Image Hosted by ImageShack.us

Group Blog
 
All blogs
 



การคิดค่าระวางเรือ Container





 



การขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ได้รับการยอมรับเป็นรูปแบบการขนส่งมาตรฐาน โดยคิดเป็น สัดส่วนประมาณถึง 95% ของการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยผู้ประกอบการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ จะมีเพียงไม่มากรายเมื่อเทียบกับปริมาณของการขนส่ง โดยผู้ให้บริการสายการเดินเรือ ซึ่งเรียกว่า Carrier จะมีการรวมตัวกันเป็นชมรม (Conference) ซึ่งจะมีบทบาทต่อการกำหนดค่าขนส่งสินค้า และค่าบริการในอัตราที่บางครั้งมีลักษณะกึ่งผูกขาด โดยชมรมสายการเดินเรือที่สำคัญของโลกอาจประกอบด้วย


 


1) Far Eastern Freight Conference (FEFC) ซึ่งจะเป็นบริการรับขนสินค้าจากเอเซียไปยุโรป โดยเน้นที่สินค้าที่ไปทางทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งจัดว่าเป็นอาณาบริเวณซึ่งมีการขยายตัวประมาณ 24% และสินค้าที่ไปทางรัสเซียด้านตะวันออก St.Petersburg


 


2) Asia / West Coast South America จะเป็นการเดินเรือในด้านตะวันตกของเอซีย จนไปถึงทวีปอเมริกาใต้


 


3) Informal Rate Agreement (IRA) ชมรมนี้จะครอบคลุมธุรกิจจากเอเชียไกล ไปถึงเอเชียภาคตะวันออกกลาง ครอบคลุมไปถึงเกาหลี , จีน , ฮ่องกง , ใต้หวัน , เวียดนาม , ไทย , ฟิลิปปินส์ , มาเลเซีย , สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย


 


4) Trans Pacific ครอบคลุมอาณาบริเวณริมมาหสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ ,อเมริกา West Coast


 


วิธีการคิดค่าระวางเรือ หรือ ค่า Freight


 


เนื่องจากในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประเภท Container Ship จึงควรเข้าใจถึงลักษณะและประเภทของ Container ซึ่งจะเป็น Durable Packing เป็นลักษณะตู้ทำด้วยเหล็กหรือ อลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต


 


บริษัทเรือจะต้องเป็นผู้เตรียมตู้ Container โดยผู้ที่จะใช้ตู้จะต้องทำการจองตู้ โดยเอกสารที่เรียกว่า Shipping Particular หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าใบ Booking รายละเอียดจะต้องคล้องจองกับ Letter of Credit (L/C)


 


เอกสารที่ใช้ในการเป็นใบรับสินค้าของตัวแทนบริษัทเรือ จะเรียกว่า Bill of Lading (B/L) หรือใบตราส่ง ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการเป็นเอกสารในการเรียกเก็บเงินจากทางธนาคาร ซึ่งเรียกว่า Bank Negotiated Process


 


ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศคู่ค้า จะต้องมีการตกลงว่า ผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้า จะเป็นคนจ่ายค่าระวางเรือที่เรียกว่า Freight Charge หากผู้ขายสินค้าเป็นผู้ชำระก็เรียกว่า Freight Prepaid หากจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระค่าระวางเรือเมื่อถึงปลายทาง ก็เรียกว่า Freight Correct


 


การคิดค่าระวางเรือ (Freight Charge Basic)


 


1) Weight Ton คำนวณจากน้ำหนักสินค้าที่บรรทุก และจะมีอัตราการคิดที่แตกต่างกันตามแต่ละประเภทของสินค้า


 


2) Measurement คำนวณจากปริมาตรของสินค้า คือ เป็นการวัดขนาดของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง คำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์เมตร (M3 หรือ CBM) มักจะใช้กับสินค้าที่มีลักษณะ Bulk คือ มีลักษณะเป็น Size Insentive เช่น เสื้อผ้า , ฝ้าย แต่ทั้งที่จะต้องมีการชั่งน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบว่า หากน้ำหนัก (Weight Ton) สูงกว่า ก็จะคิดค่าระวางจากน้ำหนัก


 


3) V (Ad Valorem Goods) คำนวณจาก Degree สินค้ามีราคาสูง ถึงแม้ว่าจะมีปริมาตรน้อย น้ำหนักไม่มาก แต่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การคิดค่าระวางก็จะคิดเพิ่มอีก 3-5 เท่า  ตามมูลค่าสินค้า


 


4) ค่าระวางพิเศษ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่บริษัทเรือ คิดเพิ่มเติมจากค่าระวางพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย


 


(1) ค่าระวาง Surcharge เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษที่มีการเรียกเก็บ เนื่องในกรณีต่างๆ เช่น ภัยสงคราม หรือในช่วงที่มีการ Peak Season


 


