All Blog
วีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา ปี 2558 วีซ่าประเภท B
1.    คุณต้องทำกรอกเอกสาร DS-160 ก่อนคะ โดยเข้าไปที่   https://ceac.state.gov/genniv/  เพื่อทำการกรอกข้อมูลนะคะ  หรือเพื่อนๆสามารถอ่านวิธีและขึ้นตอนการขอวีซ่าจากที่นี่ได้นะคะ 
A.    //thai.bangkok.usembassy.gov/root/pdfs/ds_160_step_by_step_guide_thai.pdf   อันนี้เป็นวิธีกรอก

B.    //www.ustraveldocs.com/th_th/index.html?firstTime=No  อันนี้เป็นขั้นตอนการขอวีซ่าคะ 
ส่วนตัวแล้วเราทำการกรอก DS-160 ก่อนแล้วแล้วจึงมาสร้างโปรไฟล์ใน Link B คะ


2.    หลังจากกรอก DS-160 เสร็จแล้วเราต้องทำการชำระค่าวีซ่าคะ คือเราต้องสร้าง Profile จาก link B ให้เรียบร้อยแล้วเข้าไปคลิกชำระเงิน เราเลือกแบบชำระเงินที่ธนาคารเองคะ ลองอ่านจาก link ดูนะคะเราจะไม่ขออธิบายมากนะคะอันนี้

3.    หลังจากที่เราจ่ายเงินเค้าก็จะส่งเมล์มาหาเราคะ
.” Receipt number 83300824419 has been activated and you can now schedule an appointment at//www.ustraveldocs.com/th”

คือบิลเลขที่นี้สามารใช้งานได้ หลังจากนั้นก็เข้าเวปตาม Link เพื่อนทำการนัดหมายสัมภาษณ์วีซ่าคะ

4.    เตรียมเอกสารไปสมัภาษณ์คะ เราขอแบ่งเป็นสองส่วนนะคะ
ก.      เอกสารชุดนี้จะใช้ตลอดที่คุณไปทำเรื่องเลยคะสำคัญมาก
-    DS-160 เอาหน้าแรกแผ่นเดียวนะคะ
-    Passport
ข.       เอกสารที่คุณจะต้องแสดงต่อเมื่อพนักงานขอคะคุณก็ต้อง มโนเอานะคะว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่คุณจะแสดงตัวตนของคุณที่เมื่องไทย เอกสารแสดงว่าคุณมีพันธผูกพันที่เมืองไทย ไปแล้วกลับมาแน่ๆคะอย่างเช่นนะคะ

-    บัตรประชาชน
-    สำเนาทะเบียนบ้าน
-    ใบรับรองงาน
-    ใบรับรองเงินเดือน
-    Statement รายได้
-    เอกสารเปลี่ยนชื่อ นามสกุล
-    Bank การันตีเงินในบัญชี
-    เอกสารการจดทะเบียนร้าน กรณีเป็นเจ้าของกิจการ
แล้วก็ อย่างอื่นที่คุณคิดว่า จะสำแดงให้เค้าดูอะคะว่าคุณมาอะไรบ้าง 
ที่ลืมไม่ได้ที่เราไม่ได้พูดถึงคือ รูป ตามแบบที่ทางสถานทูตกำหนดนะคะ1 ใบเท่านั้นคะ

5.    เดินทางไปสัมภาษณ์ คุณควรไปก่อนเวลาซัก 1 ชม. นะคะเพราะขั้นตอดในการต่อคิวเราไม่รู้เลยว่าคนจะมาเยอะมั้ยดังนั้นไปก่อนเป็นดีคะ  ในขณะที่ยืนต่อแถว ให้คุณเอาเอกสารชุด ก.  ที่เราบอกไว้ข้างต้นออกมาถือเลยคะซักพักจะมีพนักงานมาถามคุณว่า นัดสัมภาษณ์ กี่โมง ขอดูพาสปอร์ท  เค้าจะเขียนเวลาที่คุณแจ้งที่ใบ DS-160 ของคุณด้วย ปากกาเมจิก พร้อมกับเช็คชื่อในเอกสารของเค้า แล้วก็ให้บัตรคิวเล็กๆให้เราถือไวคะ   ต่อมาก็ปิดมือถือและเอาบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ออกมาเตรียมคู่กับมือถือเพื่อ ฝากไว้กับเจ้าหน้าที่คะ  
กระเป๋านำเข้าไปได้นะคะแต่ ทางสถานทูตไม่อนุญาตให้คุณเอา notebook  Tablet  PowerBank หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคอื่นใดเข้าไป หูฟังก็ด้วยคะ ถ้ามีพกไปด้วยวันนั้นคุณต้องเอาไปฝากที่ร้านรับฝากของคะคือต้องเดินไปอีก ซึ่งเราคิดว่าทำให้เสียเวลาและเสียคิวสำหรับคนที่เดินทางไปคนเดียวอย่างเรานะ ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องพกอะไรมาให้มันวุ่นวายดีกว่าคะ ส่วนตัวเราแล้วอ่านมาจากเนตเยอะทำการบ้านมาพอควรคะ เลยไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงาน ขอบอกว่าพนักงานที่นี่เข็มงวดมากคะเราคิกว่าคงเป็นเพราะมีผู้ที่จะมาขอวีซ่าจำนวนมากนะ แล้วเค้าก็ต้องการให้บริการอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความรวดเร็ว ปลอดภัย จึงดูเหมือนว่าพนักงานจะดุนิดนึงคะสำหรับคนที่เยอะ  เข้าใจนะคะ ดังนั้นทำตามกฎดีก่านะ อะประตูแรก เข้าแถวมาได้สักพัก เอกสารพร้อม มือถือพร้อม  เอาบัตรคิวที่ได้ให้กับพนักงานคะ แล้วเดินเข้าประตูแรกกันเลย  เข้ามาก็ยื่นโทรศัพท์และบัตร ให้พนักงานรับฝากคะ  จากนั้นเดินมาเอากระเป่าและของทุกอย่างที่มีใส่ตะกร้าเพื่อสแกนคะ ย้ำนะทุกอย่า ผ้าเช็ดหน้าก็ด้วย  หลังจากของของเราผ่านเครื่องสแกน พนักงานจะเรียกไปสแกนตัวคะ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติก็เดินมารับ กระเป๋าและสัมภาระ แล้วเดินเข้าประตูที่สองกันคะ

6.    รอเช็คเอกสารและรับ tracking บาร์โค๊ด  หลังจากเค้ามาก็จะเจอตู้พนักงานสองตู้คะ เราต้องดูว่าเวลาเราสัมภาษณ์กี่โมงนะคะเมื่อถึงเวลาพนักงานจะเรียกเราเข้าแถว เช็คเอกสารคะ  ตู้แรกเค้าจะเช็คเอกสารพร้อมถามเรื่องวีซ่า ว่าเคยมรวีซ่า US มั้ย ก็ตอบไปคะ ช่องที่สองเค้าจะสอบถามชื่อและบาร์โค๊ตติดที่พาสปอร์ทเรา  ให้เราจดเอาไว้นะคะ Tracking ที่ติดอยุ่กับพาสปอร์ท มันจะเอาไว้ติดตามเอกสารของเราหลังจากเราผ่านการสัมภาษคะ
7.     ประตูที่สาม เดินเข้ามาแล้วก็ต้องเข้าแถวอีกละคะอันนี้จะเป็นขั้นตอนของการพิมพ์ลายนิ้วมือและเช็คเอกสาร ช่องที่เราจะต้องเดินเข้าคือ 12-15 นะคะคือว่ามันจะเป็นช่องๆมีเลขติดไว้ เข้าไปก็กวาดหูกวานตาอ่านไรบ้าง ก็จะรู้คะ ด่านนี้เค้าจะสอบถามเรานิดหน่อยนะ ขื่อเคยเปลี่ยนมั้ย เบอร์โทร ไรแบบนี้ เช็คเอกสาร แล้วก็ขอรูปเราเพื่อเอาไปติดในเอกสาร DS-160 คะ จากนั้น เค้าก็จะพับเอกสารห่อพาสปอร์ทเอาไว้พร้อมกับออก บาร์โคต์แล้วก็บอกว่าเด๋วไปช่องที่ 10 ให้เอาด้านที่มีบาร์โค๊ตแบบกระจกให้เค้าคะ

