|
ตอนที่ 2
ความคิดเห็นของผมคือการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ใน ช่วงแรกเกิดจากความกลัว กลัวว่าฝ่ายเยอรมันจะสร้าง ได้ก่อน จึงต้องเสนอให้ประธานาธิบดีสร้างไว้ก่อน อย่างน้อยก็ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ว่า ฝ่ายอเมริกาก็มีเหมือน กัน แต่พอเห็นอานุภาพของระเบิดที่รุนแรงมาก ไอน์สไตน์จึงต่อต้านการนำไปใช้จริงครับ ------------------------------------------------------ จากคำบรรยายของ Yevgeny Chazov ผู้ได้รับรางวัล โนเบลสาขาสันติภาพในปีค.ศ. 1985 ในหัวข้อ บทบาทของแพทย์นานาชาติในการป้องกันสงคราม นิวเคลียร์
...แม้บุคคลทั้งห้าท่านนี้จะมีส่วนร่วมในการสร้าง หรือ เป็นผู้สร้างระเบิดนิวเคลียร์ แต่ทั้งห้าท่านก็ยังเป็น บุคคลกลุ่มแรกๆ ที่ต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ด้วย...
Albert Einstein (1879-1955), American, born in Germany;
Leo Szilard (1898-1964), American, born in Hungary;
Niels Bohr (1885-1962) of Denmark;
Fredric Joliot-Curie (1900-1958) of France;
Igor Kurchatov (1903-1960) of the Soviet Union.
เอกสารอ้างอิง //nobelprize.org/peace/laureates/1985/physicians-lecture.html ------------------------------------------------------ ก่อนที่ไอน์สไตน์จะเสียชีวิตหนึ่งอาทิตย์ (18 เมษายน ค.ศ. 1955) เขาได้ลงนามในจดหมาย ที่เขียนให้แก่ Bertrand Russell เพื่อลงนามใน อนุสัญญาต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์
เอกสารอ้างอิง //www.leyden.net/einstein.html ------------------------------------------------------ ก่อนที่ระเบิดนิวเคลียร์จะถูกส่งไปถล่มฮิโรชิม่า ไอน์สไตน์ได้เตือนสาธารณชนเกี่ยวกับอันตรายของ สงครามนิวเคลียร์ และเสนอให้มีองค์กรนานาชาติเพื่อ ควบคุมการใช้อาวุธนิวเคลียร์แล้ว
เอกสารอ้างอิง //newton.physics.metu.edu.tr/~fizikt ------------------------------------------------------ หลังจากที่ถล่มฮิโรชิม่าและนางาซากิไปเรียบร้อยด้วย ระเบิดนิวเคลียร์แล้ว ก็ได้มีการโต้เถียงกันอย่างมาก ในสังคมอเมริกันว่า ประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) ใช้กำลังเกินกว่าเหตุทำให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต ไปมากตามข้อมูลที่ผมได้ให้ไว้ในกระทู้ก่อนหน้านี้ ครับ (สำหรับท่านที่ไม่ทราบ แม้คนอนุมัติให้เริ่มโครง การแมนฮัตตันคือประธานาธิบดีรูสเวลส์ แต่มาเสีย ชีวิตเอาระหว่างสงครามพอดี รองประธานาธิบดี ทรูแมน จึงได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทน และสั่งการ ให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์)
//www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X3181561/X3181561.html ------------------------------------------------------ อเมริกามีทางเลือกอื่นหรือไม่ ที่จะยุติสงครามกับ ญี่ปุ่นโดยไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์?
