We write our own destiny. We become what we do.
Group Blog
 
All Blogs
 

ปุ๋ยชีวภาพ

ข้อมูลความรู้ และสาระ

เครื่องทำปุ๋ย
ใน สถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยประสบกับสภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจการพัฒนาทาง ภาคเกษตรจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ทดแทนจากภาค อุตสาหกรรม การพัฒนาการเกษตรมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพัฒนาคือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของพืช นอกจากจะมีการใช้ปุ๋ยเคมีกับพืชแล้วการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับปุ๋ยชนิดอื่นเช่น ปุ๋ยชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะเป็นทิศทางหนึ่งที่ทำให้การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นไปอย่างยั่งยืน
ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง การที่นำเอาจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ กายภาพ ทางเคมีชีวะ และย่อยสลายอินทรียวัตถุตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืช จากอินทรีย์ หรืออนินทรียวัตถุ (ยุทธศาสตร์ปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร. 2548-2553)
ปุ๋ยชีวภาพนอกจากจะมีส่วนช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและดินแล้วปุ๋ยชีวภาพยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรลดปริ
มาณการใช้ป๋ยเคมีลงได้และยังช่วยลดภาวะ ปรับสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล เพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช
ปุ๋ยเคมี หมาย ถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิบซั่ม
ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อนหรือวิธีการอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ

ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก

เครื่องทำปุ๋ย เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 17 เมษายน 2552 21:45:06 น.
Counter : 1389 Pageviews.  

ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ (EM)

ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ (EM)

น้ำหมักชีวภาพ (EM) สำหรับทำ ปุ๋ยชีวภาพ เมื่อ นำไปใช้ในด้านกสิกรรม จะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่างให้เป็นกลางในดินและน้ำ ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสมช่วยย่อยสะลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของ พืช พืชจะดูดซึมไปใช้ได้เลย และช่วยให้ผลผลิตคงทน มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางการประมง จะช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กุ้ง กบได้ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ถ้านำไปใช้ในด้านปศุสัตว์จะทำให้มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น สุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงและปลอดโรค คอกสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้อัตราการตายต่ำลง และผลผลิตสูงขึ้น

เมื่อนำน้ำหมักชีวิภาพไปประยุกต์ใช้ในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม จะช่วยกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอนในส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็ม ทำความสะอาดพื้นห้องการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ปรับสภาพอากาศภายในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ให้สดชื่นกำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ ได้นอกจากนี้ยังให้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อลดกลิ่นและปริมาณของกองขยะให้เล็กลงรวม ทั้งจำนวนแมลงวันด้วย

ส่วน ทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพพลานามัย การเจ็บไข้ได้ป่วยและการตายก่อนวัยอันสมควร ก่อนอายุขัย น้ำหมักชีวภาพจะช่วยผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้อาหารนั้นเป็นยารักษาโรคไปพร้อม ๆ กันซึ่งจะลดการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
ป้องกันการตายก่อนอายุขัยได้

เกี่ยวกับปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรนั้นน้ำหมักชีวภาพจะเข้ามาแทน ที่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคต่าง ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 4 -16 เท่า และผลผลิตจะสูงขึ้น 3 - 5 เท่า ภายใน 3 -5 ปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก และรายจ่ายน้อยลงมากในที่สุดปัญหาความยากจนและหนี้สินก็จะหมดไปภายในเวลาไม่ เกิน 6 ปี ทางด้านการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นจะหมด ไปเองเพราะไม่มีกลิ่นและมลภาวะไปรบกวนซึ่งกันและกันอีกทั้งฐานะก็ใกล้เคียง กันคืออยู่ดีกินดี มั่งมี ศรีสุข เนื่องจากหมดหนี้สิน

เครื่องทำปุ๋ย เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 17 เมษายน 2552 21:45:21 น.
Counter : 1064 Pageviews.  

