มิถุนายน 2560
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
21 มิถุนายน 2560

Emergency physicians ควรเรียกว่าอะไรกันแน่



ก่อนอื่น ต้องเรียนให้ทราบว่า บทความนี้ เรียบเรียงจากความเห็นส่วนตัว ด้วยประสบการณ์ด้านภาษาที่มีอยู้น้อยนิด ประกอบกับมีอาจารย์ผู้รู้ได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอาจไม่ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์ หากจะเอาไปใช้อ้างอิงกรุณาใช้วิจารณญาณด้วยครับ

ในวงการแพทย์ประเทศไทย ชื่อของแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆนั้น เป็นชื่อที่หยิบยืมมาจากรากศัพท์ภาษาต่างๆแทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง เข่น แพทย์ที่มีหน้าที่ผ่าตัด เราเรียกว่า ศัลยแพทย์ โดยคำว่า ศัลย- ตามพจนานุกรรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า  [สันละยะ-, สันยะ-] เป็นคำนาม แปลว่า ลูกศรหรือของมีปลายแหลมอื่น ๆ ศัลยแพทย์ จึงมีความหมายว่า แพทย์รักษาโดยใช้มีด หรือแพทย์ผ่าตัดนั่นเอง

แพทย์สาขาอื่นๆ จึงเริ่มมีชื่อเรียกที่ดูมีความหรูหรา แบบนี้กันทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็น จักษุแพทย์ รังสีแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ อายุรแพทย์ เป็นต้น

สำหรับสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เดิมที เราใช้คำเรียกว่า "แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน" ดังจะเห็นจากบทความเก่า รวมถึงบทความทั่วไป จากที่ได้คุยกับผู้รู้ อาจารย์ได้ให้ความเห็นว่า คำว่า "เวชศาสตร์ฉุกเฉิน" มาจากคำว่า เวช- เป็นคำบาสี-สันสกฤต อ่านว่า [เวด, เวดชะ-] เป็นคำนาม แปลว่า หมอรักษาโรค (บาลี เวชฺช; สันสกฤต ไวทฺย) ศาสตร์ อ่านว่า [สาดตฺระ-, สาดสะตฺระ-, สาด] เป็นคำสันสกฤต แปลว่า ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เมื่อมารวมกัน จึงแปลว่า วิชาแพทย์ ส่วนคำว่า ฉุกเฉิน เป็นคำไทย แปลว่า ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ขยาย เวชศาสตร์อีกที "เวชศาสตร์ฉุกเฉิน" จึงแปลว่า วิชาแพทย์ว่าด้วยอาการที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน 

อ่านๆดูก็ดูเข้าท่า แต่เมื่อเติมแพทย์ไปข้างหน้าเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ความหมายจะกลายเป็น แพทย์ที่มีความรู้ในด้านวิชาแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งอาจไม่ได้ให้การดูแลผู้ป่วย (การทำเวชกรรม) กับผู้ป่วยเลยก็ได้ แค่ว่า มีความรู้เฉยๆ ดังนั้น ความจริงแล้ว แพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน จึงไม่ควรใช้คำว่า "แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน" เลย เพราะเป็นคำที่ผิดความหมาย อันที่จริงก็มีสาขาที่ใช้การตั้งชื่อประเภทนี้อยู่ไม่น้อย เช่น เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นต้น

จึงเป็นที่มา ของการอภิปรายกันขำๆในหมู่แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินว่า เราควรเรียกตัวเองว่าอย่างไรดี

ก่อนอื่น ตามหลักการสร้างคำในภาษาไทย คำสมาส/สนธิ นั้น ต้องเป็นคำที่มาจาก คำสองคำ ใน "ภาษาบาลี หรือสันสกฤต" เท่านั้น ดังนั้น เนื่องจากคำว่า ฉุกเฉิน เป็นคำไทย จึงไม่สามารถตั้งชื่อ แพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินว่า "ฉุกเฉินแพทย์" ได้ เพราะจะผิดหลักภาษา (แพทย์ อ่านว่า [แพดทะยะ-, แพด] แปลว่า หมอรักษาโรค. เป็นคำจากภาษาสันสกฤต (ไวทฺย))

มีอาจารย์ท่านหนึ่งเสนอว่า แพทย์ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น ต้องมีความชำนาญในการช่วยฟื้นคืนชีพ จึงเสนอคำว่า "สัญชีวินเวชศาสตร์" ซึ่งมาจากคำว่า สัญ- เป็นภาษาบาลีแปลว่า ความจำ หรือ รับรู้ได้ (ตรงข้ามกับ อสัญ แปลว่า ไม่รู้สึกตัว และ วิสัญ แปลว่า หลับ) และคำว่า ชีวิน เป็นคำสันสกฤต แปลว่า ผู้เป็นอยู่, ผู้มีชีวิต รวมกันจะมีความหมายว่า ความรู้เวชกรรมในการทำให้ชีวิตฟื้นคืน อ้างจากเทวตำนานฮินดู "พระศุกร์เทพฤษี" หรือ วสุบดี หรือ อุศนัส ผู้ทรง "มนตร์มฤตสัญชีวินี" อันเป็นวิชาสำคัญที่สุดที่แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องเรียน ต้องรู้ และต้องทำได้

มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่มองว่า แม้ว่าแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน จะมีความรู้ในวิชา "สัญชีวินเวชศาสตร์" มากทึ่สุด แต่ภาวะที่อันตรายเร่งด่วน ไม่จำเป็นต้องเป็นภาวะที่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพเสมอไป ในทางกลับกัน แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินต้องมีความสามารถในการตระหนักรู้ คัดกรอง ให้การดูแลเบื้องต้น ในภาวะอาการที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วนและต้องแก้ไขโดยฉับพลัน ศาตร์แห่งการฟื้นคืนชีพ จึงอาจยังไม่ครอบคลุม

ในขณะที่ คำว่า ฉุกเฉิน ที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีคำบาลี สันสกฤต จึงมีผู้นึกสนุกลองค้นหาข้อมูล คำว่า ฉุกเฉิน หรือ เร่งด่วน ในภาษาบาลีและสันสกฤตดู และพบคำว่า "อัจเจกะ" อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถานนี่เอง "อัจเจกะ" เป็นคำบาลี แปลว่า รีบร้อน หรือ จำเป็น  คำนี้พบเป็นรากศัพท์ ของคำว่า ผ้าอัจเจกจีวร [อัด-เจ-กะ-จี-วอน] หมายถึง ผ้าที่ทายกถวายรีบด่วน ทายกตั้งใจจะถวายผ้าเมื่อออกพรรษาแล้ว ซึ่งเข้าเขตกฐิน แต่มีเรื่องรีบด่วน เช่น ป่วยหนักเกรงจะสิ้นชีวิตก่อน หรือจะต้องไปสงครามมีพระพุทธานุญาตให้ถวายได้ภายในขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันออกพรรษา 

อาจารย์ผู้รู้ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า อัจเจกะ อาจมีความหมายว่า เร่งด่วน แต่อาจไม่ถึงแก่ชีวิต จึงควรเพิ่มคำนำหน้าเข้าไปอีกคำ คือ "อัม" ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ชีวิต เมื่อเอาไปสนธิกับคำว่า อัจเจกะ ก็จะกลายเป็น "อมัจเจกะ" หรือ ฉุกเฉินเร่งด่วน อันตรายถึงแก่ชีวิต 

ฉะนั้นแล้ว แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน จึงน่าจะใช้คำว่า "อมัจเจกแพทย์" อ่านว่า [อัม-มัด-เจ-กะ-แพด] ซึ่งจะถูกต้องทั้งหลักภาษาและความหมาย

ดูตลกดีใช่ไหมครับ ผมก็ว่างั้นแหละ แต่ถ้าสังเกตดีๆแล้ว คำว่า อัจเจกะ เมื่อแผลงเป็นภาษาอังกฤษ ก็คือ คำว่า Urgency และ อมัจเจกะ เมื่อแผลงเป็นภาษาอังกฤษ ก็คือ คำว่า Emergency นั่นเองครับ เนื่องจาก แท้จริงแล้ว ภาษาบาลีสันสกฤต และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษา อินโด-ยูโรเปี้ยน จึงมีการถ่ายทอดรากศัพท์ระหว่างกัน มีการเพี้ยนเสียง แผลงเสียง ในคำศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันอยู่โดยตลอด

แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เราเรียกพวกเขาเหล่านั้น ว่า "Emergency physicians" ครับ ถ้าในประเทศไทย จะใช้คำว่า "อมัจเจกแพทย์" ก็ดูจะหรูหรา และเข้ากันดีไม่ใช่น้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำคำนี้ดูจะตลกและแปลกๆ กว่าคำที่ใช้กันสามัญ อย่าง แพทย์ฉุกเฉินอยู้ไม่น้อยครับ จึงยังไม่ค่อยมีการยอมรับเสียเท่าไรนัก อาจารย์ผู้รู้จึงเสนอว่า ถ้าจะเรียกแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในเมืองไทย ควรใช้คำว่า "แพทย์เฉพาะทางฉุกเฉิน" หรือ "หมอฉุกเฉิน" ไปเลย จะถูกหลักภาษามากกว่า การใช้คำว่า "แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน" และในปัจจุบันเอง ก็มีประกาศของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ให้ใช้คำว่า "วุฒิแพทย์ฉุกเฉิน" เป็นคำเรียกสามัญอยู่ด้วย

โดยสรุป แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เราควรเรียกว่า "แพทย์เฉพาะทางฉุกเฉิน" หรือ "หมอฉุกเฉิน" หรือ "วุฒิแพทย์ฉุกเฉิน" ในขณะที่อนาคต คำว่า "อมัจเจกแพทย์" อาจถูกใช้เป็น ชื่อจริง ตามภาษาบาลีสันสกฤต อันหรูหรา ก็เป็นได้




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2560
3 comments
Last Update : 21 มิถุนายน 2560 16:48:53 น.
Counter : 2213 Pageviews.

 

สวัสดีนะคะ แวะมาเยี่ยมนะจ้าาา

sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 3951724 28 มิถุนายน 2560 16:18:02 น.  

 

สวัสดีนะจ้ะ แวะมาเยี่ยมนะจ้าาา sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 4057910 23 สิงหาคม 2560 17:05:04 น.  

 

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ คิด ๆ อยู่เช่นกันว่าทำไมศาสตร์ทางการแพทย์ต้องใช้คำบาลีสันสกฤต

 

โดย: ผู้ใช้สแตนด์ IP: 61.91.32.34 5 กุมภาพันธ์ 2563 10:42:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Botsumu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add Botsumu's blog to your web]