(2) Terminal Handling Charge : THC เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการ ขนถ่ายสินค้าทั้งต้นทางและปลายทาง ได้แก่ การใช้เครนที่เรียกว่า Top คือ ค่าภาระ , ค่าลากตู้สินค้า


 


(3) Bunker Adjustment Factor : BAF เป็นค่าระวางพิเศษ ชดเชนภาระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์ด้านน้ำมัน ซึ่งทำให้บริษัทเรือมีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าต้นทุนปกติ ก็จะมีการเรียกเก็บค่า BAF หรือที่เรียกง่ายๆว่า Bunker Charge ซึ่งอาจจะขึ้นและลงได้ เป็นไปตามดุลยภาพของ Demand & Supply


 


(4) Currency Adjustment Factor : CAF เป็นค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยค่าระวางเรือส่วนมาก จะเรียกเก็บเป็นเงินสกุลดอลล่าห์สหรัฐฯ หากกรณีอัตราแลกเปลี่ยนมีการผกผัน ทางบริษัทเรือก็จะมีการเรียกเก็บ


 


(5) Congestion Surcharge เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษเนื่องจากความแออัดในท่าเรือ เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเนื่องจากบางท่าเรืออาจมีการบริหารจัดการไม่ดี ทำให้มีการขนย้ายตู้ขึ้นและลงล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่ทางบริษัทเรือกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุอื่น เช่น การจราจรที่ติดขัด การนัดหยุดงานของคนงาน ซึ่งมีผลทำให้งานล่าช้า


 


(6) Bill of Lading Charge : B/L Charge ค่าออกใบตราส่ง เป็นค่าธรรมเนียมในการที่บริษัทเรือต้องจัดพิมพ์ใบ Bill of Lading ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการแสดงสถานะภาพ (Status) ว่าสินค้าได้มีการขนส่งไปกับบริษัทเรือ ซึ่ง B/L หรือที่เรียกว่าใบตราส่งจะมีออกเป็นหลายฉบับ เช่น ฉบับที่เรียกว่า Original , Duplicate Original , Triple Original และ Copy Non-Negotiate ทั้งหมดนี้ทางบริษัทเรือจะเรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร


 


(7) AMSC : Advance Manifest Security Charge เป็นค่าใช้จ่ายในการที่บริษัทเรือต้อง Input Data 24 ชั่วโมงก่อนการขนถ่ายสินค้า ที่เรียกว่า 24 Hour Rules ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการความร่วมมือ การป้องกันผู้ก่อการร้ายที่เรียกว่า C-TPAT (Customs Trade Partnerships


 


(8) Against Terrorism) ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของ Top Twenty Mega Port ในการขนส่งสินค้า จึงต้องเสียค่า AMSC Charge รวมถึงการแก้ไขเอกสาร





 

Create Date : 06 มีนาคม 2549    
Last Update : 6 มีนาคม 2549 20:53:51 น.
Counter : 1443 Pageviews.  

Container lifting expenses





การส่งมอบสินค้าขาเข้าที่มากับเรือคอนเทนเนอร์ของตัวแทนสายเดินเรือ


บทบาทและหน้าที่ในการส่งมอบสินค้าขาเข้าของตัวแทนสายเดินเรือ จําแนกตามเงื่อนไขการบรรทุก มีรายละเอียดตามตารางดังต่อไปนี้


 













TERM OF LOADING


บทบาทและหน้าที่


CFS. (Container Freight Station)


• นําตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือ


• นําสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์


• ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า ณ ท่าเรือนําเข้า หรือนําสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าของท่าเทียบเรือ


CY (Container Yard)


• นําตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือ


• ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้นําเข้า ณ ท่าเรือนําเข้า


 


การรับมอบสินค้าขาออกที่ส่งออกทางเรือคอนเทนเนอร์ของตัวแทนสายเดินเรือ


บทบาทและหน้าที่ในการรับมอบสินค้าขาออกของตัวแทนสายเดินเรือ จําแนกตามเงื่อนไขการบรรทุก มีรายละเอียดตามตารางดังต่อไปนี้


 













TERM OF LOADING


บทบาทหน้าที่


CFS. (Container Freight Station)


Remark: CFS charge to U.S.A. & Europe


As of Aug 1, 2000


20' = Baht 4,215


40' = Baht 8,430


• จัดหาตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้ส่งออก


• ตรวจนับและบรรจุสินค้าเข้าตู้


• บรรทุกตู้สินค้าขึ้นเรือใหญ่


• ออก B/L


CY (Container Yard)


Remark: (B/L to be stated Shipper Load and Count)


ข้อดี


- ไม่ต้องเสียค่า CFS charge


- ลดการขนย้ายสินค้าหลายทอด


ข้อเสีย


- Shipper จะต้องรับผิดชอบของที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์จนถึงปลายทาง


• จัดหาตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้ส่งออก


• บรรทุกตู้สินค้าขึ้นเรือใหญ่


• ออก B/L


 


