|
กิจกรรมอบรมนักเรียน
ภาพกิจกรรมอบรมนักเรียนวันที่ 7-8 มกราคม 2553 โรงเรียนสุขไพบูลย์วิริยะวิทยา ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
Create Date : 08 มกราคม 2553 | | |
Last Update : 8 มกราคม 2553 21:08:06 น. |
Counter : 1464 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ศึกสตาเลนินกราดนาซีแพ้หมดรูปการแพ้ก่อนถึงจุดจบของพวกบ้าสงคราม
ขณะที่กองทัพแพนเซอร์ที่ 4 และกองทัพแพนเซอร์ที่ 6 กำลังโจมตีสตาลินกราดอยู่นั้น กองทัพโซเวียตได้มารวมพลกันอยู่ทั้งสองด้านของตัวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขตหัวสะพานแม่น้ำดอน ซึ่งกองทัพโรมาเนียต้านทานไม่ไหว ซึ่งทำให้กองทัพเยอรมันตกอยู่ในวงล้อมตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในปฏิบัติการยูเรนัส กองทัพโซเวียตได้โจมตีผ่านกองทัพโรมาเนียและมาบรรจบกันที่คาลัชในวันที่ 23 พฤศจิกายน ซึ่งปิดล้อมทหารฝ่ายอักษะกว่า 300,000 นายไว้เบื้องหลัง ส่วนการรุกอีกทางหนึ่งในเขตเทือกเขาเรซเฮฟ ที่เรียกว่า ปฏิบัติการมาร์ส มีเป้าหมายที่จะยึดเมืองสโลเมนสก์ แต่ก็ประสบความล้มเหลว เนื่องจากยุทธวิธีของเยอรมนี
ฝ่ายเยอรมนีได้รีบเร่งส่งกำลังพลไปยังสหภาพโซเวียตในความพยายามที่จะปลดปล่อยสตาลินกราด แต่ว่าการบุกต้องถูกเลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 12 ธันวาคม ซึ่งกองทัพแพนเซอร์ที่ 6 ได้รับความลำบากยากเข็ญและอ่อนแอเกินกว่าจะตีฝ่าออกมาได้ ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว ได้ทำการเคลื่อนย้ายกองพลแพนเซอร์ 3 กองพลจาก Kotelnikovo ไปยังแม่น้ำ Aksai อย่างรวดเร็ว แต่ก็ถูกขัดขวางในขณะที่อยู่ห่างจากเป้าหมาย 65 กิโลเมตร เพื่อเบี่ยงเบนเป้าหมายในความพยายามช่วยเหลือ กองทัพโซเวียตได้ตัดสินใจทำลายกองทัพอิตาลี โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม เนื่องจากฝ่ายโซเวียตทำการรบในวงแคบ ๆ ทำให้แม้ว่าจะพุ่งเป้าไปยังเมืองรอสตอฟ แต่ก็ทำให้ฮิตเลอร์ตัดสินใจถอนกองทัพกลุ่มเอออกจากเขตคอเคซัสและเข้าเสริมกำลังตามแนวแม่น้ำดอน
ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1943 ทหารผู้รอดชีวิตจำนวน 90,000 นาย จากทั้งหมด 300,000 นายของกองทัพแพนเซอร์ที่ 6 ซึ่งทำการรบในสตาลินกราดยอมจำนน ในขณะเดียวกันที่กองทัพฮังการีที่ 2 ถูกทำลายเช่นกัน กองทัพโซเวียตได้รุดหน้าไปกว่า 500 กิโลเมตรจากแม่น้ำดอนไปทางตะวันตก และสามารถยึดเมืองเคิร์สก์คืนได้ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 และเมืองคาร์คอฟ ซึ่งยึดคืนได้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ในความพยายามที่จะรักษาแนวรบทางด้านทิศใต้ กองทัพเยอรมันจึงตัดสินใจถอนกำลังออกจากส่วนเรซเฮฟที่ยื่นเข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์ และทำให้กองทัพเยอรมันสามารถตีโต้กองทัพโซเวียตได้ในยูเครนตะวันออก การรุกกลับของแมนสไตน์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเหล่าเอสเอสแพนเซอร์ ซึ่งมีรถถังไทเกอร์รวมอยู่ด้วย เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งมุ่งหน้าจาก Poltava ไปยังคาร์คอฟในสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม โดยอาศัยช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งหิมะละลาย ทำให้แนวรบของโซเวียตรอบเมืองเคิร์สก์ยื่นเข้าไปในแนวรบเยอรมันทั้งสองด้าน
ที่มาของบทความวิกิเพียเดียไทย
