทำงานอยู่หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ UN ตอนนี้แกมาอยู่เมืองไทยคนเดียวได้ 2 ปีกว่าแล้ว แกก็บอกอย่างที่ผมบอกไปน่ะครับว่า ที่เลือกมาอยู่นี่ก็เพราะ ประทับใจไทยแลนด์ คนไทยมีน้ำใจกับคนแปลกหน้า มากกว่าทุกประเทศที่แกเคยไปอยู่ครับ
3.) เรื่องราวที่เสด็จไปต่างประเทศ กรมพระยาดำรง ได้มีโอกาศเสด็จแทนพระองค์ ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้ากรุงอังกฤษ และใน ขากลับ ก็ได้แวะเที่ยวอียิปต์และอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียนั้น ท่านได้พักอยู่เป็นเวลาหลายเดือน ท่านได้พบ ได้เห็น ได้พูด คุยกับบุคคลต่างๆ มากมาย ท่านเล่าว่า ท่านธรรมปาละ ที่ ก่อนตั้งโพธิสมาคมที่ อินเดีย ก็เคยเคืองกับ ท่าน ด้วยความที่ว่า ท่านไม่เห็นด้วยกับวิธีที่ใช้ในการทวงคืน สังเวชนียสถานจาก พวกพราหมณ์มหันต์ ที่ยึดครองอยู่ เป็นต้น ก็เพิ่งรู้เหมือนกัน สำหรับประเทศอินเดียนั้น อ่านแล้วออกจะเฉยๆ ไปซักหน่อย เพราะ บางส่วน ก็ได้ซึมซับ มาจากหนังสือเล่มอื่น มาแล้วพอสมควร เวลาอ่านก็เอาแค่สนุก อ่านให้ได้รู้ว่าบ้านอื่น เมืองอื่น สมัย ร้อยกว่าปี ที่แล้วนั้น เค้าเป็นอย่างไรกัน แต่สิ่งหนึ่งที่อ่านแล้วออกจะภูมิใจอยู่ คือ ดูเหมือนว่า ราชวงศ์ของเราก็มี พาวเวอร์ในระดับนานาชาติอยู่พอตัว มิใช่อำนาจทางการทหาร แต่คงเป็นอำนาจทางการทูต อันเกิดจากการที่ พระพุทธเจ้าหลวง ท่านทรงเจริญไว้ กับมหาอำนาจต่างๆ ซึ่งเจ้าประเทศอื่นก็ เกรงใจ และให้เกียรติ เรามากทีเดียว ก็คงเป็นเหตุหนึ่งกระมัง ที่ทำให้เรารอดพ้น จากการเป็นเมืองขึ้นมาจนปัจจุบัน (อ่ะ อ่ะ อย่าหาว่าเพราะเราเป็นรัฐกันชนนะครับ .. ลองอ่านความเห็นของทูตญี่ปุ่น สมัย ร.7 ชื่อ ยาสุกิ ยาตาเบ ดูซิครับ ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ การปฏิวัต และการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่หนา แต่เนื้อหาน่าสนใจไมากครับ .. ผมอ่านจบแล้ว ก็เอาไว้ว่างๆ จะเอามา รีวิวนะครับ) นอกเหนือจากสามกลุ่มดังกล่าวแล้วนั้น ยังมีอีกเรื่อง ที่ผมเองออกจะประทับใจเป็นพิเศษ นั่นคือเรื่องที่ว่าด้วย การคล้องช้าง การคล้องช้าง
ถ้าจะถามว่า "ช้าง" มีความสำคัญต่อ ชาติไทยสมัยโบราณอย่างไร เอาเป็นว่า ถ้้าผมจะเปรียบให้ช้าง สมัยก่อน เป็น รถถัง กับ เครื่องบินรบ ของสมัยนี้ ก็คงไม่เกินความจริงไปนัก เพราะ ช้าง นั้น ถือว่า เป็นอาวุธ ทำลายล้างชนิดสำคัญเลยทีเดียว ก่อนที่ "ปืน" จะเข้ามามีบทบาทดังนั้น ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้างนั้น จึงเป็นราวที่จำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการ ไปเอาช้างป่ามาฝึกหัดใช้งาน ทั้งงานทั่วไป จนกระทั่งเป็นช้างรบ การจับช้างป่ามาใช้งานนั้น เรียกว่า การคล้องช้าง ซึ่งทำกันใน เพนียด ซึ่งสมัยเด็กๆ เคยไปดู เพนีดคล้องช้าง ที่อยุธยา ก็ไม่เห็นจะน่าตื่นตาแต่อย่างใด อ่านเรื่องราวข้อมูลของการคล้องช้างจากที่ื่อื่ื่นๆ ก็ไม่รู้สึกว่าจะสนุกตรงไหน แต่แหมมมมม อ่านที่กรมพระยาดำรงท่านเล่า จากที่ท่านได้เห็นเองเนี่ย มัน น่าสนุก จริงๆ ดูน่าตื่นตาตื่นใจจริงๆ แต่ก็อย่างที่บอกครับว่าเมื่อดินปืนเข้ามามีบทบาท ช้างก็เริ่มสำคัญน้อยลงตามลำดับ ซึ่ง การใช้ช้าง ในการสงครามครั้งสุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ท่านเล่าว่า เกิดขึ้น ในครั้งปราบญวน ในสมัย รัชกาลที่สาม เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากนั้น ก็ไม่มีการใช้ช้างในราชการสงครามอีกเลย คงมีเพียง แค่จับช้างเถื่อน มา เพื่อ ใช้แรงงานเท่านั้น หรือ ใช้เป็นการแสดงอันตื่นตาตื่นใจ สำหรับ ราชอาคันตุกะ เท่านั้น สำหรับปัจจุบัน ก็ ไม่ต้องพูดถึง เราคงหาช้างเถื่อนมาคล้องให้ดูไม่ได้อีกแล้ว การแสดง การคล้องช้างนั้น ก็ทำโดยใช้ช้างที่เชื่องๆ มาแสดง ไม่มีขัดขืน แต่การคล้อช้างตามที่ท่านเล่านั้น เป็นช้างป่าจริงๆ ซึ่งดุเอาเรื่อง เพราะฉะนั้น การคล้องแต่ละที ย่อมตื่นตาตื่นใจมิใช่น้อย เพราะควาญ อาจตาย ได้ง่ายๆ สนุกจริงๆครั้งเรื่องการคล้องช้าง ... เฮ้อ.. เอาเป็นว่า ถ้าชอบช้างล่ะก็ หาอ่านได้จากเล่นนี้ได้ ไม่ผิดหวัง แน่นอน สรุป
หนังสือเล่มนี้อาจจะไมใช่ประเภทอ่านได้ขำๆ เพลินๆ โดยถ้าจะต้องให้บอกว่า เหมาะกับใครนั้น ก็ อาจจะกล่าวได้ว่า เหมาะกับ 1.) ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย 2.) ผู้ที่ชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้านายและราชวงศ์ ... ก็แน่นอนครับ ผู้แต่งเป็นเจ้านายชั้นสูง นั่นก็ย่อมต้องมีเร่องราวในรั่วในวังอยู่มิใช่น้อย และ 3.) ผู้ที่ชื่นชอบงานเขียนโดยใช้ภาษาสวยงาม แบบเก่าๆ แต่ก็ยังไม่ถึงกับโบราณ อ่านไม่รู้เรื่อง
สำหรับ ผม ที่เป็น ผู้ใหญ่ เอ๊ย เด็กแว๊น นุ่งเดฟ เดินสยาม ก็ ยังคิดว่าเรื่องนี้อ่านสนุกอยู่มิใช่น้อย นะครับ ก็็ขอ คัดเอา ข้อความบางตอนจากเวปไซด์ www.prince-damrong.moi.go.th มาลงซะเลย ด้วยเห็นว่าสะท้อนคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ออกมาได้อย่าครบถ้วน ดังนี้ ครับ "... หนังสือนิทานโบราณคดี จึงไม่เป็นเพียงหนังสือที่อ่านสนุกเท่านั้น แต่ให้ความรู้มหาศาล สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงใช้ภาษาง่ายๆ ในการเขียน ทรงคัดแต่เรื่องที่น่าสนใจที่มีลักษณะแปลกๆ โดยเฉพาะบรรยากาศของยุคสมัยที่เป็นสังคมของชาวบ้านท้องถิ่น บุคลิก อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของสามัญชนไทยในสมัยนั้น ซึ่งไม่สามารถหาอ่านได้ง่ายนัก ได้อย่างน่าสนใจ ... " อย่างไรก็ตาม ก็ควรระลึกซักนิดนะครับว่า การ อ่านหนังสือหนังสือเล่มนี้ มันก็เหมือนกับ การนั่ังฟังกรมพระยาดำรง ท่านทรงเล่าความหลังให้ฟัง ซึ่งแน่นอน เรื่องราวทั้งหมดนั้น ย่อมเป็น "มุมมอง" และ "ความเห็น" ของพระองค์เอง ทั้งนั้น นะครับ หลังจากอ่านจบ
ผมมีความรู้สึกว่า ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านาย ที่ปกครองบ้านเมือง ตามระบอบ สมบูรณายาสิทธิราช นั้น มีความเอาใจใส่ในราชการแผ่นดิน ห่วงใย อาณาประชาราษฎร์ ปฏิรูปสิ่งต่างๆที่ล้าสมัย เพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข แล้ว นับไปอีกเพียง 2 รัชกาล ทำไมคณะราษฎร จึงต้องก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย จึงได้ไปเจอหนังสือ เล่มนึงที่น่าสนใจทีเดียว ชื่อ การปฏิวัต และ การเปลี่ยนแปลง ในประเทศสยาม ซึ่งแต่งโดย ยาสุกิ ยาตาเบ ซึ่งเป็นทูตญี่ปุ่นในสมัยรัชกาลที่ 7 มันน่าสนใจตรงที่ผู้แต่งไม่ได้เป็นคนไทย คงนับได้ว่าเป็นคนกลางจริงๆ ... ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจ และเห็นภาพพจน์อะไรๆ ได้ดีขึ้น ครับ ... แนะนำให้อ่านครับ 
อ้อ เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่หนา แต่เนื้อหาน่าสนใจมากครับ
Free TextEditor
ข้อมูลหนังสือ
เรื่อง : นิทานโบราณคดี ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์ : ดอกหญ้า 2545 ราคา : 245 บาท (560 หน้า)
Free TextEditor
Create Date : 24 สิงหาคม 2551 | | |
Last Update : 25 สิงหาคม 2551 22:54:05 น. |
Counter : 4877 Pageviews. |
| |
|
|
|