8.    ช่อง 10 พนักงานเป็นแหม่ฝรั่งคะ เอาเอกสารแปะกระจกให้เค้าก็ยิงบาร์โค๊ตแล้วก็พูดแบบไม่ชัดว่า ซ้าย ซ้าย สี่นิ้ว เพื่อนสแกน นิ้วมืออีกรอบคะ ผ่านจากตรงนี้ก็ไปสัมภาษณ์กันคะ

9.    ต่อคิวสัมภาษณ์ ขอบอกว่าตื่นเต้นมากคะไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง ก็เราไม่ได้เก่งภาษาแล้วก็ไม่ได้เตรียมตัวเรื่องนี้มาเลยกะว่าถามไรมาก็ตอบตามความเป็นจริงเพราะเราไปเที่ยวจริงๆนี่เนอะ อะถึงตาเราแล้วเราได้ช่องที่เป็นฝรั่งผู้ชายคะ พูดภาษาไทยใส่เราเลย คำถามที่เราโดนก็จะเป็น จะไปเมืองอะไร ไปทำอะไร ไปกี่วัน ทำงานอะไร มีเพื่อนที่โน่นมั้ย อะไรแบบนี้คะ ซึ่งเราก็ตอบไปตามความเป็นจริง ที่แปลกใจคือ เอกสารที่เราเตรียมไปร้อยแปด กลับไม่ได้ใช้เลย เค้าแค่ดูข้อมูลใน DS-160 ที่เรากรอก online ไปเท่านั้นคะ แล้วก็ตบด้วยยิดีด้วยคุณผ่านการสัมภาษณ์  เย่  ผ่านแล้วก็เดนไปรับของที่ฝากแล้วกลับบ้านได้เลยคะ เราใช้เวลาขอวีซ่าประมาณ 1 ชม. เท่านั้นคะ ไม่ได้นานอย่างที่คิด

โดยส่วนตัวแล้วการกรอกเอกสาร DS-160 เป็นสิ่งสำคัญคะคุณควรจะกรอกตามความเป็นจริงและละเอียดถูกต้องคะ  ส่วนการสัมภาษณ์ก็ตอบไปตามตรงเลยคะ เราเห็นคนนึงที่สัมภาษณ์ก่อนเราเค้าไปหาแฟนก็ยังขอได้นะคะ แต่ถ้าน้องๆที่จะไปขอวีซ่าเพื่อนเรียนต่อ ก็ต้องเตรียมตัวไปด้วยนะคะเพราะ เค้าจะถามเยอะพอควรและก็ต้องตอบเป็นภาษาอังกฤษด้วยคะ ขอวีซ่าเมกา ไม่ยาก ไม่โหด อย่างที่เค้าว่ากันเลยคะ เตรียมตัว และเอกสารดีดี ผ่านจร้า เรารับรอง

สุดท้ายเราหวังว่าวิวนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยคะ



Create Date : 22 มีนาคม 2558
Last Update : 22 มีนาคม 2558 9:36:01 น.
Counter : 7135 Pageviews.

K-1 Fiance Visa Service – 99.7% Approval Rating

What Is a K-1 Visa?

The fiancé(e) K-1 nonimmigrant visa is for the foreign-citizen fiancé(e) of a United States (U.S.) citizen. The K-1 visa permits the foreign-citizen fiancé(e) to travel to the United States and marry his or her U.S. citizen sponsor within 90 days of arrival. The foreign-citizen will then apply for adjustment of status to a permanent resident (LPR) with the Department of Homeland Security (DHS), U.S. Citizenship and Immigration Services (USCIS). Because a fiancé(e) visa permits the holder to immigrate to the U.S. and marry a U.S. citizen shortly after arrival in the United States, the fiancé(e) must meet some of the requirements of an immigrant visa. Eligible children of K-1 visa applicants receive K-2 visas.

What Is a “Fiancé(e)”?

Under U.S. immigration law, a foreign-citizen fiancé(e) of a U.S. citizen is the recipient of an approved Petition for Alien Fiancé(e), Form I-129F, who has been issued a nonimmigrant K-1 visa for travel to the United States in order to marry his or her U.S. citizen fiancé(e). Both the U.S. citizen and the K-1 visa applicant must have been legally free to marry at the time the petition was filed and must have remained so thereafter. The marriage must be legally possible according to laws of the U.S. state in which the marriage will take place.

In general, the foreign-citizen fiancé(e) and U.S. citizen sponsor must have met in person within the past two years. USCIS may grant an exception to this requirement, based on extreme hardship for the U.S. citizen sponsor to personally meet the foreign-citizen fiancé(e), or, for example, if it is contrary in the U.S. citizen sponsor’s or foreign-citizen fiancé(e)’s culture for a man and woman to meet before marriage.


K-1 Fiance Visa Service by Benjamin.


RapidVisa is the premiere online Fiance Visa processor in America. Our volume is why our prices are so much lower than those low volume processors that charge $900 or more for the exact same service. We stick with you from the day you file until your fiancée arrives in America, including full embassy support all for one low price. Our attorney approved process has helped thousands of American citizens from all 50 states bring their foreign fiances to the U.S. from all over the world. And we have never had a client denial caused by our paperwork or processes. Nobody in America does more K-1 Fiancee Visas than RapidVisa and nobody beats our prices, guaranteed.

Nobody Can Prepare Your Fiancé Visa Petition Faster…It’s Just Not Possible. Nobody Beats our Proven Process and Absolutely Nobody Beats our Low Prices!

Not Included! Embassy of the United States Bangkok FEE and United States Citizenship and Immigration Services (USCIS) FEE.


MA KHAMDEE
PHAYAO, THAILAND
is a Not-for-Profit Immigration Outreach Center that helps people with:
F1 Student Visa
Fiancé(e) Visas
Our staff is prepared to help our constituents with all questions regarding immigration.
Call: 086-180-1730
Email: Khamdee@icloud.com





Create Date : 17 มีนาคม 2558
Last Update : 11 กันยายน 2558 16:42:19 น.
Counter : 892 Pageviews.

