When people think you're dying, they really, really listen to you, instead of just...waiting for their turn to speak, FIGHT CLUB

 
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 สิงหาคม 2558
 

เทคนิคการบริหารจัดการเวลา เพราะเวลาคือสิ่งสำคัญ : รีวิวหนังสือ

1.) "แค่ 30 นาทีก่อนนอน เปลี่ยนคนยอดแย่เป็นยอดเยี่ยม!"



เมื่อเวลาของเราทุกคนล้วนมีจำกัด ทักษะการบริหารจัดการเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หนังสือ "แค่ 30 นาทีก่อนนอน เปลี่ยนคนยอดแย่เป็นยอดเยี่ยม!" ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ของนักเขียนชาวญี่ปุ่น ทาคาชิมะ เท็ตสึจิ ผู้ที่ดำรงอยู่ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อเวลาอย่างยิ่งยวดอย่างประเทศญี่ปุ่น เขาพบว่าการอยู่ที่ทำงานนานๆ ไม่ได้หมายความว่าคนคนนั้นเป็นพนักงานที่ยอดเยี่ยม แต่กลับแสดงให้เห็นว่า พนักงานคนดังกล่าวทำงานและจัดสรรเวลาอย่างไร้ประสิทธิภาพต่างหาก กล่าวคือ ในปริมาณงานที่ทำได้เท่าๆ กัน ทำไมคนหนึ่งจึงใช้เวลาน้อยกว่าอีกคนหนึ่ง ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับ "ปริมาณ" และ "คุณภาพ" ของงานมากกว่ายึดมั่นใน "ระยะเวลา" ของการทำงาน

ส่วนตัวคิดว่า หัวใจของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้อยู่ที่วิธีการ 30 นาทีก่อนนอน แต่อยู่ที่กระบวนบริหารจัดการเวลาที่ผู้เขียนพยายามเน้นย้ำเรื่อง "ความเคยชินที่ดี" ด้วยการลดเวลาคิดลง และใช้เวลาส่วนใหญ่ลงมือทำทันที ผู้เขียนกล่าวว่า

* กุญแจแห่งความสำเร็จคือ "การทำให้เคยชิน"

คือทำทุกอย่างด้วยความเคยชิน ทำให้เป็นกิจวัตร เพื่อที่เราจะได้ใช้เวลาในกิจกรรมประจำวันต่างๆ น้อยลง รวมไปถึงช่วยให้เราลดข้ออ้างในการไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วย เช่น การออกกำลังกาย หากเราออกกำลังกายจนเคยชิน การออกกำลังกายจะกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของเราโดยที่เราไม่รู้สึกว่าจะต้องไม่ไปออกกำลังกายนั่นเอง

ในแง่นี้ก็คล้ายๆ กับการเลือกเสื้อผ้าในตอนเช้าของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เพื่อลดการเสียเวลาในการเลือกหรือพิจารณาเสื้อผ้า เสื้อผ้าของ
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กจึงมีลักษณะคล้ายกันไปหมด (ดูจากผู้กำกับหนังทำเงินบ้านเราก็ได้ เน้นเสื้อขาวกางเกงยีนส์) เขาเลือกที่จะทุ่มเทเวลาที่มีค่าของเขาในการตัดสินใจต่อสิ่งที่ก่อประโยชน์หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงจริงๆ มากกว่า

นอกจากจะทำกิจวัตรจำวันให้กลายเป็นความเคยชินที่ดีแล้ว ยังต้องปรับปรุงตารางเวลาการทำงานของร่างกายให้เกิดความเคยชินร่วมด้วย ผู้เขียนให้ความสำคัญกับ 30 นาทีก่อนนอน และ 30 นาทีเมื่อตื่นตอน (เขาเน้นย้ำให้ตื่นนอน 6 โมงเช้าทุกวัน) เพราะทั้งสองช่วงเวลามีความสำคัญซึ่งจะกำหนดเวลาและกิจกรรมของเราตลอด 1 วัน

30 นาทีก่อนนอน ใช้ไปสำหรับการคิดถึงช่วงเวลาดีๆ ของวัน อ่านข่าวที่มีประโยชร์ เล่นเน็ตเพื่อศึกษาหาความรู้เรื่องราวดีๆ เเต่ต้องเป็นข้อมูลที่ไม่เครียด เพื่อให้ช่วงเวลาที่เราหลับสมองได้มีการจัดเรียงข้อมูลและประมวลผลในสิ่งทีเราใส่ไปนั่นเอง

30 นาทีเมื่อตื่นนอน ใช้สำหรับการลงทุนเพื่อตัวเอง ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ เขียนบทความ ทำงานเอกสาร วางเเผนตารางการทำงานของวัน หรืองานสำคัญๆ ต่างที่ต้องใช้สมาธิสูง

