News Diary
Group Blog
 
 
กันยายน 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 กันยายน 2558
 
All Blogs
 

ส่องเศรษฐกิจ เราออม รัฐเติม

     ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีการออมต่ำมากไปกว่านั้น คือ มีการกู้เงินนอกระบบมาเพื่อลงทุนทำธุรกิจและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เนื่องจากไม่สามารถกู้ในระบบสถาบันการเงินปกติได้ สะท้อนได้จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจนแตะเขตอันตราย ไม่ต่างไปจากสถานการเงินของภาครัฐที่ไม่สามารถขยายเงินลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

     รัฐบาลประกาศให้มีกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณด้วยหวังจะให้เป็นกองทุนที่ดูแลคนไทย เพราะปัจจุบันยังไม่มีระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมแรงงานทุกประเภทอย่างทั่วถึง ดังนั้น อาชีพอิสระ ภาคการเกษตร แม่บ้านและเยาวชน กลุ่มแรงงาน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการออมภาคบังคับอย่างมนุษเงินเดือนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยง และกองทุนประกันสังคม ขณะที่ข้าราชการมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คนกลุ่มนี้จึงเป็นเป้าหมายหลักที่รัฐต้องการให้พ้นความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนเมื่อเข้าสู่วันสูงวัยสูงอายุ
     วิธีการออมไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน เพียงเราเป็นคนไทยที่มีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถนำบัตรประชาชนไปสมัครผ่าน 3 ธนาคารของรัฐ ได้แก่ ออมสิน ธกส. และ กรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ และพิเศษเฉพาะหนึ่งปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกได้ และให้ผู้สมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปออมกับกองทุนได้ 10 ปีนับจากวันที่เป็นสมาชิก เช่น หากอายุ 55 ปี สมัครกองทุนในปีนี้ สามารถออมได้ 10 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
     เงินที่เราจ่ายเพื่อสะสมเข้ากองทุนกันไม่ได้เป็นภษระจนเกินไปเพียงจัดสรรเท่ากันทุกเดือนมากน้อยตามกำลังทรัพย์ ขั้นต่ำ 50 บาท ถึง 13,200 บาท และรัฐก็ช่วยเราออมให้มากขึ้นด้วยตามระดับอายุและปรับทุก 5 ปีตามภาวะเศรษฐกิจ เดือนใหนเราลืมเดือนนั้นรัฐไม่สมทบ
     เงินที่เราจ่ายเรียกว่า "เงินสะสม" ส่วนรัฐออม เรียกว่า "เงินสมทบ" ผู้จัดการกองทุนที่มีความชำนาญนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ออกมาป็น "ผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ" ซึ่งรัฐบาลรับประกันว่าต้องไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธ.ก.ส.และธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีก 5 แห่ง
     เมื่อเราออมจนอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ
     หรือหากเกิดเหตุทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปี จะได้รับผลประโยชน์จากเงินสะสมเพียงครั้งเดียว ส่วนที่ผลประโยชน์ของเงินที่รัฐสมทบจะได้รับหลังอายุ 60 ปี
     กรณีที่ลาออกจากกองทุนจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม ขณะที่ผลประโยชน์ จากการสมทบของรัฐจะตกเป็นของกองทุน
     และหากเสียชีวิต ได้รับเงินเท่าจำนวนเงินบัญชีของแต่ละบุคคล ทั้งที่เป็นผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบจะจ่ายเป็นเงินก้อนให้กับทายาท
     "กองทุนการออมแห่งชาติ" นับเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เรามีความมั่นคงทางด้านการเงินในวัยเกษียณ ให้เราดูแลตนเอง และที่สำคัญคือการช่วยเศรษฐกิจของชาติในการลดหนี้ครัวเรือนที่มีสูงถึง 85% จีดีพี เป็นเม็ดเงินประมาณ 12 ล้านล้านบาท โดยอีก 2-3 ปีข้างหน้าคาดการณ์ว่าจะแตะ 89% และพุ่งขึ้นเป็น 100% คือสัญญาณ ระดับล้มละลายของภาคประชาชน
Cr. new)108 ฉบับ วันพุธที่ 30 กันยายน 2558




 

Create Date : 30 กันยายน 2558
0 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2558 11:09:45 น.
Counter : 570 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


toonnetwork
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add toonnetwork's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.