ประธานาธิบดีทรูแมนกล่าวเสมอๆ ว่าการใช้ระเบิด นิวเคลียร์กับญี่ปุ่นนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพื่อให้ ญี่ปุ่นยอมจำนนอย่างรวดเร็ว การใช้กองกำลังทหาร สหรัฐเพื่อยึดครองญี่ปุ่นนั้นจะสูญเสียทหารอเมริกัน หลายพันคน และว่า ถ้าได้โอกาสให้ตัดสินใจใหม่อีก ครั้ง การตัดสินใจของเขาจะยังคงเดิม คือให้ถล่ม ญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ซะ
ทางเลือกอื่น 1 ใช้ยุทธวิธีทางการทหาร ทิ้งระเบิดแบบปกติและปิดกั้น ทางลำเลียงทหารถ้าใช้วิธีนี้ก็ยังสามารถบีบให้ฝ่าย ญี่ปุ่นยอมแพ้ได้ แต่ก็ยังเสี่ยงต่อชีวิตนักบิน, ทหาร บก, และทหารเรือ และว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นอาจจะตาย มากกว่าใช้ระเบิดนิวเคลียร์ก็เป็นได้ เพราะห้าเดือน ก่อนจะทิ้งระเบิด Little boy นั้น การใช้ระเบิดเพลิงที่ โตเกียวก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปกว่าหนึ่งแสนคน แล้ว
ทางเลือกอื่น 2 แสดงให้ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นอานุภาพของอาวุธนิวเคลียร์ ก่อน โดยทดสอบในที่ไม่มีคนอาศัย ถ้าจักรพรรดิ์ ฮิโรฮิโต้ (Hirohito) ได้มีโอกาสทอดพระเนตร อานุภาพของอาวุธนิวเคลียร์เสียก่อนก็อาจจะทำให้ ยอมแพ้ก็ได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ แต่ฝ่ายค้าน ก็ว่าตอนนั้นสหรัฐมีระเบิดที่ใช้งานได้อยู่เพียงสองลูก เท่านั้นคือ Little boy และ Fat man และยังมีที่ กำลังพัฒนาขึ้นมาอยู่อีกสองลูก ตอนนั้นเทคโนโลยี นิวเคลียร์เป็นของใหม่ การจะลำเลียงระเบิดไปยังจุด หมายนั้นแสนยากเย็น ถ้าแสดงให้เห็นแล้วฝ่ายญี่ปุ่น ไม่ยอมแพ้ อาจจะเปิดโอกาสให้หาช่องทางต่อต้านได้
ทางเลือกอื่น 3 รอให้รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ว่ากันว่าตอนนั้น รัสเซียพร้อมจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นอยู่แล้ว ใน อีกสองสามอาทิตย์ ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นญี่ปุ่นอาจยอม จำนนก็ได้ ฝ่ายคัดค้านบอกว่า แต่ก็ไม่แน่ว่าการตอบ สนองจากญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไร และกว่ากองทัพรัสเซีย จะพร้อมต่อการบุกเข้ายึดญี่ปุ่นก็คงกินเวลานาน และ ที่สำคัญรัสเซียอาจถือเป็นโอกาสเผยแพร่ลัทธิคอม มิวนิสต์เข้าไปในเอเซียมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ได้
ทางเลือกอื่น 4 เจรจาสันติภาพกับญี่ปุ่น ก่อนจะทิ้งระเบิดนั้น นายกฯ ซูซูกิ และจักรพรรดิฮิโรฮิโต้ก็พร้อมจะยอมเจรจาสงบ ศึกอยู่แล้ว แต่เป็นการยอมแพ้แบบมีเงื่อนไข ซึ่ง ประธานาธิบดีทรูแมนไม่ยอมและว่าจะต้องยอมแพ้ แบบศิโรราบเท่านั้น ในกรณีนั้นฝ่ายต่อต้านทางเลือก นี้ชี้แจงว่าจะเป็นการใจดีต่อรัฐบาลญี่ปุ่นเกินไปและ แสดงความอ่อนแอของฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายญี่ปุ่น อาจขอเจรจาให้คงรักษากองทัพไว้ก็ได้ (สำหรับท่าน ที่ไม่ทราบ ตอนนี้ญี่ปุ่นไม่มีกองทัพนะครับ สืบเนื่อง จากที่ยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธ มิตรห้ามญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเพราะชาตินิยมจัดมาก) หรือฝ่ายญี่ปุ่น อาจมีโอกาสเตรียมพร้อมกำลังทหาร ต่อต้านการบุกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
ทางเลือกอื่น 5 ยอมคงสภาวะของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ ถ้าฝ่าย สัมพันธมิตรระบุอย่างชัดเจนว่า จะคงสถานะของ สมเด็จพระจักรพรรดิ์ไว้ และไม่ลงโทษพระองค์ใน ฐานะอาชญากรสงคราม อาจจะทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ก็ ได้ แต่ก็ว่ากันว่าถึงจะระบุไปฝ่ายญี่ปุ่นก็คงไม่ยอมแพ้ อยู่ดี
