
 |
|
 |
 |
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
พ.ร.บ.คอมพ์บังคับใช้ถ้อยคำในเน็ต 'ลามก อนาจาร ความมั่นคง ตื่นตระหนก' ผิดติดคุก ปรับสูง 5 แสนบาท
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ไม่ได้ออกมาบังคับแค่ร้านเกมและอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่เป็นการบังคับทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการเทเลคอมไอเอสพี-เน็ตคาเฟ่-บริษัทห้างร้าน-ราชการมีคอมพ์ใช้งาน ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูล "ความมั่นคง" "ตื่นตระหนก" ที่เป็นเท็จ หรือมีลักษณะ "ลามก อนาจาร" จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุม "ผู้ใช้บริการ" คือ ผู้ที่กระทบกลุ่มแรกจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากการก่ออาชญากรรม หรือการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์นั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ใช่เพีย งแค่บุคคลใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ความผิดที่เกิดขึ้นย่อมสามารถที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของรัฐ รวมถึงบุคคลอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจึงได้กำหนดโทษและบทบาทลงโทษสำหรับการกระทำผิดต่างๆ ไว้ขัดเจน ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ.นี้คือบุคคลใดบ้าง สำหรับผู้ให้บริการตามที่ พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย ผู้ใช้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วย ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการดปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider) ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เรียกว่า Content provider) ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เรียกว่า content provider เช่น ผู้ให้บริการเว็บบอร์ด หรือเก็บเซอร์วิส เป็นต้น อาทิ เว็บไซต์สนุกคอมดอม หรือกระปุกดอทคอม ทั้งนี้จากการที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้อาจทำให้ผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายใ นการจัดเก็บข้อมูล ร้านอินเทอร์เน็ตและเกม จะเป็นการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือการจัดเก็บข้อมูลที่เข้ามาใช้บริการ หรืล็อกไฟล์ ผู้ให้บริการต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ 1.หากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทรอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเก็บข้อมูลดังกลาวภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ 2.กรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บร ิการ วิธีการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ - เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการและบันทึกเข้าใช้ข้อมูล สามารถระบุตัวบุคคลและรายละเอียดผู้ใช้บริการได้ -กำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูล มิให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ใขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ได้ -ผู้ให้บริการต้องทำการเทียบเวลาให้ตรงกับเครื่องมาตรฐานเวลาอ้างอิ้ง ที่ Stratum O โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที -เก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่เกิดกิจกรรมนั้น และจะเก็บยาวกว่านั้นตามที่เจ้าพนักงงานสั่ง แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นไปตามกฏระเบียบ ในส่วนร้านที่จะใช้กล้องแทนการจด กล้องจะต้องมองเห็นคอมพ์ทุกเครื่อง เพื่อที่เวลาลูกค้าย้ายเครื่องจากเครื่อง 1 ไป เครื่อง 8 จะได้เห็น ถ้าเห็นแค่เวลาเข้าออก ไม่น่าได้ ผู้ประกอบการจะต้องเริ่มจัดเก็บ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม หรืออย่างช้าก็วันที่ 1 มิถุนายน ต้องมีแล้ว แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการดูข้อมูล เราต้องมีเก็บมาแล้ว 90 วัน จึงต้องมีการใช้ทำตั้งแต่เดือนมิถุนายน นายปริญญาเอก หอมเอนก คณะกรรมการเตรียมการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร ์ พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ตามกฎหมายมาตรา 26 ระบุว่า ผู้ให้บริการจะต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (ล็อกไฟล์) สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยข้อมูลที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการจัด เก็บนั้นเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็น เพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทางและปลายทาง เส้นทาง ข้อมูลที่ระบุพฤติกรรม การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อาทิ วันเวลา ไม่ต้องเก็บเนื้อหาทั้งหมด หากผู้ให้บิรการรายใดไม่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มีความผิดปรับไม่ เกิน 5 แสนบาท หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบข้อมูลแล้วผู้ให้บริการไม่มีข้อมูลดังกล่าวถูกปรับไม่เกิน 2 แสนแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละบาทจนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในแง่ปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ไอซีทีบอกว่า เบื้องต้นในการจัดเก็บตอนนี้ เป็นการจดบันทึกลงสมุด โดยขอให้มีรายละเอียด 1.ชื่อ-นามสกุล 2.เลขที่บัตรประชาชน 3.เวลาเข้าออก 4.เครื่องที่ใช้ 5.สำหรับเด็กให้จดที่อยู่แทน ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ที่คุยเขาบอกว่าขอเท่านี้ก็ได้ ส่วนโปรแกรม ที่จะให้กระทรวงไอซีทีทำเกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บข้อมูลนั้น กระทรวงกำลังทำอยู่ แต่น่าจะเป็นปีหน้า เพราะต้องรองบประมาณปี 2552 ตอนนี้งบกระทรวงมีการทำแบบทดลอง แต่เป็นการใช้กับลีนุกเท่านั้น ทั้งนี้การเก็บข้อมูลจราจรคือ การเก็บเท่าที่จะระบุได้ว่าผู้นั้นเป็นใคร นี่คือสิ่งที่ตำรวจต้องการ เมื่อเกิดความเสียหายตำรวจจะได้ไปตามตัวได้--จบ--
Create Date : 03 มิถุนายน 2551 |
|
1 comments |
Last Update : 3 มิถุนายน 2551 11:45:32 น. |
Counter : 2855 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
subzero |
 |
|
 |
|
ลิ้งเพื่อนบ้าน
ครีมหน้าขาว
silom hotel
เสื้อยืด
ติดแก๊ส
ติดแก๊ส
ขาย server
เสื้อเกาหลี