เที่ยวตรัง เที่ยวถนนคนเดินสถานีรถไฟตรัง/มีดพร้านาป้อ
space
space
space
space

มีดพร้านาป้อ หลักสูตรท้องถิ่น
   


คิว อาร์โค้ดมีดพร้านาป้อ
                   



                       
                                                 
เรียนท่านผู้อ่านที่เคารพ
เนื้อหาที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนประกอบของการเรียนการสอนเน้นหนักไปในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเนื้อหาวิชาหลักสูตรท้องถิ่นของชาวบ้านนาป้อ ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เนื้อหาและรูปแบบอาจแตกต่างไปจากการทำมีดในแหล่งอื่นๆ เนื่องจากในชุมชนเป็นแหล่งกำเนิดของมีดพร้านาป้อ เขียนขึ้นเพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นช่วยกันอนุรักษ์และภูมิใจในภูมิความรู้ของบรรพบุรุษที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้นี้ เขียนจากแหล่งต้นกำเนิดของภูมิความรู้โดยตรง หากท่านมีความสงสัย สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับมีดพร้านาป้อโปรดสอบถามไปยังผู้เขียนที่ Mobile: 093 481 2726
(ผู้จัดทำเว็บ)

   ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ  วัน อังคาร ที่ 26 มีนาคม  2567

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนเรื่อง มีดพร้านาป้อ
ขอขอบคุณ น้องมุกดาวรรณ สันติพร (เฟสบุ๊ก)ที่เอื้อเฟื้อให้ถ่ายภาพร่วมกัน เมื่อคราวไปเที่ยวงานบุญธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์  

Thank you for photos from Miss Mukdawan Santipon,the most popular singergirl of Lao. ຂຂອບໃຈນ້ອງມູກດາວັນ ສັນຕຶພອນຫລາຍຯເດຶ


 
ภาพถ่ายเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559 ณ งานบุญธาตุหลวง เวียงจันทน์
 
เนื้อหากรุณาเลื่อนลงนะครับ
เกี่ยวกับผู้เขียน


 
 

เกี่ยวกับผู้เขียน
 
วุฒิการศึกษา
     สายสามัญ พ.ศ. 2509 ม.ศ.3 จากโรงเรียนยุวราษฎร์วิทยา (ปัจจุบัน โรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา)

ระดับอนุปริญญา วุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ป.กศ.ต้น)
     สายอาชีพ ป.กศ. 2510 - 2511 จากวิทยาลัยครูสงขลา 
   
ระดับอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร     
  เป็นนิสิตรุ่นที่ 1 ฃองมหาวิทยาลัย เป็นบัณฑิตรุ่นที่ 2  จบปีการศึกษา 2519
อาชีพปัจจุบัน  ข้าราชการบำนาญ สพป.ตรัง 1 กระทรวงศึกษาธิการ
..........................................................................................

 วีดีโอประกอบบทเรียน

การตีมีด
 



แต่งหัวมีด



การลับมีดแบบมือถือ



การลับมีดแบบมือถือ



การขึ้นบ้องมีด.



การขึ้นบ้องมีด [2]




ตีมีดด้วยเครื้อง



การไหว้ครู ครูหมอเหล็ก

...............................................................................
                                    มีดพร้านาป้อ


 
                             คำชี้แจง
มีดพร้านาป้อเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านนาป้อ องค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เนื้อหาทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตีมีดพร้าและเครื่องมือทางการเกษตรอื่นอีกหลายชนิด
เนื้อหาต่างๆจะแบ่งออกเป็นบทๆดังนี้

บทที่ 1 ประวัติชุมชน
บทที่ 2 ประวัติการตีมีด
บทที่ 3 โรงงานตีมีด
บทที่ 4 ผลิตภัณฑ์จากโรงงาน
บทที่ 5 อุปกรณ์ในการตีมีด
บทที่ 6 การตีมีด
บทที่ 7 การจำหน่าย
บทที่ 8 ปัญหาและอุปสรรค
         - บรรณานุกรม
         - ภาคผนวก
ในเนื้อหาบางครั้งจะใช้สองคำ คือ
โรงตีมีด กับโรงตีเหล็ก/ช่างตีมีดกับช่างตีเหล็ก/มีดกับพร้า / จะมีความหมายเดียวกัน

 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

     หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลัง ของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกใน ความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
 

หลักการ 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

๓. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยึดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและ การจัดการเรียนรู้

๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๖. เป็นหลักสูตรการศึกษา สำหรับ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
 

จุดมุ่งหมาย 

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มี ความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิด กับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมีความสุข
 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 

ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้มีสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม ในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้องตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่าง เหมาะสม

๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูล สารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหา

ความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มี ประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการ ต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง บุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่ พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณธรรม
 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

๑. รักชาติ ศาสนา กษัตริย์

๒. ซื่อสัตย์สุจริต

๓. มีวินัย

๔. ใฝ่เรียนรู้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

๖. มุ่งมั่นในการทำงาน

๗. รักความเป็นไทย

๘. มีจิตสาธารณะ

นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้ สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
 

มาตรฐานการเรียนรู้ 

การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและ พหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ ดังนี้

๑. ภาษาไทย
๒. คณิตศาสตร์
๓. วิทยาศาสตร์
๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๕. สุขศึกษาและพลศึกษา
๖. ศิลปะ
๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๘. ภาษาต่างประเทศ

 

     ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ และ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างไร เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมิน คุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่ การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด้

..............................................................................
 


                               มีดพร้านาป้อ


                                 จัดทำโดย

                              นายศิริ  จันตุด
                               สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
แบบทดสอบก่อนเรียน
บทที่ 1 ประวัติชุมชน
บทที่ 2 ประวัติการตีมีด
บทที่ 3 ผลผลิตจากโรงงาน
บทที่ 4 โรงงานตีมีด
บทที่ 5 อุปกรณ์ในการตีมีด
บทที่ 6 การตีมีด
บทที่ 7 การจำหน่าย
บทที่ 8 ปัญหาและอุปสรรค
แบบทดสอบหลังเรียน
บรรณานุกรม

                                              คำนำ
 
 
  หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อมีดพร้านาป้อเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตีมีดของชุมชนบ้านนาป้อ ตำบลควนปริง อำเภเมืองตรัง เพื่อให้ทราบถึงวิวัฒนาการของการตีมีดพร้า ความเป็นมา เหล็กที่ใช้ ขั้นตอนของการตี ผลิตภัณฑ์ต่างๆจากโรงตีมีด เหมาะสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและท่านที่สนใจทั่วไป ผู้เขียนเขียนขึ้นจากประสบการณ์ตรง เนื่องจากผู้เขียนอยู่ชุมชนของการตีมีด  เนื้อหาและกรรมวิธีในการตีอาจจะแตกต่างจากแหล่งตีมีดแหล่งอื่นๆบ้างเพราะนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนแห่งนี้ เนื้อหาคิดว่าสมบูรณ์ที่สุดแล้วแต่ท่านผู้อ่านคิดว่าบางตอนผิดพลาดต้องการชี้แนะ แก้ไขก็ติดต่อไปยังผู้เขียนตามที่อยู่ที่ให้ไว้ข้างล่างนี้นะครับ เนื้อหาเขียนขึ้นเพื่อเป็นบทเรียนเท่านั้น 
       ท้ายสุดนี้ขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่สนใจข้อเขียนนี้
 
 (นายศิริ  จันตุด)
29 กันยายน 2559

 
             14/1 หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง 92000 โทรศัพท์ 091 971 3154
                      E - mail :
siri_2492@hotmail.com 
 

 
แบบทดสอบก่อนเรียน
 
คำสั่ง ให้กาเครื่องหมาย / ที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
 
1. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
     ก  มีดมีสองแบบคือห้วแหลมกับหัวตัด   
     ข  ถ่านที่ใช้คือถ่านไม้โกงกางกับไม้ยางพารา
     ค  การใช้ความร้อนตีมีดใช้สูบเครื่องเป่าลมไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
     ง  การลับมีดใช้เครื่องลับมีดแบบเคลื่อนที่ดีกว่าแบบติดอยู่กับที่
 