ภาพของจอมพลกิออร์กี้ ชูคอฟ ที่นำกองทัพแดงไล่พวกนาซีจนพ่ายแพ้แบบยับเยิน
Create Date : 29 ธันวาคม 2552 | | |
Last Update : 29 ธันวาคม 2552 21:26:29 น. |
Counter : 1256 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
สมรภูมิเคิร์สก์ : ฤดูร้อน 1943
เคิร์สก์ : ฤดูร้อน 1943
ภยันตรายที่อยู่รอบตัวเราไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอลงแต่อย่างใด แต่กลับทำให้เราระมัดระวังตัวมากขึ้น เมื่อประชาชนต้องพบกับความเสี่ยงสูงเพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าจะรอดชีวิต มันเป็นการดีที่จะแนะนำให้กำจัดมารแห่งความสงสัยและการบาดหมาง ดังนั้นในเรื่องที่ว่าการชุมนุมอย่างสมบูรณ์ในหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ของมัน มันเป็นไปไม่ได้จะพูดเรื่องนี้ให้ประชาชนทุกคนฟังเข้าใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการแสดงออกในเจตจำนงและในคำสั่งของท่านผู้นำ
โจเซฟ เกบเบิลส์[15] การพูดคุยเกี่ยวกับสันติภาพในค่ายนาซีได้แสดงให้เห็นเพียงว่าพวกเขาอยู่ในวิกฤตการณ์อันลึกล้ำ สันติภาพใดจะสามารถเกิดขึ้นได้จากพวกจักรวรรดินิยมวายร้ายจากค่ายนาซี ผู้ซึ่งทำให้ยุโรปตะวันออกนอกไปด้วยเลือด และเต็มไปด้วยตะแลงแกงกันเล่า
โจเซฟ สตาลิน[14]
หลังจากประสบความล้มเหลวที่จะยึดเมืองสตาลินกราด ฮิตเลอร์ได้โอนอำนาจในการวางแผนภารกิจในภายภาคหน้าให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุดแทน และคืนตำแหน่งให้แก่นายพลกูเดอเรี่ยน ในฐานะนายตรวจแห่งกองกำลังแพนเซอร์ ได้มีการโต้เถียงกันในหมู่ผู้บัญชาการทหารระดับสูงเกี่ยวกับการโจมตีแนวรบซึ่งยื่นเข้ามาที่เคิร์สก์ ซึ่งแม้แต่ฮิตเลอร์เองก็กังวลถึงความยากในการโจมตีครั้งนี้ เพราะว่าในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ที่ตั้งของทหารโซเวียตที่เคิร์สก์จะต้องได้รับการเสริมกำลังอย่างแน่นหนาด้วยปืนต่อต้านรถถัง ฟันมังกร กับระเบิด รั้วลวดหนาม สนามเพลาะ รังปืนกล ปืนใหญ่และปืนครก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากการโจมตึสายฟ้าแลบครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นได้ ก็อาจเป็นเพราะกองทัพโซเวียตคลายความกังวล และความสนใจก็อาจจะถูกเบนไปยังภัยทางมาจากฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก การรุกจะเกิดขึ้นจากแนวโอเรลไปจนถึงทางเหนือของเคิร์สก์ และจาก Belgorod ไปทางใต้ ปีกทั้งสองด้านจะสามารถมาบรรจบกันได้ทางตะวันออกของเคิร์สก์ ซึ่งหมายความว่าจะเป็นการตีคืนเอาดินแดนที่กองทัพกลุ่มใต้ประจำอยู่ในช่วงฤดูหนาวแห่งปี 1941-1942 คืนได้สำเร็จ
ถึงแม้ว่าฝ่ายเยอรมันจะรู้ว่ากองทัพแดงจะมีกำลังคนเข้ามาเสริมจำนวนไม่มากนักในช่วงฤดูร้อนแห่งปี 1941-1942 แต่ว่าก็ยังมีการติดอาวุธใหม่ และมีการโยกย้ายกำลังคนเข้ามาเพิ่มเติมจากดินแดนที่ได้รับการปลดปล่อยแล้ว
ปืนใหญ่สนามขนาด 76.2 มม. ของโซเวียตซึ่งใช้ในยุทธการแห่งเคิร์สก์ภายใต้แรงกดดันจากบรรดานายพลระดับสูงของเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงยอมให้มีการโจมตีขึ้นที่เคิร์สก์ โดยให้ความสนใจแก่ข่าวกรองเพียงน้อยนิดว่ามีการปล่อยข้อมูลผิด ๆ ออกจากหน่วยสตาฟกาของโซเวียต และการตอบโต้ทางด้านการข่าวโดย Lucy Spy Ring ในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อฝ่ายเยอรมันเตรียมการสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้ จึงต้องรอเวลาหลายเดือนสำหรับรถถังและยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ซึ่งทางด้านฝ่ายโซเวียตก็ได้มีการเสริมกำลังเพื่อเตรียมตั้งรับการรุกรานของเยอรมนียิ่งกว่าที่เคย
