|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
SCUBA - เติมลม หรือไม่เติมลม ใน BCD
เก็บมาจากที่ไปเขียนไว้ที่อีกเว็บเหมือนเดิม...
คุณ pony_pop มาถามว่า.. "สงสัยเรื่องการเติมลมใน BCD ครับ
ผมคุยกับหลายๆคนมาก็ได้ความมาต่างกันบางคนก็เติมลมใน BCD(ขณะดำน้ำ)บางคนก็ไม่เติม
ทำให้ผมชักสงสัยครับว่าที่ถูกต้องนั้นควรที่จะเติมลมเข้าไปใน BCD หรือไม่และมีความแตกต่างกับ Peak Buoyancy Control อย่างไร? "
ขอตอบไปอย่างนี้ละกันครับ...
"การควบคุมการลอยตัว หรือ Bouyancy Control นั้น ทำได้ทั้งจากการเติมลมใน BCD และจากการใช้ปริมาตรอากาศในปอด ในการควบคุมครับ..
อยากจะให้ลองนึกถึงเวลาที่คุณจูนช่องทีวี... ทีวีสมัยใหม่นี่จะมีระบบการจูนช่องแบบอัตโนมัติ และแบบปรับเองอย่างละเอียด (Fine tune)
ตอนแรกตอนที่จะหาช่อง เราก็มักจะใช้การจูนแบบอัตโนมัติเสียก่อน เพื่อหาว่าสัญญาณภาพอยู่ตรงไหน แต่อันนี้ มันจะได้ภาพที่ไม่ค่อยชัดนัก ยิ่งถ้าใช้เสาหนวดกุ้ง ยิ่งไม่ค่อยชัด
พอคุณเจอแล้ว บางทีภาพ หรือเสียง ยังไม่ชัดแบบเป๊ะๆ... เราก็ต้องมาใช้การ fine tune กันอีกรอบ เพื่อหาจุดที่ชัดที่สุด..
หากจะเปรียบเทียบกันการปรับการลอยตัว.. ผมขอเปรียบเทียบขั้นตอนการทำงานอย่างนี้ละกันครับ..
1. อยู่บนผิวน้ำ เติมลมไว้เต็ม BCD - TV ยังไม่ได้ปรับช่องอะไรเลย 2. ปล่อยลมออกจาก BCD ให้หมด เพื่อดำลง - เริ่มกดปุ่มให้เครื่องทำการจูนช่องอัตโนมัติ 3. ถึงระดับความลึกที่ต้องการ เดิมลมเข้า BCD เพื่อหยุดการจม - ระบบจูนช่องอัตโนมัติหาสัญญาณภาพเจอ และหยุดการ scan 4. ดำในระดับความลึกที่ต้องการ ใช้ปอดเพื่อปรับการลอยตัวเล็กๆ น้อยๆ - ใช้ระบบ Fine Tune เพื่อปรับสัญญาณภาพให้ชัดที่สุด
Peak Buoyancy Control นั่นก็คือ การใช้ทั้งระบบ Auto-tuning ผสมกับ Fine Tuning ให้ได้นั่นละครับ อาจจะเน้นที่ Fine tuning สักหน่อย
การเติม-ปล่อยลมใน BCD นั้น มักทำเมื่อคุณมีการเปลี่ยนแปลงความลึกมากๆ เช่น จากดำอยู่ 30 เมตร จะเปลี่ยนระดับไปที่ 20 เมตร แน่นอนว่า การเปลี่ยนระดับห่างกันขนาดนี้ อากาศใน BCD จะขยายตัวขึ้นเยอะ (จาก 1/4 ของปริมาตรผิวน้ำ (0.25) ขยายขึ้นเป็น 1/3 ของปริมาตรผิวน้ำ (0.33) - ไปดูหนังสือ Open water เรื่องความลึก-แรงดัน-ปริมาตรก๊าซ)
ถ้าหากว่าตอนที่คุณอยู่ที่ 30 เมตรนั่น คุณปรับให้ตัวเองเป็น neutral ไว้แล้ว พอขึ้นมาที่ระดับ 20 เมตร อากาศที่ขยายตัวขึ้นมา จะทำให้คุณเป็น Positive เพราะงั้น ก็ต้องปล่อยปริมาตรที่เกิน ออกไปให้เหลือเท่ากับตอนอยู่ที่ 30 เมตร