2. มีดพร้านาป้อมีแหล่งกำเนิดจากที่ใด
     ก  ภาคกลาง   ข  ภาคใต้   ค  ภาคเหนีอ   ง   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. การตีมีดเริ่มมาตั้งแต่สมัยใด
     ก  อยุธยาตอนต้น  ข  สุโขทัย  ค  รัตนโกสินทร์ตอนปลาย  ง  อยุธยาตอนปลาย
4. ผลผลิตข้อใดไม่ใช่ผลผลิตจากโรงตีมีด
     ก  จอบ   ข  ค้อน   ค ตะขอเกี่ยวกระเบื้อง  ง  เสียม
5. เหล็กชนิดใดใช้เวลาตีนานที่สุด
     ก   เหล็กแผ่น   ข  เหล็กมัด  ค  เหล็กรางรถไฟ   ง  จานรถไถนา
6. ถ่นที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนำมาจากไม้อะไร
     ก  ไม้โกงกาง   ไม้พะยอม   ค   ไม้เคี่ยม  ง   ไม้ยางพารา
7. เหล็กแหนบคือเหล็กอย่างไร
     ก  แหนบรถกระบะ   ข  แหนบรถสิบล้อ  ค  แหนบรถบรรทุก  ง  แหนบรถไถนา
8. การชุบใช้น้ำอย่างไร
     ก น้ำอุ่น   ข น้ำร้อน   ค  น้ำมัน   ง  น้ำเย็น
9. ธาตุอะไรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเหล็ก
     ก  คาร์บอน   ข   นิเกิล   ค  ซิลิคอน  ง  แมงกานีส
10. ขั้นตอนสุดท้ายของการตีเหล็กคือขั้นตอนใด
     ก   ชุบ    ข   ลับ    ค   ขึ้นบ้อง   ง  ตัดเหล็ก
................................................................................................................
เฉลย:  ก  ข้อ 7  ข้อ 9  ข้อ 10
          ข  ข้อ 2
          ค  ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 1
          ง  ข้อ 3  ข้อ 8

 

บทที่ 1 ประวัติชุมชน
คำว่านาป้อหมายถึงชุมชนหนึ่งอยู่ในตำบลควนปริง มีอาณาเขตค่อนข้างจะใหญ่ใช้เรียกชุมชนในหลายหมู่บ้าน คำว่านาป้อ นับบริเวณของหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 อยู่ในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง
คำว่า “นาป้อ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกชุมชนนั้น เล่ากันมาว่าแต่เดิมบริเวณทุ่งนาทางทิศเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตของหมู่ที่ 1, 3 ม7 ม8และ 9 เป็นทุ่งป่าละเมาะมีต้นกะพ้ออยู่เป็นส่วนใหญ่ เมื่อชาวบ้านบุกเบิกทำเป็นที่นาจึงเรียกว่า นากะพ้อ ต่อมาเพี้ยนเป็น นาพ้อ และนาป้อ ในที่สุด ปัจจุบันบริเวณที่ทำนาดังกล่าวไม่มีการทำนาแล้ว ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัย ที่นาบางส่วนถูกขายให้นายทุนปลูกปาล์มน้ำมัน บางส่วนปลูกยางพรา บางส่วนใช้เป็นโรงตีมีด  ทุ่งนาดังกล่าวเมื่ทางรัฐบาลได้ตัดถนนเลี่ยงเมืองตรังทำให้เป็นส่วนหนึ่งบริเวณวงแหวนรอบใน

 

ต้นกะพ้อ

 

ต้นกะพ้อพร้อมผลที่สุก ซึ่งผลสุกหาดูยากมาก


 

         ขนมต้ม

ก้านใบใช้สานกะบุง เครื่องใช้ในครัวเรือน/ใบอ่อนใช้ทำขนมต้ม

ตำบลควนปริง

สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง ตำบลควนปริง เป็นตำบลหนึ่งใน 15 ตำบลของอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตรังทางทิศใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากท่าอากาศยานตรังประมาณ10 กิโลเมตร
ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลควนปริง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมทุกปี ในบริเวณ หมู่ที่ 2 ,4 , 5 และหมู่ที่ 6 และเป็นที่ราบลุ่มบางตอนของ หมู่ที่ 1 , 3 , 7 , 8 และ 9 ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินตื้นถึงปานกลาง มีการระบายน้ำได้เร็ว เป็นดินเนื้อละเอียดที่มีก้อนกรวดหรือศิลาแลงปะปน บางแห่งจะมีก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่โผล่อยู่ทั่ว ๆ ไป พบในสภาพพื้นที่ราบ
สภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน
ลักษณะภูมิอากาศของตำบลควนปริงทั่วไปเหมือนกับภูมิอากาศของอำเภอเมืองตรัง คือ ได้รับน้ำฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคมและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนตุลาคม เดือนเมษายนและมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 2,117.2 มิลลิเมตร/ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2552)
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในตำบลควนปริง
แม่น้ำตรัง ไหลผ่านหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ไปตามแนวตะวันออกมีความยาวประมาณ 3,000 เมตร – คลองควนปริง (แยกจากแม่น้ำตรัง) ไหลผ่านหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ไปตามแนวตะวันออก – คลองเมือง (แยกจากคลองควนปริง) ไหลผ่านหมู่ที่ 2 , 4 และหมู่ที่ 8 บางส่วน – ห้วยโคลน (เป็นห้วยน้ำที่แยกมาจากพรุขามของตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ) ไหลผ่านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 7 บางส่วน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำใช้ตลอดปี มีความยาวประมาณ 3,000 เมตร
ข้อมูลสาธารณูปโภค 
ประปาหมู่บ้าน การไฟฟ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านและทุกครัวเรือน -การโทรคมนาคม มีบริการฟรีอินเตอร์เน็ตของรัฐ ฝายน้ำล้น 1 แห่ง

อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลทับเที่ยงและตำบลโคกหล่อ
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง

จำนวนหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน
ตำบลควนปริง แบ่งการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ปี 2549 ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะปริง
หมู่ที่ 2 บ้านโคกสะท้อน
หมู่ที่ 3 บ้านไสหนุน
หมู่ที่ 4 บ้านหลวนช้าง
หมู่ที่ 5 บ้านควนปริง
หมู่ที่ 6 บ้านควนปริง
หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งหวัง
หมู่ที่ 8 บ้านนาป้อออก

หมู่ที่ 9 บ้านนาป้อกลาง
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
– ทำสวนยางพารา
– รับจ้าง
– ทำการเกษตร
– ตีเหล็ก ประเภทเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะ
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.(ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง)
– โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง ( บมจ.ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด )
– โรงงานบรรจุแก๊ส
– สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
– โรงแรม
– ร้านค้า มีทุกหมู่บ้าน
– บ้านเช่า
– หอพัก ส่วนมากจะอยู่บริเวณรอบๆมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
– อู่ซ่อมรถยนต์
– ตลาดนัด
– ร้านอาหาร
– โรงงานขนาดเล็ก  – คลังสินค้า


การบริการพื้นฐาน

การคมนาคมของตำบลควนปริง มีการคมนาคมทางบกโดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 และทางหลวงชนบท หมายเลข 22051 เป็นถนนสายหลัก สภาพถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง การบริการในตำบลระหว่างตัวเมืองตรังมีรถยนต์โดยสารรับจ้างประจำทาง(รถสามล้อ) และรถจักรยานยนต์รับจ้างและรถประจำทางของอบจ.ตรังให้บริการตลอดทั้งวัน
การโทรคมนาคม

– ระบบสัญญานฟรีอินเตอร์เน็ตของรัฐบาล
แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค
– แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในตำบล ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน และบ่อน้ำตื้น มีระบบประปาส่วนภูมิภาคในทุกหมู่บ้าน แต่ในช่วงฤดูแล้งจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากบ่อน้ำตื้น และระบบประปาบาดาลส่วนใหญ่แห้ง และต้องขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นทุกปี
สภาพทางสังคม
สถาบันการศึกษา
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลควนปริง
– โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ 2 แห่ง
– โรงเรียนเอกชน 2 แห่ง
– มหาวิทยาลัย 1 แห่ง
องค์กรทางศาสนา
– วัด 2 แห่ง
– มัสยิด 5 แห่ง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– ที่ทำการสายตรวจตำรวจตำบล 1 แห่ง
หน่วยงานต่างๆ
– ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร 1 แห่ง

 