กฎทอง 10 ข้อของมหาเศรษฐีโลก...สู่ความสำเร็จ !!
นำบทความของดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน มาเก็บไว้ครับ
กฎทอง 10 ข้อของมหาเศรษฐีโลก...สู่ความสำเร็จ"By lackana


เมื่อสัปดาห์ก่อนมีเพื่อนส่งจดหมายของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาให้อ่าน พออ่านแล้วก็รู้สึกเลยว่าข้อมูลดีๆ แบบนี้ต้องแบ่งให้เพื่อนๆได้อ่านโดยทั่วกัน หลายท่านคงจะทราบว่าวอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกเมื่อปี 2008 โดยมีทรัพย์สินรวมกันมากกว่า 2.2 ล้านล้านบาท แต่ในปีนี้โดน บิล เกตส์ แย่งตำแหน่งไป เพราะทรัพย์สินโดยรวมของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ลดลงเก้าแสนล้านบาท คงเหลือ 1.3 ล้านล้านบาท ถึงแม้ทรัพย์สินของ บิล เกตส์ ก็ลดลงเช่นกัน แต่ลดลงในจำนวนที่น้อยกว่าวอร์เรน คือ ลดลงเพียงหกแสนกว่าล้านบาท ทำให้ปีนี้บิลเกตส์กลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกแทน โดยวอร์เรนตกลงมาอยู่ที่อันดับสองของโลกแทน




สำหรับคนทั่วไป อย่าว่าแต่ติดอันดับเลย แค่ขอให้พอกินพอใช้ก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว วอร์เรนได้ให้ข้อคิดเคล็ดลับความร่ำรวยของเขากับคนที่กำลังประสบความลำบากเกี่ยวกับวิกฤตการเงินขณะนี้อย่างน่าสนใจมาก เขาบอกให้ทุกคนให้พยายามทำตามกฎเหล็กเก้าข้อ ที่เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้มาแต่โบราณ แต่มักจะลืมและไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

กฎทอง 10 ข้อ ของมหาเศรษฐีโลก...สู่ความสำเร็จ ได้แก่

1. ต้องทำงานหนัก สำหรับวอร์เรนแล้ว เขาฟันธงเลยว่า ส่วนใหญ่แล้วการทำงานหนักจะนำผลกำไรมาให้ ในขณะที่การพูดมากแต่ไม่ทำ กลับจะนำความยากจนมาให้แทน แบบนี้เข้าตำราว่า "อย่ามัวแต่ตั้งท่าชก ให้ชกเลย" จึงจะได้คะแนนชนะการต่อสู้

2. อย่าขี้เกียจ เขาได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาก ว่า "ขนาดกุ้งมังกรตัวโตๆ ถ้ามัวแต่นอนหลับ ยังสามารถถูกกระแสน้ำพัดลอยไปได้" หมายความว่าถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย มัวแต่รอคอยความหวัง คุณจะต้องตกอยู่ในวังวนวิกฤตการณ์ทางการเงินนี้ต่อไปอย่างแน่นอน

3. รายรับจากหลายแหล่ง ข้อนี้เป็นเคล็ดลับของมหาเศรษฐีหลายคน ไม่ใช่เฉพาะวอร์เรน เพราะการหวังพึ่งรายได้จากแหล่งเดียว ทำให้ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงของภาวะที่ไม่แน่นอน เขาแนะนำให้ทำการลงทุนที่ฉลาดเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เช่นถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน คุณควรมีรายได้ส่วนอื่นจากการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายรับเข้ามาในแต่ละเดือนได้ด้วย

4. ควบคุมรายจ่าย เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มจ่ายเงินซื้อสิ่งที่คุณไม่มีความต้องการจริงๆ คุณก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องขายสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดแทน ดังนั้นคิดและตั้งสติก่อนที่จะจ่ายเงินซื้ออะไรในชีวิตเสมอ

5.ตั้งใจออม เขาเน้นว่าเราอย่ารอเก็บออมเงินที่เหลือหลังจากที่ได้ใช้จ่ายจนพอใจ แต่เราต้องกันเงินส่วนหนึ่งของรายได้มาเพื่อเก็บสะสมก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย ข้อนี้ลึกมากนะคะ หลายคนมักจะเข้าใจผิด ใช้จ่ายแล้วเหลือจึงนำเข้าแบงก์ ที่จริงต้องกันออกมาออมก่อนจะไปทำอย่างอื่น

6. งดกู้ยืม คนที่กู้หนี้ยืมสินจากคนอื่น มักจะตกเป็นทาสของคนที่คุณไปกู้ยืม ดังนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พยายามมีชีวิตอยู่ตามอัตภาพเท่าที่เราหามาได้ อย่าไปสร้างหนี้สร้างสิน เพียงแค่ต้องการมีทรัพย์สินให้เหมือนกับคนอื่น พยายามดำรงชีวิตอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว

7. จัดระบบบัญชี เขาใช้คำคมมาเปรียบเทียบว่า "ไม่มีประโยชน์ที่จะถือร่มกันฝน ตราบใดที่รองเท้าที่คุณสวมใส่นั้นยังมีรูอยู่ เพราะมันทำให้เปียกเหมือนกัน" นั่นคือต้องอย่าทำให้มีจุดรั่วไหลของบัญชี

8. หมั่นตรวจสอบ เขาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบมาก เพราะว่าค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ จะเปรียบเสมือนรูรั่วของเรือ รูรั่วเพียงเล็กๆ แต่นานไปก็สามารถจมเรือใหญ่ทั้งลำได้ ดังนั้นอย่ามองข้ามค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ต้องให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายทุกชนิดเสมอ

9. จัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ตราบเท่าที่ยังโลดแล่นอยู่ในธุรกิจ เขากล่าวว่าเราไม่ควรจะทดสอบความลึกของแม่น้ำที่จะข้าม ด้วยขาสองข้างพร้อมๆ กัน เพราะเราอาจจมน้ำตายได้ ในการจัดการความเสี่ยงเราต้องมีแผนสำรองเสมอ ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราต้องบริหารความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่อย่างชาญฉลาดที่สุด

10. บริหารการลงทุน อย่าเอาเงินทั้งหมดไปทุ่มลงทุนในสิ่งเดียวกัน เปรียบเหมือนอย่าวางไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเดียวกัน เพราะถ้าตะกร้าหล่นจะทำให้ไข่แตกหมดทุกใบ ดังนั้นเราต้องกระจายความเสี่ยง เพราะธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่อีกธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในขาขึ้น ทำให้ผลประโยชน์โดยรวมยังอยู่ได้

ข้อคิดเหล่านี้ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นประโยชน์มากสำหรับการดำเนินชีวิตของนักธุรกิจ นักการตลาด หรือแม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือนทั่วไป เพราะสิ่งที่เขาพูดหลายข้อก็คล้ายกับสิ่งที่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือครูบาอาจารย์ ของเราเคยสั่งสอนกันต่อๆ มา ดังนั้นดิฉันหวังว่ากฎทองแห่งความสำเร็จสิบข้อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นี้คงจะมีประโยชน์กับพวกเราทุกคนไม่มากก็น้อย ไม่ต้องเป็นมหาเศรษฐีโลกอย่างเขาหรอก แค่เพียงเอาตัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว



Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 14:24:25 น.
Counter : 1055 Pageviews.