น้ำสกัดชีวภาพ สำหรับทำปุ๋ยชีวภาพ

น้ำสกัดชีวภาพ สำหรับทำปุ๋ยชีวภาพ
Posted at 01:30 on 2009-Jan-20

- ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ สำหรับทำปุ๋ยชีวภาพ
น้ำสกัดชีวภาพหมักได้จากเศษพืชและสัตว์ ดังนั้น จึงสามารถแบ่งประเภทน้ำสกัดชีวภาพตามวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์

1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
1.1 ผลิตจากผักและเศษพืช
การทำน้ำสกัดชีวภาพโดยการหมักเศษพืชสดในภาชนะที่มีฝาปิดปากกว้าง นำเศษผักมาผสมกับน้ำตาล ถ้าพืชผักมีขนาดใหญ่ให้สับ
เป็นชิ้นเล็กๆ จัดเรียงพืชผักเป็นชั้น ๆ โรยน้ำตาลทับสลับกันกับพืชผักอัตราส่วนของน้ำตาลต่อเศษผักเท่ากับ 1 : 3 หมักในสภาพไม่มีอากาศโดยการอัดผัก
ใส่ภาชนะให้แน่น เมื่อบรรจุผักลงภาชนะเรียบร้อยแล้ว ปิดฝาภาชนะนำไปตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ปล่อยให้หมักต่อไปประมาณ 3 - 7 วัน จะเกิดของเหลวข้นสี
น้ำตาล มีกลิ่นหอมของสิ่งหมักเกิดขึ้น ของเหลวนี้เป็นน้ำสกัดจากเซลล์พืชผักประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอนไซม์ และอื่นๆ
1.2 ผลิตจากขยะเปียก
ได้มีการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ จำนวน 1 กิโลกรัม มาใส่ลง
ในถังหมัก แล้วเอาปุ๋ยจุลินทรี์โรยลงไป 1 กำมือ หรือประมาณเศษ 1 ส่วน 20 ของปริมาตรของขยะ แล้วปิดฝาให้เรียบร้อย ภายในเวลา 10 - 14 วัน
จะเกิดการย่อยสลายของขยะเปียกบางส่วนกลายเป็นน้ำ น้ำที่ละลายจากขยะเปียก สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ย โดยนำไปเจียจาง โดยการผสมด้วยอัตราส่วน
น้ำปุ๋ย 1 ส่วนต่อน้ำธรรมดา 100 - 1,000 ส่วน นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้ประดิษฐ์ถังขยะแบบพิเศษ โดยนำถังพลาสติกมาเจาะรูแล้วใส่ก๊อก เปิดปิด
น้ำที่ด้านข้าง ถังช่วงล่างจะสวมตาข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารไปอุดตัน ส่วนปัญหาเรื่องกลิ่นกรณีที่ขยะมีเศษเนื้อสัตว์ มีเศษอาหารอยู่มากให้ใช้
เปลือกสับปะรด มังคุด กล้วย ใส่ลงไปให้มากๆ น้ำปุ๋ยจะมีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นหมักเหล้าไวน์ วิธีการดังกล่าวจุลินทรีย์ จะสามารถย่อยสลายขยะเปียก
ได้ประมาณ 30 - 40 ส่วนที่เหลือประมาณ 60 - 70 % จะกลายเป็นกากซึ่งก็คือปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ในทางเกษตรได้

2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ปุ๋ยปลาเป็นน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จาการย่อยสลายเศษอวัยวะปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลา และเลือด ผ่านกระบวนการหมัก
โดยใช้เอนไซม์ ซึ่งเกิดขึ้นเองธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้วจะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
โพแตสเซียม ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส

นอกจากนี้ ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา จากข้อมูลผลของกรดอะมิโนที่มี
ต่อพืช แต่จากคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยปลา พบว่าปุ๋ยปลาจะไปช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เช่น ดอกไม้ให้มีสีสดขึ้นและผลไม้มีคุณภาพดีขึ้น
และช่วยเร่งการแตกยอด และออกดอกใหม่ได้อีกด้วย


2.1 ผลิตจากปลา
อัตราส่วน / 1 ถัง 200 ลิตร ปลาสด 40 กก. กากน้ำตาล 20 กก. สารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 200 กก. ( 1 ซอง)
วิธีการเตรียมสารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 1 ซอง ละลายน้ำอุ่น 20 ลิตร คนให้เข้ากัน 15 - 30 นาที (อย่าให้น้ำนิ่ง) นำปลาสดและกากน้ำ
ตาลที่เตรียมไว้ใส่ถัง 200 ลิตร และนำสารเร่งทำปุ๋ยหมักที่เตรียมเสร็จแล้วใส่ในถังรวมกับปลาสด และกากน้ำตาล ใส่น้ำพอท่วมตัวปลา (1/2) แล้วคน
ให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ที่อุณภูมิ 30 - 35 องศาเซลเซียส ไม่ปิดฝา คนวันละ 4 - 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาในการหมักประมาณ 20 - 30 วัน ปลาจะย่อยสลาย
หมด เติมน้ำให้เต็มถังและคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้จะได้ปุ๋ยชีวภาพ 200 ลิตร อัตรากาใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นทางใบ 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร และราด
โคน 1 ลิตร / น้ำ 200 ลิตร

