Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 

ตุลาการภิวัตน์ในมุมมองมีชัย พระอัจฉริยภาพทางรัฐธรรมนูญกับมาตรา 3

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 07 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10345

ตุลาการภิวัตน์ในมุมมองมีชัย พระอัจฉริยภาพทางรัฐธรรมนูญกับมาตรา 3

โดย เกษียร เตชะพีระ



ในบรรดาคำอธิบายทางกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับกระบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" หรือ พระราชดำรัสแก่ฝ่ายตุลาการเมื่อ 25 เมษายน ศกนี้ + การปฏิบัติงานสนองพระราชดำรัสของฝ่ายตุลาการทั้ง 3 ศาลสืบต่อมา เท่าที่ปรากฏในสื่อสาธารณะนั้น ผมเห็นว่าคำอธิบายของ คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ที่ให้สัมภาษณ์แก่หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ ภายใต้หัวเรื่อง "6 ทศวรรษ...อัจฉริยภาพทางรัฐธรรมนูญ" (มติชนรายวัน,12 มิ.ย.2549,น.11) แหลมคมเร้าใจและชวนขบคิดที่สุด

ก่อนอื่น คุณมีชัยเลือกอธิบายกระบวนการดังกล่าวเช่นเดียวกับคุณชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา ในหนังสือถึงประธานวุฒิสภา นายสุชน ชาลีเครือ แจ้งผลการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กรณีการสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนตำแหน่งที่ว่างลง 2 คน ลงวันที่ 1 มิถุนายน ศกนี้ (มติชนรายวัน,2 มิ.ย.2549,น.2)

กล่าวคือ คุณมีชัยตีความพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ฝ่ายตุลาการเมื่อ 25 เมษายน ศกนี้ โดยอิงมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าเป็นกรณี "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

ทว่าความน่าสนใจแท้จริงอยู่ตรงการประเมินค่าและเหตุผลข้อถกเถียงรองรับคำอธิบายข้างต้นของคุณมีชัย

คุณมีชัยชี้ว่านี่เป็น "ครั้งแรก" (ย้ำคำนี้ 2 ครั้งในบทสัมภาษณ์) ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลในลักษณะนี้ อันสะท้อน "พระอัจฉริยภาพจริงๆ","พระอัจฉริยภาพทางรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ที่คนธรรมดานึกไม่ออก"

สิ่งที่ผู้คนทั่วไปนึกคิดไม่ถึง-ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนึกถึงด้วยพระอัจฉริยภาพเกี่ยวกับเนื้อความของมาตรา 3 ในทรรศนะของคุณมีชัย พอแยกแยะออกได้ 3 ประเด็นคือ

1) เวลานึกถึงอำนาจอธิปไตย คนทั่วไปจะนึกถึงแต่ฝ่ายบริหารอันได้แก่คณะรัฐมนตรีและฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่ รัฐสภาเป็นหลัก,ไม่คิดถึงฝ่ายตุลาการ

2) เวลาคิดถึงฝ่ายตุลาการ คนทั่วไปก็จะคิดแต่ในความหมายของการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่คิดถึงในแง่ที่เป็นอำนาจส่วนหนึ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นอำนาจอธิปไตย

3) พระราชดำรัส 25 เมษายน ศกนี้ แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนึกถึงฝ่ายตุลาการในฐานะเป็นองค์อำนาจ ไม่ใช่แค่ตัวการพิจารณาพิพากษาคดี และทรงใช้อำนาจตุลาการในฐานะอำนาจอธิปไตยเป็นครั้งแรก

สำหรับสภาพเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยริเริ่มใช้อำนาจตุลาการในฐานะอำนาจอธิปไตยเป็นครั้งแรกนี้ก็ได้แก่วิกฤตทางการเมืองครั้งที่ 3 (เมษายน พ.ศ.2549 ส่วนสองครั้งก่อนคือ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และพฤษภาคม พ.ศ.2535) ในครั้งนี้เกิดภาวะอำนาจอธิปไตยอีก 2 อำนาจได้แก่ บริหารและนิติบัญญัติใช้ไม่ได้เพราะเกิดปัญหา (มีการยุบสภา จึงเหลือเพียงรัฐบาลรักษาการ) ทุกคนตันหมดแล้ว หมดทางไป มองไม่เห็นลู่ทาง ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บ้านเมืองทำท่าจะเสียหายแล้ว