บทที่ 2 ประวัติการตีมีด

การตีมีไม่ทราบประวัติที่แน่นอนว่าเริ่มตีตั้งแต่เมื่อใด ถามคนเฒ่า คนแก่บอกว่า เมื่อเขาเกิดมาก็เห็นมีการตีมีดกันแล้ว ทราบจากเวลาบวงสรวงบรรพบุรุษที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาตีมีด จะเอ่ยนามถึงชื่อ หม่อมเพชร (เพ็ด) หม่อมคง พระยาโถมน้ำ พระยาโถมไฟ (จากคำบอกเล่าของนายโอะ จับปรั่ง ช่างตีมีดคนหนึ่ง/ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) รุ่นต่อมาก็โต๊ะผมเด็น (โต๊ะเป็นคำเรียกญาติผู้ใหญ่ของศาสนาอิสลามใต้ หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยายหรือผู้อาวุโสอื่นๆ)เป็นอันดับแรก จากนั้นก็จะเอ่ยถึงช่างโกบ ช่างสา ช่างปาน ช่างหลีช่างเหนาะ ช่างแดง ฯลฯ เป็นต้น
ในการบวงสรวงจะประกอบพิธีในเดือนหก ทางจันทรคติ ซึ่งจะตรงกับเดือนพฤษภาคม การบวงสรวงจะมีด้ายแดง ด้ายขาวจะผูกเวียนเครื่องมือทุกชิ้นที่ใช้ในการตีมีด นอกจากนั้นจะมีข้าวตอก ดอกไม้ ขนมโคลูกใหญ่ 1 ลูก ขนมโคลูกเล็กๆหลายลูก ขนมโคลูกเล็กมี่ทั้งแบบมีไส้และไม่มีไส้ ขนมโไม่มีไส้มีทั้งลูกสีขาวและสีแดง มะพร้าวอ่อน ธูป เทียน ข้าวแกง หมากพลูทั้งที่ตำละเอียดและยังไม่ได้ตำ เมื่อกล่าวบวงสรวงเสร็จก็จะเอาน้ำมะพร้าวรดอุปกรณ์ทุกชิ้น จากนั้นก็จะรับประทานอาหารร่วมกันเป็นอันเสร็จพิธี
จากการสอบถามคุณประเวช ชิตจันทร์ เจ้าของโรงตีมีดกล่าวว่า การตีมีดมีมาประมาณ 5 – 6 ชั่วคนๆคนละ 50 ปีก็ประมาณ 300 ปีแล้ว คงจะช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายอาจจะตรงกับรัชชสมัยของพระบรมโกศ (2275-2301) พระเจ้าอุทุมพร (2304 – 2339)หรือ พระเจ้าเอกทัศน์ (2301 – 2310 ) (ผู้เขียน)ก็ได้

ดูรายชื่อกษัตริย์สมัยอยุธยาได้ที่ https://www.thaigoodview.com/node/2107


จากคำบอกเล่าของคุณประเวช ชิตจันทร์เล่าว่าในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง)เจ้าเมืองตรังมีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุงได้ใช้คนงานจำนวนวนมากในการบุกร้างถางพง สิ่งสำคัญที่อำนวยความสะดวกและเป็นเครื่องมือก็คือมีดพร้านาป้อนั่นเอง
ปัจจุบันพิธีบวงสรวงหาดูได้ยากขึ้นเพราะคติทางศาสนาอิสลาม พิธีนี้ได้ยกเลิกไป แต่ยังหาดูได้จากโรงตีมีดบางโรง

(จากข้อเขียนของคุณวันใหม่ ชิตจันทร์ ซึ่งเป็นบุตรชายของคุณประเวช ชิตจันทร์เจ้าของโรงตีมีดประเวชกล่าวว่า- ข้อเขียนดังกล่าวเป็นความเห็นเฉพาะตัวเท่านั้น) 

    ถิ่นกำเนิดเมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา ณ หมู่บ้านเล็กๆมีผู้คนนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ติดกับอำเภอบางรัก (อำเภอเมืองในปัจจุบัน)มีชื่อเรียกว่า "บ้านนาป้อ" แต่เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกันตัง ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองปรับมาอยู่กับอำเภอบางรัก (อำเภอเมือง)ได้ถือกำเนิดผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาขึ้นมาคือ "มีดพร้านาป้อ" โดยที่นายเพชรกับนายคงได้จูงควายไปขายแขก(ชาวอินเดีย)ที่ท่าเรือกันตัง เมื่อขายควายได้ก็ไปนั่งพักผ่อนที่ท่าเรือกันตังและได้พบกับเรือผุพังถูกทิ้งไว้ริมคลอง เลยเอาไม้ไปเขี่ยไปทุบ ปรากฏว่า ตะปูตอกเรือหลุดออกมาหนึ่งตัว ก็เลยนำกลับมาบ้านคือบ้านนาป้อ ต่อมาได้นำตะปูที่มีความยาวประมาณ 6 นิ้ว กว้างประมาณ 6 หุน ปากแบนคล้ายสิ่ว  หัวตะปูโค้งงอ ไปทำไร่ โดยเอาตะปูไปตำดินให้เป็นช่องรู(เรียกว่าแทงสัก) อยู่มาวันหนึ่งนายเพชรกับนายคงได้ทำไร่ในแปลงเดียวกัน แบ่งหน้าที่กันทำ นายเพชรมีหน้าที่ตำดินให้เป็นรูโดยใช้ตะปุ นายคงมีหน้าที่เก็บเศษไม้ กิ่งไม้ออกจากแปลงไร่แล้วเผาไฟ ตอนที่เกิดเหตุนายเพชรแทงสักแล้วอ่อนล้าไปนอนพักผ่อนที่ใต้ต้นไม้แล้วทิ้งตะปูไว้ นายคงมองไม่เห็นตะปูที่ทิ้งไว้ จึงนำเศษไม้ กิ่งไม้ไผ่มาทับถมแล้วจุดไฟเผา จากนั้นเกิดไฟลุกและเผาตรงที่กองไม้ไว้ทำให้เกิดเสียงดัง ปัง ปัง ปังสามสี่ครั้ง นายเพชรที่นอนหลับอยู่ตกใจตื่นแล้วมองไปที่เสียงดัง และตกใจขึ้นเมื่อมองไปเห็นตรงที่ตั้งตะปูไว้ตอนนี้กลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่และกำลังลุกโชนอยู่ ด้วยความคิดไปว่า ตะปูน่าจะเป็นขี้เถ้าไปหมดแล้ว แต่ทันใดนั้นนายเพชรได้เรียกนายคงให้ไปช่วยกันเขี่ยกองไฟเพื่อหาตะปูให้เจอ และก็เจอตะปูจริงๆ แต่แทนที่ตะปูจะเป็นขึ้เถ้าเหมือนกับไม้ที่ถูกไฟเผาไปนั้น กลับกลายเป็นสีแดงเหลืองและร้อนมาก นายคงตัดสินใจเอาไม้คีบตะปูที่กำลังแดงร้อนอยู่นั้นไปจุ่มในหนองน้ำเล็กๆและนำขึ้นมาจับมันกลับไม่ผุและยังแข็งแกร่งอยู่ เลยนำกลับไปตำรูดินต่อไป และตำรูดินได้ดีกว่าเดิมเพราะมันแข็งและคม ทนมากขึ้น(ได้ค้นพบการชุบเหล็กแข็งขึ้นทันที)นายเพชรกับนายคงได้ใช้ตะปูนั้นในการเจาะไม้ โค่นต้นไม้และใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย  ต่อมาเขาได้ติดต่อกับตะปูอันนั้น เพราะตะปูยาวตั้ง 6 นิ้ว แต่ใช้ประโยชน์แค่ปลายของตะปูนั้นนิดเดียว คือกว้างแค่ 6 หุน ได้ตัดสอนใจโดยนายเพชรเอาก้อนหินมาตั้งแล้วเอาตะปูมาวางบน และเอาก้อนหินอีกก้อนทุบ ปรากฏว่าก้อนหินแตกหมด แต่ตะปูยังไม่แบน เลยคิดได้ว่าเอาตะปูไปเผาไฟให้แดงแล้วใช้ไม้คีบมาทุบใหม่ ปรากฏว่าทุบแล้วตะปูได้แบน เลยได้ทุบหัวตะปูที่งออยู่ให้แบนและกว้างขึ้นด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านไว้เหมือนเดิมตลอดทั้ง 6 นิ้ว เมื่อบางจนกลายเป็นคมแล้วก็เอาก้อนหินมาถูคมขึ้นอีกหลังหลังจากเป็นคมได้ที่แล้วก็เอาไปเผาไฟและชุบน้ำจนเกิดความคม ทนขึ้นมาเอาส่วนที่เป็นคมเดิม 6 หุนเสียบเข้าไปในไม้ไผ่แล้วมัดกลายเป็นด้าม ส่วนที่เหลือ้ป็นคมมีด จึงกลายเป็น"มีดพร้านาป้อ"ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การพัฒนารูปแบบและลักษณะต่างๆ ต่อมาได้พัฒนามาเรื่อยๆ เช่น การพัฒนาส่วนที่เสียบไม้มาเป็น"กัณฑ์"มีด(กัณฑ์คิอส่วนที่เป็นด้ามมีด) เพื่อเสียบให้เกิดความกระชับมากขึ้น รูปแบบก็พัฒนามาให้เหมาะกับงาน และได้พัฒนาครั้งยิ่งใหญ่คือ ครั้งหนึ่งที่สร้างเมืองตรังที่ควนธานี ท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง) หรือเจ้าคุณเทศาเป็นเจ้าเมืองตรังอยู่ที่กันตัง ต้องการที่จะสร้างเมืองให้อยู่ตรงกลาง เลยจับเอาที่ควนธานีเป็นที่เป็นที่ตั้งและได้สั่งมีดพร้านาป้อไปถางป่าที่ควนธานี ก็ได้ถางป่าได้สำเร็จ ต่อจากนั้นท่านก็ได้คิดสร้างถนนจากตรังไปพัทลุงโดยผ่านเทือกเขาบรรทัดหรือเขาพับผ้า ก็ได้สั่งมีดไปถางป่าเพื่อตัดถนน สั้งไปประมาณ 20 - 30 เล่ม นำไปให้นักโทษถางป่าจากทับเที่ยงมุ่งหน้าไปพับผ้า ปรากฏว่าจากทับเที่ยงผ่านนาหลวง ผ่านนาโยง ผ่านบ้านช่อง นักโทษถางป่าไปตามปกติ ล้มไม้ได้ตลอดทาง แต่เมื่อขึ้นเขาพับผ้าเมื่อไร ปรากฏว่าถางป่าเลียบห้วย เลียบคลอง ผ่านเหวเพียงวันเดียวมีดพร้าจำนวน  30 ด้ามหายหมด เจ้าคุณเทศาถามนักโทษที่ถางป่าว่า มันหายไปไหนหมด ท่านคิดว่านักโทษจะขโมยมีดพร้า ตามีด(ตัวมีด)ได้ตกลงไปในเหวบ้าง ลำห้วยบ้าง ตามเก็บกลับมาไม่ได้ ไม่เหมือนกับพื้นที่ราบเลยหายหมด เจ้าคุณเทศาก็กลับมาที่บ้านนาป้อ มาสั่งมีดพร้าใหม่อีก 20 ด้าม แต่การสั่งครั้งนี้ท่านได้บอกกับช่างตีมีดว่า "กูคือเจ้าคุณเทศาจะไม่เอามีดพร้าแบบเหล็กเสียบไม้คือแบบกัณฑ์ แต่กูจะเอาแบบไม้เสียบเหล็ก กูว่าน่าจะทนกว่า" (เพราะเหล็กเสียบไม้คือแบบกัณฑ์ เมื่อไปกระแทกกับต้นไม้ใหญ่ ตัวมีดจะหลุดออกจากด้ามมีดบ่อยครั้ง) ช่างตีมีดเมื่อได้ยินดังนั้นก็คิดหนัก ไม่รับปากก็ไม่ได้ และถ้าทำไม่ได้ก็กลัวเจ้าเมืองจะลงโทษก็เลยคิดหาวิธีจากที่ตีเป็นกัณฑ์โดยทำให้เป็นกลมแล้วเล่มที่ปลาย กลับมาเป็นตีให้แบนกว้างประมาณ 4 นิ้ว ยาว 4 นิ้วครึ่ง แล้วม้วนเป็นบ้องทำให้กลม ไว้สำหรับเอาไม้กลมๆมาตัดต่อเป็นด้ามมีด ดั่งคำปรัชญา "กูจะเอามีดพร้าแบบไม้เสียบเหล็กจะไม่เอาแบบเหล็กเสียบไม้" จนกลายมาเป็นพังเพยว่า "อย่าทำตัวเป็นแบบเหล็กเสียบไม้ เจ้าคุณเทศามารับมีดและนำกลับไปให้นักโทษถางป่าต่อไปจนถึงจังหวัดพัทลุงได้สำเร็จเพราะมีดพร้านาป้อ(มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่ร้านอาหารบนเขาพับผ้า ช่วงตรัง - พัทลุง) ซึ่งต่อมาได้เพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นเช่น ขวาน มีดทำครัว มีดปังตอ จอบ เสียม ต่างๆ
     จากเรื่องราวดังกล่าวมีดพร้านาป้อน่าจะพัฒนามาก่อนนี้มากเพราะเรื่องเล่าดังกล่าวเล่าในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนปลายนี้เอง - ผู้เขียน ดูประวัติพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบีี)โปรดไปที่
https://naranong.net/history04.html )