2.2 ผลิตจากหอยเชอรี่
วิธีที่ 1 การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้หอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาล
และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากัน
หากมีการแบ่งชั้นให้สังเกตุดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนก่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า
จะไม่เกิดแก๊สให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้ง อาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบน
ผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไป ถือว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็น
น้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 การทำจากไข่หอยเชอรี่
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือก แล้วนำไปผสมกับกาก
น้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่น เดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืช
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่เชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อนๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่
เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้ว เช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและ
น้ำหนักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติคือ 3:3:1 แล้วนำไปหมักตามกระบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 4 นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้นในกระทะ
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น
และนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียด ให้ได้ดจำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาล และน้ำหมักจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้ว
นำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกันกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 5 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 1 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาล และชิ้นส่วนของพืช
ที่อ่อนๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 6 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสด
วิธีนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือ
เนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว : ไข่หอยเชอรี่ : พืชก่อน อัตรา 3:3:5 - 6:2:3 มีข้อสังเกตุเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกาก
น้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่กลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใด ให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหนักเช่นเดียวกับการทำ
น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่า
อัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสม คือ 20 ซี.ซี / น้ำ
20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7 - 10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น
ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก

ให้ระมัดระวังเวลานำไปใช้ราดหรือฉีดพ่นต้นพืช ควรใช้เจือจางมาก (อัตราที่แนะนำให้ใช้คือจากสารละลายที่ผ่านขบวน
การหมักสมบูรณ์แล้วก่อนนำไปใช้ควรทำให้เจือจางในอัตรา 1: 500 หรือ 1: 1,000 ) วิธีการใช้ที่ถูกต้องจะมีผลต่อดิน และพืชที่นำไปราดหรือฉีดพ่นใส่
ควรใช้เพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโตให้กับต้นพืช หรือช่วยเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ และจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีอย่างอื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ย
หมัก
หรือ ปุ๋ยเคมีเข้าช่วย ซึ่งจะทำให้การใช้ได้ผลดีที่สุด ตลอดจนการดูแลปฏิบัติต่อพืชในด้านอื่นๆ ด้วย
เครื่องทำปุ๋ย เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 17 เมษายน 2552 21:46:29 น.
Counter : 1011 Pageviews.  

การสำรวจและศึกษาคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากท้องตลาด

การสำรวจและศึกษาคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากท้องตลาดและ
เครื่องทำปุ๋ย

จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์หลากหลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนมาก เพื่อให้การผลิตและจำหน่าย ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพ กรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศเรื่องมาตรฐานปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์ ยชีวภาพ พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548 และจากการที่นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรได้สำรวจและเก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดและโรงงานผลิต ในพื้นที่ 18 จังหวัด จำนวน 328 ตัวอย่าง พบว่า

1) มี้ปุ๋ยอินทรีย ปุ๋ยชีวภาพ เพียง 2 ตัวอย่าง ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของจำนวนตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด
2) มี้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร จำนวน 326 ตัวอย่าง คิด



เป็นร้อยละ 99.39 ของจำนวนตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด เนื่องจากปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก และมีปริมาณธาตุอาหารรับรอง NPK ไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด ซึ่งได้กำหนดค่า T-N, T-P2O5 และ T-K2O ไม่น้อยกว่า 1, 0.5 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และในจำนวนปุ๋ยที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 326 ตัวอย่างนี้ มี 9 ตัวอย่างที่มีค่า T-N, T-P2O5 และ T-K2O สูงมากถึง 14.58, 10.63 และ 13.85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีค่าการนำไฟฟ้าสูงผิดปกติถึง 162 เดซิซีเมนต่อเมตร ซึ่งคาดว่าจะมีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย

รายละเอียดกำหนดคุณสมบัติของ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร (2 มิถุนายน 2548)
คุณลักษณะ เกณฑ์กำหนด