โดยทุกครั้งที่ทรงลงมาแนะนำทางออกเพื่อแก้วิกฤตด้วยพระองค์เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลัก 2 ประการ คือเพื่อความสุขสงบของประเทศและความอยู่รอดปลอดภัยของประชาชน

นอกจากนี้ เวลาที่ทรงแก้นั้น ทรงระมัดระวัง ที่จะไม่ไปเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง ทรงแก้โดย ปลอดจากการเมือง และทรงเป็นกลาง จะไม่ทรงลงมาในลักษณะที่จะทำให้ข้างใดข้างหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าถูกหรือผิด หรือในลักษณะที่เท่ากับว่าเข้าข้างใครอีกข้างหนึ่ง ไม่ทรงไปให้เห็นว่าอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งยากลำบากมาก แต่เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เป็นที่ยอมรับได้

มาในครั้งนี้ พระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ฝ่ายตุลาการก็ ก็เป็นเพียงการให้คำแนะนำ เหมือนดังที่เคย ทรงชี้ทาง แก่ฝ่ายต่างๆ ในอดีต พระองค์ เพียงแต่บอกว่าใครควรจะลงไปทำ...ลองไปคิดดูสิว่าใครจะทำอะไร,อาศัยอำนาจที่มีอยู่ไปทำกันเอาเอง จะไปทำอย่างไรก็ไปทำกันเอาเอง

ส่วนฝ่ายตุลาการ 3 ศาลที่รับสนองพระราชดำรัสนั้นก็ต้อง ดูว่าจะทำอะไรได้บ้างในกรอบของตัวเอง,โดยคนที่ไปทำก็จะมีขอบเขต อย่างตุลาการก็มีขอบเขต แบ่งออกเป็น 2 ขา ได้แก่

ขาแรก) อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งมีตัวบทกำหนดกรอบไว้ค่อนข้างชัดเจน มีระยะเวลา มีความเที่ยงธรรม โอกาสที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมีจะเท่ากัน อันเป็นอำนาจปกติทั่วไปอยู่แล้ว

ขาหลัง) อำนาจตุลาการที่จะไปแก้วิกฤตการเมือง ในฐานะที่เป็นคนไม่รู้เรื่องบริหารและนิติบัญญัติมาก่อน

อำนาจขาหลังนี้เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายตุลาการเริ่มใช้ ค่อนข้างแปลกใหม่และไม่คุ้นเคย นับว่าเป็นอาณาบริเวณที่ฝ่ายตุลาการยังไม่ได้สำรวจทำความรู้จักมาก่อน (uncharted territory) จึงค่อนข้าง "อันตราย" (มีชัยย้ำคำนี้ถึง 4 ครั้งในบทสัมภาษณ์) และต้องระมัดระวังในการดำเนินการว่าทำอะไรได้บ้าง? ทำอะไรไม่ได้บ้าง? ไม่ควรทำอะไรบ้าง?

ที่สำคัญจะเดินเรื่องแค่ไหนอย่างไรดี ขาหลัง-อันเป็นเรื่องการเมือง มีฝักมีฝ่าย มีพวกพ้อง มีคนได้รับผลร้ายและได้รับผลดี เวลาเสียก็จะไม่พอใจ ว่ากล่าวและอาจไม่ยอมรับ ลงไปรุมศาลได้ จึงจะไม่ไปขัดขาแรก-อันเป็นเรื่องการพิจารณาพิพากษาคดีตามหลักกฎหมายอย่างเที่ยงธรรม จนขาพันกันสะดุดล้มลง?