การส่งสินค้าออกผู้ส่งออกอาจจะมีภาระในค่าระวางสินค้าหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในเรื่องเงื่อนไขการส่งมอบที่ทําไว้กับผู้ซื้อ แต่ผู้ส่งออกจะต้องมีภาระในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตู้สินค้า ที่ตัวแทนสายเดินเรือเรียกเก็บที่เมืองท่าต้นทาง ดังนี้คือ


1. ค่าเข้าตู้ CFS Charge (Container Freight Station Charge)


2. ค่ายกตู้ THC Charge (Terminal Handling Charge)


 


สําหรับตู้ส่งที่ออกในเงื่อนไข CFS จะต้องจ่ายทั้งค่าเข้าตู้และค่ายกตู้


ส่วนผู้ที่ส่งออกในเงื่อนไข CY จะมีภาระเฉพาะค่า THC เท่านั้น


ค่าเข้าตู้และค่ายกตู้มีอัตราที่ไม่เท่ากันในการส่งสินค้าไปยังแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บเท่าไร




 

Create Date : 06 มีนาคม 2549    
Last Update : 6 มีนาคม 2549 21:12:51 น.
Counter : 638 Pageviews.  

ISS บริษัทบริหารจัดการเรือใหญ่ที่สุดในโลก







More InfoHistory of ISS


Early origins


The early development of ISS mirrors the early development of the Inchcape Group. The Group can trace its origins back to the 1840s when two of the founding partners, Messrs. McKinnon & Mackenzie established the first ships agency activity in India quickly expanding into the Gulf and Africa. That was followed by the acquisition of over 100 leading agency names giving Inchcape its wide geographic coverage and dominant market position.


Gulf and Asia Development


Gray Mackenzie, operating in the Arabian Gulf, was established in 1862. Borneo Company, trading in South East Asia from the 1850s, was acquired in 1967 and Anglo Thai in 1975. Dodwell joined the Group in 1972 bringing over 120 years experience as market leader in Japan and China. During the 1990s, further acquisitions were made to further strengthen the Group's presence in South East Asia.


European and American Development


Expansion into Europe and the Americas took place during the 1980s and 1990s. In 1981, the South American trading operations of Lloyds Bank were acquired bringing representation in Ecuador and Peru. Further South American operations were established in 1984 in Panama and in 1995 in Argentina and Chile. In 1985 Gellatly's largely North European agency network was acquired, this gave a European base which was developed further in Greece in 1989, the UK and France in 1992, and Suez, Turkey and Scandinavia in 1993. With the acquisition of Southern Steamship in 1990, Inchcape extended into the North American shipping market. The Group subsequently consolidated its position on the West and East coasts with the acquisitions of Williams Dimond in 1991 and Lavino in 1992. In 1992, ISS was established to manage the Group's global shipping operations. The primary task of the ISS's management in 1992 was to transform what was then a loose federation of ship agents into an integrated international network with defined and common service standards world-wide.


Today


ISS is the world's largest independent Marine Management company. Through Net technology we have been able to transform both the speed and accuracy of the operational, financial and port information provided to our clients by our offices worldwide. In partnership with some of the world's leading operators we have built on the strength of our Inchcape inheritance to develop an innovative menu of integrated solutions designed to 'manage' rather than 'report' key information while at the same time broadening our scope from 'the port' to 'the voyage'.


 


 





 

Create Date : 06 มีนาคม 2549    
Last Update : 6 มีนาคม 2549 21:15:30 น.
Counter : 423 Pageviews.  

RCL PSL TTA part 1









    ความคิดเห็นที่ 5

    กราฟสวย
    สัญญาณซื้อจาก RSI Break Out
    และราคา Break Upper Bearish SEC







 
 



จากคุณ : ทวนลมเรโช - [ 20 ก.พ. 49 19:51:18 ]







    ความคิดเห็นที่ 7 อ้าวรูปไม่ขึ้น
    ก.ล. ดูแล้วอย่าเชื่อมาก

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 49 20:03:46


    border=0>






 
 


จากคุณ : ทวนลมเรโช - [ 20 ก.พ. 49 19:56:29 ]








    ความคิดเห็นที่ 8

    ว่าด้วยพื้นฐาน  TTA ประกาศผลประกอบการไม่ดีเลย และประกาศปันผลไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีอะไรเป็นตัวดันราคาขึ้นอีก

    RCL คาดว่าประกาศผลประกอบการไม่ดี (ผู้่บริหารเคยกล่าวไว้แล้ว ลองย้อนหาข่าวเก่าๆดู)  และคาดว่าประกาศปันผลกลาง-ปลายเดือนหน้า  ระยะสั้นราคาจึงยังไม่ไปไกล

    PSL ประกาศผลประกอบการดี  และประกาศจ่ายปันผลอีก wink


    จากคุณ : อาทิตย์จรัสแสง - [ 20 ก.พ. 49 20:12:13 ]







