การเพาะเห็ดนางรมฮังการี
การเพาะเห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางรม ฮังการี ชื่อสามัญ: Oyster Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์: Pleurotus ostreatus(Fr.)Kummer. เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการบริโภคเห็ดนั้นมีประโยชน์หลายอย่างอุดมไปด้วย มีโปรตีนและวิตามินมากมาย อีกทั้งยังเป็นอาหารมังสวิรัติไม่เบียดเบียนสัตว์อีกด้วยหากพูดถึงเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคในปัจจุบันนั้นคงจะหนีไม่พ้น เห็ดฟาง เห็ดหูหนูเห็ดนางฟ้าและเห็ดนางรม ซึ่งเป็นเห็ดที่สามารถเพาะขึ้นได้ง่ายในสภาพอากาศในประเทศไทยเกษตรกรจึงนิยมเพาะและมีจำหน่ายในตลาดอย่างแพร่หลายและเห็ดนางรมฮังการีเป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งทีเกษตรกรนิยมเพาะกันมากโดยสามารถเพาะได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทยอีกทั้งยังให้ผลผลิตในทุกฤดูกาล โดยลักษณะเด่นของเห็ดชนิดนี้คือ ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีดอกเห็ดประมาณ15-30ดอก ได้น้ำหนักดี ออกดอกทุกฤดู ฤดูหนาว ในขณะที่เห็ดชนิดอื่นๆพักตัว แต่เห็ดฮังการีก็สามารถออกดอกได้ดีและในฤดูนี้เห็ดจะมีคุณภาพมากที่สุดกล่าวคือเมื่ออากาศหนาวเห็ดจะสะสมอาหารได้มากเวลาออกดอกจะเป็นสีม่วงปนเทา ดอกหนาแมลงรบกวนน้อย ฤดูร้อน ดอกเห็ดจะเป็นสีขาวแต่จะออกดอกไวกว่าฤดูหนาว ฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่เห็ดนางรมฮังการีออกได้ดีที่สุดเนื่องจากธรรมชาติของเห็ดเมืองร้อนโดยทั่วไปชอบสภาพอากาศร้อนชื้น ดอกจะออกเป็นสีเทาอ่อนออกดก แต่อาจมีแมลงมารบกวนได้หากมีการจัดการที่ดีพอเพราะฤดูฝนก็เป็นฤดูที่เหมาะกับการขยายพันธุ์ของแมลงเช่นกัน เส้นใยเดินไวโดยธรรมชาติของเห็ดนางรมฮังการีนั้นมีเส้นใยค่อนข้างแข็งแรงโดยจะใช้เวลาในการเดินประมาณ3-4 สัปดาห์ก็สามารถน้ำมาเปิดดอกได้แล้ว หากเกษตรกรมือใหม่ ที่ริเริ่มทำฟาร์มเพาะเห็ด หรือแม้แต่เกษตรกรที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการเพาะเห็ดตระกูลนางฟ้า-นางรมขอแนะนำให้เริ่มต้นที่เห็ดนางรมสายพันธุ์ ฮังการีนี้ดีที่สุด ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางรมฮังการี วัสดุ – อุปกรณ์ 1. ขี้เลื่อยยางพารา 100 กก. 2. ยิปซัม 1 กก. 3. ปูนขาว 1 กก. 4. ดีเกลือ 0.2 กก. 5. รำละเอียด 7 กก. 6. ความชื้น 65-70% 7. ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด 8. คอขวดและฝาจุก 9. เตานึ่งเห็ด 10. โรงเรือนสำหรับบ่มและเปิดดอก 11. เชื้อเห็ดนางรมฮังการี 12. แอลกอฮอล ขั้นตอนการทำก้อนเห็ด 1. นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้นมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยการให้ความชื้นกับกองขี้เลื่อยนั้นใช้วิธีแบบง่ายคือเราจะกำขี้เลื่อยขึ้นมาหนึ่งกำมือแล้วบีบ หากขี้เลื่อยนั้นจับตัวกันเป็นก้อนโดยแบมือออกมาขี้เลื่อนแบ่งออกเป็นสามเสี่ยงและขณะกำไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามมือถือว่าเป็นอันใช้ได้ในเบื้องต้น 2. กรอกใส่ถุงพลาสติกสำหรับเพาะเห็ด 3. นำถุงที่กรอกขี้เลื่อยแล้วมาอัดให้แน่นจากนั้นนำมาใส่คอขวดและปิดจุกให้สนิท 4. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยเตานึ่งเป็นเวลาสามชั่วโมง 5. จากนั้นนำก้อนที่นึ่งแล้วมาหยอดเชื้อเห็ดฮังการีที่เตรียมไว้ 6. จากนั้นนำไปบ่มเป็นเวลา25-30 วัน ณ โรงบ่มเชื้อ 7. พอครบกำหนดหรือเชื้อสีขาวเดินเต็มถุงแล้วก็นำมาเปิดดอกในโรงเรือน 8. เปิดจุกแคะเศษเม็ดข้าวฟ่างที่ติดอยู่ออกแล้วให้นำรอประมาณ3-7 วัน 9. เก็บดอกให้ไปจำหน่ายในท้องตลาดโดยการจับที่โคนดอกแล้วโยกเบาๆแล้วนำมาตัดส่วนที่เป็นขี้เลื่อยติดมาออกให้หมดแล้วแพ็คถุงชั่งกิโลรอจำหน่าย p.MsoNormal การดูแลรักษา 1. สภาพโรงเรือนควรมิดชิดแต่ให้มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก 2. ควรให้น้ำวันละสองครั้งตามสะภาพอากาศหากวันใดอากาศแห้งร้อน ควรเพิ่มเป็นสามครั้ง 3. หากพบแมลงเต่าดำให้ใช้วิธีละลายน้ำกับผงซักฟอกจากนั้นเคาะปากถุงแมลงจะไต่มาลงที่ภาชนะจะทำให้ลดประชากรแมลงลงได้ 4. หากพบแมลงหวี่เห็ดควรใช้กาวเหลืองดัก จากที่แนะนำมาอาจเป็นวิธีคร่าวๆแต่ก็ครอบคลุมขั้นตอนการผลิตเห็ดนางรมฮังการีซึ่งหากสนใจในการเพาะเห็ดฮังการีหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ บล็อก //khawklong.bloggang.com/ Email : p_thathong@hotmail.com แฟนเพจ https://www.facebook.com/SuanHedKhawKham โทรศัพท์ 087-8608404
Create Date : 05 กรกฎาคม 2555 |
|
0 comments |
Last Update : 5 กรกฎาคม 2555 2:14:47 น. |
Counter : 8839 Pageviews. |
|
 |
|