ดอลลาร์ผันผวน จับตาประชุมเฟด สัปดาห์หน้า

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันที่ 20-24 ตุลาคม 2557 ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ (20/10) ที่ระดับ 32.37/39 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (17/10) ที่ 32.37/38 บาท/ดอลลาร์ โดยภายหลังจากเปิดตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินบาททยอยปรับตัวแข็งค่าขึ้น และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ระดับ 32.23 บาท/ดอลลาร์ (21/10) หลังจากที่เงินดอลลาร์ถูกกดดันจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยตั้งแต่ต้นปีนี้เงินบาทแข็งค่าแล้วราว 2% ทำให้กลายเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคในปีนี้ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา อาจเรียกได้ว่าอยู่ในภาวะซบเซา (Stagnation) หากมองในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการว่างงาน และในขณะนี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในฟื้นตัว และพ้นจากภาวะซบเซา (Stagnation) ไปแล้ว แต่ยังถือเป็นช่วงรอยต่อที่สำคัญ อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าอีกครั้ง และอ่อนค่าต่อเนื่องจนกระทั่งปิดตลาดท้ายสัปดาห์ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาสดใสอย่างต่อเนื่อง โดยที่ข้อมูลยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐปรับตัวขึ้นดีเกินคาดที่ 2.4% ในเดือนกันยายนแตะระดับสูงสุดในรอบหนึ่งปีที่ 5.17 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นจากการที่ปรับตัวลงโดยไม่คาดหมายในเดือนสิงหาคมที่ระดับ 5.05 ล้านยูนิต ประกอบกับดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน ก.ย.เมื่อเทียบกับที่คาดไว้ว่าจะทรงตัว ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ 283,000 รายในสัปดาห์ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดไว้ว่าอยู่ที่ 282,000 ราย โดยเมื่อดูจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ จะพบว่าลดลงสู่ 281,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 200 นอกจากนี้ ผลประกอบการที่สดใสของหลายบริษัทในสหรัฐ อาทิ แคเทอร์ฟิลลาร์ และ 3 เอ็ม ช่วยหนุนหุ้นสหรัฐให้พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ (23/10) และช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วย อย่างไรก็ดี ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (28-29/10) เพื่อหากรอบเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 32.29-32.43 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (24/10) ที่ระดับ 32.40/42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดวันจันทร์ (20/10) ที่ระดับ 1.2756/58 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (17/10) ที่ระดับ 1.2813/16 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร โดยหลังจากเปิดตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ค่าเงินยูโรทยอยปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังความวิตกกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ลดความน่าสนใจของเงินดอลลาร์ลง ก่อนที่เงินยูโรจะอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์และเคลื่อนไหวทรงตัวจนกระทั่งปิดตลาดท้ายสัปดาห์ หลังจากรอยเตอร์รายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กำลังพิจารณาการซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนในตลาดรอง และอาจจะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจโดยหวังให้กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมองว่าจะเริ่มซื้อในช่วงต้นปีหน้า อย่างไรก็ดี แม้ค่าเงินยูโรจะฟื้นตัวขึ้นบ้างในช่วงสั้น ๆ หลังจากที่ข้อมูลระบุว่า ภาคธุรกิจของยูโรโซนขยายตัวอย่างไม่คาด แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปอย่างจำกัด จากความวิตกเกี่ยวกับภาคธนาคารของยุโรปกดดันค่าเงินยูโร หลังจากสำนักข่าว Efe ของสเปนเปิดเผยว่า มีธนาคารอย่างน้อย 11 แห่งไม่ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และอีซีบีจะเปิดเผยผลการทดสอบสำหรับธนาคาร 130 แห่งในวันอาทิตย์ (26/10) นี้ พร้อมระบุว่า ผลการทดสอบขั้นสุดท้ายยังไม่ได้ถูกส่งไปให้ธนาคารที่เกี่ยวข้อง และไม่สามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถาบันแต่ละแห่งได้ ทั้งนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1.2612-1.2839 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (24/10) ที่ระดับ 1.2652/55 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

ส่วนการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนนั้น ค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (20/10) ที่ระดับ 107.12/14 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (17/10) ที่ระดับ 106.53/54 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยหลังจากเปิดตลาดค่าเงินเยนทยอยฟื้นตัวขึ้น หลังตลาดยังคงมีความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้นักลงทุนระมัดระวังต่อสินทรัพย์เสี่ยง และกลับเข้าถือสกุลเงินปลอดภัยสูง ก่อนที่เงินเยนจะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปิดตลาดท้ายสัปดาห์ ภายหลังากที่ตัวเลขยอดขายบ้านสหรัฐที่สดใส และผลประกอบการที่สดใสของหลายบริษัทในสหรัฐ หนุนการถือครองดอลลาร์กลับเข้ามา และลดความต้องการเงินเยนลง ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลการส่งออกของญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 6.9% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นสัญญาณขั้นต้นที่บ่งชี้ว่า อุปสงค์ในต่างประเทศกำลังเริ่มที่จะกระเตื้องขึ้น โดยคาดไว้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.8% ในเดือน ก.ย. หลังร่วงลง 1.3% ในเดือน ส.ซค. ส่วนการนำเข้าพุ่งขึ้น 6.2% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ที่ระบุว่าเพิ่มขึ้น 3.0% ส่วนดุลการค้าของญี่ปุ่นขาดดุล 9.583 แสนล้านเยน (8.96 พันล้านดอลลาร์) เมื่อเทียบกับตัวเลขประมาณการยอดขาดดุลที่ 7.770 แสนล้านเยน นอกจากนี้ การรายงานในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ที่ทำให้เกิดข่าวลือเรื่องการผ่อนคลายนโยบายมากขึ้นจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้เข้ากดดันเงินเยนเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้ตลอดทั้งสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 106.22-108.35 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดวันศุกร์ (24/10) ที่ระดับ 108.12/15 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสำคัญที่น่าสนใจ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานยอดขายบ้านใหม่เดือน ก.ย. ในคืนนี้ (24/10), มาร์กิตเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน ต.ค., สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือน ก.ยง (27/10), กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก.ย., สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์เปิดเผยราคาบ้านเดือน ส.ค., Conference  Board เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือน ต.ค. และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มการประชุมกำหนดนโยบายการเงินวันแรก (28/10), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมติการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (29/10), กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 3/2014, สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือน ต.ค. และรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือน ต.ค. (31/10)




Create Date : 25 ตุลาคม 2557
Last Update : 25 ตุลาคม 2557 13:20:53 น.
Counter : 44822 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

underhil
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2557

 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog