https://traveljournal.bloggang.com ไปเที่ยวด้วยกันนะคะ
space
space
space
space

Life in Phnom Penh ตอนที่ 2 ทำไมต้องเป็นพนมเปญ


หลังจากไปเที่ยวเกาะรงอยู่ได้ 3 วันก็พากันกลับเข้าพนมเปญ เนื่องจากพายุเข้า ฝนตกและอากาศหนาวเย็น เที่ยวไม่สนุกแล้ว เปลี่ยนแผนกลับมาจัดการเรื่องบ้านดีกว่า 

มื่อมาถึงพนมเปญ ก็มาช่วยกันจัดการบ้าน ทำความสะอาด ซื้อผ้าห่มและหมอนใหม่ เพราะของที่เราย้ายมาจากสิงคโปร์ต้องใช้เวลาอีก 2 อาทิตย์กว่าจะถึงพนมเปญ ฝุ่นเยอะมาก ต้นไม้แห้งตายเต็มไปหมด พื้นบ้านเป็นรอยกระถางที่ยกเข้ามาไว้ในบ้าน พื้นกระเบื้องเป็นรอย คราบสกปรกที่ถูยังไงก็ไม่มีวันออก ใช้แปรงขัดยังไม่สะทกสะท้านเลย (รู้ทีหลังว่าเป็นพื้นกระเบื้องแบบโบราณ ประมาณว่า Old Cambodia style)

เรานะทำไปบ่นไป เพราะบ้านไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีเลย นั่นก็พัง นี่ก็ผุ พื้นไม้ชั้นยนก็ใช้แบบถูก ๆ บ่นจนสาก็เริ่มเห็นว่าเออมันจริง และยอมรับว่าตอนที่มาดู เจ้าของบ้านใส่เฟอร์นิเจอร์ไว้สวยมาก ดูดีไปหมด ทำให้มองไม่เห็นว่าจริง ๆแล้วพอไม่มีเฟอร์นิเจอร์บ้านมีตำหนิหลายจุุดมาก  

ที่สามีตัดสินใจซื้อบ้านหลังนี้ เค้าบอกว่าเป็นการลงทุน เอาไว้ปล่อยให้คนเช่า (ที่ผ่านมา 1 ปี ก่อนที่เราจะย้ายเข้ามาก็มีคนเช่าอยู่) ทำเลดี ราคาดี เมื่อคำนวนกับขนาดพื้นที่บ้านแล้วคุ้มค่า ถ้าขายได้ราคาดีก็ขาย 

อะ...ในเมื่อศึกษามาดีแล้ว ว่าไงก็ว่าตามกัน เพราะซื้อก็ไม่ได้บอกเราก่อน ซื้อไปแล้วถึงมาบอก พูดอะไรไม่ได้แล้ว เดินเรื่องเอกสารไปเรียบร้อยแล้วด้วย

ขั้นตอนในการซื้อทุกอย่างมีทนายความจัดการ ในอดีตตามกฎหมายของกัมพูชา ชาวต่างชาติสามารถซื้อที่อยู่อาศัยเป็นชื่อของตัวเองได้ เช่น ทาวร์เฮาส์ คอนโด เพื่อนบ้านคนฝรั่งเศสซื้อห้องที่ชั้น 2 (เราอยู่ชั้น 3) ซื้อก่อนเรา 2 ปี บ้านจึงเป็นชื่อพวกเค้า แต่สำหรับเรานั้น เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายพอดี

ย้อนกลับไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนและกัมพูชากันก่อนเล็กน้อย เค้าเป็นมิตรกันมานาน มีการลงทุนหลาย ๆ อย่างร่วมกัน เป็นเจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่ดีต่อกัน เปิดเส้นทางบินใหม่ ๆ ระหว่างกัมพูชา-จีน อย่างต่อเนื่อง นักลงทุนจีนหลังไหลเข้ามาลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในพนมเปญกันอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จาก โรงแรม คอนโดมิเนียม อพาร์เมนท์ ศูนย์การค้า ร้านอาหาร และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อยู่ระหว่างการสร้าง ไปทางไหนก็มีแต่ตึกสูงๆ ป้ายโฆษณาเป็นภาษาเขมร อังกฤษและจีน

เข้าเรื่องกันเลยว่าทำไมกฎหมายการซื้อที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติถึงเปลี่ยน พูดกันง่าย ๆ ภาษาบ้าน ๆ คือ พวกฝรั่งเนียะเค้าชอบตึกเก่า เอามารีโนเวทใหม่มันดูเก๋ ดูคลาสิกดี และส่วนใหญ่จะซื้อชั้นสูง ๆ อย่างชั้น 2-3-4 ส่วนชั้น 1 หรือชั้นที่ติดกับถนนนั้น คนกัมพูชาเค้าจะกว้านซื้อ ส่วนใหญ่เอาไว้เปิดร้าน อีกอย่างฝรั่งเป็นเจ้าของชั้นที่ติดกับพื้นดินไม่ได้อยู่แล้ว ก็เหมือนกับบ้านเรา

มันจึงเป็นอะไรที่ลงตัวมาก ๆ คนกัมพูชาไม่อยากอยู่สูง ก็ขายชั้น 2-3 ให้ฝรั่งแล้วไปหาซื้อบ้าน หรือที่อยู่ใหม่ที่ติดถนน เอาไว้เปิดร้านขายของหรือทำธุรกิจ ส่วนฝรั่งนั้นชอบตึกเก่าชั้นสูง ๆ เพราะชอบวิว 

แต่นักลงทุนจีนไม่ชอบ.......ชั้นสร้างคอนโดสวย ๆ อพาร์ทเมนท์เก๋ ๆ เอาไว้ขาย หนึ่งในกลุ่มเป้าหมายคือชาวต่างชาติ และคนกัมพูชารวย ๆ แต่ฝรั่งพากันไปซื้อตึกเก่าหมด ไม่มาซื้อคอนโดชั้นเลย

คุณคิดว่าจีนมีอำนาจมากแค่ไหนในประเทศนี้????? ใช่ค่ะ หลังจากนั้นไม่นาน กฎหมายการซื้อที่อยู่อาศัยก็เปลี่ยนไป ห้ามไม่ให้ฝรั่งซื้อพวกทาวเฮาส์หรือทำให้ซื้อยากมากขึ้น ถ้าจะซื้อต้องมีนอมินี ส่วนคอนโดซื้อง่าย ไม่ยุ่งยาก

จะซื้อได้คุณต้องมีคนกัมพูชาเป็นเจ้าของ ทางเราจึงใช้วิธีหาคนที่ไว้ใจได้ ซึ่งก็ถือว่าโชคดีที่สามีมีเพื่อนคนฝรั่งเศส อาศัยอยู่ที่พนมเปญมากว่า 20 ปี เคยมีภรรยาชาวกัมพูชา มีพาสปอตกัมพูชา เรียกว่าเป็นคนกัมพูชาได้ (แอบนินทาเพื่อนสามี อยู่มา 20 กว่าปี พูดภาษาเค้าไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง อ่านก็ไม่ออก แต่สมัยก่อน จะทำอะไรก็ง่าย แค่พาสปอตเล่มเดียวเค้าว่ากันว่าจ่ายเงินก็ได้มาครองแล้ว)

ขั้นตอนการซื้อจริงๆ ยุ่งยากมาก ใช้เวลานานในการเดินเรื่อง ทำเอกสาร และทุกอย่างต้องให้แน่ใจว่า คนที่เป็นเจ้าของบ้านจะโกงเราไม่ได้ จะเล่าแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยคือ บ้านเป็นชื่อของเพื่อนชาวฝรั่งเศส และมีหนังสือสัญญาการยืมเงินจากเราไปซื้อบ้าน เราเป็นเจ้าของเงิน เค้าเป็นลูกหนี้เรา เจ้าของบ้านไม่สามารถนำบ้านไปขายได้ เพราะเราถือทะเบียนบ้าน และเราเองก็ขายบ้านโดยที่ไม่บอกเจ้าของบ้านไม่ได้ ทุกอย่างต้องดำเนินการผ่านทนายความ และถ้าจะขาย ต้องให้ทนายความจัดการเช่นกัน

ดังนั้นเมื่อขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น จีนก็หวังว่าฝรั่งจะหันไปซื้อคอนโดที่เค้าสร้างมากขึ้น เพราะขั้นตอนในการซื้อคอนโดนั้นง่ายกว่ากันเยอะ ซึ่งตรงนี้เรายังไม่เห็นตัวเลขที่ชัดเจนว่ามันได้ผลมั้ย 

สรุปทำไมต้องเป็นพนมเปญ????? เพราะอยากหาประสบการณ์ชีวิตใหม่ ๆ ลดค่าใช้จ่าย สิงคโปร์ค่าใช้จ่ายสูงมาก อยู่ที่นี่ก็ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า อาหารการกินก็มีเยอะ พอๆกับบ้านเรา ต้องรอดูว่าจะเป็นยังไง





Create Date : 27 พฤษภาคม 2561
Last Update : 27 พฤษภาคม 2561 13:47:59 น. 2 comments
Counter : 274 Pageviews.

