General trends in the Era of the Cold war and the collapse of empires.

 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งถึงปี1991ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายก็เกิดสงครามเย็นและการล่มของจักรวรรดิ สงครามเย็นเป็นสงครามทางความคิดและการข่มขู่โดยการใช้อาวุธ นโยบายของกอร์บาชอฟ(ผู้รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีโซเวียตในปี1985) มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้โซเวียตล่มสลายซึ่งก็คือโดยนโยบายเปเรสตรอยก้า(สร้างใหม่) และในช่วงสงครามเย็นเป็นช่วงที่โลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าอย่างมาก สามารถส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ เป็นต้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างมาก ในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นก็กำลังมีบทบาททางเศรษฐกิจตามมา แต่ในความก้าวหน้านั้นก็เกิดช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี1950มีการผลิตระเบิดไฮโดรเจนที่มีอานุภาพทำลายล้างมากกว่าเดิม ต่อมาในปี1970มีการผลิตมีการผลิตอาวุธเทอ์โมนิวเคลียร์ที่สามารถทำลายมนุษย์ได้ทั้งโลก นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องบินเจตความเร็วสูงและในปี 1957 โซเวียตก็ได้ส่งยานสปุตนิกวันขึ้นไปโคจารรอบโลกเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยปี1969 อเมริกาก็สามารถนำมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ส่วนทางด้านเทคโนโลยีนั้น โทรทัศน์มีบทบาทอย่างมากในชีวิตมนุษย์ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทั้งด้านบันเทิง การศึกษา และธุรกิจผ่านการโฆษณา นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ที่สามารถ เก็บข้อมูล กู้ข้อมูล ขนาดใหญ่ได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะสามารถผลิตหน่วยความจำด้วยแผ่นซิลิคอนเล็กก็ทำให้มีขนาดเล็กลง และมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีอื่นเช่นดาวเทียมเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ค้นพบรหัสดีเอ็นเอ ที่จะช่วยพัฒนาการติดต่อของโรคทางพันธุกรรมและความผิดปกติ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้จำนวนคนตายลดลง ทำให้ประชากรโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงต้องเผชิญกับโรคร้ายที่ยังสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงโรคใหม่อย่างโรคเอดส์ การพัฒนานี้ทำให้ประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้พลังงานมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็ผลิตสายพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นเพียงพอกับความต้องการอาหารของมนุษย์ ต่อมาจึงเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะในประเทศแถบแอฟริกา โลกได้รับผลอกระทบจากการปล่อยมลพิษของโรงงงานอุตสาหกรรม และมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบจากการคิดค้นสารเคมีโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ต่อมาจึงมีการตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆเช่นภาวะเรือนกระจก ทำให้ประเทศต่างๆเริ่มคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีการทำสนธิสัญญาเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ กรุงมอนทรีออลในปี1987

 อุตสาหกรรมเจริญขึ้นมาอย่างมากในอเมริกาและประเทศยุโรป มีการก่อตั้งองค์กรทางการเงินและการค้า ได้แก่ IMF Word Bank และGATT ขึ้นมา หลังสงครามโลกครั้งที่สองเศรษฐกิจในยุโรปอ่อนแอมากทำให้อเมริกาใช้แผนการมาร์แชลเพื่อฟื้นฟูยุโรป ส่วนในยุโรปตะวันออกนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าเพราะดูแลโดยโซเวียต ต่อมาการครอบงำทางเศรษฐกิจของอเมริกาลดลงทำให้ เกิดดุลอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาได้แก่ประเทศยุโรปตะวนตกและญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกและใต้อื่นๆ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้เป็นต้น ที่ค่อยพัฒนาเศรษฐกิจให้ค่อยๆเจริญเติบโต แต่ละประเทศพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเป็นสมัยใหม่มากขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ ประเทศที่ร่ำรวยก็พัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศที่ยากจนก็มีประชากรเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดสภาวะน้ำมันแพงทำให้ข้าวของแพง จึงทำให้ประเทศยากจนหลายประเทศเป็นหนี้ ทำให้IMFต้องเข้ามาดูแล สิ่งที่จำเป็นที่สุดของประเทศยากจนก็คือการมีอาหารที่พอเพียง ประเทศมากมายอย่างบังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย และแถบซาฮาราต้องประสบกับปัญหาอาหารขาดแคลน จึงมีองค์กรUNICEF เข้ามาช่วยเหลือดูแลเด็กๆในประเทศยากจนนั้น ไม่ใช่แค่ช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนกว้างขึ้นในทศวรรษสุดท้ายหลังสงครามเท่านั้น แต่ชาวนายังประสบปัญหาในการขาดแคลนที่ดินทำกินทำให้ต้องอพยพเข้ามาในเมืองเกิดเป็นปัญหาชุมชนสลัมขึ้น สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของแนวโน้มทางเศรษฐกิจหลังสงครามคือการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ มีการแพร่ขยายของธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู๊ดโดยเฉพาะในประเทศที่ร่ำรวย บางประเทศมีการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร และการออกแบบหุ่นยนต์ทำให้มีคนทำงานในด้านนี้มากขึ้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องการคนทำงานน้อยลงเพราะมีการใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้น



แปลสรุปมาจากหนังสือThe Twentieth Century and Beyond: A Global History© 2008  PART III: THE ERA OF THE COLD WAR AND THE COLLAPSE OF EMPIRES บทที่21General Trends in the Era of the Cold War and the Collapse of Empires หน้า280-289





 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 29 กรกฎาคม 2554 2:13:05 น.
Counter : 729 Pageviews.  