วิธีเตรียมตัวมาศึกษาต่อโท-เอกในอเมริกา และการขอทุน
การมาศึกษาต่อโท-เอกในอเมริกานั้น ฟังดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่พวกเรารู้ดีกันอยู่แล้ว เนื่องจากพวกเราส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นชีวิตที่นี่ด้วยการมาศึกษาต่อกันเกือบทุกคน ซึ่งรวมทั้งตัวผมเองด้วย หลายท่านคงสงสัยว่าแล้วผมทำไมถึงเลือกเขียนเรื่องนี้ สาเหตุก็มาจากที่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มีพี่ๆหลายคนพาลูกหลานมาปรึกษาเรื่องการสมัครเข้าเรียนโท-เอกที่มหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่และสอบถามถึงโอกาสและวิธีที่จะได้รับทุนด้วย นอกจากนี้ ในช่วงปี 1990-2006 ที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมช่วยพัฒนาอุดมศึกษาและสร้างระบบการให้ทุนทำวิจัยของไทยนั้น ก็ได้เห็นถึงสภาพและวิธีการเตรียมตัวมาศึกษาต่อของนักศึกษาไทยสมัยนี้ว่า ขาดการแนะนำและความเข้าใจถึงระบบการศึกษาของอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่นี่ ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์ที่นี่มา 26 ปีและในปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง Associate Chair for Graduate Studies ของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมของที่มหาวิทยาลัย จึงคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อพี่น้องคนไทยที่นี่ ที่อาจจะมีลูกหลานมาเรียนต่อโท-เอกในสหรัฐ จะได้เตรียมตัวให้ตรงกับระบบการรับนักศึกษาที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขอทุนการศึกษา



ณ วันนี้ ค่าเล่าเรียนระดับปริญญาโท-เอก (Graduate School) ในสหรัฐแพงมาก ขนาดมหาวิทยาลัยระดับ Second Tier อย่าง NJIT (New Jersey Institute of Technology) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ (State University) ยังสูงถึงประมาณ $45,000 ต่อปี (ตัวเลขนี้ได้มาจากงบทุนที่ผมให้กับนักศึกษาปริญญาเอก 11 คนที่ผมดูแลอยู่ ซึ่งรวมค่าเล่าเรียน –Tuition สองเทอม กับค่าใช้จ่ายอีก 12 เดือน –Stipend) จะเห็นว่าถ้าเอาเงินจากเมืองไทยมาจ่าย พ่อแม่ของเด็กส่วนใหญ่คงกุมขมับไปหลายวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเด็กไทยมีโอกาสรับทุนที่นี่ได้ ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีมาก พ่อแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อยมาก และประเทศไทยก็ไม่ต้องขาดดุลการค้าเอาเงินมาเสียเป็ยค่าเล่าเรียนที่นี่ ดังนั้นการรู้จักเตรียมตัวเพื่อมาเรียนต่อจึงมีความสำคัญทีเดียว

หลักฐานที่ต้องใช้ในการสมัครเรียนต่อโท-เอก

โดยทั่วๆไป หลักฐานที่ต้องใช้ในการสมัครเรียนต่อระดับโท-เอกมีดังต่อไปนี้



ใบสมัคร (ปัจจุบัน เกือบทุกมหาวิทยาลัยมีระบบให้สมัคร on-line ได้)

ค่าสมัคร (Nonrefundable fee) ถ้าไม่ส่งมาด้วย ใบสมัครจะไม่ถูก process

Official Transcripts (ต้องส่งตรงจากมหาวิทยาลัยที่จบมาให้กับมหาวิทยาลัยที่จะสมัคร)

คะแนน TOEFL

คะแนน GRE (ถ้าสมัคร MBA ต้องส่งคะแนน GMAT แทนคะแนน GRE)

จดหมาย Recommendation จากอาจารย์หรือ Supervisors ที่เคยทำงานด้วย จำนวน 3 ฉบับ

Statement of Purpose หรือบทความเล่าถึงเหตุผลที่เลือกมหาวิทยาลัยและสาขาวิชานี้

Bank Statement ที่มีตัวเลขวงเงินพอจะจ่ายค่าเล่าเรียนได้


เนื่องจากหลักฐานที่ต้องการนี้ บางอย่างก็เป็นของง่ายๆตรงไปตรงมาอย่างเช่น Bank Statement หรือ Transcripts ผมจะขอเขียนแต่ส่วนที่คิดว่าบางท่านอาจจะไม่ทราบอย่างเช่น คะแนน TOEFL และ GRE เป็นต้น

คะแนน TOEFL

เมื่อ 26 ปีก่อนตอนผมมาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ คะแนน TOEFL นั้นถึงแม้จะ Require แต่ก็ไม่เข้มงวดเหมือนในปัจจุบันนี้ จำได้ว่านักศึกษาไทยกลุ่มแรกที่ผม Recruit และให้ทุนมาเรียนปริญญาเอกจำนวน 10 ท่านนั้น บางท่านคะแนน TOEFL ต่ำกว่า minimum requirement (สมัยนั้น require แค่ 500 เท่านั้น) มีท่านหนึ่งไม่ได้สอบ TOEFL มาด้วยซ้ำ ก็ยังช่วยให้เข้าเรียนได้ และก็จบกลับไปทำงานที่เมืองไทยมาร่วมเกือบ 20 ปีแล้ว ถึงแม้ว่าพวกเราที่นี่จะช่วยให้น้องๆเหล่านี้เข้าเรียนได้ ปัญหาที่ตามมาภายหลังก่อนนักศึกษาเหล่านี้จะจบก็คือปัญหาภาษาอังกฤษ ขนาดเขียน Thesis กันไม่ออกหรือเขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็กลายมาเป็นปัญหาของผมคนที่เอาเขาเข้ามาเรียน ผมเลยต้องมานั่งช่วยเขียน Thesis ให้นักศึกษาสองสามคนนี้

ปัจจุบันนี้ คะแนน TOEFL มีความสำคัญมากทีเดียว ถ้าคะแนนไม่ถึงตาม minimum requirement แฟ้มใบสมัครจะค้างอยู่ที่ Admission Office จะไม่ถูกส่งมาที่ภาควิชา Minimum requirement ก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 550 จากเมื่อก่อนแค่ 500 เท่านั้น การสอบ TOEFL ได้พัฒนาไปหลายรูปแบบในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากจะสอบกันแบบสมัยก่อนซึ่งใช้เขียนกันบนกระดาษข้อสอบ เดี่ยวนี้ใช้สอบกันทาง Computer และล่าสุดใช้สอบกันบน Internet คะแนนในแต่ละระบบก็ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คะแนน TOEFL 550 ที่ผมกล่าวถึงเมื่อกี้นี้ จะเท่ากับ 213 ถ้าสอบแบบ Computer และจะเท่ากับ 79 ถ้าสอบแบบ Internet คะแนนระดับนี้เป็นคะแนนสำหรับมหาวิทยาลัยชั้นกลาง (Second tier) ถ้าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยระดับ top ten TOEFL ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 600 ขึ้นไป

การเตรีมตัวสอบ TOEFL สำหรับนักศึกษาไทยในปัจจุบันนี้ มักจะต้องไปเรียนพิเศษกัน ผมอยากจะขอแนะนำให้เตรียมตัวอีกแบบหนึ่ง ข้อสอบ TOEFL เป็นการวัดภาษาพื้นฐานทั่วไปเท่านั้นว่าฟัง อ่าน เขียนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จะมีปัญหาตอนเข้าเรียนในชั้นเพราะฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นผมขอแนะให้ลองเตรียมตัวดังต่อไปนี้



ฝึกอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวัน วันละหนึ่งบทความสั้นๆ ในระยะแรกอาจจะต้องเปิด Dictionary บ่อยสักหน่อย แต่พออ่านไปสักพัก ก็จะเปิดน้อยลงเอง เพราะภาษาที่ใช้เขียนนั้นจะเป็นภาษาที่ใช้สื่อกันทั่วๆไป ศัพท์ที่ออกเป็นข้อสอบ TOEFL นั้นมักเป็นศัพท์ใช้งานธรรมดา ถ้ารู้สึกว่าหนังสือพิมพ์ยากเกินไป อาจเลือกอ่านหนังสือ Reader Digest หรือ Times หรือ Newsweek Magazine แทนก็ได้ วิธีอ่านบทความในวารสารหรือหนังสือพิมพ์เหล่านี้มีสองขั้นตอน ขั้นแรกอ่านเพื่อเอาใจความ แน่นอนถ้าไม่รู้ศัพท์ก็ต้องทนเปิด Dictionary หน่อย เชื่อผมเถิด เปิดไม่นานหรอก ศัพท์ก็จะซ้ำๆกัน พออ่านจบจับความได้ว่าเขาเขียนอะไรแล้ว ก็มาถึงขั้นที่สอง กลับไปเริ่มต้นใหม่ คราวนี้อ่านทีละประโยค จับใจความว่าเขาหมายถึงอะไร แล้วดูรูปประโยคที่เขาเขียน แล้วลองเขียนเองดูบ้างว่าถ้าเราต้องการสือความหมายอย่างเดียวกัน เราจะใช้คำศัพท์และเขียนรูปประโยคแบบเดียวกันอย่างเขาหรือไม่ ลองทำอย่างนี้สักพัก ภาษาเขียนของคุณจะดีขึ้นทันตาเห็น บทความในหนังสือ Times กับ Newsweek Magazine ใช้ภาษาดีมาก ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ถ้าทำตามที่แนะนำ คุณจะทำคะแนน TOEFL ได้ดีแน่ๆ และก็อาจไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียเวลาไปเรียนพิเศษ

การฝึกฟังภาษาอังกฤษ (Listening) การฟังค่อนข้างจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักศึกษาไทยของเราโดยเฉพาะถ้าฝรั่งพูดเร็วๆอย่างพวกชาวนิวยอร์ก หรือพวกที่ชอบใช้ภาษา Slang วิธีเตรียมตัวก็หนีไม่พ้นการฝึกฟังภาษาอังกฤษจากช่องข่าวต่างๆเช่น CNN, MSNBC, FOX, BBC หรือ VOA (Voice of America) เป็นต้น เวลาฟังต้องหัดจับใจความว่าเขาพูดอะไรบ้าง เวลาสอบ TOEFL จะมี Section ที่ให้ฟังแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อีกวิธีหนึ่งในการฝึกการฟังคือฟังจาก Tape โดยมีเอกสารประกอบพร้อมทั้งคำถามประกอบแบบที่เหมือนกับการสอบจริงเลย Tape เหล่านี้อาจจะหาฟังหรือขอยืมมาฟังได้จาก AUA หรือ ห้องสมุด British Council

การฝึกทำข้อสอบเก่าๆ เนื่องจาก TOEFL เป็นการวัดพื้นความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งาน ศัพท์และ Grammar ที่ออกในข้อสอบจึงค่อนข้างจะง่ายและเป็นภาษาที่เห็นกันในชีวิตประจำวัน จึงไม่ยากแบบที่ออกใน GRE หรือ GMAT การทำข้อสอบเก่าๆบ่อยๆจะช่วยทำให้ได้คะแนนสูงขึ้นอย่างแน่นอน เด็กนักศึกษาจากประเทศจีนในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาได้คะแนน TOEFL สูงมาก ผมมีโอกาสถามนักศึกษาเหล่านี้ว่าเขาเตรียมตัวอย่างไร ส่วนมากจะฝึกทำข้อสอบเก่าๆกันอย่างจริงจังจนเกือบจำโจทย์ที่ถามได้เลย คะแนน TOEFL ของนักศึกษาเหล่านี้ล้วนแต่เกิน 600 ขึ้นไปเกือบทุกคน เนื่องจากเป็นการเตรียมสอบโดยวิธีจำเอา นักศึกษาเหล่านี้ถึงแม้คะแนน TOEFL จะสูง แต่ก็มีปัญหาสือกับอาจารย์ที่นี่ไม่ค่อยได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการพูดและการเขียน แต่เนื่องจากคะแนน TOEFL สูง จึงไม่มีปัญหาตอนรับเข้าเรียนหรือตอนพิจารณาให้ทุน

วิธีเลี่ยงถ้าได้คะแนน TOEFL ต่ำ ถ้าไม่ต่ำมากนักเช่นคะแนนอยู่ระหว่าง 525-549 ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ ผมก็จะขอร้องให้อาจารย์ภาคภาษาอังกฤษโทรศัพท์คุยกับนักศึกษาโดยตรง หลังจากคุยกันแล้วก็ขอให้อาจารย์ท่านนั้นช่วยเขียนยืนยันว่านักศึกษาคนนี้ถึงแม้คะแนนจะต่ำกว่า Minimum Requirement แต่สามารถฟังและสื่อ หรือ Communicate ได้ จดหมายรับรองนี้เป็นการประเมิน English Proficiency แบบ Oral Exam แบบไม่เป็นทางการหรือ Unofficial ทาง Admission Office มักจะยอมรับแทนคะแนน TOEFL ที่ต่ำกว่า Minimum Requirement อีกวิธีหนึ่งที่ทาง Admission อาจจะยอมรับแทนคะแนน TOEFL คือ ESL หรือการมาเรียนภาษาอังกฤษกับโรงเรียนภาษาก่อน ถ้าสอบผ่านเกรดที่กำหนดไว้ได้ก็อาจจะใช้แทนคะแนน TOEFL ได้ ข้อยกเว้นทั้งสองที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นวิธีอย่างเป็นทางการ แต่เป็นวิธีเลี่ยงซึ่งต้องมีคนช่วยวิ่งติดต่อให้ หรือถ้าหากว่าตัวนักศึกษาเกิดบังเอิญมาอยุ่ที่นี่แล้ว ใจกล้าๆเดินเข้าไปขอคุยกับ Director of Graduate Studies ของสาขาวิชานั้นๆ หรือคุยกับ Dean of Graduate Studies ก็ได้ ถ้าหากคุยกันรู้เรื่องเขาก็อาจจะยกเว้นเรื่องคะแนน TOEFL ให้

คะแนน TOEFL กับการได้รับทุน TA หรือ RA (Teaching Assistant หรือ Research Assistant) สำหรับนักศึกษาที่สนใจจะรับทุน TA หรือ RA จากมหาวิทยาลัยนั้น ต้องมีคะแนน TOEFL อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า Minimum Requirement ถ้าต่ำกว่าก็ไม่มีสิทธิ์รับทุนเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวสอบ TOEFL ให้ได้คะแนนสูงๆจึงมีความสำคัญทีเดียวถ้าคิดจะขอทุนจากมหาวิทยาลัย

ควรสอบ TOEFL เมื่อไร? เพื่อให้ได้คะแนนสูงตามที่หลายๆมหาวิทยาลัยตั้งไว้ นักศึกษาควรจะสอบ TOEFL สักสองหรือสามครั้งก่อนที่จะเริ่มสมัคร อย่าลืมว่าถ้ายังไม่มีคะแนน TOEFL กับ GRE (หรือ GMAT) การพิจารณาตอบรับก็จะหยุดค้างอยู่ที่แผนก Admission จนกว่าเอกสารทั้งหมดพร้อม แฟ้มใบสมัครจึงจะถูกส่งไปยังภาควิชาเพื่อพิจารณา โดยปกติแล้วนักศึกษาน่าจะเริ่มสอบ TOEFL ประมาณหนึ่งปีก่อนที่จะเริ่มสมัครเรียน ผมได้มีโอกาสพบกับนักศึกษาหลายคนที่มาขอคำแนะนำ หลายท่านสอบผ่านได้รับทุนของรัฐบาลไทยให้มาเรียนโท-เอก แต่ไม่มีคะแนน TOEFL กับ GRE (หรือ GMAT) พอผมถามว่าสมัครสอบหรือยัง บางท่านตอบว่าต้องรอเรียนพิเศษก่อนแล้วถึงจะไปสมัครสอบ ซึ่งพอเรียนภาษาเสร็จ เวลาหนึ่งปีที่รัฐบาลให้หาโรงเรียนเรียนต่อก็หมดพอดี ทุนที่สอบได้ก็หลุดไป ทำให้ผู้ดูแลโครงการต้องกลับไปเริ่มรับสมัครเด็กกันใหม่ ทำให้โครงการและโปรแกรมที่วางแผนไว้ต้องล่าช้าไปด้วย