    ความคิดเห็นที่ 9

    อีกไม่นานก็ตามครับ จายเย็นๆๆ

    จากคุณ : ฟางซินเสีย - [ 20 ก.พ. 49 20:22:01 A:58.10.253.238 X: TicketID:108248 ]




 








    ความคิดเห็นที่ 10

    ไปดูที่นี่ครับละเอียดเลยเรื่องเรือ//www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I4116246/I4116246.html


    smile

    แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 49 20:47:11

    จากคุณ : KAi (stangman) - [ 20 ก.พ. 49 20:44:10 ]







    ความคิดเห็นที่ 11

    ต่างชาติเก็บ PSL ครับ เก็บมาสองวันแล้ว

    จากคุณ : ซีเค - [ 20 ก.พ. 49 21:08:28 ]






    ความคิดเห็นที่ 12

    PSL กำไรปี 48  มากกว่าปี 47 =     30%
    แต่กำไร  ต่อไตรมาส 4 ลดลง = 30%
    BV หลังหักปันผลจะราวๆ 17 - 18 บาท
    กองเรืออายุเฉลี่ย 18 ปี  และสั่งซื้อเรือมือสองมาเพิ่ม

    ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่แต่ PSL มีแต่เรือเก่าๆ  แทบทุกบริษัทในโลกนี้ ก็มีแต่เรือเทกองอายุราวๆนี้  เว้นแต่ Dryship ของประเทศกรีก  ที่เพิ่งเข้าเทรดใน Nasdaq ต้นปีที่แล้ว ที่เป็นกองเรือเทกองใหม่หมดทั้งกอง  

    PSL ดำเนินธุรกิจแบบเอกเทศ  ไม่อิงใคร  ฉกฉวยโอกาสทำกำไรให้ได้สูงสุด ณ เวลาที่ควรจะกอบโกย  พึ่งพาค่าขนส่งเพียงอย่างเดียว เหมาะคนใจถึง  high risk high return  

    ในขณะที่ TTA  มีบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย  ขณะนี้ อยู่ภายใต้ umbrella ของ Inchcape Corp ที่ดูแลบริษัทเรืออีก 200 บริษัททั่วโลก  และธุรกิจอื่นๆสารพัดอีกนับพันบริษํท


    RCL  กำไรปี 48  คิดแค่ 3 ไตรมาส  ต่อให้ไตรมาส 4 ไม่มีกำไรเลย  ก็กำไรมากกว่าปี 47 ทั้งปี   ตั้ง       75%
    BV  หลังหักปันผลจะราวๆ 21 - 22 บาท  
    กองเรือมีอายุเฉลี่ยแค่ 5 ปี  เพิ่งซื้อเรือใหม่เอี่ยม 6 ลำ มูลค่ารวม 8,000 กว่าล้านบาท

    RCL ดำเนินธุรกิจแบบก้าวไปข้างหน้า  ขยายช่องทางการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ  เพราะฉะนั้น ห้ามดูแต่ปันผลเพียงอย่างเดียว  มีสาขาใน 19 ประเทศ  สำนักงานมีที่ทั้งซื้อขาดและเช่า

    ลงทุนการเดินเรือ การท่าเรือ ลานพักสินค้า เรือเทกอง  holding and investment ทั้งลงเอง 100% และร่วมกับพันธมิตร  จะมีการ bid projects การสร้างท่าเรือใหม่ๆ

    รายได้ส่วนใหญ่มาจากสาขาที่สิงคโปร์  ไม่ใช่ประเทศไทย ในไทยกินแค่ 10%  ปีที่แล้วสาขาสิงคโปร์เข้ามาขอการส่งเสริมการลงทุนสร้างเรือ container เงินลงทุนเบื้องต้น 1000 ล้านบาท

    สรุป  

    ถ้าชอบเก็งกำไรสั้นๆ  ซื้อ PSL  

    ถ้าชอบแบบ มี back up แข็ง กระจายความเสี่ยง ซื้อ TTA  

    ถ้าชอบลงทุนระยะยาวกับบริษัทที่ทันสมัย  หัวคิดก้าวไกลเจ้าของมีธรรมาภิบาลสุง  ซื้อ RCL

    ยังไม่จบ แต่หิวข้าวและขี้เกี่ยจพิมพ์แล้ว  เมื่อยจัด


    จากคุณ : prettypetite - [ 20 ก.พ. 49 21:19:48 ]




 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 6 มีนาคม 2549 20:03:32 น.
Counter : 604 Pageviews.  