The Berlin Wall

กำแพงเบอร์ลิน



หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปีค.ศ.
1946
เยอรมันในฐานะประเทศที่พ่ายแพ้สงครามได้ถูกแบ่งเป็นสี่เขตการปกครอง ของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามทั้งสี่
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส และอังกฤษ ส่วนเมืองหลวงกรุงเบอร์ลินนั้นอยู่ในเขตปกครองของสหภาพโซเวียต
แต่กรุงเบอร์ลินก็ถูกแบ่งเป็นสี่ส่วนด้วยเช่นกัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง
ยุโรปก็ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่าสงครามเย็น
(Cold war) ของสองขั้วอำนาจคือสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
โดยอเมริกาเข้ามาดูแลฟื้นฟูประเทศยุโรปทางด้านตะวันตกแทนอังกฤษและฝรั่งเศส
ที่บอบช้ำจากสงคราม ส่วนโซเวียตนั้นเข้ามาดูแลยุโรปตะวันออก
รวมทั้งสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกให้มีอำนาจขึ้นมาปกครองประเทศด้วย โดยเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดขัดแย้งสำคัญของสองขั้วอำนาจได้แก่
การที่โซเวียตสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซให้ขึ้นมามีอำนาจ
ทำให้อเมริกาต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลกรีซ พร้อมกับประกาศ”หลักการทรูแมน”
(Truman Doctrine) การประกาศหลักการทรูแมนนี้เองที่ทำให้การขัดแย้งระหว่างอเมริกาและโซเวียตชัดเจนขึ้น
ทางฝ่ายโซเวียตเองก็ต้องการขยายอุดมการณ์ของตน ส่วนอเมริกาก็พยายามป้องกันประเทศที่ถูกลัทธิคอมมิวนิสต์คุกคาม
อย่างเช่น กรีซ ตุรกี เป็นต้น ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้แผนการมาร์แชล
(The Marshall plan) ขึ้นเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของเยอรมันและยุโรป
ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของอเมริกาในการช่วยเหลือประเทศที่ถูกคอมมิวนิสต์คุกคามได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่โซเวียตก็ได้จัดตั้งสำนักงานข่าวสารคอมมิวนิสต์หรือโคมินฟอร์มขึ้น
(Cominform) เพื่อทำหน้าที่โฆษณาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ออกไปให้กว้างขวางและเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนทัศนะและประสบการณ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆในการรวมพลังต่อต้านโลกตะวันตก
ความขัดแย้งระหว่างสองขั้วอำนาจตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งในเดือนมกราคม
ค.ศ.
1947 อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส
ประกาศรวมเขตปกครองของตนในเยอรมันเป็นเขตเดียว โซเวียตแสดงความไม่พอใจต่อการรวมตัวกันของเขตปกครองเยอรมันตะวันตกเพราะขัดต่อสนธิสัญญา
Potsdam ที่ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาควบคุมแห่งสัมพันธมิตร
(Allied Control Council)
และต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 กรุงเบอร์ลินก็มีเงินตราสองแบบระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตก
ความไม่พอใจของโซเวียตส่งผลให้ในเดือนมิถุนายน
วันที่
24 สหภาพโซเวียตตัดสินใจตัดเส้นทางการขนส่งเข้ากรุงเบอร์ลิน
หรือที่เรียกกันว่า การปิดกั้นเบอร์ลิน
(Berlin Blockade)ขึ้น
เบอร์ลินตะวันตกที่เปรียบเสมือนเกาะหนึ่งของเขตปกครองเยอรมันตะวันตกที่อยู่ท่ามกลางดินแดนที่อยู่ในการปกครองของสหภาพโซเวียตหรือเขตปกครองเยอรมันตะวันออก เมื่อสหภาพโซเวียตปิดกั้นเส้นทางการเข้าเบอร์ลินทั้งหมด
ทำให้การติดต่อระหว่างเบอร์ลินตะวันตก กับเขตเยอรมันตะวันตกได้ชะงักลง ฝ่ายอเมริกาก็ทำการช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตกด้วยการใช้การลำเลียงขนส่งทางอากาศหรือที่เรียกว่า
Berlin Airlift ทำให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การปิดกั้นดำรงอยู่11เดือน สหภาพโซเวียตจึงตัดสินใจยุติการปิดกั้น


หลังจากการปิดกั้น ในวันที่21
กันยายน ค.ศ.
1947 ฝ่ายอเมริกา อังกฤษ
และฝรั่งเศสตัดสินใจจัดตั้งเขตเยอรมันตะวันตกเป็นสหพันธ์รัฐเยอรมัน
(Federal Republic of Germany) หรือเยอรมันตะวันตกขึ้นโดยมีกรุงบอนน์(Bonn)เป็นเมืองหลวง
ส่วนสหภาพโซเวียตก็ตอบโต้โดยการจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน
(The German Democratic Replublic) หรือเยอรมันตะวันออกขึ้น ในวันที่9ตุลาคม ค.ศ. 1947
ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ละประเทศต่างมีวิถีการเมือง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน
ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตนเป็นผู้แทนที่ถูกต้องของประชาชาติเยอรมันและไม่ยอมรับสภาพความอยู่เป็นรัฐของแต่ละฝ่าย
ปัญหาเยอรมันและปัญหานครเบอร์ลินจึงมีผลกระทบต่อการเมืองในยุโรป
และมีส่วนทำให้ความขัดแย้งในเบอร์ลินมีความตึงเครียดมากขึ้น