การเตรียมตัวสอบ GRE

ข้อสอบ GRE แบ่งเป็น 3 parts ดังต่อไปนี้คือ Verbal Mathematic กับ Analytical ส่วนที่ 1 และ 2 มีคะแนนเต็มส่วนละ 800 สำหรับส่วนที่ 3 นั้นคะแนนเต็ม 6 คะแนน GRE ที่มหาวิทยาลัยระดับ Second tier จะรับนั้น part ที่ 1 และ 2 รวมกันควรอยู่ประมาณ 1100-1250 ส่วนที่ 3 ควรได้ไม่ต่ำกว่า 4 แต่ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัย Top Ten คะแนน GRE ของสอง part แรกรวมกันควรจะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1300 หรืออยู่ระหว่าง 1300-1500 และส่วนที่ 3 ต้องได้อย่างน้อย 5 หรือได้ 6 เลย การพิจารณาคะแนน GRE นั้นไม่ขึ้นกับ Admission Office แต่ขึ้นอยู่กับภาควิชา ถ้าคะแนน GRE ต่ำกว่าที่ควรจะได้ แต่คะแนน TOEFL ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด แฟ้มใบสมัครจะถูกส่งไปยังภาควิชาเพื่อพิจารณา ถ้าเกรด GPA ดี ภาควิชาก็อาจจะรับถึงแม้ว่าคะแนน GRE อาจจะไม่ถึงตามเกณฑ์

การเตรียมตัวสอบ GRE นั้นยากกว่า TOEFL มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง part Verbal หรือ ภาษาอังกฤษซึ่งส่วนมากเป็นศัพท์ที่ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้นคะแนนจาก part Math นั้นควรจะทำให้ได้ดีเพื่อคะแนนรวมของสอง part แรกจะได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ ส่วน part ที่ 3 Analytical นั้นก็เป็นส่วนที่น่าจะทำได้ดีเช่นเดียวกัน วิธีเตรียมตัวสอบ GRE นั้นคงต้องใช้วิธีฝึกฝนจากการทำข้อสอบเก่าเพื่อให้คุ้นกับรูปแบบของข้อสอบ บวกกับขยันท่องจำศัพท์ต่างๆ ถ้าคะแนน GRE ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ GPA ก็ควรจะสูงมากหน่อย ถ้า part Verbal ต่ำแต่คะแนน TOEFL สูง ก็ช่วยในการพิจารณาด้วย คะแนนเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์กัน จึงควรส่งให้ครบ

จดหมายแนะนำนักศึกษา (Letter of Recommendation)

จดหมายแนะนำนักศึกษามีความสำคัญมากโดยเฉพาะถ้ามาจากอาจารย์หรือผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในสาขาวิชาหรือวงการวิชาชีพนั้นๆ ถ้ามาจากอาจารย์หรือคนที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงการ ลักษณะรูปแบบของจดหมายจะมีส่วนชี้บอกถึงน้ำหนักของจดหมาย ตัวอย่างเช่น ถ้าจดหมายเขียนมาในรูปที่ว่านักศึกษาคนนี้เรียนวิชานี้กับเขาได้เกรดดังต่อไปนี้ แบบนี้เป็นจดหมายธรรมดาที่ไม่มีคุณค่าหรือความหมายมากนัก แต่ถ้าจดหมายเขียนในรูปแบบที่ว่าได้รู้จักเด็กคนนี้มากี่ปี และนักศึกษาได้ทำโครงการอะไรบ้าง บุคลิก นิสัยใจคอและระบบการทำงานเป็นอย่างไร และเขามีความประทับใจกับผลงานของนักศึกษาคนนี้อย่างไร รูปแบบหลังแสดงถึงความตั้งใจที่จะแนะนำนักศึกษาในแง่ที่ดี จดหมาย Recommendation ที่มาจากเมืองไทยมักมีรูปแบบที่เป็น Format เดียวกันหมดไม่ว่าจะเป็นเด็กคะแนนดีหรือที่คะแนนต่ำ นอกจากจะมาจากอาจารย์ที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแล้ว จดหมายส่วนใหญ่เขียนมาในรูปแบบที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางวิชาการมากนัก อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นบ่อยๆสำหรับจดหมายที่มาจากเมืองไทยคือเรื่องภาษาอังกฤษที่เขียนมาในจดหมาย มักจะมี Grammar ผิดอยู่เสมอ จดหมายแบบนี้ทำให้ผู้ประเมินมีภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อนักศึกษา ส่วนจดหมายจากประเทศ India นั้นมักจะเขียนดีไปหมด เด็กบางคนคะแนนเกรดต่ำมาก ก็ยังเขียนมาว่าอยู่ใน Top 5% ของชั้น การมั่วเขียนแบบนี้ทำให้จดหมาย Recommendation ไม่มีความหมาย ในปัจจุบันนี้ถ้าเป็นนักศึกษาจากประเทศ India ต้องได้ First Class ขึ้นไปเท่านั้นถึงจะรับ สิ่งที่เล่ามานี้ก็คงเป็นข้อคิดและคำเตือนสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะสมัครมาเรียนต่อว่าควรจะไปขอจดหมายจากอาจารย์ท่านใดถึงจะเหมาะกับสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่จะสมัคร

Statement of Purpose

ในการเขียน Statement of Purpose นั้น นักศึกษาควรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของบทความนี้ สิ่งที่ผู้ประเมินต้องการนั้นมีสองส่วนดังนี้ คือต้องการเห็นแนวคิดของนักศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิต ว่ามีพื้นฐานอย่างไร และมีแนวคิดต่อไปในอนาคตอย่างไร แนวคิดเหล่านี้จะมีความสำคัญมากสำหรับนักศึกษาที่สมัครระดับปริญญาเอก ซึ่งมักจะแสดงถึงความสนใจส่วนตัวว่าสนใจงานวิจัยในสาขาไหนบ้างและหัวเรื่องอะไรบ้าง ถ้าหากเขียนได้ดีและตรงกับงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชานั้นๆ โอกาสที่ภาควิชาจะรับก็สูงขึ้นเพราะต้องการนักศึกษาท่านนี้มาช่วยทำวิจัยกับอาจารย์ท่านนั้นๆ เพราะฉะนั้น ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนบทความนี้จึงควรได้ศึกษาถึงงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชานั้นๆเสียก่อน ข้อมูลเหล่านี้ในปัจจุบันสามารถหาดูได้จาก website ของภาควิชาที่จะสมัคร ซึ่งมักจะมีการสรุปโครงการและงานวิจัยของอาจารย์แต่ละท่านแสดงไว้ งานวิจัยที่ได้รับการสนันสนุนจากหน่วยงานต่างๆก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะศึกษาก่อนที่จะลงมือเขียนบทความ Statement of Purpose เพราะกรรมการที่อ่านและประเมินใบสมัครมีหน้าที่ที่จะหานักศึกษามาช่วยทำงานวิจัยของภาคที่ได้รับทุนสนันสนุนมา ผู้เขียนที่สามารถผูกความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนให้เข้ากับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ในสถาบันนั้นๆก็จะได้เปรียบกว่าผู้สมัครท่านอื่นๆ อีกส่วนหนึ่งที่ผู้ประเมินดูก็คือภาษาและความสามารถในการเขียนบทความของผู้สมัคร ผู้สมัครที่ภาษาดีย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่มีปัญหาทางภาษา ดังนั้นก่อนที่จะส่งบทความนี้ไปกับใบสมัคร ผู้สมัครน่าจะให้ใครช่วยอ่านตรวจภาษาเสียก่อน อย่าส่งบทความที่มีภาษาผิดๆไปเพราะจะส่งผลลบให้ผู้ประเมินเกี่ยวกับพื้นฐานของผู้สมัครโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สมัครระดับปริญญาเอก