บทที่ 3 ผลผลิตจากโรงงาน

       โดยความเป็นจริงแล้วแม้จะชื่อว่าโรงตีมีดหรือโรงตีเหล็กแต่ในโรงงานยังผลิตอุปกรณ์อื่นๆอีก เช่น จอบ เสียม คราด เหล็กขุด เหล็กตัดทะลายปาล์ม มีดตัดหญ้า มีดอีโต้ กรรไกรหนีบหมาก มีดกรีดยางเป็นต้น

ขนาดมีดพร้า จะแบ่งออกเป็นเบอร์ดังนี้

เบอร์   ความยาวมีด   คมมีดกว้าง       คอมีดกว้าง   เส้นผ่าศุนย์กลางบ้องมีด

  0       15  นิ้ว            2.5  นิ้ว         3    นิ้ว                    3  นิ้ว

  1       14  นิ้ว            2.1 นิ้ว          3    นิ้ว                   3  นิ้ว

  2       13  นิ้ว            2   นิ้ว           2.5  นิ้ว                  2.5 นิ้ว

  3       12  นิ้ว            2   นิ้ว            2.5  นิ้ว                 2.5  นิ้ว

  4       10  นิ้ว            2   นิ้ว           2.5  นิ้ว                  2.5  นิ้ว

  5      เป็นมีดสำหรับเป็นของฝาก เล่มเล็กๆ

ขนาดของมีดอาจจะแตกต่างกันไปบ้างแต่บวกลบไม่เกิน1/2 นิ้ว

 มีดหัวแหลม

มีดหัวตัด



 มีดแก้วหน้าม้า


เหล็กขนทะลายปาล์ม
 




เหล็กขุด (ทองเสี้ยว)


มีดปังตอ



มีดอีโต้ มีดปังตอ

จอบ


จอบ

                                                   


 

 

ขวาน


มีดไอ้ครก ใช้พกพาส่วนตัว


มีดคอ

 


กรรไกรหนีบหมาก


เหล็กพรวนดิน

 


 บนสุด มีดเกี่ยวหญ้า (ตัดหญ้าให้วัวชน)
อันกลาง เหล็กขุด ล่างสุดมีดแก้วหน้าม้า




  
คราด



บทที่ 4 โรงงานตีมีด
 

โรงงานตีมีดเป็นโรงเรือนที่สร้างเล็ก ใหญ่ตามจำนวนเตา ยิ่งหลายเตาโรงเรือนก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ปกติถ้าเตาเดียวจะมีขนาด 4×6 เมตรหรือ 5×7เมตร ถ้าเป็น 10 เตาจะมีขนาดประมาณ 9×20 เมตร หลังคาเมื่อก่อนจะมุงด้วยจาก ปัจจุบันมุงด้วยสังกะสีหรือกระเบื้อง ไม่มีฝากั้นทั้งสี่ด้าน เปิดโล่งเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
โรงงานตีมีดในชุมชนตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังมีดังนี้
1. โรงงานของนายประเวช ชิตจันทร์ จำนวน 12 เตา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
2. โรงงานของนายจรูญ สีผม จำนวน 4 เตา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
3. โรงงานของนา่ยนัตย์ ชิตจันทร์ จำนวน 2 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
4. โรงงานของนายแจ้ง โปหลง จำนวน 1 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
5. โรงงานของนายยะผาด โสะหาบ 1 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
6. โรงงานของนายมะสะเหม จับปรั่ง  จำนวน 1 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
7. โรงงานของนายหมูด ชัณวิจิตต์  จำนวน 1 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
8. โรงงานของนายอะหมาย จับปรั่ง จำนวน 2 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง
9. โรงงานของนายฮาหรูน สัญวงษ์  จำนวน 1 เตา   ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง

10.โรงงานตีมีดของนายอับดล ชัณวิจิตต์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง

11. โรงงานตีมีดของนายกะหมีด ไกรทอง (โป่งการช่าง) จำนวน 1 เตา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง ตรัง


 

 





 

ใบจากที่ใช้มุงหลังคา


บทที่ 5 อุปกรณ์ในการตีมีด

ในโรงตีมีดมีอุปกรณ์ดังนี้

1. เตา ขนาดกว้าง x ยาว = 106 x 200 เซ็นติเมตร
สูง 85 – 100 เซ็นติเมตร


 