ในช่วงปี๑๙๔๙จนถึง๑๙๖๑
มีประชากรเยอรมันตะวันออกถึง๒.๗ล้านคน อพยพมายังดินแดนเยอรมันตะวันตก
เนื่องด้วยสภาพความอยู่เป็นที่ลำบาก จึงอพยพไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกที่มีความมั่งคั่งกว่า
ประชากรที่อพยพไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกนั้น ส่วนมากเป็นประชากรที่เป็นหนุ่มสาว
ซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศ
รวมถึงปัญญาชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติก็อพยพไปด้วย ทำให้เยอรมันตะวันออกขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ
ปัญหาการอพยพจึงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ เศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออกย่ำแย่เพราะสูญเสียแรงงานที่มีประสิทธิภาพไป
แม้จะมีการปิดกั้นชายแดนระหว่างเยอรมันตะวันตกและตะวันออก
คงเปิดไว้แต่เขตเยอรมันตะวันออกกับกรุงเบอร์ลินตะวันตกเท่านั้น ชาวเยอรมันตะวันออกจะเข้าไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกได้จะต้องได้รับการอนุญาต
หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษจำคุกถึงสามปี
แต่มาตรการนี้ก็ยังไม่สามารถยับยั้งการหลบหนีของประชากรได้
โซเวียตมีความหวังว่าอเมริกาจะยอมปล่อยเบอร์ลินตะวันตก แม้จะทำการขู่ด้วยอาวุธนิวเคลียร์
แต่อเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตกต่างตกลงกันเพื่อที่จะปกป้องเบอร์ลินตะวันตก


ในค่ำคืนของวันที่12 สิงหาคม ค.ศ. 1961ทางเยอรมันตะวันออกได้ตัดสินใจทำรั้วกั้นพื้นที่รอบเบอร์ลินตะวันตกในขณะที่ประชากรชาวเบอร์ลินกำลังหลับไหล
เพื่อสกัดกั้นการอพยพเข้าไปยังเบอร์ลินตะวันตก และเสร็จสิ้นในเช้าของวันที่
13สิงหาคม ค.ศ. 1961 ท่ามกลางความประหลาดใจของชาวเบอร์ลินทั้งสองฝั่งที่ไม่คิดว่าฝ่ายเยอรมันตะวันออกจะกระทำการโดยใช้กำแพงเป็นการสกัดกั้นประชาชนของตนไม่ให้อพยพออกไป
ผู้คนต่างต้องตัดขาดจากครอบครัว เพื่อน
คนรักและบางคนก็ไม่สามารถไปทำงานได้เพราะการสร้างกำแพง
ทางฝ่ายอเมริกาก็ได้แต่เพียงประณามการกระทำของเยอรมันตะวันออกเท่านั้น
ซึ่งเป็นไปตามการคาดคะเนของนายนิกิต้า ครุสชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต
ที่คาดการณ์ไว้ว่าทางฝ่ายตะวันตกคงไม่เสี่ยงทำสงครามกับโซเวียตเพียงเพราะปัญหาเบอร์ลิน


กำแพงเบอร์ลินทอดยาวไปกว่าร้อยไมล์
ซึ่งไม่ได้ปิดกั้นเฉพาะในกลางกรุงเบอร์ลินเท่านั้น
แต่ปิดล้อมไปทั่วเบอร์ลินตะวันตก ซึ่งเป็นการตัดขาดเบอร์ลินตะวันตกจากเยอรมันตะวันออก กำแพงในระยะแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามกั้นเท่านั้น
ประชาชนชาวเบอร์ลินยังสามารถพูดคุยกับคนฝ่ายตรงข้ามได้
และบางส่วนของกำแพงก็เป็นผนังของอพาร์ทเมนท์
จึงมีการหลบหนีโดยกระโดดลงจากหน้าต่างอพาร์ทเมนท์บ้าง
หรือบางคนก็ขับรถพุ่งชนกำแพงที่เป็นเพียงลวดหนาม
แต่ในระยะเวลาไม่กี่วันกำแพงก็ถูกแทนที่ด้วยกำแพงที่มีความแข็งแกร่งกว่า ที่ตัวกำแพงเป็นอิฐบล็อกคอนกรีต
ด้านบนมีสายลวดหนามล้อมรอบ และในปี
1965กำแพงก็ได้เปลี่ยนเป็นแบบที่สาม
ที่มีความแข็งแกร่งมาก คือตัวกำแพงสร้างด้วยคอนกรีตที่ความแข็งแกร่ง
ที่มีเหล็กกล้าเสริมความแข็งแกร่ง และในช่วงปี
1975จนถึง1980 ก็เป็นช่วงที่กำแพงเบอร์ลินแบบที่สี่ถูกสร้างขึ้น
ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก ตัวกำแพงทำด้วยวัสดุที่เป็นคอนกรีตอย่างดีมีความสูงถึง
12ฟุต (3.6เมตร)
และกว้างถึง
4ฟุต (1.2เมตร)
ด้านบนประกอบไปด้วยท่อเรียบๆ ที่ป้องกันไม่ให้คนสามารถปีนหลบหนีขึ้นกำแพงได้
แม้ว่าจะมีการปิดกั้นแต่หลังจากการปิดกั้นได้สองปี
ก็มีการเปิดโอกาสให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกสามารถเข้าไปเยี่ยมญาติพี่น้องในเขตเบอร์ลินตะวันออกได้
โดยผ่านจุดตรวจหรือที่เรียกว่า
Check Point โดยจุดตรวจที่มีชื่อเสียงได้แก่Check Point Charlie ซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างตะวันออกและตะวันตกของเบอร์ลิน Check Point Charlie เป็นจุดหลักที่อนุญาต
ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหรือชาวเบอร์ลินตะวันตกใช้ในการข้ามพรมแดนเพื่อไปยังเขตตะวันออก


กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นเพื่อสกัดกั้นประชาชนจากเยอรมันตะวันออกไม่ให้อพยพไปยังเขตเยอรมันตะวันตก
แต่การสร้างกำแพงก็ไม่สามารถยับยั้งการหลบหนีได้อย่างเต็มที่ ในช่วงที่มีกำแพงเบอร์ลินนั้น
มีประชาชนกว่า
5พันคน
สามารถหลบหนีไปยังเขตตะวันตกได้อย่างปลอดภัย ผู้ที่สามารถหลบหนีได้สำเร็จส่วนมากจะใช้วิธีโดยการโรยเชือกข้ามกำแพงและปีนขึ้นไป และบ้างก็มุทะลุโดยการขับรถถังหรือรถบัสขับทะลุกำแพงเพื่อหลบหนี
บางวิธีก็เป็นเหมือนการฆ่าตัวตายเช่น
การกระโดดลงมาจากหน้าต่างของอพาร์ทเมนท์ที่ใช้เป็นกำแพงกั้นระหว่างเขตทั้งสอง และเมื่อกำแพงแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นการหลบหนีจึงต้องมีการวางแผน
และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บางคนขุดอุโมงค์จากห้องใต้ดินในตึกในเขตเบอร์ลินตะวันออก
ขุดลงไปใต้กำแพงและไปโผล่ยังเขตเบอร์ลินตะวันตก
บางคนก็ทำบอลลูนลอยฟ้าเพื่อลอยข้ามไปยังเขตตะวันตก แต่ก็มีประชาชนบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการหลบหนี
ตั้งแต่ทหารของเยอรมันตะวันออกได้รับอนุญาตให้ยิงผู้ที่คิดจะหลบหนีได้โดยปราศจากการเตือน
ทำให้มีผู้คนประมาณ
100ถึง200คนต้องเสียชีวิตจากการพยายามหลบหนี
ผู้คนที่ต้องเสียชีวิตในการหลบหนีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออิสรภาพ


จุดสิ้นสุดของกำแพงเบอร์ลินก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเช่นเดียวกับตอนสร้างกำแพงเบอร์ลิน โดยหลังจากที่คอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกอ่อนแอลง
จากการใช้นโยบายกลาสต์นอสและเปเรสตรอยการ์ของประธานาธิบดีมิคาอิล
กอร์บาชอฟของโซเวียตที่เปิดกว้างเพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคม
และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนนโยบายต่างประเทศนั้นก็ยุติการสร้างอาวุธ
ถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน
และตัดความช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
และประเทศที่อยู่ในเครือโซเวียต และหันกลับมาดูเศรษฐกิจในประเทศ
ด้วยเหตุนี้ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ ในยุโรปตะวันออกเริ่มอ่อนแอลง
และก็ได้มีกลุ่มการเมืองอิสระเริ่มมีการออกมาเคลื่อนไหวมาขึ้น เช่นขบวนการโซดาริตี้ในโปแลนด์
ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในโปแลนด์
ในปี1988-1989 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้ก็เริ่มประสบความล้มเหลวและสิ้นอำนาจลงในที่สุด
รัฐบาลฮังการีมีการเปิดพรมแดนให้กับชาวเยอรมันตะวันออกที่ต้องการหลบหนีไปยังเขตเยอรมันตะวันตก
จึงมีผู้หลบหนีออกมาทางฮังการีและเดินทางเข้าไปยังเขตเยอรมันตะวันออกทางออสเตรียเป็นจำนวนมากโดยในช่วงเดือนกันยายนมีผู้หลบหนี
มากกว่า
13,000คน


ในวันที่9พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
ได้มีประกาศจากรัฐบาลเยอรมันตะวันออก
ให้มีการยกเลิกการจำกัดการเดินทางไปยังเขตเยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก
และเปิดกำแพงเบอร์ลิน
ผู้คนต่างพากันตกใจกับคำประกาศนี้และต่างไม่เชื่อว่ากำแพงได้ถูกเปิดแล้วจริงๆ ชาวเยอรมันตะวันออกสามารถข้ามไปยังอีกฝั่งของกำแพงได้โดยปราศจากการห้ามปรามของทหารที่เฝ้ากำแพง
กำแพงเบอร์ลินท่วมท้นไปด้วยผู้คนของทั้งสองฝั่ง ผู้คนต่างช่วยกันก็ทำลายกำแพงลงด้วยสิ่วและค้อน
ผู้คนต่างพากันเฉลิมฉลองกัน ทั้งกอด จูบ ร้องไห้ และร่วมร้องเพลงกันด้วยความยินดี
กำแพงเบอร์ลินได้แตกสลายกลายเป็นเศษเล็กๆ
ผู้คนต่างก็เก็บเศษเล็กๆนี้ไว้สะสมเพื่อเป็นที่ระลึก
บ้างก็ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออกก็ได้รวมกันเป็นรัฐเยอรมัน ในวันที่
3ตุลาคม 1990



บรรณานุกรม


บอร์นสเตน, เจอรี่.ทะลายกำแพงเบอร์ลิน.กรุงเทพฯ : ธัญญา, 2534.


Hanes, Sharon M. Cold war: almanac. Detroit : UXL, c2004 หน้า 55-77


Hyde Flippo. Die
Maueröffnung - The Last Days of the Berlin Wall


.<
//german.about.com/od/geschichte/a/BerlinWall.htm> December 24,2010.