ประวัติท่าเรือคลองเตย














ย้อนรอยอดีต ปากแม่น้ำเจ้าพระยา “กว่าที่การท่าเรือฯจะขุดลอกสันดอนได้”





โดย สกุลไทย ฉบับที่ 2427 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 24 เมษายน 2544
โดย นิพนธ์ เกตุวงศ์


 


ณ ห้วงน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า ถ้าใครเคยขึ้นเรือท่องออกไปในทะเลกว้างจะมองเห็นแนวน้ำชนกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำทะเลเป็นสายน้ำสีขุ่นคล้ำเมื่อบรรจบกับพื้นน้ำสีเงินยวงจะเลื่อนไหลเป็นทางอย่างช้าๆ ตลอดสองข้างลำเรือ และใต้พื้นท้องน้ำจะมีโคลนตะกอนตกทับถมกัน เป็นระยะทางยาวเกือบ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งเราเรียกว่า “สันดอน” ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เวลาน้ำลงจะเห็นหาดโคลนผุดขึ้นเป็นแนวยาวเหยียดทีเดียว


ในอดีต การขนส่งสินค้าจากเมืองท่าในต่างประเทศ มายังท่าเรือเอกชนที่กรุงเทพฯ โดยเรือเดินสมุทร ต้องแวะขนถ่ายสินค้าที่เกาะสีชัง แล้วจึงขนลงเรือลำเลียงมากรุงเทพฯอีกทอดหนึ่ง ซึ่งทำให้ค่าขนส่งสูงและสินค้ามีราคาแพง บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมเรือเดินสมุทรจึงไม่แล่นเข้าเทียบท่าเรือที่กรุงเทพฯ โดยตรงทอดเดียว จะทำให้ประหยัดค่าขนส่งลง เหตุที่เป็นดังนี้ เพราะธรรมชาติมีสันดอนที่ปากแม่น้ำกีดขวางทางเดินเรืออยู่ เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถแล่นผ่านเข้ามาได้ ความคิดได้ริเริ่มขึ้นที่ พล.ร.ท.พระยาราชวังสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เสนอโครงการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาขึ้น เพื่อให้เรือขนาดใหญ่แล่นเข้ามาได้ และสร้างท่าเรือที่ทันสมัย เช่นเดียวกันกับท่าเรือในต่างประเทศที่เจริญแล้ว แต่ได้พบอุปสรรคหลายประการทั้งเกรงว่าน้ำเค็มจะเข้ามาทำลายเรือกสวน ไร่นา บริเวณกรุงเทพฯ จึงได้เสนอให้สันนิบาตชาติที่กรุงบรัสเซลส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาสำรวจถึงการที่จะสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ และขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือ เมื่อเปิดปูมบันทึกความหลังของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นานมาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ถึงลักษณะแม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทยว่า


แม่น้ำเจ้าพระยา ใต้อำเภอบางไทร อยุธยา ลงมาทางใต้ ความยาว ๑๐๖ กิโลเมตร ไม่มีเกาะแก่งและโขดหิน มีความลาดชันน้อย เป็นลำน้ำสายเดียวที่ไหลมาบรรจบทะเลที่อ่าวไทย ลำน้ำที่ได้พัดพาเอาตะกอนลงมามากมาย เขาขึ้นเรือสำรวจตักตัวอย่างน้ำบนผิวน้ำและท้องน้ำในตำบลต่างๆ ตั้งแต่ อำเภอบางไทร จนถึงกรุงเทพฯ และปากน้ำ ไปตรวจวิเคราะห์ วัดระดับน้ำ ความเร็วกระแสน้ำปริมาณน้ำไหล ตรวจถึงท้องแม่น้ำเจ้าพระยาว่าเป็นดิน โคลน ทราย ชนิดไหน มากน้อยเพียงใด ส่วนทะเลที่ปากอ่าว เขาขึ้นเรือโต้คลื่นลมออกไปพบว่ามีร่องน้ำตามธรรมชาติใช้เป็นทางเดินเรือ กระแสน้ำคลื่นลม และน้ำขึ้นน้ำลง อันเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ ทำให้เกิดสันดอน ลมทะเลเป็นลมอ่อน ทะเลเรียบ คลื่นไม่ใหญ่โต เขาได้ตักตัวอย่างน้ำทะเลมาตรวจดูโคลน วัดความเค็มของน้ำที่อุณหภูมิต่างๆ วิเคราะห์เจาะดูโคลน ทราย ซึ่งบางแห่งมี ๒ ชั้น เพื่อทราบสภาพอันคงตัวหรือความเคลื่อนไหวใต้ท้องทะเล เขาสรุปว่าปากอ่าวมีสัณฐานและปากแม่น้ำเป็นรูปพอเหมาะให้น้ำขึ้นไหลเข้าสู่แม่น้ำได้สะดวก เมื่อขุดลอกแล้ว เรือขนาดใหญ่จะแล่นเข้ามาในเวลาน้ำขึ้นได้ ในฤดูน้ำมากน้ำเค็มจะไม่ไหลเข้ามาทำลายเรือกสวนไร่นาบริเวณกรุงเทพฯ เขาได้เสนอความเห็นต่อรัฐบาลไทยว่าแม่น้ำที่ตำบลคลองเตยมีความกว้างและความลึกเหมาะสมที่จะสร้างท่าเรือใหม่ และขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาขึ้น


รัฐบาลจึงให้มีการประกวดการออกแบบสร้างท่าเรือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ซึ่งแบบของ ศาสตราจารย์อากัตช์ ชาวเยอรมัน ได้รับการคัดเลือก เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการสร้างท่าเรือของโลก มีบริษัทส่วนตัว พร้อมเครื่องทดลอง รับงานออกแบบสร้างท่าเรือทั่วโลก เขาได้เดินทางมาสำรวจสถานที่ที่กรุงเทพฯ มีความเห็นตรงกับผู้เชี่ยวชาญที่จะสร้างท่าเรือขึ้นที่คลองเตย เนื่องจากกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการค้าของประเทศไทย ผืนแผ่นดินใหญ่ติดต่อถึงกรุงเทพฯได้ทางแม่น้ำ ถนน รถไฟ และสนามบิน เขาได้สำรวจลำน้ำเจ้าพระยา ขุดเพรียงที่ติดกับไม้ตักน้ำ และโคลนตัวอย่างนำขึ้นเครื่องบินส่วนตัวของเขา ไปวิจัยยังห้องทดลองที่ประเทศเยอรมนี ได้ขอให้กรมอุทกศาสตร์ส่งตัว น.ท.หลวงสุภีอุทกธาร ร.น. และ ร.อ.สนิท มหาคีตะ ร.น. เดินทางไปฝึกศึกษางานขุดลอกร่องน้ำในสำนักของเขาที่เยอรมนี เมื่อบุคคลทั้งสองกลับมาเมืองไทย ได้มีส่วนช่วยเหลือสำรวจภาวะการตกตะกอนในแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับท่าเรืออย่างดี ได้ลงมือสำรวจกระแสน้ำ ปริมาณน้ำไหล ระดับน้ำตั้งแต่ อำเภอบางไทร ลงไปถึงสันดอน ตามหลักวิชาที่ได้ร่ำเรียนมา เป็นเวลาหลายปี



ศาสตราจารย์ไม่ได้ถูกจ้างมาประจำที่กรุงเทพฯ แต่จะขึ้นเครื่องบินส่วนตัวมาตรวจงานเป็นครั้งคราว เขาเป็นบุคคลชั้นนำของเยอรมนี ซึ่งมีอดอล์ฟฮิตเล่อร์ เป็นผู้นำขณะนั้นเป็นที่เกรงขามของทุกประเทศ ขณะที่เราสร้างท่าเรือมิได้เป็นที่พอใจของต่างประเทศ ผู้มีผลประโยชน์กับกิจการท่าเรือเอกชนอยู่ก่อน การว่าจ้างศาสตราจารย์ เป็นเสมือนกันชนทางการเมือง จากประเทศที่ไม่พอใจให้อ่อนข้อลง การสร้างท่าเรือของเรา จึงได้ดำเนินมาอย่างราบรื่น จนกระทั่งสร้างโรงพักสินค้าเสร็จ ๔ หลังเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓


ในระยะนั้น เรือขุดสันดอน ๑ ก็ได้เริ่มลงมือขุดสันดอน แต่ทำไปได้ไม่เท่าไรก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ร่องน้ำถูกปิด โดยทุ่นระเบิดแม่เหล็กต่างๆ ใต้ท้องน้ำที่เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งลงมาทางอากาศ และกองทหารสหประชาชาติยึดครองท่าเรืออยู่พักหนึ่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง กรมอุทกศาสตร์ได้จัดการกวาดทุ่นระเบิดใต้น้ำเป็นการใหญ่ ตั้งแต่ทางเดินเรือในทะเลลึก บริเวณเกาะสีชัง ถึงทางเข้าปากแม่น้ำและเลยเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งหมดทุ่นระเบิด ในเวลาต่อมา รัฐบาลประสงค์จะขอกู้เงินธนาคารโลก เพื่อใช้ในการขุดลอกสันดอน เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณประจำปีมาลงทุนได้ทันเวลา จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นเอกเทศ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๔


ต่อมาได้ มีบุคคลกลุ่มหนึ่ง วางแผนการเป็นกบฏต่อรัฐบาล ต้องการจี้ควบคุมตัวนายกรัฐมนตรีไว้เป็นตัวประกัน ขณะทำพิธีส่งทหารไทยไปร่วมรบในสมรภูมิเกาหลี โดยลงเรือรบที่ท่าเรือคลองเตย แต่แผนการของฝ่ายกบฏเกิดความล้มเหลว ๒ ครั้ง ๒ หน แต่แล้วเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งที่ ๓ ของท่าเรือก็เกิดขึ้นจนได้


ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ สหรัฐอเมริกาได้ส่งเรือขุดสันดอน ๒ (เรือขุดแมนฮัตตัน) มาให้รัฐบาลไทยเพื่อใช้ในการขุดลอกสันดอน ขณะที่นายกรัฐมนตรี จอมพล.ป.พิบูลสงคราม ทำพิธีเจิมเรือขุดที่ท่าราชวรดิฐ และ เดินชมบนเรือขุดอยู่นั้น ผู้ก่อการกบฏ น.ต.มนัส จารุภา ร.น. ได้นำกำลังทหารเรือ จู่โจมเข้าจี้บังคับนายกรัฐมนตรีด้วยปืนกลมือ ลงเรือเปิดหัวนำไปควบคุมตัวไว้บนเรือรบหลวง “ศรีอยุธยา” เขี้ยวเล็บอันเกรียงไกร ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้กำลังทหารและตำรวจเข้าปราบปรามกบฏ ซึ่งมีกำลังทหารเรือส่วนน้อยอย่าง-เฉียบขาด เครื่องบินของกองทัพอากาศ ได้ทิ้งระเบิดลงบนเรือรบหลวง “ศรีอยุธยา” จนจมลง ได้มีผู้พาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ว่ายน้ำหนีเอาชีวิตรอดมาได้ เกิดการสู้รบกันสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณเรือรบเป็นเวลา ๒ วัน หลายชีวิตต้องล้มตายในสายธารเจ้าพระยา บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ผู้นำกบฏฝ่ายพ่ายแพ้ได้หลบหนีเดินทางออกนอกประเทศไป เวลานั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้พัดพาเอาตะกอนลงมาเพียงอย่างเดียว แต่ได้พัดพาเอากระแสเลือดของคนไทยที่รบราฆ่าฟันกันเองไหลลอยลงไปด้วย การกบฏส่งผลกระทบต่อการท่าเรือฯ โดยพลัน รัฐบาลได้สั่งให้คณะกรรมการการท่าเรือฯ ที่มี นายยิน สมานนท์ เป็นผู้อำนวยการ พ้นจากตำแหน่ง แต่ก่อนที่จะพ้นตำแหน่งไป นายยินฯได้เล็งเห็นความสำคัญในการขุดลอกสันดอน ร่องน้ำทางเดินเรือ เขาได้ตกลงทำสัญญาว่าจ้างบริษัทแห่งประเทศฮอลแลนด์ ดำเนินการขุดลอกร่องน้ำ นับจากป้อมพระจุลจอมเกล้าออกไปในทะเลอ่าวไทย ระยะทางยาวเกือบ ๑๘ กิโลเมตร แต่ให้เรือขุดสันดอน ๑ และเรือขุดสันดอน ๒ (แมนฮัตตัน) ของการท่าเรือฯ ช่วยขุดบ้าง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งรัฐบาลไทยได้กู้เงินธนาคารโลก มาใช้จ่ายเพื่อการนี้เป็นเงิน ๔.๔ ล้านเหรียญอเมริกัน


งานขุดลอกจึงได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔ บริษัทฯรับเหมาขุดลอกร่องน้ำ ได้ทำคันกั้นดินและต่อท่อพ่นดินขึ้นที่บางปู ระยะทางยาว ๑.๕ กิโลเมตร เป็นแห่งๆ สร้างที่ทำการและโรงงานขึ้นที่บางปู เขาใช้เรือขุด ๒ ลำ ชนิดไม่มียุ้งดินในตัว ใช้หัวขุดเป็นสว่านส่ายไปมาได้ มีกำลังพ่นดินไปตามท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ นิ้ว และพ่นไปได้ไกลถึง ๒ กิโลเมตร ขณะนั้น น.อ.หลวงสุภีอุทกธาร ร.น. (สุภี จันทมาศ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยคนแรก เขาได้รับมอบหมายให้อำนวยงานด้านสำรวจและขุดลอกร่องน้ำมาแต่เดิม เขาเป็นผู้คร่ำหวอดงานด้านอุทกวิทยาสมกับนามบรรดาศักดิ์ของเขา เขาได้ทำแผนที่แนวขุดลอกไว้ให้กองร่องน้ำอย่างละเอียด บริษัทผู้รับเหมาจะเป็นผู้ขุดลอกตามแนวที่กำหนดโดยใช้เครื่องหยั่งน้ำลึกก่อนขุดและหลังขุด ธรรมชาติของกระแสน้ำและคลื่นลมเป็นอุปสรรคขัดขวางให้การขุดลอกช้าลงอยู่บ้าง กระแสน้ำที่ไหลแรง คลื่นลมแรงพัดเอาท่อเหล็กดูดส่งดินที่วางไว้ขาดออกจากกันหลายครั้ง ร่องน้ำตอนนอกน้ำทะเลลึก คลื่นลมมีกำลังแรง การวางท่อเป็นไปอย่างลำบาก ในที่สุดด้วยความเพียรพยายาม บริษัทผู้รับเหมาได้ดำเนินการขุดลอกสันดอนออกทั้งหมด เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๗ มีความกว้างทางตรง ๑๐๐ เมตร ทางโค้งเพิ่มอีกเล็กน้อย ความลึกที่ ๘.๕๐ เมตร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เรือเดินสมุทรขนาดระวางบรรทุก ๑ หมื่นตัน ก็ได้ทยอยกันเข้ามายังประตูเศรษฐกิจที่ท่าเรือกรุงเทพฯเรื่อยๆ แต่ธรรมชาติของร่องน้ำ ถ้าไม่คอยขุดอยู่เสมอ ในเวลา ๔ ปี ตะกอนจะตกท่วมร่องตื้นเขินอย่างเดิม เราจึงต้องขุดสันดอนออกกันทุกวันชั่วนาตาปี


