Group Blog
All Blog
|
6 เทคนิคทำให้ลูกอยากไปโรงเรียนทุกวัน 6 เทคนิคทำให้ลูกอยากไปโรงเรียนทุกวัน ช่วงแรกๆที่คิมมี่เปลี่ยนสถานที่เรียนจากเด็กเนิสเซอรี่ ไปเป็นเด็กอนุบาล มีการ เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งเพื่อนใหม่ สถานที่ใหม่ ครูคนใหม่ สภาพแวดล้อม ใหม่ แล้วเธอไม่ได้ไปเรียนเตรียมซัมเมอร์ก่อนเข้าเรียนเลย ทำให้เมื่อเข้าไปเรียน ตอนเปิดเทอม เจอเพื่อนๆเขารู้จักสนิทสนมกันแล้ว เธอร้องไห้ทุกวันก่อนไป โรงเรียน อาการคือ เช้า ปลุกให้ตื่นก็งอแง บอกไม่มีแรง หนูเหนื่อย (นอนทั้งคืน เนี่ยนะ) หนูไม่อยากไปโรงเรียน จนแม่กับพ่อต้องหาสารพัดวิธีเทคนิคกล่อม ลูกให้ไปโรงเรียน ซึ่งผลคือ ลูกชอบไปโรงเรียนมากขึ้น และมากขึ้น วัดจากเมื่อเช้านี้เธอดื่มนมมาก ไปหน่อย แล้วทานข้าวตาม ผลคืออ้วก ตอนแรกก็กะว่าจะให้พักอยู่กับบ้าน แต่ 8 โมงกว่า เห็นเธอแข็งแรง วิ่งเล่นได้ปกติ เลยถามลูกว่าจะไปโรงเรียนไหม ตอนแรกอิดออด แต่อีก 5 นาทีหลังจากเก๋ใช้เทคนิคกล่อมเกลา คิมมี่ตะโกน บอกป่าป๊า เอาเสื้อผ้านักเรียนมาให้หน่อย หนูจะไปโรงเรียน ทำอย่างไรให้ลูกอยากไปโรงเรียนทุกวัน เก๋มีเทคนิคมาแชร์ค่ะ 1. ให้คนที่ลูกรู้จักคุ้นเคยไปรับ-ส่งลูกที่โรงเรียน ช่วงอาทิตย์แรกให้พ่อแม่หรือคนที่ลูกคุ้นเคย (ตา ยาย พี่เลี้ยง) ไปรับไป- ส่ง ทุกวันค่ะ ซึ่งครอบครัวของเก๋ เก๋จะเป็นคนไปรับส่งลูกด้วยตัวเองทุกวัน เพราะ ตอนนี้ออกมาทำงานอาชีพอิสระ (ที่ปรึกษา,วิทยากร)จึงบริหารเวลาได้ อาจจะมีบางวันที่ติดงานจริงๆก็จะให้ป่าป๊าคิมมี่มารับแทน 2. หาสิ่งที่ลูกชอบในโรงเรียนมาเป็นแรงดึงดูด เมื่อเข้าไปเรียนได้สักพักแล้ว เราจะสังเกตได้ว่า ลูกจะกระตือลือล้นหรือชอบ อะไรในโรงเรียน ยกตัวอย่างคิมมี่ ลูกจะชอบวันพุธเพราะมีวิชาว่ายน้ำ และหลัง เลิกเรียนจะชอบไปเล่นที่สนามเด็กเล่น หรือที่คิมมี่มักจะเรียกว่า หนูอยากไป เล่นที่สนามสนุกสนาน เก๋บอกคิมมี่ ถ้าวันนี้หนูเป็นเด็กดี หนูไม่ร้องไห้ตอนตื่นนอน และยิ้มให้คุณครู ตอนเข้าห้องเรียน แม่จะให้ไปเล่นที่สนามสนุกสนาน 1 ชั่วโมง การมีสิ่งที่ ชอบในโรงเรียนจะเป็นแรงขับได้อย่างดีให้กับลูกชอบและรักที่จะไปโรงเรียน ทุกวัน 3. ไม่อ้างอิงคุณครูหรือโรงเรียนในการทำโทษเด็ก เพราะเด็กจะรู้สึกไม่ดี เช่น กลับมาบ้านแล้ว เด็กมัวแต่ห่วงเล่น ดูทีวี ไม่ทำ การบ้าน ผู้ปกครองบางท่านอาจจะเผลอขู่เด็กไปว่า ไม่ทำการบ้าน เดี๋ยวครู ตีเถอะ เด็กจะรู้สึกไม่ชอบ การบ้าน ไม่ชอบครู แล้วพานไม่อยากไปโรงเรียน ด้วย ดังนั้นควรกำหนดเวลาการดูทีวีหรือพักผ่อนเวลาที่อยู่ที่บ้านหลังจากที่ ทานข้าว และทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากให้เล่นหรือดูทีวีก่อน แล้ว ค่อยเรียกมาทำการบ้าน ยากมาก แหม...