ทางตอนเหนือ กองทัพที่ 9 ได้เคลื่อนย้ายมาจากแนวรบเรซเฮฟมายังโอเรล และทำการเคลื่อนทัพจาก Maloarkhangelsk ไปยังเคิร์สก์ แต่กลับหยุดชะงักที่ Olkhovatka ซึ่งห่างจากเป้าหมายอยู่ 8 กิโลเมตร กองทัพที่ 9 สูญเสียกำลังพลในการรุกจากทุ่งระเบิดของโซเวียต ทำให้เส้นทางการรุกต้องเปลี่ยนจาก Olkhovatka เป็น Ponyri ซึ่งอยู่ทางตะวันตกแทน แต่ว่ากองทัพที่ 9 ก็ไม่อาจฝ่าแนวป้องกันของโซเวียตได้ กองทัพโซเวียตจึงทำการโต้กลับ โดยในวันที่ 12 กรกฎาคม กองทัพแดงได้ทำการรบผ่านแนวเขตระหว่างกองพลที่ 211 กับกองพลที่ 293 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Zhizdra และเคลื่อนทัพไปยัง Karachev ซึ่งอยู่หลังแนวรบเยอรมันและโอเรล
ภาพแสดงถึงการรบที่เคิร์สก์ส่วนทางด้านทิศใต้ การบุกของฝ่ายเยอรมันนำโดยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเฮอร์มันน์ ฮอธ ซึ่งเบิกทางโดยเหล่ารถถังสามเหล่า กองทัพเยอรมันได้แยกออกโจมตีเป็นสองทางของ upper Donets เป็นช่องทางแคบ ๆ เหล่ารถถังเอสเอสและกองพล Großdeutschland Panzergrenadier ได้สู้รบผ่านทุ่งระเบิดเพื่อมุ่งหน้าสู่ Oboyan การป้องกันอย่างแข็งขันของฝ่ายโซเวียตทำให้กองทัพเยอรมันต้องเปลี่ยนการบุกจากทางตะวันออกไปเป็นตะวันตกของแนวรบ แต่ว่าเมื่อเคลื่อนทัพต่อไปอีก 25 กิโลเมตรก็เผชิญหน้ากับกำลังเสริมของกองทัพรักษาการณ์รถถังที่ 5 ของโซเวียตนอกเมือง Prokhorovka การรบเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยมีรถถังเข้าทำการรบมากกว่าหนึ่งพันคัน หลังจากสงคราม ได้มีการบรรยายว่าการรบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นยุทธการถถังที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การเผชิญหน้ากันครั้งนั้น ฝ่ายโซเวียตผู้ตั้งรับได้รับชัยชนะ แม้ว่าจะประสบความสูญเสียอย่างหนักก็ตาม และเป็นผลให้กองทัพเยอรมันต้องหยุดชะงักไป
เมื่อพ้นวันที่ 12 กรกฎาคม การรบของทั้งสองฝ่ายก็หยุดชะงักไปชั่วขณะหนึ่ง แต่นายพลเมนไตน์พยายามที่จะเข้าตีกองทัพโซเวียตอีกครั้งด้วยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 แต่ว่าประสบความล้มเหลว และปฏิบัติการซิทาเดลของเยอรมันก็หยุดไปด้วย ผลของการโจมตีกลับของโซเวียตได้ทำให้แนวรบของกองทัพที่ 9 ของเยอรมันถูกเจาะเข้ามา นอกจากนั้น ฮิตเลอร์ยังต้องหันความสนใจไปยังการยกพลขึ้นเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 10 กรกฎาคม ทำให้ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้ยุติปฏิบัติการครั้งนี้ และปฏิบัติการซิทาเดลนี่เองที่เป็นการบุกครั้งสุดท้ายของฝ่ายเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออก ทางด้านกองทัพโซเวียตก็สามารถโจมตีดินแดนคืนได้ออกจนถึงเดือนสิงหาคม ผลจากยุทธการแห่งเคิร์สก์ทำให้ยุทธศาสตร์ของเยอรมันตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก บั่นทอนความสามารถของกองทัพและเป็นส่งผลกระทบต่อสงครามในอนาคตอย่างไม่อาจกู้คืน
ที่มาวิกิเพียเดียไทย
Create Date : 29 ธันวาคม 2552 | | |
Last Update : 29 ธันวาคม 2552 21:19:55 น. |
Counter : 1420 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
พลเอกฮิเดะกิ โทโจ อาชญากรสงครามที่สมควรตาย