Jennifer
Rosenberg.The Rise and Fall of the Berlin Wall.<
//history1900s.about.com/od/coldwa1/a/berlinwall.htm> December 24,2010.


Robert Longley. Mr. Gorbachev, tear down this wall!.<
//usgovinfo.about.com/od/historicdocuments/a/teardownwall.htm> December
24,2010.


Robert
Wilde.The BerlinWall.<


//europeanhistory.about.com/od/coldwar/p/prberlinwall.htm>
December 24,2010.













 

Create Date : 28 ธันวาคม 2553    
Last Update : 28 ธันวาคม 2553 20:07:30 น.
Counter : 1171 Pageviews.  

ตรอตสกีคือใครกัน?


หลาย คนคงสงสัย ว่าตรอตสกีเป็นใครมาจากไหน แต่ถ้าใครศึกษาและอ่านงานประวัติศาสตร์รัสเซีย รวมถึงงานเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์โซเวียตแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักเขาคนนี้ ตรอตสกี

ตรอตสกีเป็นนักปฏิวัติคนสำคัญในเหตุการณ์ ปฏิวัติรัสเซียค.ศ.1917

เค้าไม่ได้เป็นเพียงนักปฏิวัติรัสเซียคนนึงเท่านั้น
และก็ไม่ได้เป็นลูกน้องของเลนิน แต่ตรอตสกีเป็นทั้งนักปฏิวัติ นักเขียน นักพูด
และนักคิด ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติรัสเซียและมีอิทธิพลต่อเลนินด้วย
ความคิดของตรอตสกีเป็นที่ยอมรับกันทั้งนักปฏิวัติ นักคิด และนักเขียนสังคมนิยมคนอื่นๆ
รวมถึงเลนินด้วย
ชีวิตของตรอตสกีทั้งชีวิตอุทิศให้กับการปฏิวัติและเผยแพร่แนวคิดสังคมนิยม
รวมถึงการศึกษาความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์

ลัทธิมากซ์
รวมถึงแนวคิดสังคมนิยมอื่นๆด้วย และเขาก็ได้เขียนบทความต่างๆขึ้นมามากมายด้วย

ตรอตสกีเกิดในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะค่อนข้างร่ำรวย จากการศึกษาในหนังสือ

แม้ตรอตสกีจะหนีไปลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ประเทศต่างๆในยุโรป
ครอบครัวของเขามักจะมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนเขาและได้ให้เงินไว้ใช้จ่าย
ทำให้ตรอตสกีไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องเงินเหมือนกับนักสังคมนิยมที่ต้องลี้ภัยคนอื่นๆ ตรอตสกีได้รับอิทธิพลทางด้านงานเขียนและการอ่านมาตั้งแต่เด็กเนื่องด้วยน้าชาย
ของ เขาที่รับเขาไปดูแลตั้งแต่เด็ก เป็นนักวิชาการและเจ้าของโรงพิมพ์ทำให้ตรอตสกีได้รู้จักกับโลกของหนังสือและ การทำหนังสือมาตั้งแต่เด็ก
ตรอตสกีจึงเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก
ด้วยสภาพแวดล้อมในวัยเยาว์ของตรอตสกีที่เกิดมาในสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม
ที่ มีการเอารัดเอาเปรียบประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของที่ดิน ข้าราชการ และตำรวจรวมถึงตัวบิดาของตรอตสกีเองที่ได้ทำการข่มขู่ชาวนาที่เข้ามาทำลาย พืชผลจนทำให้ตรอตสกีประท้วงโดยการอดอาหารและขังตัวเองอยู่ในห้องในสภาพการ ของสังคมยุคนั้นเองที่ทำให้จิตสำนึกต่อต้านระบบของเขาเริ่มเกิดขึ้นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป

จุดเริ่มต้นของชีวิตบนเส้นทางแสวงหาของตรอตสกีก็เริ่มจากการที่เขาเข้าร่วมกับสวีคอฟสกีและมีความสนใจในแนวคิดของพวกนารอดนิค
จนบิดาของเขาต้องห้ามปรามและตัดค่าใช้จ่ายของเขา แต่เขาก็ยังคงต่อต้านและยังได้แสดงความคิดและพัฒนาความเป็นผู้นำขึ้นในสวนของสวีคอฟ
จนตำรวจเริ่มเพ่งเล็ง และเขาก็ถูกจับกุมครั้งแรกเมื่ออายุได้สิบเก้าปี
ก่อนที่จะถูกเนรเทศไปไซบีเรีย เขาได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ ปรัชญา
และแนวคิดลัทธิมากซ์ และในขณะที่เขาอยู่ที่คุกที่มอสโควเขาก็ได้แต่งงานครั้งแรก
กับโซโคลอฟกายา ผู้ซึ่งเคยโต้แย้งกันเรื่องทฤษฎีความคิด
ระหว่างที่เขาอยู่ที่ไซบีเรียตรอตสกีก็มีโอกาสได้อ่านวรรรณกรรม และเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรมและแต่งเรียงความให้กับ
Eastern Review ระหว่างที่เขาอยู่ที่ไซบีเรียเขามีโอกาสได้อ่านIskra ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทางการเมืองที่เลนินได้จัดพิมพ์ขึ้นนอกประเทศ
รวมถึงทฤษฎีทางการเมืองที่เลื่องชื่อของเลนินนามว่า What is to be done? ซึ่งได้ให้คำตอบที่ชัดเจน แก่ตรอตสกีในแนวทางปฏิวัติของเขาและตรอตสกีจึงมีโอกาสได้ร่วมงานกับIskra ต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนให้หลบหนีจากไซบีเรียเพื่อไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของIskraที่ลอนดอน และเพื่อเดินทางไปพบเลนินด้วย

