bloggang.com mainmenu search
หลายคนมักเข้าใจผิด หรือถูกหลอก เพราะลืมศึกษาเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับการครอบครอง ที่ดิน และโฉนดที่ดิน เนื่องจากแต่ละประเภทมีความแตกต่าง รวมไปทั้งสิทธิ์ครอบครอง สิทธซื้อขาย รวมแม้กระทั้งการโอน เพราะถ้าไม่ศึกษาให้ดีอาจถูกยึดคืนจากราชการ หรือมีผู้แอบอ้างสิทธิ์จากผู้ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของเราได้

บ้านบ้านจึงจะพาไปทำความรู้จักกับ โฉนดที่ดิน และเอกสารสิทธิ์ที่ดิน กันให้มากขึ้น ไปดูพร้อมกันเลยครับ




น.ส.2 (ใบจอง)
สิทธิใดที่ดิน : ทำประโยชน์ได้ชั่วคราว
ซื้อขาย-โอน : ไม่สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ไม่ทำประโยชน์ติดต่อกัน 3 ปี ราชการจะทำการยึดคืน


น.ส.3
สิทธิใดที่ดิน : ทำประโยชน์ได้ 
ซื้อขาย-โอน : สามารถทำได้ ( ต้องรังวัด-รอประการ จากราชการ 30 วัน )
สิทธิหมดลงเมื่อ : ผู้อื่นครอบครองติดต่อกัน 1 ปี


น.ส.3 ก.
สิทธิใดที่ดิน : ทำประโยชน์ได้
ซื้อขาย-โอน : สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ผู้อื่นครอบครองติดต่อกัน 1 ปี


โฉนดที่ดิน
สิทธิใดที่ดิน : มีกรรมสิทธิ์
ซื้อขาย-โอน : สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ผู้อื่นครอบครองติดต่อกัน 10 ปี





ส.ป.ภ.4-01
สิทธิใดที่ดิน : ทำประโยชน์ได้
ซื้อขาย-โอน : ไม่สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ขาดคุณสมบัติหรือฝ่าฝืนระเบียบ


สทก.
สิทธิใดที่ดิน : ทำประโยชน์ได้
ซื้อขาย-โอน : ไม่สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ไม่ทำประโยชน์ติดต่อกัน 2 ปี ราชการสามารถทำการยึดคืนได้


ภ.บ.ท.5
สิทธิใดที่ดิน : ต้องมีเอกสารรับรองการเสียภาษี
ซื้อขาย-โอน : ไม่สามารถทำได้
สิทธิหมดลงเมื่อ : ทับซ้อนพื้นที่ห้ามครอบครอง


ข้อแนะนำที่ควรรู้เพิ่มเติม : สีครุฑบนโฉนดที่ดินแตกต่างกันอย่างไร

การจะนำไปออกเอกสารสิทธิสามารถทำได้ แต่จะเกิดขึ้นในกรณีที่รัฐบาลเรียกให้ผู้ถือครองนำมาออกเอกสารสิทธิเท่านั้น 
และที่สำคัญพื้นที่นั้นต้องไม่อยู่ในเขตของป่าไม้ ทหาร หรือกรรมสิทธิของคนอื่น ดังนั้นหากตรวจพบเป็นพื้นที่ทับซ้อนป่าไม้ หรือที่ทหาร รัฐก็มีสิทธิ์ในการเรียกคืนที่ดิน ยังไง บ้านบ้าน ก็อยากจะขอย้ำกับทุกคนอีกครั้งในความรอบครอบของการใช้เอกสารที่ดินแต่ละประเภทกันให้ดีนะครับ

ติดตามอัปเดตข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องบ้านได้เพิ่มเติมที่ : https://baanbaan.co/
Create Date :24 กุมภาพันธ์ 2565 Last Update :24 กุมภาพันธ์ 2565 12:46:33 น. Counter : 662 Pageviews. Comments :1