Group Blog
 
 
ตุลาคม 2560
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 ตุลาคม 2560
 
All Blogs
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ที่ดิน 2540-2548 หน้า 231-245



 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ที่ดิน 2540-2548 หน้า 231-245


231
       คาพิพากษาฎีกาที่ 5712/2545
       โจทก์และ ส. ได้ตกลงแบ่งมรดกของเจ้ามรดกทั้งที่มีพินัยกรรมและไม่มีพินัยกรรมตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่าโจทก์ยอมสละที่ดินโฉนดที่ดินเลขที2893, 68903, 184852่
และที่ 184853 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที2893 แก่ ส. จึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.่
มาตรา 1750 วรรคสอง เมื่อโจทก์และ ส ลงลายมือชื่อไว้จึงต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ.
ย่อมถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามที่ โจทก์ฟ้องได้แบ่งปันไปเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์จึงไม่มี
ส่วนได้เสียในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอีกไม่ว่าในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้จัดการมรดกที่จะใช้สิทธิขอแบ่ง
หรือมีอํานาจจัดการอีกต่อไปไม่ ดังนั้น หากจําเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2893 ก่อให้เกิดความ
เสียหายหรือ ไม่ประการใด ก็เป็นเรื่องของเจ้าของที่ดินจะไปว่ากล่าวแก่จําเลยต่างหากหาเกี่ยวข้องกับ
โจทก์ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจําเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป .วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มี
อํานาจฟ้องจําเลย
อายุความมรดก
   มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกําหนดห นึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
   คดีฟ้องเรียกตามข้อกําหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับ
พินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
   ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
อันมีต่อเจ้ามรดกมีกําหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งปีนับแต่
เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
   ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกําหนด
สิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
   คาพิพากษาฎีกาที่ 1104/2547
   เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์ เจ้ามรดกถึงแก่ความ
ตายเมื่อปี 2526 จําเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่
ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกําหนดหนึ่งปี
นับแต่นายอินทร์ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
วรรคหนึ่ง
   คาพิพากษาฎีกาที่ 6734/2547
   โจทก์กับ ข. ได้ทําสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยโจทก์ชําระราคาครบถ้วนแล้ว ส่วน ข.
ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หนี้ดังกล่าว
จึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองอยู่จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอน โจทก์
ย่อมเป็นผูทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทตามความหมายใน ป .พ.พ. มาตรา 241 แม้คดีโจทก์ขาดอายุ้
ความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ยังบัญญัติให้อยู่





232
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 ก็กําหนดให้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจําเลยทั้งสองซึ่งเป็น
ทายาทของ ข . ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จําเลยทั้งสองจด
ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความมรดกที่จําเลยทั้งสอง
ให้การต่อสู้ไว้ตาม ป .พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้อุทธรณ์ เรื่องอายุความ
ดังกล่าวและอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงตาม ป .พ.พ. มาตรา 241 ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ได้วินิจฉัย
เรื่องอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และมาตรา 241
อันเป็นเรื่องอายุความมรดกตามที่คู่ความว่ากล่าวกันมาโดยชอบ จึงมิใช่เป็ นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3
พิพากษาเกินคําฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์





233
คําพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับ
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา
 คาพิพากษาฎีกาที่ 7115/2547
 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็งในจล
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่การดําเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็เป็น
การดําเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคํา ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคํา ต่างเป็น
ส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการในการจด ทะเบียนซื้อขายที่ดินเช่นนี้ คําว่า
หนังสือสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง
บันทึกถ้อยคําด้วย เมื่อข้อความในทึกถ้อยคํามีข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาราชการ
 ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน
จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือเพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอํานาจรัฐ แม้กฎหมายกําหนด
ให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าว
ก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือ จากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความ
อันเป็นเท็จนั้น มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  คาพิพากษาฎีกาที่ 2169/2545
  การยึดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนด เพียงแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีนําโฉนดที่ดินมา
และฝากไว้ ณ สถานที่ใดหรือ บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาและ
เจ้าพนักงานที่ดินก็ถือเป็นการยึดตาม.วิ.พ. มาตรา 304 วรรคหนึ่ง แล้ว ไม่จําต้องให้โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ป
ไปนําชี้ทรัพย์ที่จะยึดเพื่อประทับตราหรือทําการยึดให้เห็นประจักษ์เหมือนเช่นการยึดสังหาริมทรัพย์
แต่อย่างใด เหตุที่ระเบียบการบังคับคดีเดิมกําหนดให้มีผู้นํายึดต้องชี้ทรัพย์ที่จะยึดก็เพื่อประโยชน์ในการ
ปิดประกาศการยึด การทําแผนที่ในการขายทอดตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบสถานที่ตั้ง
แห่งทรัพย์เท่านั้น ซึ่งหากแผนที่ไม่ถูกต้องก็มิได้ผูกมัดเจ้าพนักงานบังคับคดีแอย่างใด ระเบียบดังกล่าวต่
ที่ให้ผู้นํายึดชี้อสังหาริมทรัพย์จึงเป็นการปฏิบัติที่เกินเลยกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์หรือ
ผู้แทนโจทก์นําเจ้าพนักงานบังคับคดีไปชี้ที่ดินที่จะยึดตามระเบียบเดิม ซึ่งแม้จะนําชี้ผิดแปลงก็เป็นผล
เพียงให้มีการปิดประกาศการยึดผิดแปลงเท่านั้ โจทก์มีสิทธินําเจ้าพนักงานบังคับคดีไปตรวจสภาพที่ดินน
เพื่อนําชี้ที่ดินแปลงที่ถูกต้องใหม่ได้โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยึดแล้วไม่มีการขายเพราะ
ขั้นตอนการยึดได้กระทําครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว







234
     คาพิพากษาฎีกาที่ 5509/2545
     โจทก์กับจําเลยทั้งสี่พิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวน
เปรียบเทียบแล้วมีคําสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่จําเลยทั้งสี่ตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 60 เมื่อจําเลยทั้งสี่ได้รับ
โฉนดที่ดินแล้วอาจมีการโอนที่ดินพิพาทต่อไป ซึ่งหากศาลพิพากษาในภายหลังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์
โจทก์อาจได้รบความเสียหาย กรณีมีเหตุสมควรกําหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างั
พิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264
     คาพิพากษาฎีกาที่ 5857/2545
     แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ที่จําเลยรุกล้ํานั้นคิดเป็นเนื้อทีไร่เศษ แต่โจทก์1่
ขอคิดเพียง 1 ไร่ เพื่อจะนํามาคํานวณเป็นทุนทรัพย์ แต่เมื่อทําแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าที่ดินของโจทก์
ที่ถูกจําเลยรุกล้ํามีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา ก็ตาม จํานวนเนื้อที่ดินพิพาทตามฟ้องก็เป็นเพียง
แต่การกะประมาณไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานไปรังวัดทําแผนที่ดินพาท ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจําเลยนําชี้ว่า
ที่พิพาทอยู่ในเส้นสีม่วงและรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้อง จึงต้องถือว่าที่ดินที่พิพาทกันคือที่ดินที่อยู่ภายใน
เส้นสีม่วง การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจําเลยนํารังวัดรุกล้ําที่ดินของโจทก์เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา
จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง
     คาพิพากษาฎีกาที่ 5992/2545
     โจทก์และจําเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทตามหลักวิชาการ
เป็นข้อชี้ขาดปัญหา เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ดําเนินการรังวัดทําแผนที่พิพาทโดยถูกต้องด้วยการส่องกล้อง
และให้ความเห็นว่า “อาคารพิพาทของจําเลยทั้งสองน่าจะอยู่ใน ่ดินของโจทก์” ถือได้ว่าผลของการรังวัดที
สอบเขตสมความประสงค์ของคู่ความและตรงตามคําท้าของโจทก์และจําเลยที่ตกลงกันแล้วตาม ป .วิ.พ.
มาตรา 138 การที่เจ้าพนักงานที่ดินให้ความเห็น “น่าจะ” นั้น เป็นเพราะความเห็นที่ให้นั้นเกิดจาก
ข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะทําการรังวัด หาใช่เป็นการไม่ยืนยันมั่นคงแต่อย่างใดไม่
จําเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคําท้า
     คาพิพากษาฎีกาที่ 6293/2545
     โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจําเลยเพื่อนําออกขายทอดตลาด ปรากฏว่า
โฉนดที่ดินของที่ดินที่ถูกยึดอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องในฐานะผู้ โอนสิทธิเรียกร้องจากเจ้าหนี้เดิมรับ
ของจําเลย ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้จํานองในที่ดิน ผู้ร้องในฐานะผู้รับจํานองชอบที่จะได้รับ
ชําระหนี้จากทรัพย์สินจํานองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอน
ไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง เพราะการจํานองย่อมติดตามตัว
ที่ดินไปตลอดจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชําระหนี้ แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดิน
ที่จะขายทอดตลาดนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคําพิพากษาตาม ป .วิ.พ. มาตรา 275,
276 ประกอบด้วยมาตรา 304 กรณีเรื่องสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินจึงเป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องผู้เป็นเจ้าหนี้
กับจําเลยผู้เป็นลูกหนี้เท่านั้น ผู้ร้องจะยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้รอจนกว่าจําเลยจะชําระหนี้อันเป็นการกระทบ
สิทธิโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาในอีกคดีหนึ่งที่จะบังคับยึดที่ดนเพื่อขาทอดตลาดหาได้ไม่ิ






235
     คาพิพากษาฎีกาที่ 6593/2545
     โจทก์ฟ้องคดีขอให้จําเลยที1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินสาขาจําเลยที่ ในฐานะเจ้าพนักงาน่2
ที่ดินจังหวัด และจําเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ .มมารดา
ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วออกจากโฉนดที่ดิน และ น .ส.3 โดยอ้างว่า ว . บิดาได้ทําพินัยกรรมยกที่ดิน
ทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ก่อนตาย ม . จึงไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวมาแต่ต้น อันถือว่าเป็นการโต้แย้ง
สิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าว
ย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ได้
ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคําพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทอื่น.
ของ ม. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคําขอของโจทก์ได้ ปัญหาเรื่องอํานา องจฟ้
ดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จําเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ใน
คําให้การ ศาลก็มีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
     คาพิพากษาฎีกาที่ 51/2546
     ขณะที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษานํายึดที่ดินพิพาทจําเลยที่ 1 ลูกหนี้ตาม
คําพิพากษานํา น .ส.3 ก. สําหรับที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่
บุคคลอื่นไปแล้ว ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์สินของจําเลยที่ ที่จะถูกบังคับคดี การยึดและการขายทอดตลาด1
ที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้ โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาท
ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไปก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอํานาจเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทดังกล่าว
ได้โดยไม่จําต้องเรียกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้มาสอบถามเสียก่อน ส่วนโจทก์จะได้รับ
ความเสียหายอย่างไรก็สามารถไปฟ้องร้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องต่างหากได้
     คาพิพากษาฎีกาที่ 207/2546
     ศาลฎีกาพิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันทําทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาท และให้จําเลยที่1
ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจํายอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากจําเลยที่ 1 ไม่ดําเนินการ
ให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลยที่ 1 ปรากฏว่าจําเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิ
ภาระจํายอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดําเนินการบังคับคดี
ในลําดับต่อไป โดยถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลยที1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่่
จําเลยที่ 1 ทําให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจํายอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิ
ที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้จําเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดําเนินการ
บังคับคดีให้เป็นไปตามคําพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับ
นอกเหนือไปจากคําพิพากษาแต่อย่างใดไม่ แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคําร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้
เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจําเลยที่ 1
จริงหรือไม่ และมีเหตุจําเป็นหรือขัด ข้องประการใดที่จําเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่
โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคําร้อง







