space
space
space
<<
เมษายน 2567
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
18 เมษายน 2567
space
space
space

วงจรไฟฟ้าในบ้าน ข้อควรรู้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

วงจรไฟฟ้าในบ้าน ข้อควรรู้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

วงจรไฟฟ้าในบ้าน

บ้านทุกหลัง ต่างมีระบบไฟฟ้าที่จัดวางแตกต่างกัน แต่หลายคนไม่ได้เข้าใจวงจรไฟฟ้าในบ้านตัวเองดีนัก ว่ากระแสไฟฟ้าที่ส่งแยกไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นแบบไหน แน่นอนว่าต้องทำความเข้าใจและมีความรู้ด้านนี้ในระดับหนึ่ง เราจึงต้องมาเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟรั่วได้เบื้องต้น และให้ความปลอดภัยกับคนภายในบ้าน ลดปัญหาอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร


ทำความรู้จัก ระบบวงจรไฟฟ้าในบ้านต่าง ๆ

การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน

วงจรไฟฟ้า คืออะไร

วงจรไฟฟ้าคือการเชื่อมต่อไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้สายไฟหรือตัวนำไฟฟ้าเชื่อมต่อและใช้สวิตช์สำหรับควบคุมการจ่ายไฟฟ้าให้เปิดหรือปิดได้ มีองค์ประกอบหลักสำหรับการป้องกันวงจรไฟฟ้าภายในบ้านที่ให้ความปลอดภัยคือฟิวส์ พร้อมด้วยส่วนประกอบของเต้ารับ, สะพานไฟย่อย, ปลั๊กไฟ โดยการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านมีการออกแบบให้เข้ากับตัวบ้าน และรองรับกำลังใช้ไฟอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการใช้งาน

วงจรปิด คืออะไร

วงจรไฟฟ้าในบ้านที่เป็นวงจรปิดเป็นเหมือนกับการกระจายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนที่ใช้งาน แล้วย้อนกลับไปยังขั้วจ่ายไฟที่เป็นแหล่งจ่าย เรียกว่าการจ่ายไฟฟ้าแบบครบวงจรที่จ่ายไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทำงานได้อย่างปกติ 

วงจรเปิด คืออะไร

วงจรเปิดสำหรับวงจรไฟฟ้าในบ้านที่ไม่เกิดการย้อนกลับไปยังขั้วจ่ายไฟ หรือเข้าใจง่ายๆ คือเกิดไฟฟ้าขาด ซึ่งเกิดจากการปิดสวิตช์ไฟ ทำให้ไม่สามารถจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ วงจรเปิดสำหรับวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะเป็นได้ทั้งสายไฟที่ขาด หรือสายหลุด


วงจรไฟฟ้าในบ้าน มีรูปแบบใดบ้าง

วงจรเดินสายไฟในบ้าน

1. วงจรไฟฟ้าในบ้าน แบบอนุกรม

  • วงจรไฟฟ้าในบ้านแบบอนุกรม หรือ Series Circuit  คือการสร้างวงจรไฟฟ้าเรียงต่อกันเป็นลำดับ กระจายออกไปเป็นลูกโซ่ เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้านที่เน้นการไหลเวียนของไฟฟ้าไปกระแสทางเดียว 
  • ข้อดี เป็นการต่อเรียงลำดับไฟฟ้าไปเรื่อย ๆ แล้วเสียบเข้าแหล่งกำเนิด เป็นวงจรไฟฟ้าในบ้านที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับการควบคุมกระแส หรือลดแรงดัน วงจรแบบอนุกรมสามารถต่อเข้าแหล่งจ่ายไฟที่มีแรงดันสูงได้
  • ข้อเสีย วงจรเดินสายไฟในบ้านแบบอนุกรม หากส่วนใดส่วนหนึ่งดับลง ส่วนที่เหลือที่อยู่ในสายวงจรก็จะดับด้วย

2. วงจรไฟฟ้าในบ้าน แบบขนาน

  • วงจรไฟฟ้าในบ้านแบบขนาน คือการทำวงจรการต่อไฟบ้านที่ช่วยให้ความสะดวกขึ้น เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าแยกออกหลากหลายเส้นทาง ด้วยการนำอุปกรณ์ไฟฟ้าสองตัวมาวางต่อการแบบขนาน
  • ข้อดี หากอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนไหนเกิดความเสียหาย ชำรุด หรือใช้การไม่ได้จนดับ ส่วนอื่น ๆ จะยังใช้การได้จากการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านแบบขนาน
  • ข้อเสีย วงจรแบบขนาน ระบบวงจรจะตัดไฟในทันที หากมีการลัดวงจรเกิดขึ้น

อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ที่จำเป็นต้องมีในบ้านสมัยใหม่