เรือเดินสมุทรที่มาจากเมืองท่าทั่วโลก จะแวะขนถ่ายสินค้าลงเรือฟีดเดอร์ที่เล็กกว่าที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ แล้วเดินทางต่อมายังอ่าวไทย แล่นเข้ารับเจ้าพนักงานนำร่อง


ณ สถานีนำร่อง ใกล้กับปากร่อง เพื่อทำหน้าที่แทนกัปตันเรือนำเรือแล่นผ่านร่องน้ำ ซึ่งเราได้ขุดลอกไว้แล้วเช่นเดียวกับเราสร้างถนนให้รถแล่นได้บนบกอย่างนั้น ทางถนนเวลารถแล่นเราสังเกตขอบถนนหรือเสาไฟฟ้าเป็นที่หมายในการเดินทางได้ แต่ทางน้ำเวลาเรือแล่นเราไม่ทราบว่าตรงที่ใดเป็นขอบร่อง จึงต้องมีเครื่องหมายช่วยการเดินเรือเป็นระยะ เพื่อไม่ให้เรือเดินผิดร่องและเกยตื้น ในเวลากลางวันเรามีกระโจมไฟพลังแสงอาทิตย์ แผ่นเป้าสีแดงคาดขาว ใช้ไฟสูงไฟต่ำเล็งแนวขอบร่อง เวลากลางคืนเรามีทุ่นไฟกะพริบพลังแสงอาทิตย์ สีแดงอยู่ทางซ้าย สลับด้วยทุ่นไฟสีเขียวอยู่ทางขวา ห่างกัน ๑ กิโลเมตร เป็นที่สังเกต ถ้าใครเคยไปที่สะพานสุขใจ บางปู จะมองเห็นแสงไฟหลากสี แดง เขียว ขาว สว่างวับวอมแวมยามคลื่นซัดกระฉอกฉาน ราวกับมีงานเฉลิมฉลองทางน้ำอย่างนั้น


เมื่อก่อนนี้ ร่องน้ำทางเดินเรือซึ่งมีความกว้าง ๑๐๐ เมตร เมื่อเรือเดินสมุทรแล่นสวนกันในเวลากลางคืน หรือเวลากลางวัน อากาศมืดครึ้ม ฝนตกหนัก หมอกลงจัดเรืออาจเกิดอุบัติเหตุชนกัน หรือโดนกันได้ การท่าเรือฯได้ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นอย่างดี ขณะนี้ได้ดำเนินการขยายร่องน้ำให้กว้างเพิ่มขึ้นเป็น ๑๕๐ เมตร ในทางตรง นับเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งที่เรือเดินสมุทรแล่นผ่านร่องน้ำ ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น


ณ วันนี้ การท่าเรือฯได้พัฒนาปรับปรุงกิจการในหลายๆ ด้าน เพื่อให้ทันต่อความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทอยู่เสมอ เวลานี้การขุดลอกสันดอนได้ใช้เรือขุดสันดอนแบบ HI-TEC ซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซล แทนเรือขุดลำเก่าที่ใช้ไอน้ำ ในยุคของ นายถาวร จุณณานนท์ เป็นผู้อำนวยการ ได้ติดตั้งเครื่องหาพิกัดตำบลเรือทางดาวเทียม DGPS ที่ติดตั้งเป็นแห่งแรกในประเทศไทย-บนเรือขุดสันดอน มีจอภาพแสดงหน้าดินที่ก้นร่องช่วยให้เรือขุดดินได้ตรงร่องและแม่นยำยิ่งขึ้น สามารถขุดดินได้มากกว่าเรือแบบเก่าถึงกว่าเท่าตัว ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการขุดลอกสันดอนลงได้มาก นอกจากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ควบคุมการปฏิบัติงานตู้สินค้าในท่าเรือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) ก็ถูกนำมาใช้ระหว่างท่าเรือกับผู้ใช้บริการ เช่นกัน ทำให้การทำงานของเรือเร็วขึ้น ขนถ่ายสินค้าได้มาก ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็ว สามารถประหยัดต้นทุนการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท ส่งผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยมีผลกำไรเพิ่มขึ้น สามารถนำส่งเข้ารัฐปีละไม่ต่ำกว่า ๑ พันล้านบาท สมกับเป็นท่าเรือตู้สินค้าในแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และได้รับการจัดอันดับเป็นท่าเรือตู้สินค้าผ่านท่ามากเป็น ๑ ใน ๒๐ ท่าเรือของโลก








 











 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2549    
Last Update : 15 มีนาคม 2549 14:22:09 น.
Counter : 3234 Pageviews.  


prettypetite
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add prettypetite's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.