ชีวิตต่างแดนครั้งแรกของตรอตสกีทำให้ทัศนคติทางการเมืองของเขาเปิดกว้างขึ้นเขาได้พบกับสหายหลายคนๆเช่น
ปาร์วุส โดยเฉพาะ นาตาลยาเซโดวา ซึ่งต่อมาเธอได้เป็นภรรยาคนที่สองของตรอตสกีและเป็นสหายที่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ตรอตสกีมาโดยตลอด
เขาเริ่มสร้างชื่อเสียงจากการทำงานกับIskra
ระหว่างที่เขาอยู่ในต่างแดนนั้นสถาณการณ์ในรัสเซียเริ่มเข้าสู่ภาวะตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ
ประชาชนชาวรัสเซียโดยเฉพาะทาสติดที่ดินนั้นได้รับการกดขึ่จากเจ้าของที่ดินและประชาชั้นสูงเรื่อยมาตั้งแต่อดีต
จนเมื่อรัสเซียประสบความปราชัยในสงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ประชาชนเริ่มหมดศรัทธาในตัวพระเจ้าซาร์ขึ้นเรื่อยๆ
และ ความนิยมในพระเจ้าซาร์ก็ลดความนิยมอย่างรวดเร็วหลังเหตุการณ์วันอาทิตย์ เลือดที่กรรมกรนัดหยุดงานและถูกปราบปรามโดยตำรวจของรัฐบาลอย่างเลือดเย็น
ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพและได้รับความร่วมมือจากการทหารเรือ
หรือเรือรบโปเทมกิน ในการปฏิวัติ 1905 ซึ่งนับว่าเป็นการปฏิวัติครั้งแรกที่มีลักษณะมวลชนครั้งแรกที่กองทัพประสานเข้ากับชนชั้นกรรมกรของประชาชน
แม้ผลสุดท้ายจะพ่ายแพ้แต่รัฐบาลก็ให้สัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปของสภาดูมาขึ้น หลังจากนี้มีการจัดสภาโซเวียตหรือสภาคนงานขึ้น
และตรอตสกีได้มีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิแก่นักปฏิวัติอาวุโสในต่างแดน
และเลนินก็ยอมรับว่าตรอตสกีคือแกนนำที่ผลักดันให้สภาโซเวียตพัฒนาก้าวหน้าและ
ในขณะที่สภาโซเวียตประชุมกันอยู่ตำรวจก็บุกเข้ามาจับกุม ตรอตสกีถูกจับและตรอตสกีก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตในต่างแดนอีกครั้ง
ชีวิตในต่างแดนครั้งที่สองของตรอตสกีส่วนมาจะอยู่ที่เวียนนาประเทศออสเตรียและมีโอกาสทำงานกับหนังสือพิมพ์Pravda ในช่วงที่อยู่เวียนนาตรอตสกีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับปาร์วุสอีกครั้งและนำแนวคิดการปฏิวัติถาวรของเขา
มาขยายและพัฒนาเป็นแนวคิดของตรอตสกีเอง ซึ่งมีสาระสำคัญคือชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นชนชั้นนำและพลังหลักในการก่อการปฏิวัติโดยมีชาวนาเป็นแนวร่วม
นอกจากนี้เขายังศึกษาและวิเคราะห์เหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซีย 1905 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิวัติครั้งต่อไป

ผลจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของรัสเซีย
ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจของทหารและพลเรือนที่เบื่อหน่ายสงคราม
ตลอดจนสภาวการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ดำรงอยู่ตลอด
กระแสการต่อต้านซาร์เริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนในรูปแบบของการเดินขบวนจนนำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
ซาร์นิโคลัสทรงประกาศสละราชสมบัติและมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชา แต่แกรนด์ ดุ๊ก
ไมเคิลปฏิเสธที่จะสืบพระราชบัลลังก์ต่อ
ส่งผลให้ราชวงค์โรมานอฟที่มามากว่าสามร้อยปีต้องจบลง และรัสเซียก็อยู่ในการดูแลของรัฐบาลเฉพาะกาล
โดยมีพรรคเมนเชวิคและสังคมนิยมอื่นๆ ให้การสนับสนุนในการทำสงครามต่อ
ยกเว้นบอลเชวิค
และเลนินได้รายงานนิพนธ์เดือนเมษายนเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและไม่สนับสนุนและร่วมมือใดๆกับรัฐบาลเฉพาะกาล
และในเดือนตุลาคม 1917พรรคบอลเชวิคก็สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาลได้
ในระหว่างการตัดสินใจย้ายรัฐบาลไปกรุงมอสโก
เพราะเกรงว่าโปโตรกราดจะถูกโจมตีจากเยอรมัน หลังพ่ายแพ้ที่เมืองเรเวล
ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาทำให้ตรอตสกีเข้าสู่อำนาจและความรุ่งโรจน์ทางการเมือง
และมีชื่อเสียงโดดเด่นในหน้าประวัติศาสตร์ของเดือนตุลา