วงจรไฟบ้าน

1. สะพานไฟหรือคัตเอาต์

คัตเอาต์ หรือ Circuit Breaker เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่จัดการแหล่งจ่ายไฟฟ้าลูกด้วยการตัดวงจร เป็นเหมือนสวิตช์ไฟฟ้าวงจรไฟบ้านในการสั่งการจ่ายไฟในแต่ละส่วน และสามารถตัดไฟอัตโนมัติได้ ในกรณีที่วงจรไฟฟ้าในบ้านเกิดกระแสไฟเกิน หรือขัดข้อง ไฟดูด ไฟรั่ว คัตเอาต์จะทำการตัดไฟไปยังแหล่งจ่ายไฟในทันที เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้าน

2. สวิตช์

สวิตช์คือตัวควบคุมวงจรไฟฟ้าในบ้านไปยังอุปกรณ์ โดยเราสามารถเลือกปิดหรือเปิดวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ มีไว้ควบคุมการทำงานเบื้องต้นในอุปกรณ์ ซึ่งตัวสวิตช์มีหลากหลายแบบ ในแต่ละแบบก็ออกแบบมาให้สอดคล้องกับแนวทางใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวนั้น ๆ เช่นสวิตช์โยก หรือสวิตช์ปุ่มกดที่เห็นได้ทั่วไป

3. ฟิวส์

ฟิวส์คืออุปกรณ์ชิ้นหลักในการป้องกันการเกิดการลัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยมีกลไกการทำงานที่รับเอากระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านฟิวส์ ที่มีความต้านทานสูง หลอมเหลวยาก แต่เมื่อเกิดการหลอมเหลวเพราะความร้อนจนเกินไปซึ่งเกิดจากวงจรไฟฟ้าภายในบ้านจากกระแสไฟที่ไหลมากจนผิดปกติ ตัวฟิวส์จะขาดทันที และกระแสไฟจะหยุดไหลเข้าบ้าน

4. เต้ารับกับเต้าเสียบ

เต้ารับเต้าเสียบ มีไว้เชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเต้ารับจะติดตั้งกับกำแพง และเต้าเสียบที่ติดตั้งอยู่ที่ปลายสายไฟไว้ในการเสียบเอากระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ เต้ารับจะติดอยู่กับวงจรไฟฟ้าในบ้านเสียบแล้วคอยจ่ายไฟ แต่เงื่อนไขที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงาน ก็ยังอยู่ที่อุปกรณ์ หากติดตั้งกับตัวสวิตช์

5. สายไฟฟ้า

สายเชื่อมกระแสไฟฟ้าในระยะไกลที่เชื่อมทั้งเต้าเสียบ สวิตช์ ทำหน้าที่เป็นทางเดินกระแสไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์ไปยังวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยสายไฟฟ้า มีขนาดที่แตกต่างตามความเหมาะสมของอุปกรณ์ ว่าต้องการติดตั้งกับอะไร เช่น สายไฟฟ้าอ่อนที่ติดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เพื่อที่จะทำให้สามารถลากสายไฟฟ้าได้อย่างยืดหยุ่น หักงอได้ ในขณะที่สายไฟฟ้าแข็งเหมากับวงจรการต่อไฟบ้านในกำแพง เน้นความแข็งแรงทนทาน


เลือกตรวจสอบวงจรไฟฟ้า ด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ 

แบบวงจรไฟฟ้าในบ้าน

เรื่องเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้าน แม้เราจะมีความเข้าใจเบื้องต้น หากทำการซ่อมบำรุงหรือแก้ไขไม่เป็น ก็อาจจะเกิดอันตรายได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือกบริการช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญในการปรับแต่งระบบ ตรวจสอบข้อผิดพลาดเกี่ยวกับแบบวงจรไฟฟ้าในบ้านอย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าหากเจอจุดบกพร่อง หรือจุดที่ทำให้เกิดไฟรั่ว ก็สามารถแก้ไขได้ทันที ไม่ต้องซื้ออะไหล่มาเพิ่ม ช่างจะทำการประเมินและจัดการระบบให้เหมือนใหม่ทันที


สรุป วงจรไฟฟ้าในบ้าน หมั่นตรวจสอบดูแลเพื่อความปลอดภัย

การจะตรวจสอบระบบวงจรไฟฟ้า ค่อนข้างต้องการความเข้าใจเฉพาะทาง เพราะหากไม่ใช้ผู้ที่เข้าใจและทำได้อย่างมืออาชีพ ก็อาจจะเกิดอันตรายได้ ดังนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจระบบไฟฟ้า และวิธีต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านคร่าว ๆ ก่อน เพื่อจะได้เรียกใช้บริการได้คุ้มค่าที่สุด และบางครั้ง ความเข้าใจด้านระบบวงจรไฟฟ้าในบ้าน ก็อาจจะช่วยให้เราตรวจสอบเบื้องต้น และรีบเรียกบริการแก้ปัญหาได้ทัน ก่อนจะเกิดเหตุไม่คาดฝัน


 




Create Date : 18 เมษายน 2567
Last Update : 18 เมษายน 2567 16:31:08 น. 0 comments
Counter : 93 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7607536
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7607536's blog to your web]
space
space
space
space
space