ลุงโฮ หรือ โฮจิมินห์




โฮจิมินห์
โฮจิมินท์ หรือ “ลุงโฮ” บิดาแห่ง ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เกิดวันที่19 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 (พ.ศ.2433) ณ จังหวัด เหงะอาน เป็นบุตรคนที่สามหรือคนสุดท้องของครอบครัวชาวนาที่มีความคิดก้าวหน้ามีการศึกษา และต่อสู้เพื่อเอกราช


หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมตามระบบโรงเรียนสมัยใหม่ที่มีไม่มากแห่งนักในเวียดนาม โฮจิมินห์ได้ไปเป็นครูในช่วงสั้นๆ ไม่ถึงปี ขณะอายุ22ปี โฮจิมินห์ก็ตัดสินใจลาออกโดย “มุ่งสู่ตะวันตก” เพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์กลับมาพัฒนาบ้านเมืองเวียดนาม โฮจิมินห์ประกอบอาชีพหลายอย่างในต่างแดน เช่น ผู้ช่วยคนครัว คนทำสวน ภารโรง ลูกจ้างร้านถ่ายรูป และอื่นๆ แต่ที่เหนืออื่นใดคือ โฮจิมินห์มีความรู้ถึง6 ภาษา ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย สเปน และเยอรมัน


เมื่อสงครามโลกครั้งที่1 ยุติลง (ค.ศ. 1918/ พ.ศ. 2461) โฮจิมินห์ได้เป็นตัวแทนชาวเวียดนามที่ยื่นข้อเสนอเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และเอกราชให้แก่เวียดนามต่อที่ ประชุมเจรจาสันติภาพแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดให้ความสนใจต่อปัญหาเอกราชเวียดนาม ดังนั้น แนวทางของลัทธิมาร์กซ์- เลนิน รวมทั้งชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในโซเวียต (ค.ศ. 1917/พ.ศ. 2460) ได้ทำให้โฮจิมินห์ค้นพบหลักอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อเอกราชเวียดนาม เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกา


โฮจิมินห์เดินทางไปหลายประเทศเพื่อรณรงค์ในปัญหาเอกราชเวียดนามและแสวงหาความสนับสนุนด้านต่างๆ จากชาวเวียดนามที่หลบหนีการกดขี่จากการปกครองของฝรั่งเศสอยู่นอกประเทศ รวมทั้งเข้ามารณรงค์ในประเทศสยามประมาณปีกว่า (ปลายปี 1928-ต้นปี1930/ปลายปี 2471-ต้นปี2472) บ้านพักของโฮจิมินห์ ที่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันได้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เปิดให้ประชาชนเข้าชม ทั้งยังมีต้นมะเฟืองและต้นมะพร้าว ที่โฮจิมินห์ได้ปลูกไว้ประมาณปีพ.ศ. 2472 ด้วย


โฮจิมินห์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จของการรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวและขับไล่กองทัพผู้รุกรานออกไปจากแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)


79ปีของชีวิตโฮจิมินห์คือ 79ปีของการต่อสู้เพื่อเอกราชเวียดนาม
สำหรับโฮจิมินห์แล้ว “ไม่มีสิ่งใดมีค่ายิ่งกว่าอกราชแห่งชาติและเสรีภาพ”
โฮจิมินห์ได้บันทึกไว้ในพินัยกรรมแห่งเวียดนามว่า
“ความสามัคคีคือประเพณีที่มีค่าสูงสุดของพรรคและประชาชนของเรา”
“พรรคของเรามีอำนาจ และเราก็เป็นผู้รับใช้ที่จงรักภักดีของประชาชนด้วย”
และที่สำคัญยิ่งคือ “ท่านจมีทุกสิ่งถ้าท่านมีประชาชน”



แหล่งข้อมูล  :  เวีนดนาม :ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร (Vietnam: A long History)







 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 17:11:57 น.
Counter : 1051 Pageviews.  

หลักอหิงสาของมหาตมคานธี



credit photo :wikipedia



    อหิงสา
แนวคิดของศาสนา ฮินดู ที่มีความหมายว่า ก หลีกเลี่ยงความรุนแรง และไม่เบียดเบียนเคารพในชีวิตผู้อื่น เป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า การหลีกเลี่ยงความบาดเจ็บ อหิงสามักมีคนนำมาใช้ในการประท้วง เป็นการประท้วงแบบสันติ อย่างเช่น มหาอาตมะ
คานธี ผ็ซึ่งเป็นต้นแบบของ การประท้วงแบบอหิงสา ซึ่งหลังจากนั้นมาก็มีคนนำวิธีการประท้วงแบบอหิงสามาใช้เช่นกัน