236
     คาพิพากษาฎีกาที่ 478/2546
     ที่ดินโจทก์ทั้งสี่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. กําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะ
เวนคืนฯ พ .ศ. 2534 มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2535 เพื่อสร้างทางพิเศษ คณะกรรมการ
กําหนดราคาเบื้องต้นได้กําหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและนําไปวางโดยฝากธนาคารออมสินให้แก่โจทก์
ทั้งสี่แล้ว ถือได้ว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนับแต่วันที่วางเงิน แม้ภายหลังต่อมาจะมี พ .ร.ฎ. กําหนด
เขตที่ดินในบริเวณที่ทจะเวนคืนฯ พ.ศ. 2538 ออกใช้บังคับ และคณะรัฐมนตรีมีมติปรับเปลี่ยนแนวเขตี่
ทางพิเศษใหม่ อันเป็นเหตุให้เนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนลดน้อยลง ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินที่ไม่อยู่ในแนวเขต
ทางพิเศษใหม่ดังกล่าวซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยสมบูรณ์แล้วกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ข อง
โจทก์ทั้งสี่เจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรืออํานาจจําเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้
ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจาก
โจทก์ที่สี่ หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษ าให้จําเลยชําระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่
กรณีจึงไม่มีเหตุที่จําเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ได้
     คาพิพากษาฎีกาที่ 601/2546
     จําเลยที่ 3 เคยฟ้องจําเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จําเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
รวมในที่ดินพิพาท จําเลยที่ 1 ทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์
โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจําเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย
ระหว่างจําเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จําเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จําเลยที่ 3
เชิดหรือยอมให้จําเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จําเลยที่3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ
ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยที่ แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จําเลยที่ เป็นเจ้าของรวม13
ในที่ดินพิพาท3 ใน 7 ส่วน การที่จําเลยที1 ไปทําสัญญาจะซื้อจะขายกั โดยจําเลยที3 และเจ้าของรวม่บโจทก์่
คนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจําเลยที1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของ่
จําเลยที่ 3 จําเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจําเลยที่ 3 จํานวน 3 ใน 7 ส่วน คําพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจําเลยที่ 1 กับจําเลยที่ 2
ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษา
ตามยอมในคดีที่จําเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกัน โดยอ้างว่าจําเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว
จําเลยอื่นร่วมกับจําเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉล โจทก์โดยทําสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใดๆ
ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษาดังกล่าว
โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มี
คู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประกอบมาตรา 246, 247 และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชําระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จําเลยที1่
มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอํานาจพิพากษาให้มีผลถึงจําเลยที1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)่
ประกอบมาตรา 247







237
   คาพิพากษาฎีกาที่ 810/2546
   โจทก์ทําสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ . แต่โจทก์ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท
ตามสัญญาเช่า ส่วนจําเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ ส . มารดาจําเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิม
มาก่อน แม้สัญญาเช่าระหว่าง ส. กับวัด พ. ระงับไปแล้ว ถือว่าจําเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นการ
ละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน มิใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าใหม่ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่
จําเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยลําพัง
   ส่วนที่ ส. ทําสัญญาขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทแก่. ล ยาโจทก์ แม้ระบุภริ
ชื่อสัญญาว่าสัญญาขายฝากเฉพาะสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหาสัญญาระบุขายฝากบ้านพร้อมที่ดินพิพาท
ทั้งเมื่อพ้นกําหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน ล. อาศัยสัญญาขายฝากไปทําสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ ทันที.
และคําฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยเพราะประสงค์เข้าอยู่อาศัยในบ้านพิพาทเอง พฤติการณ์มีเหตุผล
น่าเชื่อว่า ล. รับซือฝากบ้านพิพาทเพื่ออยู่อาศัย มิใช่รื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นการขายฝากบ้าน้
ในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่สัญญาทําสัญญากันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 491 โจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้าน
พิพาทจึงไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่จําเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจําเลย
   คาพิพากษาฎีกาที่ 876/2546
   ในคดีก่อนแม้จะยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง
โดยชอบหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อันอาจถูกเพิกถอนได้ตาม .ป ดินฯ ก็ตาม แต่การที่จําเลยใช้ให้ที่
คนนํารถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันที่ดินพิพาท แล้วจุดไฟเผาต้นไม้ต่างๆ ที่โจทก์ปลูกไว้จนได้รับความเสียหาย
เป็นอย่างมาก แม้จะอ้างว่ากระทําไปโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาว่าจ้างก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าวของ
จําเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและทรัพย์สินของโจทก์บนที่ดิน
พิพาทโดยไม่มีอํานาจที่จะกระทําได้ตามกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สิน
ของโจทก์ เมื่อทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอํานาจฟ้องจําเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่
โจทก์ได้
   คาพิพากษาฎีกาที่ 1584/2546
   โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจําเลยที่ กับจําเลยที่ 2 เป็นกรณี1
ที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทํานิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียน
โอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอํานาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคั ว่า หากจําเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติบคดี
ตามให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 276
   คาพิพากษาฎีกาที่ 1714/2546
   บ้านพิพาทเป็นของโจทก์ปลูกอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากผู้มีชื่อ โจทก์ยินยอมให้จําเลยและ
บริวารเข้าอยู่อาศัย จําเลยและบริวาร ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทโดยมีจําเลยเป็นหัวหน้า
ครอบครัว การที่จําเลยนําสืบว่าจําเลยซื้อบ้านพิพาทจากโจทก์ โดยผ่อนชําระจนครบถ้วนแล้วเป็นข้อที่
จําเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคําให้การ จึงเป็นการนําสืบนอกเหนือจากคําให้การ แม้ศาลล่างทั้งสองจะ
หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ






238
ในศาลล่างทั้งสอง ประเด็นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้จําเลยฎีกาตาม ป .วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จําเลยปล่อยให้บ้านพิพาทชํารุดทรุดโทรมจนถึงขนาดล้มเอียงไปทับบ้านข้างเคียงโดยไม่นการดําเนิ
แก้ไขปรับปรุงจนกระทั่งถูกผู้อํานวยการเขตมีคําสั่งให้จําเลยแก้ไขและรื้อถอนบ้านพิพาททั้งหมด อันเป็นการ
ผิดวิสัยของบุคคลทั่วไป และแสดงให้เห็นเจตนาของจําเลยว่าไม่ได้ครอบครองบ้านพิพาทด้วยเจตนา
เป็นเจ้าของ แม้จําเลยจะครอบครองติดต่อกันนานกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรร มสิทธิ์ แม้จําเลยมีชื่อเป็น
บุคคลลําดับที่ 1 ในสําเนาทะเบียนบ้าน ในฐานะหัวหน้าครอบครัวก็มิได้หมายความว่าจําเลยต้องเป็น
เจ้าของบ้านพิพาทด้วย เพียงแต่จําเลยมีชื่อในฐานะหัวหน้าครอบครัวในสําเนาทะเบียนบ้านซึ่งมิใช่หลักฐาน
แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท โจทก์องขับไล่จําเลยและเรียกค่าเสียหายในกรณีที่การเช่าฟ้
มิได้ทําหลักฐานเป็นหนังสือ จึงเป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจําเลย
ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่ใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า ไม่ตกอยู่ใน
บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อมาแสดงก็ตาม
โจทก์ก็มีอํานาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจําเลยได้
       คาพิพากษาฎีกาที่ 3688/2546
       การที่วัดโจทก์ฟ้องอ้างว่า เดิมที่ดินโฉนดพิพาทเป็นของ .บและ ว. ซึ่ง บ. และ ว. ได้อุทิศ
ที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลแล้ว ทําให้ที่ดินตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ แต่ต่อมาผู้มีชื่อเป็นเจ้าของ
ในโฉนดพิพาทโอนต่อกันมาหลายทอดจนถึงจําเลยทั้งสอง โดยผู้รับโอนทุกทอดทราบดีว่าได้มีการอุทิศ
ที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว การที่จําเลยทั้งสองแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 108 แปลง ทํา ให้เหลือ
เนื้อที่ดินในโฉนดเพียง 1 ไร่เศษ การโอนที่ดินดังกล่าวไม่ชอบ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งหมดยังคง
เป็นของโจทก์ ขอให้เพิกถอนชื่อจําเลยทั้งสองออกจากโฉนดพิพาทและขับไล่ออกจากที่ดินพิพาทนั้น
หากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าว าง การโอนที่ดินดังกล่าวที่มิได้กระทําตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฯ มาตรา 34อ้
ก็เป็นการโอนที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะตาม ป มาตรา 150 โจทก์มีอํานาจฟ้อง.พ.พ.
จําเลยทั้งสองซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดพิพาทและขับไล่จําเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทที่ครอบครองอยู่ได้
หาจําต้องฟ้องเจ้าของเดิมและผู้รับโอนคนก่อ าเลยทั้งสองไม่ กรณีไม่ต้องห้ามตาม ป .พ. มาตรา 145นจํ.วิ
และเนื่องจากประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยเองและพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัย
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ จึงสมควรส่งสํานวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
       คาพิพากษาฎีกาที่ 3958/2546
       ก่อนที่ ฉ. และ ฤ. จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ ฉ. ได้มอบอํานาจให้จําเลยที่ 2 และจําเลย
ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ฤ. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจําเลยร่วมต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีแพ่งขอให้
ขับไล่จําเลยร่วมออกจากที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นวินิ จฉัยว่า น .ส.3 เลขที่ 78 ออกทับและเป็นที่ดิน
บางส่วนในที่ดินตาม น .ส.3 เลขที่ 169 ของจําเลยร่วม ฉ . และ ฤ . โจทก์ในคดีดังกล่าวไม่มีสิทธิ
ครอบครองในที่ดินพิพาท พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนผลคําพิพากษาินิจฉัยที่ว
ว่า ฉ . กับ ฤ . ไม่มีสิทธิครองครองในทีดินผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวและเป็นคุณแก่จําเลยร่วมและ่
จําเลยที่ 1 กับ ธ . ซึ่งเป็นเจ้าของรวม จําเลยที่ 1 และจําเลยร่วมย่อมยกขึ้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็น







