bloggang.com mainmenu search
{afp}

ลาคาร์ปจุกไข่ สาเหตุและวิธีการรักษา

ลักษณะอาการ
ปลาคาร์ปที่จุกไข่จะมีอาการท้องบวมโตผิดปกติท้องปลาจะห้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าอาการยังไม่หนักมากปลาก็ยังกินอาหารและว่ายน้ำได้ปกติแทบไม่มีจุดผิดสังเกตุนอกจากท้องที่บวมโต แต่ถ้าอาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆปลาจะลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำไม่ค่อยว่ายไปมาและไม่กินอาหาร บางตัวที่อาการหนักมากๆจะมีอาการตัวเอียงไปเอียงมาเริ่มทรงตัวไม่อยู่และหงายท้องตายในที่สุด

แยกปลาออกมาผสมพันธุ์เพื่อไล่ไข่อย่างน้อย1-2ปี/ครั้ง

แนวทางการป้องกัน
อาหารปลาที่มีโปรตีนและไขมันสูงจะทำให้เกิดไขมันส่วนเกินที่จับตัวเป็นก้อนแล้วไปบดบังช่องคลอดของปลาเมื่อปลาไข่สุกเต็มที่ ตามกระบวนตามทางธรรมชาติถึงแม้จะไม่มีปลาตัวผู้ไล่ให้ปลาตัวเมียวางไข่แต่เมื่อถึงจุดที่ไข่สุกพร้อมปล่อยเต็มที่แล้วปลาจะปล่อยไข่ออกมาเอง ดังนั้นจึงควรควบคุมอาหารให้มีช่วงเร่งโตและสูตรปกติบ้างเช่นสูตรวีทเจิร์ม(จมูกข้าวสาลี) หากเห็นปลาเริ่มมีอาการท้องโตผิดปกติควรจับแยกออกมาให้ตัวผู้ไล่ผสมพันธุ์ให้ปลาตัวเมียสลัดไข่ออกมาอย่างน้อยๆ2ปีครั้ง(ปลาเล็ก2ปีครั้งปลาใหญ่ปีละครั้ง)
ไข่มันส่วนเกินที่เกาะกันเป็นผังผืด

วิธีการรักษา
กรณีการรักษาที่จะแนะนำต่อไปนี้คือปลาที่มีอาการลอยผิวน้ำไม่ยอมกินอาหาร 1.จับปลาไปขังแยกเดี่ยวๆเลยปล่อยให้ปลาใช้ไขมันส่วนเกินที่สะสมไว้มาเป็นพลังงานทดแทนโดยไม่ต้องให้อาหารเพิ่มเติม วิธีนี้ใช้เวลาค่อนข้างยาวนานอาจจะกินเวลา2-3เดือนเลยทีเดียว
ฮอร์โมนเพาะพันธุ์ปลาสูตร2(สำหรับปลาสวยงามโดยเฉพาะ)

2.ฉีดฮอร์โมนเร่งไข่สำหรับปลาสวยงามโดยเฉพาะ โดยจะทำการฉีดเฉพาะปลาตัวเมียแล้วขังปลาแยกไว้กรณีไม่สามารถใช้ตัวผู้ช่วยว่ายไล่กระตุ้นได้เพราะปลามีอาการลอยผิวน้ำแล้วปลาจะยิ่งเครียดถ้าถูกรุมมากๆหลังฉีดฮอร์โมนเร่งไข่8-12ชั่วโมงถ้าโชคดีปลาจะไข่ออกมาเอง
ระยะสุดท้ายที่หมดทางรักษา

สุดท้ายแล้วการเลือกใช้แนวทางป้องกันนั้นดีที่สุดไม่เหนื่อยไม่ยุ่งยากหากปล่อยไว้เนิ่นนานจนปลามีอาการหนักโอกาสหายก็ยิ่งน้อยลงไปอีก การรักษาไม่ได้การันตีว่าจะหายเป็นปกติทุกเคส บางครั้งอาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
บริการเพาะพันธุ์ปลาคาร์ปทั้งในประเทศและต่างประเทศ

KKB Class Room

 
Create Date :26 พฤศจิกายน 2566 Last Update :26 พฤศจิกายน 2566 22:13:51 น. Counter : 304 Pageviews. Comments :0