    มหาตมะ คานธี
ได้ใช้หลักอหิงสาในการประท้วงกับรัฐบาลอังกฤษ ในอินเดียเพื่อเรียกร้องเอกราช ทำควบคู่ไปกับสัตยเคราะห์ คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการของความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวมั่นคง
ที่จะยืนหยัดอยู่กับความจริงและความถูกต้อง
โดยพร้อมที่จะยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง
และตามทรรศนะของคานธี
หลักสำคัญก็คือการควบคุมจิตใจไม่ให้เกิดความเกลียดชัง
อันจะนำไปสู่ความรุนแรงและการต่อสู้ที่ใช้กำลังต่อไป ประท้วงอย่างยุติธรรม ด้วยความเยือกเย็นและสงบต่อสาธารณชนและต่อผู้ก้าวร้าว
โดยพิจารณาถึงเหตุผลของผู้ก้าวร้าวด้วย
ให้เวลาแก่ผู้ก้าวร้าวได้คิด
และถึงแม้ว่าต่อมาฝ่ายก้าวร้าวจะไม่ยินยอมแก้ไขความผิดก็ตาม นักสัตยาเคราะห์ก็จะให้ฝ่ายนั้นได้รู้ถึงความตั้งใจของเขา ที่จะลงมือทำการ เคลื่อนไหวแบบ "อหิงสา" และก็กระทำจริงตามนั้นด้วย อย่างเช่น การรวมตัวกันประชาชนนับพันคน ไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา
เมืองอมฤตสระ
เพื่อเรียกร้องเอกราช
ได้ถูกนายพลไดเยอร์
ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ ผู้ซึ่งเคียดแค้นชาวอินเดียและต้องการให้อินเดีย เห็นถึงอนุภาพของอังกฤษ
โดยการยิงประชาชน ที่มาชุมนุม เสียชีวิตนับพันคนเสียชีวิต และบาดเจ็บกว่าสามพัน
โดยที่ประชนเหล่านั้น ไม่ได้ตอบโต้หรือต่อสู้ทางกำลังเลย
ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียติอย่างมากจนยากที่จะฟื้นตัว หรือเหตุการณ์ที่ประชาชน
ประท้วงกฎหมายอังกฤษ ที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย
โดยในวันที่ 12 มีนาคม
คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคน
ร่วมทำเกลือกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอังกฤษ
ที่ตั้งไว้ หรือเรียกว่า
อารยะขัดขืน
หรือ
civil disobedience” คือการไม่ทำตามคำสั่งหรือกฎหมายของรัฐบาลหรือผู้ถืออำนาจ
โดยปราศจากความรุนแรงทางกายภาพ ประชาชนได้กระทำการประท้วงโดยปราศจากการใช้กำลัง ถึงแม้ว่าจะถูกคนของรัฐบาลทำร้ายแต่ก็ยังเดินหน้าต่อไป
แม้จะได้รับบาดเจ็บจากการถูกทุบตีก็ตาม การกระทำนี้ทำให้ มีการพูดถึงกันทั่วโลก
ทำให้รัฐบาลอังกฤษยิ่งเสียหน้า และเริ่มใจอ่อน กับการให้เอกราชกับอินเดีย
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่สำคัญก่อนได้รับเอกราชคือ
ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม และประชาชนที่นับถือศาสนาฮินดู
นำไปสู่การแบ่งแยกเป็นสองประเทศคืออินเดียและปากีสถาน
เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเสียใจอย่างมาก และพยายามทำให้ประชาชนสามัคคีกัน อย่างเช่น
เหตุการณ์ความรุนแรงในกัลกัตตา คานธีได้ประท้วงอดอาหารให้ประชาชนหยุดทะเลาะกัน
จนในที่สุดประชาชนก็เลิกทะเลาะกัน และต่อมา
รัฐบาลอังกฤษก็ได้ให้เอกราชกับอินเดียโดยสมบูรณ์
การกระทำของคานธีโดยใช้หลักอหิงสานั้น เป็นแบบอย่างให้กับ หลายๆประเทศทั่วโลก
อย่างเช่น ขบวนการสิทธิพลเมือง ในสหรัฐอเมริกา
ที่เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของคนผิวขาวและผิวดำ เป็นต้น

การชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องเอกราชโดยยึดหลักอหิงสาของมหาตมะ คานธีเป็นวิธีการต่อสู้แบบสงบที่เป็นวิธีที่ได้ผลและดีที่สุด จนเป็นแบบอย่างให้กับประเทศต่างๆนำไปเป็นแบบอย่างในการประท้วง
ของท่านมหาตมะ
คานธีเป็นอหิงสาที่แท้จริงคือบ่มลึกไปที่จิตใจคน ไม่ให้เกลียดชัง
และใช้ความเยือกเย็น จนทำให้การชุมนุมประท้วงปราศจากการใช้กำลัง




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2552    
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 17:14:42 น.
Counter : 9994 Pageviews.  


biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.