239
บุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวได้ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตาม ป .วิ.พ.
มาตรา 145 วรรคสอง (2) แต่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์กับจําเลยที่ 1 และจําเลยร่วมนําสืบมาเป็น
การโต้เถียงในสิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ ฉ. และ ฤ . เคยฟ้องจําเลยร่วม
มาในคดีดังกล่าว ฉะนั้น สิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์หากมีขึ้นก็จะมาจากการรับมอบจากและ ฤ. เท่านั้น. ฉ
ทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมีเพียงว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจําเลยที่ 1 กับจําเลยร่วม
แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
      คาพิพากษาฎีกาที่ 4167/2546
      โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตผ่อนผันให้มีสิทธิทํากินชั่วคราวในที่ดินพิ ่งอยู่ในเขตป่าสงวนพาทซึ
แห่งชาติ เมื่อครบกําหนดอนุญาตแล้ว โจทก์ได้ยื่นหนังสือต่อทางราชการขอทํากินต่อไปอีก ปรากฏว่า
โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทํากินชั่วคราวถึงปี 2531 นั้น เมื่อพ้นกําหนดเวลาทางราชการจะส่ง
เจ้าหน้าที่มารับคําขอเพื่อนําไปจัดทําใบ สทก ต่อไป แต่ในปี 2532 ทางราชการมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ.2
จึงไม่ได้จัดส่งคนไปรับคําขอ เพิ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับคําขอเมื่อปี 2533 กรณีจึงเป็นเรื่องตกค้างจาก
ปี 2533 ซึ่งป่าไม้เขตมีคําสั่งรับใบคําขอของโจทก์แล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิทํากินในที่ดินพิพาทอยู่
ต่อเนื่องตลอดมา โจทก์ซึ่งมีสิทธิทํากินในที่ดินพิพาทย่อมมีอํานาจฟ้องขับไล่จําเลยได้
      คาพิพากษาฎีกาที่ 5440/2546
      ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 1 และข้อ 2 ระบุว่า ผู้จะซื้อจะชําระราคาที่ดินและบ้านให้แก่
ผู้จะขายทั้งหมดในวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 และผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่ผู้จะซื้อ
ในวันเดียวกัน และในข้อ 4 ระบุอีกว่า “...ตามกําหนดเวลาในข้อ 1 ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ไปรับโอน
ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก โดยผู้จะขายไม่จําต้องบอกกล่าว ...” แต่เมื่อโจทก์และจําเลยมีข้อตกลง
ในการชําระหนี้นอกจากเงื่อนไขตามสัญญาดังกล่าว และจําเลยก็ชําระหนี้บางส่ อตกลงนั้น พฤติการณ์วนตามข้
แสดงว่าโจทก์และจําเลยปฏิบัติต่อกันโดยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากําหนดเวลาชําระเงินค่าที่ดินและบ้าน
เป็นสาระสําคัญอีกต่อไป เมื่อจําเลยไม่ชําระเงินค่าที่ดินและบ้าน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้สิทธิตาม .ปพ.พ.
มาตรา 387 คือบอกกล่าวให้จําเลยชําระหนีภายในระยะเวลาพอสมควร หากจําเลยยังไม่ชําระ โจทก์จึง้
จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์มีโทรเลขแจ้งไปยังจําเลยว่า “ให้ท่านออกไปจากบ้านข้าพเจ้าภายใน
เดือนนี้ และไปตกลงเรื่องค่าเสียหาย” นั้น ไม่ใช่กรณีที่โจทก์บอกกล่าวให้จําเลยชําระหนี้ภายในระยะเวลา
พอสมควร การบอกกล่าว แจ้งให้จําเลยชําระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
จะซื้อจะขายกับจําเลยและยังไม่มีอํานาจฟ้องจําเลย
      คาพิพากษาฎีกาที่ 7143/2546
      จําเลยร่วมใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ต่อศาลชั้นต้น ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาจําเลยร่วมกับ
โจทก์ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอม คําพิพากษาจึงผูกพัน
คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดย
ชําระเงินให้แก่จําเลยร่วมครบถ้วนแล้ว โดยผลแห่งข้อกําหนดตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยร่วม
ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์และการได้มาโดยทางนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ฎีกาว่า การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตามมาตรา 1299