2.ทั่งใช้สำหรับตีแผ่มีด ตกแต่งมีด ส่วนมาก ใช้ทั่งมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่นๆ
ทั่ง มี 2 แบบ คือ
2.1 แบบทรงกระบอก เป็นทั่งที่มีมาแต่ก่อน เป็นทรงสูง สูงประมาณ 60 เซนติเมตร หน้าทั่งกว้างประมาณ11 – 14 นิ้ว ด้านล่างฝังลงไปในดิน
ขนาดของทั่งสำหรับงานตีมีด
ทั่งที่ดีควรมีขนาดเหมาะสมกับ การใช้งาน มาตรฐานของงานตีมีดงานร้อน กำหนดให้ขนาดทั่งอยู่ที่ขนาด 35 กิโลกรัมขึ้นไป หรือบางคนจะกำหนดว่าทั่งที่ใช้จะต้องมีน้ำหนักประมาณ 50 เท่าของค้อนหลักที่ใช้ คนไทยเราตัวเล็กๆหวดค้อน 4 ปอนด์สงสัยจะไม่ไหวส่วนใหญ่จะใช้กัน 600 ถึง 1000 กรัมโดยประมาณ ดังนั้นสมมุติว่าเราใช้ค้อนหลัก 1 กิโลกรัม หมายความว่าเราควรใช้ทั่งที่น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม

ทั่งแบบทรงกระบอก


 

2.2 แบบแบน ปัจจุบันจะใช้แบบนี้ เพราะหาซื้อง่ายในท้องตลาด

 

มองจากมุมสูง



3. ค้อน ใฃ้สำหรับตีแผ่ ชึ้นรูปมีด ค้อนมี 2 แบบ คือแบบด้ามสั้น ลูกเล็กกว่าแบบที่ 2 สำหรับนายช่าง และอีกแบบสำหรับนายช่างคนที่สอง(ลูกน้อง)มีขนาดใหญ่กว่า ด้ามยาวกว่า คิดเป็นน้ำหนักเป็นปอนด์


4. คีม ใช้สำหรับจับแท่งเหล็ก มีชนิดปากเหมือนกันทั้งสองข้าง และอีกแบบเป็นคีมข้างหนึ่งปากแบนกว่าอีกข้าง



 

คีมหลายแบบ

5. ตะหมัง เป็นแท่งเหล็กรูปกลม ใช้สำหรับโค้งงอปลายเหล็กส่วนที่เป็นหัวมีด



 

6.โดะ ใช้สำหรับขึ้นบ้องมีด ตกแต่งบ้องมีดให้กลม เป็นแท่งเหล็กยาวๆ ส่วนบนโค้งและงอ



m52
แผ่นเหล็กโค้ง ใช้สำหรับโค้งหัวมีด



7. แท่งเหล็กกลม ใช้สำหรับตกแต่งบ้องมีดให้กลม



8.ไม้กวาดถ่าน สำหรับกวาดถ่านจากที่เก็บถ่านบนเตามาใส่เตาไฟ



9. ตะแกรงร่อนถ่าน ถ่านเมื่อใช้เผาไฟครั้งแรกอาจจะมีเศษเป็นก้อนๆอาจจะเป็นก้อนที่ใหญ่ๆสามารถนำมาใช้ได้อีกจึงใช้ ตะแกรงร่อนเพื่อเอาแต่ก้อนโตๆ


10.เครื่องตัดเหล็ก ใช้สำหรับตัดเหล็กออกเป็นท่อนๆ


11. เครื่องลับมีด ใช้ลับมีด มี 2 แบบ คือแบบมือถือและแบบติดตั้งถาวร



แบบมือถือ



 แบบสายพาน ติดตั้งถาวร

12. สูบลม ใช้สำหรับสูบลมเพื่อไปเป่าไฟในเตา เป็นรูปทรงกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ปัจจุบันเลืกใช้แล้ว


 

13. สวิทซ์ไฟฟ้า เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวเป่าลมแทนสูบลม



14. เหล็กผ่า ใช้สำหรับผ่าเหล็ก



15. เครื่องตีเหล็กสำเร็จรูป ใช้ตีเหล็กอัตโนมัติ ตัวเครื่องส่วนที่เครื่องตีจะทำงานตลอดเวลา ใช้คนงานเพียงคนเดียวใส่เหล็กที่ตีตลอดเวลา แต่เครื่องนี้ใช้สำหรับตีแผ่ตัวมีดอย่างเดียว ส่วนการขึ้นบ้องไม่สามารถกระทำได้



 

16. เครื่องเชื่อม ใช้เชื่อมเหล็กเข้าด้วยกัน




17.ถ่าน 

รากไม้เคี่ยมซึ่งขุดมาจากใต้ดิน นำมาตัดชิ้นเล็กๆแล้วเผาจะเป็นถ่านก้อนเล็กๆ

ถ่านที่ใช้ใช้ถ่านไม้เคี่ยมเพียงอย่างเดียว ไม้ชนิดอื่นไม่ปรากฏว่านำเอามาใช้และส่วนที่นำมาเผา ถ่านที่ใช้เผาเหล็กจะต้องผ่านการเผาจากที่อื่นก่อน ส่วนที่นำมาเผาคือส่วนที่เป็นตอ และจะต้องเป็นรากที่ฝังอยู่ในดิน เมื่อเผาเสร็จแล้วจะโกยใส่กระสอบ พ่อค้าคนกลางจะไปรับซื้อ มาจำหน่ายอีกทีหนึ่ง  สาเหตุที่ใช้ไม้เคี่ยมก็เพราะไม้ชนิดนี้เมื่อเผาแล้วจะไม่เป็นขี้เถ้าทันที แต่จะเป็นก้อนเล็ก เมื่อนำมาเผาเหล็กจะให้ความร้อนที่ดี ไม่เป็นขี้เถ้าแบบมอดเช่นไม้ทั่วๆไป
เมื่อก่อนชาวบ้านจะหาตอ (ราก)ไม้เคี่ยมใกล้ๆบ้านแต่ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะขุดมาเผาจนหมด ต้องนำมาจากกระบี่เสียเป็นส่วนใหญ่
เคยนำถ่านลิกไนต์มาใช้ทดแทนถ่านไม้เคี่ยมแต่ปรากฏว่าใช้ค่อนข้างยุ่งยาก ติดไฟคงที่ อุณหภูมิสูงเกินไป ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้จึงเลิกใช้

ต้นเคี่ยม (ภาพจากhttps://www.nanagarden.com )

ถ่านไม้เคี่ยม บรรจุกระสอบ



 

18. อ่างน้ำ สำหรับชุบมีด



 

19.สี แปรงทาสี น้ำมันเคลือบเงา ทินเนอร์ ใช้ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อผลทางการค้า ทำให้ลักษณะมีดสวยงาม เป็นที่สนใจของลูกค้า


 



บทที่ 6 การตีมีด
 ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกับคำว่าเหล็กก่อน
 เหล็กคืออะไร

เหล็กคือ แร่ธาตุที่มีบทบาทกับการนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันมากที่สุด และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเหล็กจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือเหล็ก (iron) และ เหล็กกล้า (steel) ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ มีคุณสมบัติที่ต่างกันหลายประการ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกเรียกอย่างเหมารวมกันว่า “เหล็ก” นั่นเอง  เหล็กจะมีสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ คือ Fe มักพบได้มากในธรรมชาติ
เหล็กแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.เหล็กหล่อ 2. เหล็กกล้า

เหล็กหล่อ เรียกตามกรรมวิธีในการกระทำ ด้วยการนำแร่ธาตุมาผสมกัน แร่ธาตุที่สำคัญคือ คาร์บอน เหล็กหล่อจะมีธาตุคาร์บอนผสมกันประมาณ 1.7 - 2 % คุณสมบัติของเหล็กหล่อคือแข็งและเปราะบางในเวลาเดียวกัน ไม่สามารถเปลี่ยนรูปทรางในกรรมวิธีอื่นใด นอกจากหล่อเท่านั้น
เหล็กกล้า ลักษณะมีความเหนียวและยือหยุ่นสูง นำมาแปรรูปร่างได้ตามความต้องการ จึงนิยมนำมาใช้แปรรุปและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเหล็กหล่อ เรามักจะพบโดยทั่วไปเช่น เหล็กเส้นทั้งแบบกลมและแบบข้ออ้อย
เหล็กกล้ายังแบ่งได้อีกคือ