1 ขนาดของปุ๋ย
ไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร

2ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้
ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

3ปริมาณหิน และกรวด
ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
โดยน้ำหนัก

4 พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และ
โลหะอื่นๆ ต้องไม่มี

5 ปริมาณอินทรียวัตถุ
ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

6ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
5.5-8.5

7อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน
(C/N)
ไม่เกิน 20 : 1

8ค่าการนำไฟฟ้า
(EC : Electrical Conductivity)ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร

9ปริมาณธาตุอาหารหลัก
- ไนโตรเจน (total N) ไม่น้อยกว่า 1.0
เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
- ฟอสฟอรัส (total P2O5)ไม่น้อยกว่า 0.5
เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
- โพแทสเซียม (total K2O) ไม่น้อยกว่า 0.5
เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

10 การย่อยสลายที่สมบูรณ์
มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

11 สารหนู (Arsenic)
แคดเมียม (Cadmium)
โครเมียม (Chromium)
ทองแดง (Copper)
ตะกั่ว (Lead)
ปรอท (Mercury)
ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

เครื่องทำปุ๋ย เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 17 เมษายน 2552 21:46:10 น.
Counter : 573 Pageviews.  

ไปดูการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่หนองคาย

ไปดูการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่หนองคาย


ด้วย เงินเพียง 120,000 บาท ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และโครงการสวัสดิการผู้สูงอายุเมื่อปี 2545 ทำให้เครือข่ายพัฒนาอาชีพชุมชนถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย มีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด รองรับเกษตรกรได้เกือบทั้งตำบล

เครือข่ายพัฒนาอาชีพชุมชนถ้ำพระ ปัจจุบันมีสมาชิก 314 คน จาก 10 กลุ่ม เช่น กลุ่มชาวนา กลุ่มทำสวนยางพารา กลุ่มทำไร่อ้อย กลุ่มทำไร่มันสัมปะหลัง กลุ่มทำไม้ผล และกลุ่มปลูกหวาย กระจายอยู่ใน 12 หมู่บ้าน ของตำบลโสกก่าม ในแต่ละปีสมาชิกต้องเสียเงินเพื่อซื้อปุ๋ยเคมีประมาณ 450 ตัน ราคากระสอบละ 500 บาท ซึ่งหลังจากที่เครือข่ายสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองปีละ ประมาณ 200 ตัน ก็ทำให้สมาชิกจ่ายเงินในการซื้อปุ๋ยเคมีน้อยลง (ประมาณ 5,000 กระสอบ) เป็นเงิน 1.75 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ มีอยู่มีขนาดเล็กผลิตปุ๋ยได้ไม่พียงพอกับความต้องการของสมาชิก เครือข่ายจึงรับอนุมัติสินเชื่อเพื่อการพัฒนาอาชีพจากสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน เป็นเงิน 741,100 บาท

โรงงานผลิตปุ๋ยดังกล่าวไม่เพียงสามารถผลิตปุ๋ยได้อย่างเพียงพอต่อความต้อง การของสมาชิก ซึ่งช่วยให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการเพราะปลูก อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของเครือข่าย เท่านั้น แต่ยังจะมีปุ๋ยเหลือไปขายนอกเครือข่ายได้ประมาณ 100 ตัน/ปี หรือเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท รวมทั้งปีคาดว่าเครือข่ายจะมีกำไรประมาณ 1.2 ล้านบาท อีกทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยก็เป็นวัสดุในท้องถิ่น เช่น มูลวัว, ใบไม้ เป็นต้น

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จึง เป็น เรื่องที่น่าสนใจของเกษตรกร เพราะนอกจากจะทำให้สมาชิกลดต้นทุนการผลิต สามารถพึ่งตนเองได้และมีผลกำไรตอนสิ้นปี กำไรส่วนหนึ่งนำไปจัดเป็น
สวัสดิการให้สมาชิกแล้ว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใน การเพาะปลูกยังเป็นการฟื้นสภาพดินให้ดีขึ้น คืนกุ้ง หอย ปู ปลา สู่ท้องนา ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แล้วยังเป็นการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.codi.or.th
เครื่องทำปุ๋ย เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 17 เมษายน 2552 21:47:23 น.
Counter : 681 Pageviews.  

1  2  3  

eakamazon
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add eakamazon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.