240
วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอํานาจปรับข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายได้ และผลแห่งนิติกรรมนี้
แม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็หามีผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่
สมบูรณ์ เพียงแต่ทําให้ไม่บริบูรณ์ถึงขั้นเป็นทรัพยสิทธิตาม ป .พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
แต่ระหว่างคู่กรณีย่อมมีผลผูกพันกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ทําให้โจทก์มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองใช้
ประโยชน์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทยันจําเลยร่วมได้ และเมื่อที่ดินพิพาทมีหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์
คือโฉนดที่ดิน โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จําเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เพื่อให้บริบูรณ์
เป็นทรัพยสิทธิสามารถใช้ยันต่อบุคคลทั่วไปได้
     คาพิพากษาฎีกาที่ 9053/2546
     การที่โจทก์ฟ้องว่า หลังจากศาลฎีกามีคําพิพากษาให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จําเลย
โดยให้จําเลยชําระราคาที่ดินส่วนที่เหลือแก่โจทก์ แต่จําเลยเพิกเฉยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์และชําระราคา
ที่ดินที่เหลือแก่โจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นทํานองว่าจําเลยกระทําละเมิด ภายหลังจากมี
คําพิพากษาแล้ว แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ขอให้ศาลออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา
โดยให้มารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชําระราคาที่ดินที่เหลือแก่โจทก์ ซึ่งหากโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตาม
คําพิพากษาและจําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ อาจถือว่าจําเลยส ละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จากโจทก์ หนี้ตามคําพิพากษาเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป หรือหาก
โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จําเลยแล้ว จําเลยไม่ชําระราคาที่ดินที่เหลือ โจทก์ก็สามารถบังคับคดี
ยึดทรัพย์สินของจําเลยมาชําระราคาทีดินได้ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนศาลได้มีคําสั่งเกี่ยวกับ่
เรื่องที่จําเลยเป็นฝ่ายประวิงการปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือไม่ อย่างไร ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างจึงยัง
ไม่แน่นอน เมื่อโจทก์และจําเลยต่างอ้างว่า อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาจึงเป็นคําฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับ
การบังคับคดีตามคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน ชอบที่จะไปบังคับในคดีเดิมให้เสร็จเด็ดขาดไปก่อนตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้องเป็นคดีนี้ ปัญหา
อํานาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชา ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นชน
วินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
     คาพิพากษาฎีกาที่ 675/2546
     ผู้ร้องกับจําเลยร่วมกันซื้อที่ดิน2 แปลง โดยตกลงแบ่งการครอบครองเป็นลายลักษณ์อักษร
ว่าจําเลยได้ส่วนแบ่งทางด้านทิศตะวันตก ส่วนผู้ร้องได้ส่วนแบ่างนทิศตะวันออกคนละครึ่ง อันเป็นข้อตกลงด้
ภายในระหว่างกันเองว่ามีการแบ่งแยกการครอบครองอย่างไรเท่านั้น หาได้มีการแบ่งแยกกันครอบครอง
อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนไม่ เมื่อจําเลยนําที่ดินดังกล่าวไปจํานองต่อโจทก์ ผู้ร้องก็ทราบและให้ความยินยอม
เป็นหนังสือ ทั้งเมื่อมีการจดทะเบียนจํานองนอกจากผู้ร้องจะไม่ให้ปากคําใดๆ แล้ว ยังไม่ส่งมอบเอกสาร
การแบ่งแยกการครอบครองที่ผู้ร้องกับจําเลยทําต่อกันแก่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อทราบ ซึ่งนับว่าเป็นความ
ประมาทเลินเล่อของผู้ร้องอย่างมาก ฉะนั้น การที่จะให้โจทก์เรียกเอกสารประกอบอื่นใดที่อาจมาบั่นทอน
กรรมสิทธิ์ของหลักประกันนั้นย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์พึงกระทํา เว้นแต่ผู้ร้องจะเสาะหามาแสดงเอง กรณี
ต้องถือว่าผู้ร้องและจําเลยได้ร่วมกันครอบครองที่ดินทุกส่วนทั้งสองแปลงอันโจทก์มีสิทธิยึดเพื่อนําออก
ขายทอดตลาดชําระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กันส่วนของตนในที่ดินทั้งสองแปลงออกก่อนขายทอดตลาด







241
      คาพิพากษาฎีกาที่ 2698/2546
      ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่ผู้รับจํานองที่จะเลือกว่าให้นําทรัพย์สิน
จํานองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจํานอง แล้วนําเงินที่ได้จากการขายมาชําระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นก็ได้
แต่หากผู้รับจํานองไม่ประสงค์จะใช้ทธิบังคับจํานองก็อาจให้ขายทรัพย์สินนั้นโดยติดจํานองก็ได้ เพราะการสิ
บังคับคดีแก่ทรัพย์สินไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิจํานองซึ่งผู้รับจํานองอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สิน
นั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 และในกรณีจํานองอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 289 วรรคสอง ได้บัญญัติ
ให้ผู้รับจํานองยื่นคําร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ก็เพื่อที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้
ดําเนินการไปโดยถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจํานอ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจํานองได้ยื่นคําร้องของ
ต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจํานองออกขายทอดตลาดจึงหาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทในฐานะผู้รับจํานองไม่ธิ
เพราะเมื่อเอาทรัพย์สินจํานองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจํานองแล้วก็ต้องชําระหนี้จํานองให้แก่ผู้ร้อง
ในฐานะผู้รับจํานองก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 732
      คาพิพากษาฎีกาที่ 3690/2546
      ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จําเลยที่ โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและคดีถึง่สุดแล้ว1ที
ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป .พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะ
บังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตาม ป .วิ.พ.
มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดั งกล่าวได้แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้
ขายทอดตลาดไปแล้วเพราะเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับยึดที่ดินอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้อง
ดังกล่าว การซื้อขายอันเป็นผลมาจากการยึดที่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยเช่นกัน
แม้ผู้ร้องจะมิได้คัดค้านว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบอย่างไร แต่ในคําร้องของผู้ร้องพอแปลความได้ว่า
การยึดที่ดินและการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวไม่ชอบเพราะผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าและขอให้เพิกถอน
การขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้
      คาพิพากษาฎีกาที่ 676/2546
      ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสามกับจําเลยมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาทและ
ให้จําเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม หากจําเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคําพิพากษาแทนการแสดง
เจตนาของจําเลย และหากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นําที่ดินออกขายทอดตลาดนําเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสาม
และจําเลยตามส่วน ซึ่งต่อมาการแบ่งแยกที่ดินไม่อาจทําได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้มีสิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทจึงขอให้ศาลมีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนําออกขายทอดตลาดแล้ว
นําเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามละจําเลยตามส่วนดังกล่าว ซึ่งการยึดทรัพย์กรณีนี้มิใช่การร้องขอให้บังคับคดี
ตาม ป.วิ.พ. แต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคําสั่งกําหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตาม.พ..วิ ป
มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288
      คาพิพากษาฎีกาที่ 12445/2547
      คดีนี้หมายเรียกและสําเนาคําฟ้องได้ส่งให้แก่จําเลยโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
จึงมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม ป .พ. มาตรา 73 ทวิ ดังนั้น เมื่อ อ. พนักงานของจําเลย.วิ
ซึ่งมีอายุ 45 ปี และอยู่บ้านหรือสํานักงานเดียวกันได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องเมื่อวันที่ กันยายน24