 
มาอ่านต่อจากตอนก่อนค่ะ
สภาพตึกที่เคยเห็นและไปพัก ก็คล้ายกับที่
บรรยายมาเลยค่ะ ภาพกระเบื้องที่ดูโบราณ ๆ
นี่ลอยเข้ามาในหัวเลย...อืม ไม่เข้าใจเรื่องการซื้อ
ขายที่อยู่อาศัยจริง ๆ อย่างตึกเก่า ทาวเฮาส์ ก็ยาก
ที่จะทำเรื่องซื้อ-ขาย แต่คอนโดฯ ที่จีนมาลงทุน..
กลับดูซื้อกันง่ายดายกว่าเสียอีก...เหมือนเป็น
ทางเลือกเชิงบังคับกลาย ๆ เลย (ดูเหมือนว่า
อิทธิพลของจีนในกัมพูชาดูแข็งแกร่งมาก)
การซื้อขายผ่านนอมินีแบบนี้ ดูเสี่ยงนะคะ
ถ้าไม่ใช่คนที่เราไว้ใจจริง ๆ ดูขั้นตอนที่เขียนเล่า
มาซับซ้อนดี แอบติดตลกคนฝรั่งเศสอยู่มาร่วม 20
ปี พี่ไม่คิดพูดหรืออ่าน ภาษาท้องถิ่นเลยเหรอเนี่ย?

เราเคยเดินทางในพนมเปญด้วยแท็กซี่ สามล้อ
เท่านั้น จำไม่ได้และนึกไม่ออกว่า เขามีระบบ
ขนส่งสาธารณะอื่น ๆ อีกมั้ยคะ



โดย: กาบริเอล IP: 1.46.230.47 วันที่: 28 พฤษภาคม 2561 เวลา:17:15:08 น.  

 
ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ เดี๋ยวตอนต่อไปจะมาเล่าเรื่องการจราจรที่นี่ค่ะ
สภาพตึกบางที่ทางขึ้นน่ากลัวมากค่ะ ทั้งชัน แคบ เก่า เพราะเป็นการต่อเติมขึ้นไปเรื่อย ๆ คนเขมรเล่าว่า ที่นี่หากจะต่อเติมบ้านก็ให้ทำดีกับเพื่อนบ้านไว้ เพื่อที่เค้าจะได้มีบ่น หรือแจ้งเจ้าที่เวลาเสียงดัง เพราะถ้าทำเสร็จแล้วกม.ที่นี่ไม่สามารถทำอะไรได้ค่ะ แต่ถ้าระหว่างต่อเติมแล้วถูกเพื่อนบ้านแจ้งจนท. เราก็ต้องรื้อถอน

ใช่ค่ะเพื่อนสามีคนนี้แกแปลก ๆ อยู่มา 20 กว่าปี พูด ฟัง อ่าน เขียนไม่ได้เลย ไม่คิดเรียน เวลาไปกินข้าวก็วนเวียนอยู่แค่ 5 ร้าน ไม่ไปร้านอื่น ไปกินอะไรก็ต้องขอกล่อง เพื่อห่ออาหารครึ่งหนึ่งของตัวเองไปให้หมา ถ้ากินสเต็ก หมาก็ต้องได้กินด้วย




โดย: ต๋อย (dozo_toy ) วันที่: 30 พฤษภาคม 2561 เวลา:13:06:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

Monfhasai
Location :
Cambodia

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นครอบครัวเล็ก ๆ ที่ชอบท่องเที่ยว ถ้ามีโอกาสมักจะจัดทริปเที่ยวแบบลุย ๆ จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์ท่องเที่ยวให้กับเพื่อนนักเดินทางทั้งหลายได้ชมกันค่ะ

space
space
[Add Monfhasai's blog to your web]
space
space
space
space
space