ทุนการศึกษา (Scholarship and Assistantship)

เกือบทุกปีจะมีพี่ๆและนักศึกษาไทยหลายท่านมาขอคำแนะนำเรื่องขอทุนการศึกษาระดับบัณฑิต (ระดับปริญญาโทและเอก) ผมเลยขอเขียนสรุปไว้ในบทความนี้ สำหรับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีนั้นถูกควบคุมโดยระดับเงินเดือนของพ่อแม่และระบบเงินกู้เพื่อการศึกษา (Financial Aid) ซึ่งสามารถหาข้อมูลและกฏเกณฑ์ได้จาก website ของมหาวิทยาลัยต่างๆและมีระเบียบค่อนข้างมากซึ่งผมเองก็ไม่คุ้นเคยมากนักเพราะมีหน่วงานเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่ดูแลเรื่องนี้ สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นระบบทุนการศึกษาระดับ ป. โทและเอกที่ผมดูแลอยู่

ทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตมีสองแบบดังนี้ แบบ Scholarship หรือ Fellowship กับแบบ Assistantships ซึ่งสามารถแยกต่อไปเป็น Teaching Assistantship (TA) กับ Research Assistantship (RA) ระบบ Assistantship เป็นระบบที่มีทุนมากกว่าระบบแรก ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ข้อแตกต่างระหว่างสองระบบนี้คือ Scholarship กับ Fellowship นั้นผู้ได้รับทุนได้เงินไปฟรีๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากเรียนหนังสือเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นทุนจากองค์กรหรือมูลนิธิและส่วนมากจะให้เฉพาะกับ US Citizens เท่านั้น สำหรับ TA กับ RA นั้นผู้ที่ได้รับทุนต้องทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ถ้าเป็น RA หน้าที่หลักก็คือช่วยทำงานวิจัยที่ได้รับทุนมาจากหน่วยงานต่างๆ งานวิจัยนี้โดยมากมักจะเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาท่านนั้นๆ แต่ในบางครั้งก็ไม่เกี่ยวข้องเลยก็มี ถ้าเกี่ยวข้องโดยตรงวิทยานิพนธ์ก็มักจะเสร็จเร็วขึ้น ส่วนงาน TA นั้น ก็เป็นการช่วยสอนและตรวจการบ้านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ช่วยคุม Lab หรือคุมสอบเป็นต้น ถึงแม้ว่างานลักษณะนี้อาจจะดูเหมือนไม่มีประโยชน์กับนักศึกษามากนักเพราะไม่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์เลย แต่ในความเป็นจริงนักศึกษาที่เป็น TA จะเรียนรู้ระบบการสอนซึ่งเป็นประสพการณ์ที่สำคัญเวลาสมัครเป็นอาจารย์หลังจากจบปริญญาเอกแล้ว ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในนักศึกษาที่เป็น RA เลย นักศึกษาที่ได้รับทุนมาจากเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่เรียนอย่างเดียวเลยไม่มีโอกาสที่จะได้ประสพการณ์ทางด้านระบบการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เพราะใช้ชีวิตเป็นนักเรียนเท่านั้น ตัวผมเองในสมัยที่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่ University of Illinois นั้นเริ่มต้นจากการเป็น RA แต่เนื่องจากที่ภาควิชาในตอนนั้นขาด TA อาจารย์ที่ปรึกษาจึงขอให้ไปช่วยสอนอยู่สองสามเทอม ซึ่งก็ทำให้ได้ประสพการณ์ที่ดี เทอมไหนต้องสอนจะรู้สึกว่าพูดคล่อง การที่ต้องบรรยายหน้าชั้นบ่อยๆก็ช่วยสร้างความมั่นใจในการเสนอผลงานวิชาการในตอนหลัง รวมทั้งตอนสอบวิทยานิพนธ์ด้วย นักศึกษาปริญญาเอกทุกคนที่มีผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ว่าจะเป็น RA หรือ TA จะมีประสพการณ์ในการสอนทุกคน

การให้ทุนการศึกษานั้น ถ้าเป็นตำแหน่ง TA ของมหาวิทยาลัย หรือของภาควิชามักจะให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกเท่านั้น ถ้าให้กับเด็กปริญญาโทก็จะเป็นเฉพาะในกรณีพิเศษ สำหรับตำแหน่ง RA นั้น อาจารย์ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอก เพราะมีพื้นความรู้มากกว่าและอยู่ทำโครงการได้ต่อเนื่องถึงเกือบ 4 ปี แต่บางครั้งก็มีให้ทุนกับนักศึกษาปริญญาโทบ้าง การที่จะให้กับใครนั้นเป็นสิทธิ์ของอาจารย์ผู้ดูแลโครงการนั้นๆเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นกับคณบดีหรือหัวหน้าภาควิชาเลย เท่าที่ผ่านมา ถ้าเป็นนักศึกษาระดับ ป. โท ที่มาศึกษาที่ NJIT หลังจากที่ภาควิชารับเข้าเรียนแล้ว ผมจะพาไปแนะนำให้กับอาจารย์ที่มีทุนวิจัยและช่วยฝากให้ทำวิจัยกับเขา ส่วนมากเกือบทุกคนก็ได้รับทุน RA จนเรียนจบ บางคนเริ่มจากปริญญาโทแล้วก็เลยได้ทุนทำเอกต่อไปด้วย โดยทั่วๆไปแล้วชื่อเสียงนักศึกษาไทยนั้นค่อนข้างดี ส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานและเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ฝรั่งเกือบทุกคน เพราะฉะนั้นการขอทุนให้เด็กนักศึกษาไทยจึงมีโอกาศค่อนข้างดี การไปคุยขอทุนเป็น RA นั้นควรเตรียมตัวด้วยการศึกษาว่าอาจารย์ท่านใดในภาควิชานั้นๆที่มีทุนวิจัย และเขาทำวิจัยเรื่องอะไรอยู่ ทำการบ้านโดยหาบทความเรื่องเหล่านั้นมาอ่านก่อนที่จะไปคุยกับอาจารย์ท่านนั้น ถ้าอาจารย์ท่านนั้นมีความรู้สึกที่ดีว่าเรามีพื้นฐานและสนใจในงานวิจัยที่เขาทำอยู่ เขาก็มักจะชวนให้ทำวิจัยกับเขา อย่าลืมว่าอาจารย์ก็อยากได้ลูกศิษย์ที่เก่งมาช่วยทำวิจัย โดยทั่วไปแล้วนักศึกษา Full-Time ส่วนใหญ่ที่ทำปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมักจะมีทุน TA หรือ RA ให้ ดังนั้นนักศึกษาที่สนใจจะเรียนปริญญาเอกจึงไม่น่าจะต้องจ่ายเงินเรียนเอง การรับทุนทำเอกจากมหาวิทยาลัยที่นี่นั้นมีข้อดีอยู่ตรงที่ไม่ต้องมีภาระหนี้สินที่ต้องไปใช้คืนเหมือนกับพวกที่รับทุนรัฐบาลไทยมาศึกษาต่อ นักศึกษาบางคนรับทุนมาแล้วพอเรียนจบเกิดอยากจะอยู่ทำงานที่นี่ต่อก็ต้องเจอปัญหาใช้ทุนคืนแพงถึงสามเท่าของเงินที่รัฐบาลให้มา ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องปวดหัวเดือดร้อนไปตามๆกัน สรุปแล้วถ้าใครสนใจจะเรียนต่อระดับปริญญาเอกโอกาสที่จะได้รับทุนที่นี่ค่อนข้างจะดีมาก สำหรับคนที่รับทุนรัฐบาลมาศึกษาต่อนั้นก็มีข้อดีตรงที่ว่าพอจบกลับไปก็มีงานรออยู่แล้วไม่ต้องเป็นห่วงหรือปวดหัวเรื่องหางาน สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะรับราชการนั้น การรับทุนมาศึกษาต่อจึงเป็นสิ่งที่ดีที่ไม่ต้องไปห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ก่อนมาควรจะได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการเสียก่อน วิธีนี้จะได้อายุราชการในช่วงที่ลามาเรียนด้วย