ในทางกลับกัน.. เวลาเปลี่ยนความลึกให้ลึกลงเยอะๆ เช่นจาก 20 เมตร ลงไป 30 เมตร ถ้าคุณปรับตัวเองเป็น neutral เอาไว้ตอนที่อยู่ 20 เมตร เมื่อลงไปถึง 30 เมตร อากาศใน BCD ที่ถูกบีบ จะทำให้ตัวคุณเป็น Negative การจะกลับมาเป็น neutral ก็ต้องเติมให้มีปริมาตรเท่าเดิม
เนื่องจากปอดของคนเรา มีปริมาตรที่ค่อนข้างตายตัว การหายใจของเรานั้น จะรับ/ปล่อย อากาศในปริมาตรที่ค่อนข้างตายตัวเช่นกัน โดยอาจปรับได้เล็กน้อยตามจังหวะการหายใจ.. เช่น หายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว ปริมาตรอากาศในปอดที่คงค้างก็จะน้อยลง ร่างกายก็จะเป็น negative มากขึ้น หรือหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น ปริมาตรอากาศในปอดที่คงค้างก็จะมากขึ้น ร่างกายก็จะเป็น positive มากขึ้น
ดังนั้น การปรับระดับแค่ 1-2 เมตร ใช้การปรับการหายใจ จะแม่นยำกว่า
งงป่ะเนี่ย..
จะเติมลมหรือไม่เติม... ขึ้นอยู่กับการใส่ weight ก่อนลงน้ำด้วย..
ถ้าคุณใส่ weight น้อยเกินไป.. แน่นอนเลย ว่าจะลอย.. หรือลงดำไม่ได้ หรือไม่ก็ต้องตีฟินปักหัวอยู่เกือบตลอดเวลา
ถ้าใส่มากเกินไป ลงไปลึกๆ ก็ต้องเติมอากาศเพื่อแก้ให้ตัวเองเป็น neutral ยิ่งมีอากาศใน BCD มาก ยิ่งต้องคอยปล่อย/เติม บ่อย นอกจากนั้น การใส่ weight มากเกินไป ยังทำให้เกิดอาการว่ายในท่า "ม้าน้ำ" คือ เท้าตก หัวลอย เพราะจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายคน อยู่ประมาณแถวๆ ระดับสะดือ weight ที่เราใส่ มันมักจะอยู่ต่ำกว่าสะดือ (โดยเฉพาะคนที่รอบเอวหย่ายๆ..) แต่ BCD มันยกตัวเราที่ระดับเหนือกว่าสะดือ ลองนึกถึงไม้กระดกที่เอาลูกโป่งผูกข้างนึง แต่มีน้ำหนักถ่วงอีกข้างนึงสิครับ..
บางคนที่เขาใส่ weight ไว้ได้พอดีๆ ก็อาจแทบไม่ต้องเติมเลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ wetsuit ที่ใช้อีกนั่นละ.. ยิ่งหนา การเปลี่ยนแปลงการลอยตัวตามระดับความลึกยิ่งมาก เพราะมีเนื้อเว็ทสูทให้น้ำบีบได้เยอะ ก็อาจต้องเติมอากาศมากกว่าคนที่ใช้เว็ทสูทบาง"
Create Date : 07 กรกฎาคม 2550 |
|
4 comments |
Last Update : 31 สิงหาคม 2550 11:44:21 น. |
Counter : 1847 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: sysee 12 กรกฎาคม 2550 10:44:24 น. |
|
|
|
| |
โดย: snowfish IP: 203.113.81.9 18 กันยายน 2550 10:59:31 น. |
|
|
|
| |
โดย: พะยูนอ้วน IP: 203.144.146.138 24 กันยายน 2550 10:08:34 น. |
|
|
|
| |
โดย: SausageBunn IP: 222.123.93.2 24 มกราคม 2551 0:28:52 น. |
|
|
|
|
|
|
|