1)เหล็กกล้าคาร์บอน ยังแบ่งย่อยได้อีก คือ
 - เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนผสมอยู่ ประมาณ 0.2 % สามารถนำมาขึ้นรูปได้ง่าย มีความอ่อนตัวสูง นำมาทำเป็นเหล็กแผ่น
 - เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง มีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0.2 - 0.5 % มีความแข็งแรงมากกว่าแบบแรก จึงนำมาทำเป้นเครื่องจักร
 - เหล้กกล้าคาร์บอนสูง มีส่วนผสมของคาร์บอนมากกว่า 0.5 % เมื่อนำมาอบความร้อนและชุบจะยิ่งแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จึงใช้ทำเครื่องมือต่างๆและของใช้ที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง

2) เหล็กกล้าผสม  เป้นเหล็กกล้าที่นำส่วนผสมอื่นๆมาผสมลงไปในอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
 2.1 เหล็กกล้าผสมต่ำ   2.2 เหล็กกล้าผสมสูง
  
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความหมายของเหล็ก จะเห็นได้ว่าคุณภาพของเหล็กขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุคาร์บอนที่นำมาผสมในเหล็ก การใช้เหล็กตีมีดที่มีส่วนผสมของเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเป็นส่วนมาก

ในขั้นตอนการตีมีดนี้พอจะแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้
1.1 การเตรียมเหล็ก
1.2 การขึ้นบ้อง
1.3 การตีแผ่ตัวมีด
1.4 การลับ
1.5 การชุบ
1.6 การตกแต่ง
การเตรียมเหล็ก
เหล็กที่จะเอามาตีเป็นมีดนั้นมีหลายชนิด คิอ เหล็กสำเร็จรูปจากโรงงานซึ่งจะเป็นเหล็กเป็นมัดๆ ทางโรงงานตีมีดจะเรียก เหล็กมัด ซึ่งเหล็กชนิดนี้ไม่ต้องเตรียมอะไรเลยเพียงแต่นำเหล็กแต่ละชิ้นมาใช้ได้เลยตามขนาดของมีดที่จะตีเริ่มจากเบอร์ 0 ซึ่งเป็นมีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ถัดมาเป็นเบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 และเบอร์ 5 ซึ่งเป็นขนาดเล็กที่สุด
ส่วนเหล็กแหนบคนงานก็จะตัดออกเป็นท่อนๆตามขนาดของมีดที่จะตีเช่นเดียวกัน ปกติเหล็กแหนบ1แผ่นจะผ่าออกเป็น 2ชิ้นหรือ2 เล่ม แต่ถ้าแผ่นใหญ่มากๆก็จะได้มีดถึง 4 – 5 เล่ม
ส่วนเหล็กประเภทอื่น เช่น จานรถไถนา คนงานก็จะตัดออกเป็นชิ้นๆตามต้องการ เหล็กท่อนกลมซึ่งจะตัดใช้ทำบ้องก็จะตัดตามขนาดเช่นเดียวกัน เหล็กแผ่นก็เช่นเดียวกัน คนงานก็จะตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆเป็นรูปสามเหลี่ยมเหล็กบางครั้งอาจจะมีส่วนเกินในการใช้งานจึงจำเป็นต้องตัดออกในขณะที่ขึ้นบ้องและขึ้นรูปตัวมีดนั้นคนงานจะใช้เหล็กผ่าตัดแต่ถ้าเป็นการเตรียมเหล็กตัดเป็นท่อนๆนั้นจะใช้เครื่องตัดเหล็กอัตโนมัติ
การขึ้นบ้อง
ปัจจุบันการขึ้นบ้องจะใช้วิธีการสองแบบคือ
1. ใช้เหล็กแผ่นเดียวทั้งขึ้นบ้องและตีแผ่เป็นตัวมีด
2. ใช้เหล็ก 2 ชิ้นดังได้กล่าวมาแล้วมาเชื่อมต่อกันแล้วตีขึ้นบ้องอีกด้าน
1. ใช้เหล็กแผ่นเดียว
เป็นการขึ้นบ้องแบบสมัยก่อน คือเมื่อคนงานตัดเหล็กเป็นท่อนได้ขนาดตามต้องการก็จะตีด้านใดด้านหนึ่งขึ้นบ้องเลย การตีแผ่และขึ้นบ้องนี้จะใช้เวลาเผาเหล็กราว 4 – 5 ครั้ง
2.ใช้เหล็ก 2 ชิ้น
รูปแบบที่สองจะต่างกับรูปแบบที่สองโดยคนงานจะไม่ใช้เหล็กสำเร็จรูปหรือเหล็กแหนบแต่จะใช้เหล็กกลม เหล็กกลมนี้เป็นท่อเหล็กกลวงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/2,1นิ้ว ต้ดออกขนาดยาว 10 เซ็นติเมตร คนงานจะเชื่อมเข้าด้วยกัน การขึ้นบ้องวิธีนี้จะสะดวกรวดเร็ว ประหยัดแรงงานและถ่าน แต่วิธีนี้ความทนทานจะน้อยกว่าวิธีแรกเพราะบ้องจะหัก บิ่นง่าย
เมื่อตัดเหล็กเสร็จก็จะส่งส่วนที่ตัดนั้นไปยังคนงานที่ตีเพื่อขึ้นบ้อง โดยจะรีดบ้องออกให้แผ่ขยายออกประมาณ 2.5 ถึง 3 นิ้วเมื่อรีดเ้ป็นแผ่นแล้วก็จะใช้ค้อนและโดะเพื่อให้บ้องนั้นกลม คนงานจะขึ้นบ้องให้ได้หลายๆบ้องเป็น 40 – 50 บ้องจึงจะตีขึ้นรูปมีด
 การขึ้นบ้องอีกแบบหนึ่งแต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว คือบ้องแทนที่จะใช้แบบกลมๆดังได้กล่าวมาแล้ว จะใช้แบบเหล็กปลายแหลม เวลาเข้าด้ามไม้จะใช้วิธีแทงเข้าไปในเนื้อไม้ที่นำมาใช้ทำบ้อง แต่แบบนี้จะทำให้ด้ามหลุดจากตัวมีดได้ง่าย อาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้จึงไม่นิยมใช้

การตีเป็นตัวมีดหรือขึ้นรูป
เมื่อขึ้นบ้องเสร็จแล้วคนงานก็จะนำไปตีเป็นตัวมีดหรือขึ้นรูปต่อไป การตีเป็นตัวมีดนายช่างคนแรกจะเป็นส่วนสำคัญในการตีเพราะสามารถวินิจฉัยว่าจะตีแผ่ออกไปกว้างขนาดไหน ตรงไหนควรตัดออก ตรงควรให้หนา หรือบาง ลูกน้องจะตีตามที่นายช่างตี อุปกรณ์ที่ใช้ตีขึ้นรูปจะใช้ทั้งค้อนเล็ก ค้อนใหญ่ เหล็กผ่า โดะ ตะหมัง ที่โค้งหัวมีดหรือส่วนที่เกี่ยวข้อง เมื่อตีได้ตามต้องการแล้วก็จะส่งให้ฝ่ายลับต่อไป
การลับ
การลับเป็นขั้นตอนต่อไป การลับคือการทำให้มีดมีความคม นำไปใช้งานได้สะดวก การลับในสมัยก่อนจะใช้ตะไบจากต่างประเทศ เช่นจากประเทศอังกฤษ เยอรมันนี เท่าที่ผู้เขียนจำได้จะมียี่ห้อ นิโคลสัน ตราตา ตราตะไบไขว้ เป็นต้น ยี่ห้อที่กล่าวมานี้ใช้งานคงทน ใช้ได้นาน คม
เมื่อหมดอายุการใช้งานหรือลับได้ไม่ค่อยคมแล้วสามารถนำมาตีเป็นมีดต่อไปได้อีก การใช้ตะไบลับปัจจุบันเลิกใช้แล้วเพราะกว่าจะได้สักเล่มต้องใช้เวลาหลายนาที ค่าแรงก็แพง
ปัจจุบันใช้เครื่องลับที่เป็นเครื่องยนต์ เครื่องลับมี2 แบบ คือแบบเคลื่อนที่ใช้มือจับ โดยจะใช้เครื่องจับซึ่งเรียกว่า “กรามช้าง”(ภาคกลางเรียกปากกาหรือปากคีบ) จับไว้กับที่แล้วใช้เครื่องลับลับไปมา อีกแบบหนึ่งเป็นแบบถาวรติดตั้งอยู่กับที่ แบบนี้ผู้ลับจะถือมีดเคลื่อนไหวลับไปลับมา
ทั้ง 2 แบบสรุปได้ว่าต่างกันคือแบบเคลื่อนที่ มีดจะอยู่กับที่ ส่วนอีกแบบตัวมีดจะเคลื่อนไหวไปมา