ฮิเดะกิ โทโจ (ญี่ปุ่น: 東條英機, 東条 英機 Tōjō Hideki (ข้อมูล) ?); 30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงได้ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491
เกิดที่เมืองโคจิมะชิชานกรุงโตเกียวในปี พ.ศ. 2427 เป็นบุตรคนที่สามของฮิเดโนะริ โทโจ นายทหารในกองทัพกองทัพจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น พี่ชายสองคนแต่เสียไปก่อนที่เขาจะเกิด ในปี พ.ศ. 2452 เขาได้สมรสกับคัตสุโกะ อิโตะ มีบุตร 3 คน และธิดา 4 คน
เข้ารับราชการทหาร เขาสำเร็จการศึกษาระดับที่ 17 จากโรงเรียนนายร้อยแห่งกองทัพกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2458 ในอันดับที่ 42 จากจำนวนนักเรียนนายร้อย 50 คน ได้รับแต่งตั้งยศร้อยตรี สังกัดทหารราบ
ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดจาก Army War College จากนั้นในปี พ.ศ. 2462 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก บัญชาการกองร้อยทหารรักษาพระองค์ที่ 3 ต่อมาเขาได้ถูกส่งไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในฐานะทูตทหาร หลังจากกลับมาจากภารกิจ ในปี พ.ศ. 2463 เขาได้เลื่อนยศขึ้นเป็นพันตรี ในปีต่อมาเขาก็ถูกส่งไปทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพลเรือนที่ประเทศเยอรมนี
Create Date : 29 ธันวาคม 2552 | | |
Last Update : 29 ธันวาคม 2552 21:12:50 น. |
Counter : 3458 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ปีใหม่หรือปีเก่าน่าจะเลิกสุราได้นะ

ภาพนี้เมาแล้วขับรถชนกำแพงวัดพังเป็นแถบ
ใหม่แล้วน่าจะมีแต่สิ่งดีดี. แต่กลับไม่..!!! เพราะที่มันแย่นั่นคือทุกครั้งหลังเทศกาลต่างๆ จะมีภาพข่าวการนับศพบนหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับของผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ปีแล้ว ปีเล่า จนบางคนอาจเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับคนไทย
และก็รู้สึกว่า
ข่าวคราวการสูญเสียที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั้น มันไม่ได้ทำให้คนไทยเรารู้สึกกลัวหรือสลดใจกันมากขึ้นมาเลย เมื่อนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า การสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็น 7 วันอันตรายนั้นมีการเกิดอุบัติเหตุรวมรวม 3,824 ครั้ง น้อยกว่าปี 2551 (4,475 ครั้ง) 651 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 367 ราย น้อยกว่าปี 2551 (401 ราย) 34 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 4,107 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุรวมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ จังหวัดยโสธร จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตรวมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 21 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตมี 7 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 136 ราย
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 27.64 รองลงมาคือ เมาสุรา โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ถึงแม้ว่าจำนวนตัวเลขจะลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงอยู่ ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดก็ยังคงเป็น รถจักรยานยนต์ อยู่เหมือนเคย จากตัวเลขที่เกิดขึ้น มันบอกอะไรกับเรา
.มันบ่งบอกได้ไหมว่าคนไทยเรายังคงขาดจิตสำนึก
ตัวการหลักก็ยังคงเป็นเรื่องเดิม ๆ
!!!
