Home | ตั้งเวปเป็นหน้าแรก

สะพานรากไม้ อินเดีย Living Root Bridge in making Cherrapunjee, India

Custom Search


สะพานรากไม้ อินเดีย Living Root Bridge in making Cherrapunjee, India

Living roots bridge crossing in India

https://www.youtube.com/watch?v=hEI_GRjvDPk
ginesete เมื่อ 4 เม.ย. 2009
Barbara crossing a living root bridge in Cherrapunjee.

Living Root Bridge in making Cherrapunjee, India

https://www.youtube.com/watch?v=7sB1pr2Gjmg
srirsridhar2 เมื่อ 2 ก.ย. 2010
It was a proud moment in my life to have viewed a spectacular natural thing in this world...During ancient times the Meghalayan khasi tribes used the roots of the special trees in that region to cross the rivers and streams.... they are more powerful than the concrete bridges.... because they are not destroyed by the floods ... flash river floods etc.... the bridge you are seeing here is not complete.... the villagers told that it will take another 30 years to complete this root bridge.....please have a look at this video and listen my commentary too

ณ หมู่บ้านกลางป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หนึ่งในบริเวณที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในโลก ที่นั่นไม่เคยมีการก่อสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำ แต่สะพานได้ถูก “ปลูก” ขึ้น!

สะพานมี ชีวิตดังที่เห็นในภาพถูกพบในเมือง เชอร์ราปุนจิ ประเทศอินเดีย สะพานดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างขึ้นจากรากของ “ต้นยางอินเดีย” (Ficus Elastica) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่มีรากแตกแขนงระโยงระยางออกมาตามลำต้น สามารถยึดเกาะอยู่บนโขดหินขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำหรือกลางลำน้ำได้อย่างแข็ง แรงแน่นหนา

ชาว War-Khasis ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองในแถบ Meghalaya ได้สังเกตเห็นคุณสมบัติในการยึดเกาะและความแข็งแรงทนทานของรากต้นยางอินเดีย มาแต่ครั้งโบราณ จึงเกิดความคิดที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการข้ามแม่น้ำ ด้วยการดัดแปลงรากไม้ให้กลายเป็นสะพานธรรมชาติที่แข็งแรง

และเพื่อ ให้รากของต้นยางเจริญเติบโตไปใน ทิศทางที่ต้องการ ชาว Khasis จึงนำต้นหมากมาเฉือนให้เป็นโพรงตรงกลาง แล้วทำเป็นโครงสะพานวางพาดระหว่างโขดหินของทั้งสองฝั่งแม่น้ำ จากนั้นจึงนำรากของต้นยางมาวางบนรางต้นหมากเพื่อกำหนดทิศทางให้รากงอกเป็น แนวยาวไปจนถึงพื้นดินของอีกฝั่ง

สะพานราก ไม้ลักษณะนี้มีอยู่หลายจุดด้วยกัน (บางจุดมีความยาวมากกว่า 100 ฟุต) แต่กว่าจะได้เป็นสะพานที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอย่างนี้ ชาวบ้านต้องอดทนรอคอยเป็นเวลานาน 10-15 ปี ซึ่งก็นับว่าคุ้มค่าเพราะสะพานดังกล่าวมีความแข็งแรงทนทานมาก แต่ละสะพานสามารถรองรับน้ำหนักชาวบ้านได้มากถึง 50 คนหรือมากกว่าในคราวเดียวกัน

เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำของที่นี่เป็น สิ่ง “มีชีวิต” มันจึงยิ่งโตและแข็งแรงแน่นหนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ทำให้สะพานรากไม้ในบางจุดมีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี แต่ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงตราบจนกระทั่งปัจจุบัน

สำหรับ สะพานรากไม้ที่มีความโดดเด่นแปลกตา มากที่สุด และเชื่อกันว่ามีเพียงสะพานเดียวในโลกก็คือสะพานรากไม้สองชั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “สะพานรากไม้สองชั้น Umshiang”
credit ข้อมูลจาก oknation blog

สะพานรากไม้ อินเดีย Living Root Bridge in making Cherrapunjee, India




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2554
0 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2554 11:01:31 น.
Counter : 1994 Pageviews.


Polball
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 37 คน [?]








Online Since 16/09/2009
Custom Search
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Polball's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.