ผู้เขียนเน้นว่า จะต้องทำทุกอย่างจนกลายเป็นความเคยชินที่ดี แค่นี้เราก็ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังมีเวลาเหลือเฟือสำหรับการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเพิ่มทักษะของตัวเองอีกด้วย

2) EAT THAT FROG: กินกบตัวนั้นซะ



หนังสือเล่มนี้เขียนโดยโค้ชทางการเงินที่สำคัญคนหนึ่งที่ชื่อ Brian Tracy หัวใจของหนังสืออยู่ที่ การไม่พลัดวันประกันพรุ่ง การจัด priority หรือ ลำดับความสำคัญของงาน โดยใช้กฏ 80/20 ที่ให้ความสำคัญกับงาน 20% ที่จะเปลี่ยนแปลง 80% ที่เหลือ 

หลายครั้งงานที่ยากและสำคัญกลับกลายเป็นงานสุดท้ายที่เราอยากจะทำ บางครั้งลงมือทำไปแล้วก็เบื่อและอยากจะหยุดลงดื้อๆ เพื่อหันไปทำงานที่ง่ายกว่า อย่างไรก็ตามสุดท้ายก็ต้องกลับมาทำงานที่ยากนี้ให้เสร็จอยู่ดี ซ้ำยังต้องใช้เวลาในการทบทวนว่าทำไปถึงไหนอย่างไรซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเสียเวลาและทำงานซ้ำซ้อนโดยใช้เหตุ
กุญแจของการบริหารจัดการเวลาที่หนังสือเล่มนี้แนะนำอยู่ที่

* จัดลำดับความสำคัญของงาน แบ่งเป็น

1 งานสำคัญที่ต้องทำจริงๆ
2 งานที่ควรทำ
3 งานที่ทำได้ก็น่าจะดี
4 งานที่มอบหมายให้คนอื่นทำแทนได้
5 งานที่กำจัดทิ้งได้เลยโดยที่ไม่สร้างความแตกต่าง

ดังนั้นเพื่อให้ประสบความสำเร็จและทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานให้ได้ก่อน ซึ่งงานที่เราควรให้ความสำคัญก็เรียงตามลำดับ 1-5 ดังที่กล่าวข้างต้น

* งานสำคัญที่ต้องทำจริงๆ ให้ทำก่อนเป็นอันดับแรกไม่ว่ายากแค่ไหน ด้วยการลงมือทำทันที แน่วแน่กับงานและทำจนกว่างานจะเสร็จ!!


วันนี้ขอยกตัวอย่างหนังสือเรื่องการจัดการเวลาเพียง 2 เล่มก่อนนะคะ เมื่อก่อนตัวเราเองก็ไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญกับเวลาเลยแม้แต่น้อย เเละไม่ค่อยเข้าใจแน่ชัดว่าเวลามีค่าอย่างไร
เพราะดูจะเป็นคำพูดที่เป็นนามธรรมเกินไป แต่พอโตขึ้นถึงเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่าและมีสูตรที่คำนวนให้ได้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ จนยากที่จะเชื่อ เพราะถ้าเราคำนวณ "เวลา" ในแง่การเงินแล้ว เราจะพบว่า "เวลา" เป็นปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญทางการเงินในระดับสากล ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอยู่กับชีวิตประจำวันของเราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะในแง่ของ "ดอกเบี้ย" ที่ผันตรงตามเวลา

ขอยกตัวอย่าง สูตรการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นทบดอก


FV = PV (1 + r)n


FV = Future Value
มูลค่าในอนาคต
PV = Present Value มูลค่าในปัจจุบัน
n = Number of Period
จำนวนหน่วยเวลา
r = Compound Rate อัตราดอกเบี้ยทบต้น

ยิ่งจำนวนปีมาก เงินก็จะยิ่งมากในอัตราทบเท่าทวีคูณ ซึ่งเดี๋ยวคราวหน้าจะมาต่อในประเด็นที่เรื่องของคุณค่าของเวลาเมื่อตีค่าออกมาให้แอยู่ในรูปของเงิน 

จริงๆ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ แค่อยากจะเกริ่นให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญของเวลา เพราะเวลาคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของเรา รองจากตัวเรา เราเองเสียดายเวลาในอดีตที่ไม่เร่งหาความรู้ทั้งในแง่ทักษะวิชาชีพ รวมถึงความรู้ด้านการเงิน

ต่อไปนี้อย่างน้อยๆ ก็อยากจะสร้างวินัยให้แก่ตัวเองด้วยการเขียบล็อควันละบทความก็ยังดี 




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2558
1 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2558 23:14:37 น.
Counter : 1386 Pageviews.

 
 
 
 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
 
 

โดย: MVEP IP: 1.46.47.145 วันที่: 27 สิงหาคม 2558 เวลา:13:33:22 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

midnight OWL
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อยากเกิดเป็น ปิ๊ปปี้ เด็กน้อยผู้มีจินตนาการเสรี
[Add midnight OWL's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com