การชุบ
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการตีมีดก็คือการชุบ การชุบคือการทำให้คมมีดแข็งแกร่ง คมกริบ ไม่บิ่น หัก งอ เวลาใช้งาน
การชุบคือการเผาคมมีดให้แดงแล้วเอาไปจุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว จุ่ม 2 – 3 ครั้งแล้วเอาผึ่งลมไว้เพื่อให้สะเด็ดน้ำ เพราะถ้าไม่สะเด็ดน้ำก็จะทำให้เกิดออกไซด์(สนิม)ได้
การชุบที่เรามักได้ยินบ่อยๆคือ
การชุบแข็งและการชุบน้ำมัน
การชุบแข็งคืออะไร การชุบแข็งคือการชุบแบบทั่วไปในโรงเหล็กของมีดพร้านาป้อ คือการเอามีดไปเผาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 70 - 90 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิต่างกันขึ้นอยู่กับมีดที่นำไปชุบและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของช่างชุบด้วย
   ส่วนการชุบน้ำมันนั้นจะใช้น้ำมันแทนน้ำ น้ำมันที่ใช้ ใช้น้ำมันโซล่าล้วนๆ หรือจะใช้น้ำมันโซล่าผสมกับน้ำมันพืชทั้งที่ยังไม่ได้ใช้หรือใช้แล้วก็ได้ เช่นน้ำมันทอดอาหาร การชุบแบบนี้โรงตีมีดในชุมชนบ้านนาป้อไม่นิยมใช้

คนงานที่มีหน้าที่ในการชุบให้ได้มาตรฐานแต่ละโรงงานนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญในการชุบ มีเพียง 1 คนหรือ 2 คนเท่านั้น การชุบจะต้องใช้ความชำนาญและการเผาไฟให้ร้อนนั้น ให้ร้อนเฉพาะคมมีดเท่านั้น ส่วนอื่นไม่ต้อง การสังเกตว่าอุณหภูมิได้ที่หรือยังนั้นมักจะอยู่ในดุลยพินิจของช่างชุบเพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป (90-100 องศาเซลเซียส)เหล็กก็จะละลาย เวลาชุบคมมีดจะบิ่น หักงอ แม้ว่าแต่ละโรงงานจะมีผู้ที่ชำนาญในการชุบเก่งเพียงใดก็ตามก็ยังปรากฏว่ามีดที่ชุบก็ยังบิ่น หักงอบ่อยๆ น้ำทั่ใช้ชุบจะต้องเป็นน้ำเย็นปกติเสมอ การใช้น้ำครั้งเดียวชุบหลายๆครั้งคมมีดจะไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เวลาชุบจึงต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
 การชุบนั้นช่างชุบจะเผาไฟเฉพาะคมมีดเท่านั้น ส่วนอื่นจะไม่ถูกไฟ ช่างชุบจะจุ่มน้ำเพียงครั้งหรือ2ครั้งเท่านั้น


การตกแต่ง
มีดที่ชุบและตากให้สะเด็ดน้ำแล้วถือว่าจบกระบวนการตีมีด แต่เนื่องจากโรงงานต้องส่งออกไปจำหน่ายยังท้องตลาดซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจึงต้องตกแต่งผลิดภัณฑ์ให้สวยงามเป็นที่สนใจของลูกค้า อันดับแรกคือตัวมีดจะต้องนำมาทาสี โดยเฉพาะที่คมมีดนิยมทาสีขาว ตัวมีด บ้องมีดทาสีดำ การทาสีหรือทาน้ำมันเคลือบเงานอกจากเพื่อความสวยงามแล้วยังป้องกันการเกิดสนิมได้ด้วยจากนั้นบางทีก็จะใส่ด้ามเพื่อความสะดวกของลูกค้าไม่ต้องนำไปใส่ด้ามอีก แล้วตัวมีดก็จะใส่ซองกระดาษบอกแหล่งที่มา บรรจุใส่กล่องส่งไปยังลูกค้า
……………………………….

ตัดเหล็กแผ่นเพื่อทำบ้องมีด



เหล็กกลมใช้ทำบ้องกับเหล็กแผ่นที่ทำตัวมีด นำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน




เหล็กแผ่นตัดเป็นชิ้นๆใช้ทำจอบ



ขึ้นบ้องเสร็จแล้วรอตีแผ่ตัวมีด




ด้ามมีดตัดทะลายปาล์ม









เหล็กขนทะลายปาล์ม



ปลายเหล็กขนทะลายปาล์ม

เหล็กขนทะลายปาล์ม
 



ปลายแหลมของเหล็กขนทะลายปาล์มทำจากเหล็กข้ออ้อยเสี้ยมปลายให้แหลม

เหล็กขูดมะพร้าว (กระต่าย)


เหล็กข้ออ้อยตัดเป็นท่อนๆ





การตีขึ้นรูป คนซ้ายมือเป็นนายช่างมือ 1 ขวามือนายช่างมือ 2
 


ใช้โดะตกแต่งบ้อง



ถ่านไม้เคี่ยม



กระสอบบรรจุถ่านไม้เคี่ยม



ก้อนโตเป็นถ่านลิกไนต์ ก้อนเล็กถ่านไม้เคี่ยม



เหล็กข้ออ้อยใช้ทำด้ามมีดกรีดยาง

ตะไบลับมีด

มีดที่ลับเสร็จแล้วรอชุบ



มีดที่ชุบเสร็จแล้วผึ่งให้แห้ง ป้องกันอ๊อกไซด์(สนิม)

การชุบที่ไม่ได้มาตรฐานจะทำให้คมมีดบิ่น หัก แหว่ง



นายประกอบ สัญกูล ช่างชุบอันดับต้นๆของช่างชุบมีดพร้านาป้อ



อุปกรณ์ตกแต่งตัวมีดเมื่อชุบเสร็จแล้ว

ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรนำมากล่าวถึง คือการตีมีดกรีดยางและกรรไกรหนีบหมากโดยเฉพาะมีดกรีดยางเป็นที่ต้องการของตลาดมาก โรงงานที่ตีมีดกรีดยางได้คม คุณภาพดีก็แทบจะผลิตไม่ทัน
มีดกรีดยาง
การผลิตไม่ได้มีกรรมวิธีซับซ้อนแต่อย่างใดผิดกับกรรไกรหนีบหมากจะซับซ้อนกว่า ขั้นตอนมีดังนี้
1.การตัดเหล็กทำบ้องด้ามจับ
ในการทำบ้องมีวิธีการทำ 2 แบบ คือ
ก  แบบมีบ้อง
ข แบบด้ามจับ
แบบมีบ้องการตัดเหล็กแบบเดียวกับตัดเหล็กทำบ้องของมีด คือตัดออกเป็นท่อนๆใช้เหล็ก 2 แบบ คือแบบเหล็กท่อนกลมและเหล็กฉากทรงสี่เหลี่ยม ในที่นี้จะกล่าวถึงเหล็กทรงสี่เหลี่ยม เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 เมตร
แบบด้ามจับ ใช้เหล็กข้ออ้อยตัดออกเป็นท่อนๆเช่นเดียวกัน
ในการตัดเหล็กทั้งแบบด้ามจับและแบบมีบ้องจะนำไปเชื่อมกับเหล็กที่ตัดไว้แล้วสำหรับขึ้นรูปและตีเพื่อขึ้นรูปต่อไป จากนั้นก็นำไปลับและชุบ แล้วตกแต่าให้สวยงามนำไปจำหน่ายต่อไป
สำหรับด้ามนั้นอาจจะสั้น ยาวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับท้องถิ่นเป็นหลัก มีดที่ตีส่งไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือรูปร่างจะใหญ่ ด้ามยาว
มีดบางเล่มจะใช้เหล็กเชื่อมกันสามท่อน ท่อนแรกเป็นเหล็กกลม ท่อนที่สองเป็นเหล็กข้ออ้อย ท่อนที่สามเป็นตัวมีด หริออาจจะสลับกันก็ได้ มีดบางเล่มใช้เหล็กฉากสี่เหลี่ยมท่อนเดียว



อันกลางเป็นตัวมีดกรีดยางเอามาเชื่อมกับเหล็กท่อนยาวอันบนเชื่อมกันแล้ว


นำเหล็กกลมและเหล็กเหลี่ยมมาต่อกันทำด้าม



กรรไกรหนีบหมาก
ปัจจุบันความนิยมลดน้อยลงไปตามวิวัฒนาการของสังคม เพราะแทบจะหาคนกินหมากไม่ได้เลยแต่นำมาอธิบายเพื่อเป็นความรู้เหล็กที่ใช้ ใช้เหล็กแหนบเพราะจะคมกว่า

วิธีประกอบเข้าด้วยกัน

สดงให้เห็นวิธีตีมีดหนีบหมากซึ่งแยกตีเป็น2ท่อน

 ตกแต่งจงอยจงอยปลาย


 