ตรอตสกีเป็นนักปฏิวัติที่มีแนวทางที่เป็นกลางระหว่างความขัดแย้งของพรรคเมนเชวิคและบอลเชวิค
เขาวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสองฝ่ายอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย
และรวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ในตัวของเลนินด้วย
ตรอตสกีถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิวัติในปี 1917 อย่างมากจากประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าของเขา
และประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนถึงสองครั้งทำให้เขานำความรู้เกี่ยวกับสังคมนิยมจากทั่วยุโรป
และอเมริกา มาประยุกต์และคิดวิเคราะห์ในงานเขียนของเขา รวมถึงการวิจารณ์วรรณกรรม
รวม ถึงวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตรวมถึงศึกษาประวัติศาสตร์ต่างๆ จากประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนของตรอตสกีเป็นส่วนสำคัญมากในกระบวนการ ทางความคิดของเขาบวกกับนิสัยรักการอ่านของเขา
ทำให้ความคิดของเขาเป็นความคิดที่แหลมคม
และได้รับการยอมรับจากนักสงคมนิยมคนอื่นๆรวมถึงตัวเลนินด้วย
อาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีตรอตสกีแล้ว ความสำเร็จในการปฏิวัติในปี1917 ก็คงเกิดขึ้นได้ยาก หรือไม่ก็อาจจะให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม
ตรอตสกีนอกจากจะเป็นนักเขียนแล้ว เขายังเป็นนักพูดที่มีศิลปะในการพูด
คือพูดจาโน้มน้าวให้คนสามารถคล้อยตามได้
แม้ในบางครั้งบุคลิกที่มั่นใจในตัวเองของเขา รวมถึงนิสัยเย่อหยิ่งของเขาจะไม่เป็นที่ชอบใจของใครหลายๆคน
นิสัยที่เย่อหยิ่งและมั่นใจนี้ก็อาจจะเกิดจากที่เขาเป็นคนเก่งและได้รับการยอมรับจากคนหลายๆคนตั้งแต่อายุยังน้อย

แม้ในบั้นปลายชีวิตของตรอตสกีจะไม่สวยหรู
แต่ตลอดชีวิตของตรอตสกีก็ได้อุทิศชีวิตให้กับการเขียนและแนวคิดสังคมนิยมและการปฏิวัติ
ก่อนที่เขาจะลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เม็กซิโก ตรอตสกีก็ได้สร้างผลงาน
ให้เลนินได้รับความไว้วางใจจนเขียนพินัยกรรมให้เขาเป็นผู้สืบทอดต่อไป
แต่เขาก็ถูกกำจัดโดยศัตรูของเขา นั่นก็คือสตาลิน
เหตุที่ตรอตสกีต้องจนมุมก็เพราะประมาทในความสามารถ บวกกับความทะเยอทะยานของสตาลิน
สตาลินเริ่มสะสมอำนาจทางการเมืองจนขึ้นมาเป็นผู้นำต่อจากเลนินได้
และกำจัดศัตรูทางการเมืองไปหลายคน ซึ่งรวมถึงตัวของตรอตสกีเองด้วย
แม้จะต้องแลกกับชีวิตตรอตสกีก็ยังคงเขียนหนังสือ วิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองต่อไป
จนวาระสุดท้ายของชีวิต ตรอตสกีก็ถูกลอบสังหารในขณะที่กำลังเขียนหนังสืออยู่ด้วย ตรอตสกีได้ทิ้งผลงานไว้มากมาย
ในช่วงชีวิตหกสิบปีของเขา เขาเป็นพลังสำคัญ และแกนนำสำคัญในการปฏิวัติรัสเซียในปี1917 ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง


แหล่งค้นคว้า ตรอสกีบนเส้นทางปฏิวัติรัสเซียค.ศ.1917
ของ อาจารย์ สัญชัย สุวังบุตร
หมายเหตุ บทความนี้เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเอง ไม่ได้เกี่ยวกับข้องกับความเห็นหรือแนวคิดของผู้แต่งหนังสือแต่อย่างใด




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 20:17:38 น.
Counter : 1150 Pageviews.  

Domesday book

Domesday Book – 1086

The Middle Ages encompass one of the most exciting periods in English History. One of the most important historical events of the Medieval era is the Domesday Book. What were the key dates of this famous historical event? What were the names of the Medieval people who were involved in this historical occasion? Interesting facts and information about the Domesday Book are detailed below.
Important Facts about the Domesday Book - 1086
Interesting information and important facts:
 The document is also known as the Doomsday Book, the Book of Winchester and the Great Survey
 The Middle English spelling of Domesday is Doomsday
 The document was first held in Winchester and then moved to Westminster
 What is the Domesday book? It was a survey, or census, commissioned by the Norman Conqueror King William I, of his newly conquered lands and possessions in England. It was intended to document "What, or how much, each man had, who was an occupier of land in England, either in land or in stock, and how much money it were worth". This great survey enabled the Normans and William the Conqueror to administer England and levy taxes
 Key Dates relating to the event: The survey was completed in 1086
 When was the first draft of the Doomsday Book completed? The first draft was completed in 1085 and the document was completed by 1086
 Key People relating to the event: William the Conqueror commissioned the great survey
 Why the great Domesday Book was famous and important to the history of England: William the Conqueror ordered this Norman survey of all the lands and possessions of England in order to assist with the Norman administration of England and impose relevant taxes. It also enabled William the Conqueror the ability to ensure that all landholders and tenants swore allegiance to him - a major requirement of feudalism or the Feudal System
 It was first referred to as the Domesday book in the 1300's
 Why was the Domesday survey given this name? The English gave it this title as a clear Biblical reference to the last Day of Judgement as there was no appeal against the survey, it became the law of the land
Interesting Information about the History of the Domesday Book