242
2545 ย่อมถือได้ว่ามีการส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลยโดยชอบแล้ว ตาม.วิปพ. มาตรา 76.
วรรคหนึ่ง และจําเลยอาจยื่นคําให้การได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม ป .วิ.พ. มาตรา 177
วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกําหนดในวันที่ 9 ตุลาคม 2545 การที่จําเลยยื่นคําให้การวันที่ 24 ตุลาคม 2545
จึงเกินกําหนด 15 วัน ตามกฎหมายนั้น ทั้งการส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้แก่จําเลยโดยทางไปรษณีย์
ลงทะเบียนตอบรับเช่นนี้ หาใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ไม่
       คาพิพากษาฎีกาที่ 1396/2547
       โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยที่ 1 ออกใบแทนหนังสือรับรองการทําประโยชน์ทั้งหกแปลงตาม
คําฟ้องและใส่ชื่อโจทก์ในเอกสารสิทธิดังกล่าวพร้อมกับเรียกค่าเสียหาย จําเลยทีให้การว่าหนังสือรับรอง1่
การทําประโยชน์ทั้งหกแปลงไม่ได้สูญหายแต่อยู่ในความครอบครองของจําเลยที่ 4 โจทก์ต้องไปใช้สิทธิ
ทางศาลเพื่อให้จําเลยที่ 4 ส่งมอบ ประเ ด็นแห่งคดีจึงมีว่าจําเลยที่ 1 จะออกใบแทนหนังสือรับรอง
การทําประโยชน์ทั้งหกแปลงตามฟ้องโจทก์ให้ได้หรือไม่เพราะเอกสารสิทธิดังกล่าวไม่ได้สูญหาย แต่อยู่ใน
ความครอบครองของจําเลยที่ 4 ดังนี้ การที่จําเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จําเลยที่ 1 ออกใบแทนเอกสารสิทธิ
ทั้งหกแปลงให้โจทก์ไ ม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่เคยยื่นคําขอออกใบแทน จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือจาก
ประเด็นตามคําให้การของจําเลยที่ 1 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่
ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตาม ป .พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง.วิ
       คาพิพากษาฎีกาที่ 3635/2547
       คดีก่อน ส. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทเป็นโจทก์ฟ้องเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชกับพวก
เป็นจําเลย โดยมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินแปลงพิพาทนี้ทับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งต่อมา
ศาลฎีกาได้มีคําวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงทับที่สาธารณประโยชน์คูขวาง ส่วนคดีนี้แม้โจทก์และจําเลย
จะเป็นคนละคนกับโจทก์และจําเลยในคดีก่อนก็ตาม แต่โจทก์ได้รับที่พิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อน
โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจําเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจําเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแล
สาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจําเลยคดีนี้เป็นคู่ความติ
เดียวกันกับโจทก์และจําเลยที่ 1 ในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจําเลยขอให้เพิกถอนคําสั่งของจําเลยที่ให้
เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุผลเดียวกัน
กับคดีก่อนในประเด็นที่ว่าที่ดินแปลงพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ และคดีก่อนถึงที่สุด
ไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจําเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคําพิพากษาในคดีก่อนด้วยตาม ป .วิ.พ. มาตรา 145
อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148วกั
โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง
       คาพิพากษาฎีกาที่ 3190/2547
       ตามคําฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืน
ไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริง
ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจํานวนเนื้อที่
8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสําเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคําแถลงของ
จําเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจํานวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน






243
88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคําฟ้อง ดังนั้น คําฟ้องของ
โจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจํานวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคําขอให้ชําระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม
จึงเกิดจากการคํานวณ ่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศ ทธรณ์พิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันชําระเงินทีาลอุ
ค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจํานวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาด
เล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสําคัญ แม้คําพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอํานาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคําพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย
หรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทําเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
     คาพิพากษาฎีกาที่ 4293/2547
     คดีนี้หมายเรียกและสําเนาคําฟ้องได้ส่งให้แก่จําเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ตอบรับ จึงมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ เมื่อ ร . ซึ่งเป็นภรรยา
ของจําเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านคนเดียวกันได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้ องดังกล่าว
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 ตามรายงานเจ้าหน้าที่และใบตอบรับในประเทศ ย่อมถือได้ว่ามีการ
ส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้จําเลยที2 โดยชอบแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จําเลยที่ 2่
อาจยื่นคําให้การได้ภายใน15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม ป .พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกําหนด.วิ
ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2546 การที่จําเลยที่ 2 ยื่นคําให้การในวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 จึงเป็นการ
ยื่นคําให้การเกินกําหนด 15 วัน ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งการส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้อง
ให้แก่จําเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ตอบรับเช่นนี้ หาใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ไม่
     คาพิพากษาฎีกาที่ 6734/2547
     โจทก์กับ ข. ได้ทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โดยโจทก์ชําระราคาครบถ้วนแล้ว ส่วน ข.
ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หนี้ดังกล่าว
จึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองอยู่จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอน โจทก์
ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทตามความหมายใน .ป มาตรา 241 แม้คดีโจทก์ขาดอายุความพ.พ.
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ยังบัญญัติให้อ ยู่ภายใต้
บังคับแห่งมาตรา 193/27 ก็กําหนดให้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจําเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาท
ของ ข . ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จําเลยทั้งสองจดทะเบียน
โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องอา ุความมรดกที่จําเลยทั้งสองให้การต่อสู้ย
ไว้ตาม ป .พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความดังกล่าวและ
อ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ได้วินิจฉัยเรื่องอายุความ
มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และมาตรา 241 อันเป็นเรื่อง
อายุความมรดกตามที่คู่ความว่ากล่าวกันมาโดยชอบ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษา
เกินคําฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์







244
 คาพิพากษาฎีกาที่ 6752/2547
 จําเลยที่ 2 ทําสัญญาประนีประนอมตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนของจําเลยที่ 2
ให้แก่ผู้ร้อง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ร้องมีอายุ20 ปีบริบูรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้มี
คําพิพากษาตามยอมแล้ว ขณะยื่นคําร้องขอกันส่วนผู้ร้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว คําพิพากษา
ตามยอมจึงมีผลบังคับให้จําเลยที่ 2 ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ ร้องจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้
จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 คดีนี้เดิมโจทก์บังคับคดียึดที่ดินทั้งแปลง
พร้อมบ้าน ผู้ร้องยื่นคําร้องขอกันส่วนโดยอ้างว่าจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะส่วนของตนตามคําพิพากษา
มิได้อ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดทั้งหม ดไม่ใช่ของจําเลย จึงเป็นเรื่องร้องขอกันส่วนตาม ป .วิ.พ. มาตรา 287
มิใช่ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา แม้ว่า ร. ขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านส่วนของตนครึ่งหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม288
เหลือที่ดินและบ้านพิพาทส่วนของจําเลยที่ 2 ครึ่งหนึ่งและผู้ร้องขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนนี้
จนไม่เหลือส่วนของจําเลยที2 มีผลให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาผู้นํายึดไม่อาจจะบังคับชําระหนี้่
เอาจากทรัพย์ที่ยึดและขายทอดตลาดได้ แต่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ธนาคาร อ. รับชําระหนี้จํานองจาก
เงินขายทอดตลาดได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น และให้เข้าสวมสิทธิเข้ายึดทรัพย์ แทนโจทก์ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะ
บังคับชําระหนี้เอาจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไม่ได้ แต่เมื่อธนาคาร .อ ก็มีสิทธิรับชําระหนี้จํานอง
จากเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนของจําเลยที่ 2 ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง
ตามคําพิพากษาก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่ อมีเงินเหลือจึงกันเป็นส่วนของผู้ร้องต่อไปได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิ
ขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
 คาพิพากษาฎีกาที่ 7966/2547
 หนี้ตามคําพิพากษาซึ่งผู้ร้องในฐานะโจทก์ฟ้องให้จําเลยรับผิดคดีซึ่งมีการจํานองเป็นประกัน
แต่ผู้ร้องได้เลือกใช้สิทธิฟ้องจําเลยให้รับผิดในหนี้ที่มีประกันอย่างเจ้าหนี้สามัญ มิได้ใช้สิทธิบังคับจํานอง
เอาแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกันที่จําเลยจํานองไว้กับผู้ร้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยชําระเงินแก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามคําพิพากษาเท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นขอรับชําระหนี้จากที่ดินของจําเลยคํา
ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอํานาจแห่งการจํานองตามวิธีการที่บัญญัติไว้.วินพ. มาตรา 289ใ. ป
จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องประสงค์จะให้ตนได้รับชําระหนี้จากที่ดินจํานองของจําเลย อันเป็นหลักประกันนอกเหนือ
จากการใช้สิทธิบังคับคดีตามคําพิพากษาอย่างเจ้าหนี้สามัญ คําร้องที่ผู้ร้องขอรับชําระหนี้จํานอง จึงมีผล
เป็นคําฟ้องขอให้บังคับจํานอง ซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ป .วิ.พ. ข้อ (1) ( ค)
ที่บัญญัติให้เรียกแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท มิใช่เสียแต่เพียงค่าคําร้อง 20 บาท อย่างเจ้าหนี้จํา นองตาม
คําพิพากษา






245
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คาพิพากษาฎีกาที่ 7115/2547
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จ
ลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่การดําเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน
ก็เป็นการดําเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคํา ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคํา
ต่างเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน เช่นนี้
คําว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง
บันทึกถ้อยคําด้วย เมื่อข้อความในบันทึกถ้อยคํามีข้อความอันเป็นเท็จ จําเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งให้
เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน
จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือเพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอํานาจรัฐ แม้กฎหมายกําหนดให้
ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้อง
เป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอัน เท็จนั้นเป็
มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2560
0 comments
Last Update : 30 ตุลาคม 2560 12:03:45 น.
Counter : 369 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


mikicool
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add mikicool's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.