ก็เข้าใจนะว่ามันกำลังสนุก แต่เด็กก็คือเด็ก ของเล่นที่ดีที่สุดคือพ่อแม่ ถ้าเราทำกิจกรรมทำการบ้านให้สนุก โดยใช้เราไปเล่นกับลูกด้วย เขาก็ไม่สนใจทีวีหรือของเล่นอย่างอื่นค่ะ 4.ให้กำลังใจลูกในการทำความดีหรือการบ้านจากโรงเรียน คิมมี่ลูกเก๋จะขยันอ่านหนังสือ A B C กับ ก ข ค..มาก อ่านแล้วอ่านอีก เพราะ พอลูกอ่านเสร็จ และอ่านถูก เช่น A-ant-มด (ลูกอ่านว่า เอ แอนด์ มด) เก๋ก็จะปรบมือให้กำลังใจเขาว่าอ่านถูก แต่คำไหนที่อ่านผิด ก็จะช่วยแก้ไขให้ถูกต้อง และไม่ปรบมือ ลูกจะชอบมาก เวลาเก๋ปรบมือให้กำลังใจ เมื่อวาน ซัดไป 3 รอบ แม่งี้...ตบจนมือเกือบเดี้ยง.. 5. หาขนมให้ลูกติดไม้ติดมือไปแบ่งเพื่อนบ้าง ที่โรงเรียนจะมีช่วงพักเบรคให้ทานขนม ซึ่งที่โรงเรียนจะเตรียมไว้ให้ แต่คุณครู บอกว่า ถ้าผู้ปกครองบางท่านอยากให้ลูกทานอะไรก็จะใส่กระเป๋าไปได้ ช่วงพัก คุณครูจะจัดให้น้องทาน เก๋จะเตรียมขนมที่เป็นชิ้นเล็กๆ อาจจะเป็นผลไม้บ้าง พวกกล้วยไข่เล็กๆ เชอรี่ สตอเบอรี่ ช้อคโกแล็ต เยลลี่ แบบที่เป็นซองหรือชิ้นเล็กๆสัก 5-6 ชิ้น แล้วบอก คิมมี่ว่า ถ้าหนูอิ่มให้แบ่งเพื่อนบ้างนะคะ ผลลัพธ์ที่คุณครูบอกคือ คิมมี่มีขนมไปแบ่งเพื่อน บางวันแบ่งจนลืมให้ตัวเอง แต่ข้อดีคือ วันไหนคิมมี่ไม่มีขนมไป เพื่อนๆก็จะเรียกคิมมี่ไปทานขนมที่เขา เอามาด้วย หรือบางที่เพื่อนมีขนมน่าทานมา แล้วคิมมี่เห็นอยากทานด้วย เพื่อนๆก็จะแบ่งให้ด้วย นอกจากจะเป็นการสอนลูกให้ลูกจักแบ่งปันแล้ว ยังส่งผลให้ลูกรู้สึกว่า ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆเพราะตัวเองมีน้ำใจ และเพื่อนก็มีน้ำใจให้คิมมี่ ด้วย คือมีทั้งการ Give และ Take ค่ะ เอ...แบบนี้เขาไม่เรียกว่าประชานิยมหรอกเน๊อะ หุหุ... 6. ใช้เทคนิค NLP Neuro-linguistic programming (NLP) NLP ย่อมาจาก Neuro-Linguistic Programming เป็นการใช้ 3 ส่วน คือ ประสาทวิทยา (Neurology), ภาษา (Language) และการโปรแกรม (Programming) ที่ผลต่อการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งเก๋ได้ไปเรียน NLP course ของโค้ชวาส ( Coach Vas) Life university อันนี้จะไม่พูดยาวนะคะ ดังนั้นการใช้จึงมีหลักการที่ถูกปฏิบัติจากตัวเองมาก่อน สิ่งที่ทำคือ ก่อนนอน เก๋จะบอกคิมมี่ว่า คิมมี่คะ คืนนี้หนูจะนอนอย่างมีความสุข ฝันดี อากาศสบาย คิมมี่นอนยาวไปจนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตอนเช้าอย่างสดชื่น หนูแข็งแรง มีแรงเยอะๆ ตื่นแล้วยิ้มให้ป่าป๊า อาบน้ำเสร็จ ทานเช้า ไปโรงเรียน หนูยิ้มให้คุณครูก่อนเดินเข้าไปในห้องเรียน เรียนทั้งวัน ด้วยความสนุกสนาน ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พอตกเย็นแม่ไปรับหนูได้เล่นที่สนามสนุกสนาน (ตามที่คิมมี่เรียกสนามเด็กเล่น) แล้วก็กลับบ้านอาบน้ำ สะอาด ทานข้าว ทำการบ้านกับแม่อย่างมีความสุข แล้ว เข้านอน อย่างมีความสุข พ่อแม่รักหนูค่ะ เมื่อลูกได้ฟังคำพูดๆดีๆ ประสบการณ์ดีๆที่ผ่านมา สิ่งที่เขาชอบ เขามีความสุข เขาก็จะมีความสุขค่ะ ให้เลือกใช้คำที่เป็นบวก ไม่ใช้คำว่า ห้าม ไม่ หรือคำที่ เป็นลบ โดยเลี่ยงคำแบบนี้ค่ะ ตัวอย่าง ไม่อ้วน ให้ใช้คำว่า สมส่วน ไม่สนุก ใช้คำว่า ได้ประสบการณ์ใหม่ เป็นการโปรแกรมภาพของวันพรุ่งนี้ที่มีความสุข ให้เขาจินตนาการถึงวันพรุ่งนี้อย่างมีความสุขค่ะ วิธีนี้เก๋มีแนะนำเพื่อนที่มีปัญหาลูกขวบกว่า ตื่นมาเล่นตอนตี 3 จนถึงเช้าทุกวัน แล้วใช้สารพัดวิธีแก้ไขแล้ว ไม่ว่าจะงดนอนกลางวัน เล่นเยอะๆ ฯลฯ แต่แก้ไม่ ได้ เก๋แนะเพื่อนว่าให้พูดกับลูกตอนลูกเคลิ้มๆ ประมาณ ว่า หนูนอนหลับยาวตลอด คืน ตื่นมาดื่มนม 1 ครั้ง หนูมีความสุข หนูแข็งแรง แล้วหนูตื่นนอนอีกทีตอนเช้า ด้วยความสดชื่นฯ และเล่นกับแม่อย่างมีความสุขในตอนกลางวัน ฯ เลือกใช้คำ บวกๆ ผลลัพธ์หลัง 1 อาทิตย์คือ น้องหลับยาว สนิทถึงเช้า และไม่ดิ้นด้วย อันนี้ลองเอาไปปรับใช้ดูนะคะ ทั้ง 6 เทคนิค เก๋ลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว ได้ผลดี ลูกมีความสุข ครอบครัวมี ความสุข เลยเอามาแชร์ให้อ่านกันค่ะ เผื่อเป็นไอเดียให้ผู้ปกครองท่านอื่นๆ ที่มีอยากให้ตัวเล็กของบ้านมีความสุขในการไปโรงเรียนค่ะ |
เรียมเจ้าขา
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 144 คน [?] " เรียมเจ้าขา หรือ เก๋ค่ะ " เขียน blog จริงจัง ปลายปี 2555 Blog นี้ก็จะรวมสิ่งที่ชอบในชีวิต และเรื่องที่อยากแบ่งปันทั้งเรื่อง ลูกสาวน้องกล้วยหอม,เรื่องเรียน ต่อเยอรมนี,Beauty, Skin care,แฟชั่นสิ่งทอ,ท่องเที่ยว และก็ตะลอนชิม ค่ะ ก็ขีดๆเขียนๆข้อมูลต่างๆเอาไว้ และแชร์เผื่อจะเป็นประโยชน์ กับท่านอื่นๆด้วยนะคะ contact me : http://www.facebook.com/kimmyandmais http://instagram.com/sasimamai ss.suksawang@จีเมล์ดอทคอม อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายรูป * Canon EOS 600D, * Canon EF-S 15-85mm f3.5-5.6 IS USM - Sigma 70mm F/2.8 DG Macro - Canon EF-S 18-55mm 1:3.5-5.6 IS - Canon EF-S 55-250 mm./4-5.6 IS * Ipad 3 * Olympus compact camera.
|