แม้แต่คุณมีชัยเองก็พูดถึงประเด็นนี้ด้วยถ้อยคำคลุมเครือแปลกแปร่งพิกล คือใช้คำว่า "เขา (หมายถึงฝ่ายตุลาการ) ก็จะแก้เท่าที่เขาจะเอื้อม เขาก็แนะนำเท่าที่เขาจะทำได้" โดยเสนอแนะหลักการป้องกันสองขาเดินขัดกันเองแก่ฝ่ายตุลาการไว้ว่า

-อาศัยกระบวนการตามอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีให้สอดคล้องกัน โดยกำหนดทิศทางร่วมกันได้

-แต่ไม่ใช่ต้องตัดสินอย่างเดียวกัน หรือไปตัดสินแทนกัน เพราะจะทำให้ขาดความเป็นอิสรภาพที่ศาลแต่ละศาลสั่งกันไม่ได้

เราอาจดึงข้อสรุปสำคัญบางประการเกี่ยวกับกระบวนการตุลาการภิวัตน์ในทรรศนะของมีชัยในชั้นนี้ได้ว่า

1) การใช้อำนาจตุลาการในฐานะอำนาจอธิปไตยโดยองค์พระประมุขเพื่อแก้วิกฤตทางการเมืองครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย

2) โดยทรงตีความมาตรา 3 ที่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ด้วยพระอัจฉริยภาพทางรัฐธรรมนูญชนิดที่คนธรรมดานึกไม่ออก

3) อย่างไรก็ตาม พระราชดำรัสของพระองค์เพียงทรงชี้ทางแนะนำแก่ฝ่ายตุลาการ ส่วนการปฏิบัติสนองพระราชดำรัสของฝ่ายตุลาการ 3 ศาลนั้นย่อมต้องมีกรอบ มีขอบเขตของตัวเอง และต้องรับผิดชอบเอง

4) ขอบเขตอำนาจของฝ่ายตุลาการในเรื่องนี้มี 2 ขา คือ ขาแรกอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี และขาหลังอำนาจที่จะไปแก้วิกฤตทางการเมืองซึ่งไม่เคยทำมาก่อนเป็นครั้งแรกเช่นกัน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังให้อำนาจสองขาเดินไปด้วยกันได้ไม่ขัดกันเอง

5) ในทางวิชาการ อาจจะจริงที่การใช้อำนาจตุลาการมาแก้วิกฤตทางการเมืองทำให้อันตรายต่อศาล โดยเฉพาะถ้าใช้ไม่ถูกกาละเทศะ แต่ในภาวะวิกฤตที่หมดทางไปและฝุ่นยังตลบ อำนาจอธิปไตยด้านอื่นไม่อยู่ในฐานะที่จะแก้ปัญหาหาได้ ก็จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจเดียวที่มีอยู่

โดยขอภาวนาให้เรื่องจบเร็วๆ ศาลจะได้ไม่ต้องออกมายุ่งกับการเมือง




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2549
6 comments
Last Update : 9 กรกฎาคม 2549 10:28:59 น.
Counter : 2680 Pageviews.

 

krub/...support ....to solve all trouble....and ...go to next election soon as posible.

 

โดย: noom' IP: 172.151.178.43 7 กรกฎาคม 2549 22:12:11 น.  

 

ป้าจูลี่...บอกกว่าา…

@@@@@@@@@@@@@@@




@@@@@@@@@@@@@@@


 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 5 ธันวาคม 2551 15:46:01 น.  

 


ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

ป้าหู้เปงห่วงน้า...

@@@@@@@@@@@@@@@


 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 18 ธันวาคม 2551 23:45:27 น.  

 



สวัสดีปีใหม่2552ค่ะคุณนายน้ำว้า...

มาช้าปายนี๊ดด...แต่ก็หอบความคิดถึง

และ

ความปราถณาดีมาเต็มเปี่ยมมม...

@@@@@@@@@@@@@@@


 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 10 มกราคม 2552 21:28:26 น.  

 


มาบอกว่า...เจบบบอ่ะ...แง้....

 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 7 กุมภาพันธ์ 2552 21:34:08 น.  

 


ป้ามาติดประกาศ..จร้า...

ช้าปายฉองวานมะเปงรายน้า...


 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 16 กุมภาพันธ์ 2552 18:29:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณนายน้ำหวาน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณนายน้ำหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.