ทางอ้อมในการเข้าศึกษาต่อปริญญโทในกรณีที่มีคะแนนต่ำ

ปกติแล้วนักศึกษาที่ภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัยที่นี่จะรับเข้าเรียนต่อระดับปริญญาโทนั้นต้องมีคะแนน GPA มากกว่า 3.00 ขึ้นไป ส่วนนักศึกษาที่รับเข้าเรียนปริญญาเอกนั้น เกรดคะแนนตอนจบปริญญาโทต้องมากกว่า 3.50 ขึ้นไป สำหรับนักศึกษาที่คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าวนี้ก็มักจะถูกตอบปฎิเสธ วิธีที่จะเข้าศึกษาต่อปริญญาโทนั้นมีวิธีทางอ้อมดังนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า Continuing Education Division หน่วยงานนี้มีหน้าที่จัดหลักสูตรสั้นๆที่เป็นที่รู้จักกันว่า Short courses หรือ Certificate Programs หลักสูตรเหล่านี้เข้าง่ายกว่าพวกที่เป็นแบบปริญญา โดยทั่วๆไปนักศึกษาเรียนประมาณ 4 วิชา พอสอบผ่านก็จะได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate) วิชาที่สอบผ่านจะมีคะแนนกับเกรดเหมือนวิชาที่เรียนตามปกติ นักศึกษาสมัครเข้าเรียนเป็นแบบไม่เอาปริญญาหรือ Nonmatriculated ถ้าหากนักศึกษาสามารถทำคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นได้เกรด B+ ขึ้นไปแล้วสนใจที่จะเรียนปริญญาโท บางภาควิชาอาจรับนักศึกษาเหล่านี้เข้าโปรแกรมปริญญาโทแบบ Conditionally Admitted โดยอาจจะมีข้อแม้ว่าให้ทดลองเรียนดู และ 3 วิชาแรกที่เรียนต้องได้คะแนน B+ ขึ้นไปเป็นต้น ในรูปแบบนี้ วิชาที่เรียนไปแล้วตอนที่ลง Short Course ก็สามารถนำมานับรวมด้วยเพราะมีเกรดเหมือนๆวิชาอื่นๆ เมื่อลงเรียนครบ 30 หน่วยกิตก็ครบตามหลักสูตรสามารถรับปริญญาโทได้ ทางอ้อมแบบนี้มักจะมีในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองใหญ่ และนักศึกษาที่รับเข้าเรียนในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่คะแนนตอนจบปริญญาตรีไม่ดีพอ แต่มีประสพการณ์ทำงานมาหลายปีเป็นต้น สรุปแล้ววิธีนี้ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้

ผมคิดว่าสิ่งที่เล่ามานี้น่าจะครอบคุมหลักสำคัญต่างๆในการเข้าศึกษาต่อปริญญาโท-เอกในอเมริกา ระบบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นก็ไม่เหมือนกันหมดเลยทีเดียว แต่ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ท้ายนี้ผมหวังว่าสิ่งที่เขียนมานี้คงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวที่จะสมัครมาเรียนต่อปริญญาโทหรือเอกในอเมริกา

ข้อมูลโดย
ศาสตราจารย์ ดร. เมธี เวชารัตนา
Associate Chair for Graduate Studies
Department of Civil and Environmental Engineering
New Jersey Institute of Technology



Create Date : 19 เมษายน 2552
Last Update : 19 เมษายน 2552 0:37:50 น.
Counter : 6570 Pageviews.

เมื่อ I-20 เริ่มหมดอายุ ต้องการหาโรงเรียนใหม่
ในการที่จะหาเรียนใหม่เพื่อต่ออายุของเอกสารใบ I 20 ต้องเตรียมเอกสารหลักๆก็คือ

-ใบรับรองฐานะทางการเงิน โดยวงเงินแต่ละโรงเรียนที่จะระบุไม่เหมือนกันนะครับ
-วุฒิการศึกษา
-สำเนาเอกสาร PassPort,I-94 และหน้า F1 Student Visa
-แบบฟอร์มย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนใหม่ให้โรงเรียนเดิม
-I-20 ชุดเดิม

ซึ่งโรงเรียนให้เลือกเวลาตามความเหมาะสมนะครับ อย่าให้มากหรือให้น้อยเกินไป หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีปัญหาเอกสารทางการเงินหรือต้องการโรงเรียนที่เหมาะกับตัวผู้เรียนเพื่อจะได้มีเวลาว่างเพื่อจะได้ศึกษาด้วยตนเองสามารถโทรมาปรึกษาได้นะครับ


Comprehensive information on green card, Visitors Visa, H1 Visa,F1 Student Visa,L1 Visa, other visas and visitors medical insurance, newcomer to USA.I have a corporate visa service team to help investors and individuals navigate through US immigration law.

Contact Us:ws152@hotmail.com



Create Date : 04 มกราคม 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 14:27:34 น.
Counter : 1247 Pageviews.

2 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

Bangkok007
Location :
พะเยา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Need Help With An Immigration Matter?

If you need help with many other types of immigration matters such as asylum, cancellation proceedings, labor based applications, waivers, etc., on an appointment basis-please call for your specific case.

We are the original and only authorized non-profit Immigration Outreach Center in our area. Please be careful of unauthorized travel, insurance and other for profit agencies that claim to provide similar services. To serve you better and professionally we only deal with immigration matters. Our staff and attorneys are available during business hours to help you with any of the above applications.

Ma Khamdee Visa Service Center (Phayao, Thailand)
Call: +6686 180 1730
Email: kk339@hunter.cuny.edu

"THE BRIDGE BETWEEN CULTURES"

บริการ รับเดินบัญชีธนาคาร รับทำสลิปเงินเดือน (คาร์บอน) รับทำสเตทเม้นท์ ...เกี่ยวกับเสตทเม้นสำหรับขอวีซ่านักเรียน I-20 ดำเนินเอกสารเรียนต่อ อเมริกา, บริการ รับส่ง ตั้งแต่ สนามบินสุวรรณภูมิ ถึงปลายทางทั่วโลก โทร. 086-180-1730 ติดต่อ เพียว วีซ่าอเมริกา