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ทุกๆ เทศกาล ข่าวการดื่มสุราแล้วขับรถ เป็นสาเหตุหลักอันดับต้นๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียขึ้น เพราะนอกจากอาจเกิดอันตรายกับตนเองแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นอีกด้วย
ถึงแม้
หลายหน่วยงานต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานกันอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งรณรงค์ปลุกจิตสำนึกทุกระดับ ออกกฎหมายป้องกันและปราบปราม ลดโฆษณายั่วยุต่างๆ เพื่อเป็นการ ลด ลด ลด การสูญเสียที่จะตามมา
อย่างปลายปีที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนารสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้เร่งรณรงค์ให้คนไทย ส่งของขวัญปลอดเหล้าให้กับคนที่เรารัก เพราะเหล้าคือตัวทำลายสุขภาพไม่ว่าจะความดันโลหิตสูงหรือตับแข็ง นอกจากนี้ยังทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน แล้วมีสโลแกนตอนท้ายว่าให้เหล้าเท่ากับแช่งนั้นจะเข้าหูประชาชนกันบ้าง จึงทำให้สถิติยอดผู้เสียชีวิตลดลงบ้างแต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก
แล้วอย่างนี้จะมีสักเทศกาลไหม??? ที่คนไทยเราจะไม่สูญเสีย
.
ทางที่ดี
!!! เมื่อเราพอจะรู้แล้วว่าสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ในช่วงเทศกาลมาจากอะไร การหาวิธีเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบิตเหตุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ตั้งสติก่อนสตาร์ท ดื่มไม่ขับ ขับไม่ซิ่ง ง่วงไม่ขับ โทรไม่ขับ ไม่ประมาท และที่สำคัญต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพียงแค่นี้
ก็สามารถลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่ใช่แต่เฉพาะของตนเองเท่านั้นนะ แต่ยังรวมไปถึงของผู้อื่นได้อีกด้วย
คงถึงเวลาแล้ว
ที่คนไทยอย่างเราๆ คงต้องออกมารับผิดชอบต่อสังคมเสียที ไม่ว่าจะเลี้ยงฉลองปีใหม่ หรือเทศกาลไหนๆ ก็มีความสุข สนุกสนานได้ โดยไร้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เข้าวัดทำบุญ ฉลองกันด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน หากิจกรรมที่สามารถทำและเล่นกันได้ทั้งครอบครัว นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์คนในครอบครัว ชุมชน ให้แนบแน่นขึ้นแล้ว ยังจะเป็นการช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากการเฉลิมฉลองได้ด้วย
ปีใหม่ ปีเก่า เทศกาลแล้ว เทศกาลเล่า เลิกเมาจะดีไหม?
ข้อมูลจาก//www.thaihealth.or.th/node/7212
Create Date : 26 ธันวาคม 2552 | | |
Last Update : 26 ธันวาคม 2552 23:10:22 น. |
Counter : 905 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|