ส่หมุดระหว่าง 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน



บทที่ 7 การจำหน่าย
  มีดที่ตีเสร็จแล้วจะส่งไปจำหน่ายภายในจังหวัดตรัง ทั้งในอำเภอเมืองตรังและอำเภอต่างๆ รวมทั้งส่งไปขายยังต่างจังหวัดทุกจังหวัดในภาคใต้และจังหวัดอื่นๆด้วย ปัจจุบันมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยมาซื้อจากโรงงานเลยทีเดียวโดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ เช่น โรงงานของนายประเวช ชิตจันทร์ โรงงานของนายจรูญ สีผม เป็นต้น เพราะในบางช่วงมีดที่ตีป้อนตลาดจะผลิตไม่ทัน ลูกค้าจึงมาซื้อที่โรงงาน ปัจจุบันเจ้าของโรงงานได้เปิดจำหน่ายที่ถนนเลี่ยงเมืองตรังด้านทิศใต้จำนวน 2โรง
มีดเฉพาะท้องถิ่นเช่น มีดเบตง มีดภูเก็ตก็จะส่งไปยังจังหวัดนั้นๆเพราะล้กษณะ รูปแบบเป็นมีดเฉพาะที่

 

บทที่ 8 ปัญหาและอุปสรรค
   การตีมีดในปัจจุบันมีปัญหาและอุปสรรคซึ่งนับวันจะเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขลำบาก คือ
1. ขาดแคลนแรงงาน
2. ขาดแคลนถ่าน
คนงานที่มีอยู่ในปัจจุบันทุกโรงงานคือ นายช่างตีเหล็กมักจะเป็นคนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปโดยประมาณ บางโรงงานมีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็มี ซึ่งคนมีอายุเหล่านี้เรี่ยวแรงก็มักถอยลง ส่วนคนที่กำลัง แรงงงานถดถอยบางคนเลิกตีไปเลยก็มี ส่วนคนรุ่นหนุ่มก็ไม่สนใจที่จะสืบทอดความรู้และรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ อีกทั้งการตีมีดเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานอย่างหนัก คนรุ่นใหม่มักจะทนต่องานหนักไม่ไหว บางโรงงานหรือบางแห่งต้องปิดโรงงานเพราะหาแรงงานไม่ได้
ขาดแคลนถ่าน ดังที่กล่าวมาแล้ว เชื้อเพลิงที่สำคัญในการตีมีดคือ ถ่านและต้องเป็นถ่านไม้เคี่ยมอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนไม้อื่นใช้ไม่ได้ เมื่อก่อนสามารถหาวัตถุดิบจากใกล้ๆบ้านได้ ปัจจุบันวัตถุดิบนี้ถูกนำมาใช้จนหมดไป กอร์ปทั้งการทำสวนยางพาราและสวนปาล์มตอไม้เคี่ยมเหล่านี้ถูกไถ ขุดราก ถอนโคนหมด ปัจจุบันถ่านไม้เคี่ยมต้องนำมาจากจังหวัดกระบี่เสียเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากหายากจึงทำให้ราคาถ่านไม้เคี่ยมมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งโรงงานต้องหยุดตีมีดเพราะขาดแคลนถ่านก็เคยมี
เคยมีการนำเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทนคือ ถ่านลิกไนต์มาใช้แต่มีปัญหาก็คือ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ถ่านลิกไนต์เมื่อติดไฟแล้วจะติดในอุณหภูมิเท่าเดิมหรือมากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองมาก และเหล็กเก็บความร้อนเกินจะละลาย หลอมเหลวง่าย

 
แบบทดสอบหลังเรียน
 
คำสั่ง ให้กาเครื่องหมาย / ที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
 
1. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
     ก  มีดมีสองแบบคือห้วแหลมกับหัวตัด   
     ข  ถ่านที่ใช้คือถ่านไม้โกงกางกับไม้ยางพารา
     ค  การใช้ความร้อนตีมีดใช้สูบเครื่องเป่าลมไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
     ง  การลับมีดใช้เครื่องลับมีดแบบเคลื่อนที่ดีกว่าแบบติดอยู่กับที่
 
2. มีดพร้านาป้อมีแหล่งกำเนิดจากที่ใด
     ก  ภาคกลาง   ข  ภาคใต้   ค  ภาคเหนือ   ง   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. การตีมีดเริ่มมาตั้งแต่สมัยใด
     ก  อยุธยาตอนต้น  ข  สุโขทัย  ค  รัตนโกสินทร์ตอนปลาย  ง  อยุธยาตอนปลาย
4. ผลผลิตข้อใดไม่ใช่ผลผลิตจากโรงตีมีด
     ก  จอบ   ข  ค้อน   ค ตะขอเกี่ยวกระเบื้อง  ง  เสียม
5. เหล็กชนิดใดใช้เวลาตีนานที่สุด
     ก   เหล็กแผ่น   ข  เหล็กมัด  ค  เหล็กรางรถไฟ   ง  จานรถไถนา
6. ถ่นที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนำมาจากไม้อะไร
     ก  ไม้โกงกาง   ไม้พะยอม   ค   ไม้เคี่ยม  ง   ไม้ยางพารา
7. เหล็กแหนบคือเหล็กอย่างไร
     ก  แหนบรถกระบะ   ข  แหนบรถสิบล้อ  ค  แหนบรถบรรทุก  ง  แหนบรถไถนา
8. การชุบใช้น้ำอย่างไร
     ก น้ำอุ่น   ข น้ำร้อน   ค  น้ำมัน   ง  น้ำเย็น
9. ธาตุอะไรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเหล็ก
     ก  คาร์บอน   ข   นิเกิล   ค  ซิลิคอน  ง  แมงกานีส
10. ขั้นตอนสุดท้ายของการตีเหล็กคือขั้นตอนใด
     ก   ชุบ    ข   ลับ    ค   ขึ้นบ้อง   ง  ตัดเหล็ก
................................................................................................................
เฉลย:  ก  ข้อ 7  ข้อ 9  ข้อ 10
          ข  ข้อ 2
          ค  ข้อ 4  ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 1
          ง  ข้อ 3  ข้อ 8

        - บรรณานุกรม
 

https://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=75&topic_no=196616&topic_id=199119
https://www.sfsa.org/sfsa/pubs/cvf/ecs.php
https://www.cartech.com/ssalloysprod.aspx?id=2670

https://www.kalyanicarpenter.com/x45crsi93-vs.htm
https://www.oss.co.th/index.php?optio…d=27&Itemid=26
WWW.KHUANPRING.GO.TH // CDATA[
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

cw-stainless.com/index.aspx?pid=376e536a-8afc-4f32-8f12-d4e4a5e37012
https://www.sm-eng.com/material2.htm
https://www.maxsteelthai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=112%3A-steel-metallurgy&catid=42&lang=th
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://thai-knife.com/archives/2900
basicindustrialmaterials.blogspot.com/2011/11/2_01.html

Thai Tambon.com

การชุบแข็ง - ASSAB Thailand
การชุบแข็งผิว - ASSAB Thailand
ชุบแข็ง ทำงานเหล็ก กลึง กัด งานโลหะตามแบบ ทุกชนิด (tosthailand.com)https://www.nanagarden.com
ลิกไนต์ - วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ถ่านหิน - LESA: ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
เคี่ยม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเคี่ยม 11 ข้อ ! (medthai.com)
ถ่านไม้อัดเเท่ง - Bing video
วัฒนธรรมการกินหมากจากวรรณคดี - ครูแป๊ว กัลยาณี - GotoKnow
ทำไมคนโบราณชอบ “เคี้ยวหมากพลู”? มีประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง? (sanook.com)
การจัดการองค์ความรู้ กยท. (raot.co.th)
รายงานวิสาหกิจชุมชนเหล็กขึ้นรูปควนปริง เอกสาร อะหมาย จับปรั่ง
ประเภทของเหล็กสำคัญอย่างไรกับการนำมาใช้ทำมีด,เอกสารโรเนียว.สุชาติ เย็นวิเศษ.รศ.10 หน้า
เอกสารประกอบการมีดพร้านาป้อ เอกสารโรเนียว. วันใหม่ ชิตจันทร์,นาย 14 หน้า




 

 
 
 

 




 

Create Date : 29 กันยายน 2559   
Last Update : 26 มีนาคม 2567 15:48:54 น.   
Counter : 8988 Pageviews.  
space
space

สมาชิกหมายเลข 3371728
Location :
ตรัง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สันโดษ อิสระ โลกส่วนตัว

space
space
space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3371728's blog to your web]
space
space
space
space
space