Interesting information and important facts about the history of the Domesday Book. Less than twenty years after his coronation William the Conqueror ordered a survey and valuation to be made of the whole realm outside of London. The only exceptions were certain border counties on the north where war had left little to record except for heaps of ruins and ridges of grass-grown graves. The returns of the survey were known as the Domesday or Doomsday Book.
The English people said this name was given to it, because, like the Day of Doom, it spared no one. It recorded every piece of property and every particular concerning it. As the "Anglo-Saxon Chronicle" indignantly declared, "not a rood of land, not a peasant's hut, not an ox, cow, pig, or even a hive of bees escaped."
Whilst the report showed the wealth of the country, it also showed the suffering it had passed through in the rebellions against William the Conqueror. Many towns had fallen into decay. Some were nearly depopulated. In the reign of Edward the Confessor the city of York had 1607 houses; at the date of the survey it had only 967, whilst Oxford, which had had 721 houses, had then only 243.
The census and assessment proved of the highest importance to William the Conqueror and his successors. The people indeed said bitterly that the King kept the Doomsday, or Domesday book constantly by him, in order "that he might be able to see at any time of how much more wool the English flock would bear fleecing." The object of the Doomsday, or Domesday book, however, was not to extort money, but to present a full and exact report of the financial and military resources of the kingdom which might be directly available for revenue and defence.

source:www.themiddleage.net




 

Create Date : 28 ธันวาคม 2552    
Last Update : 28 ธันวาคม 2552 18:01:22 น.
Counter : 366 Pageviews.  

มูลเหตุของ การปฏิวัติฝรั่งเศส


มูลเหตุของ การปฏิวัติฝรั่งเศส




การปฏิวัติฝรั่งเศสถือเป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรปที่สำคัญ
เกิดขึ้นในช่วงปี ค
..1789-1799 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระราชินี
มารี อองตัวเนต เป็น การปฏิวัติโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส
และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐขึ้น การปฏิวัติ ครั้งนี้ถือเป็นจุดหักเหที่สำคัญในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป
มูลเหตุของการเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสนี้ ประกอบไปด้วยมูลเหตุ
หลายมูลเหตุได้แก่



มูลเหตุที่เกิดขึ้นระยะยาว



¤ ความไม่เท่าเทียมกันของชนชั้นในสังคม


สภาพสังคมในสมัยนั้น
แบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ฐานันดรชั้นที่
1 คือขุนนาง ฐานันดรชั้นที่2 คือนักบวช ฐานันดรชั้นที่3
คือ ประชาชนฝรั่งเศสซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ผู้ที่ถือครองที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศกลับเป็นของฐานันดรสองชั้นแรก
ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นอย่างมาก


้แก่ฐานันดรชั้นที่ามระดับ
คือ เมริกาจากการปฏิวัติอเมริกา



เป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป
มูลเหตุของการเกิดเหตุกา


¤ การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย


ใช้ระบบการบริหารประเทศที่ล้าสมัยคือ
เก็บภาษีไม่เป็นระบบ แต่ละพื้นที่เก็บภาษีไม่เท่ากัน ใช้ระบบกฎหมายที่ยุ่งเหยิง
โดยดินแดนทางเหนือใช้กฎหมายจารีตประเพณีตามอังกฤษ แต่ดินแดนทางใต้ใช้กฎหมายแบบโรมัน มีการยกเว้นการเก็บภาษีเฉพาะกับฐานันดรสองชั้นแรกที่ร่ำรวย
ทำให้ประชาชนในฐานันดรชั้นที่สามหรือประชาชนซึ่งยากจน เดือดร้อนมากเพราะต้องแบกรับภาษีทั้งประเทศทั้งหมด



¤ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม


ในยุคนั้น
มีการตื่นตัวทางศีลธรรม ความคิดของนักเขียนเช่นวอลลแตร์และรุสโซได้จุดประกายความคิดของปัญญาชนในยุคนั้นให้เกิด
ความคิดเกี่ยวกับอิสรภาพและเสรีภาพ ทำให้มีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองอย่างเงียบๆ




มูลเหตุที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วน



¤ สาเหตุเศรษฐกิจตกต่ำ
และประชาชนไม่พอใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ


การใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยของพระราชวัง
รวมถึงการกู้ยืมเงินเพื่อช่วยอเมริกาในการปฏิวัติ อีกทั้งผลผลิตทางเกษตรกรรมในขณะนั้น
อยู่ในภาวะขาดแคลน ทำให้ฝรั่งเศสต้องเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างหนัก
ประกอบกับ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของพระเจ้าหลุยส์ที่ปลดเสนาบดีคลังที่มีความสามารถหลายคนออก
จากคำแนะนำของพระราชินี มารี อองตัวเนต
เนื่องจากเสนาบดีคลังต้องการให้มีการยกเลิกการงดเว้นเก็บภาษีของฐานันดรสองชั้นแรก ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างมาก



¤ แรงผลักดันจากความสำเร็จของประชาชนอเมริกาจากการปฏิวัติอเมริกา


จากการที่ฝรั่งเศสเข้าช่วยอเมริกาทำการปฏิวัติอเมริกา
เพื่อประกาศอิสภาพจากอังกฤษ ทำให้ทหารที่มาร่วมรบ ได้ซึมซับ
แนวคิดและความต้องการอิสรภาพของชาวอเมริกา และนำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส ในเวลาต่อมา







 

Create Date : 28 ธันวาคม 2552    
Last Update : 28 ธันวาคม 2552 17:57:56 น.
Counter : 883 Pageviews.  


biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.