ท้ายที่สุดประธานาธิบดีทรูแมนสรุปว่า ทางเลือกทั้ง 5 นี้ไม่มีทางจะทำให้สงครามยุติได้อย่างรวดเร็วเท่าการ ใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในช่วงเวลานั้นประธานาธิบดีเองก็ กำลังถูกเพ่งเล็งจากประชาชนซึ่งอยากให้สงครามจบ เร็วๆ และส่วนใหญ่เกลียดคนญี่ปุ่นกันมากๆ อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังช่วยรักษาชีวิตของทหารอเมริกันใน ยุโรปซึ่งกำลังรับคำสั่งให้เตรียมพร้อมบุกเข้ายึดญี่ปุ่น ด้วย คนอเมริกันตอนนั้นเลยไม่ค่อยโจมตีเขามากนัก ------------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง //www.crf-usa.org/bria/bria15_3.html
สถานการณ์ทางฝ่ายญี่ปุ่น ช่วงใกล้สงครามยุติ
ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นในช่วงนั้นไม่มีใครรู้อิโหน่อิ เหน่เกี่ยวกับระเบิดปรมาณูเลย และไม่ทราบด้วยว่า สหรัฐกำลังจะเอาระเบิดนิวเคลียร์มาทิ้ง ในขณะที่ ฝ่ายอเมริกันทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายญี่ปุ่น ตลอดไม่มากก็น้อย เพราะหน่วยสืบราชการลับของ สหรัฐแกะรหัสลับของฝ่ายญี่ปุ่นออกแล้ว
ช่วงหน้าร้อนของปีค.ศ. 1945 นั้น ญี่ปุ่นจะแพ้อยู่แล้ว ฝ่ายนาวิกโยธินก็แทบจะไม่มีเหลือทหารอากาศที่ดีที่ สุดก็ตายไปหมดแล้ว ติดต่อกองทัพที่กระจายอยู่ทั่ว เอเซียก็ไม่ได้ แถมฝ่ายทหารเรือของอเมริกันยังใช้ ยุทธวิธีตัดกำลังเสบียงทำให้ขาดทั้งอาหารและน้ำมัน การโจมตีทางอากาศจากฝ่ายอเมริกันถล่มเมือง ใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นทำให้มีคนตายไปกว่า 200,000 คน แล้ว
แต่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ยังไม่ยอมแพ้ ระหว่างเดือนเมษายนถึง มิถุนายน ค.ศ. 1944 นั้น สหรัฐก็ได้บุกยึดเกาะโอกินา ว่า (Okinawa) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ห่างจากเมืองหลวง ไป 400 ไมล์ แต่กระนั้นฝ่ายญี่ปุ่นก็สู้อย่างไม่กลัว ตาย ใช้เทคนิคกามิกาเซ่ด้วยวิญญาณชายชาติ ซามูไร ใช้เครื่องบินพุ่งเข้าใส่เรือของสหรัฐที่ทำหน้าที่ ลำเลียงเสบียงต่างๆ ชาวเกาะโอกินาว่าเอง ก็ฆ่า ตัวตายเพียงเพื่อไม่ให้ทหารอเมริกันจับได้ แม้จะยึด เกาะได้ฝ่ายอเมริกันก็ยังต้องสูญเสียกองพลไปกว่า 48,000 คน
ทั้งๆ ที่เสียเกาะโอกินาว่าไปแล้ว และเห็น แสนยานุภาพของกองทัพสหรัฐ รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังไม่ ยอมแพ้ ตอนนั้นนายกฯ คันทาโร่ ซูซูกิ (Kantaro Suzuki) ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งนายกฯ ในช่วงเมษายน ค.ศ. 1945 หวังจะขอให้รัสเซียเป็นตัวกลางช่วยญี่ปุ่น ให้เจรจากับสหรัฐ, อังกฤษและ จีน แต่เขาหารู้ไม่ว่า ตอนนั้นสตาลินผู้นำรัสเซียได้ให้คำมั่นต่อฝ่ายสัมพันธ มิตรแล้วว่าจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในอีก 2-3 เดือนถัดไป
ส่วน ส.ส. และนายทหารของญี่ปุ่นนั้นก็ไม่ยินยอมให้ ยอมแพ้ และว่าให้ประชาชนตาย 100 ล้านคนอย่างมี เกียรติยังดีกว่ายอมพ่ายแพ้อย่างไร้ศักดิ์ศรี มีการวาง แผนจะเตรียมกองทหารอีก 350,000 นาย เพื่อ ป้องกันการเข้ายึดจากสหรัฐอเมริกา เตรียมนักบิน เครื่องบิน สำหรับการโจมตีแบบกามิกาเซ่อีกหลาย พันลำ รวมทั้งจะให้ผู้หญิงมาร่วมรบด้วย และหวังกันว่า จะทำให้อเมริกายอมเซ็นสัญญาสงบศึกโดยเหลือผล ประโยชน์ให้ฝ่ายญี่ปุ่นบ้าง
ฝ่ายอเมริกันมักจะกล่าวหาจักรพรรดิ์ฮิโรฮิโต้ว่าไม่ ยอมยุติสงคราม เพราะชาวญี่ปุ่นทุกคนต่างเชื่อฟัง พระองค์ ตอนที่นายทหารญี่ปุ่นวางแผนโจมตีอ่าว Pearl Harbour พระองค์ก็ไม่ทรงมีรับสั่งใดๆ แต่เมื่อ เกาะโอกินาว่าถูกยึดได้ จึงทรงเร่งรัดให้นายทหาร ญี่ปุ่นยุติสงครามโดยไว และได้ส่งตัวแทนพระองค์ไป ยังมอสโคว์ด้วย เพื่อเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร
ฝ่ายอเมริกันรอการตัดสินใจจากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ไหว แล้ว จึงเอาระเบิด Little Boy ไปถล่มเมืองฮิโรชิม่าใน วันที่ 6 สิงหาคม พวกนายทหารก็ยังงงๆ กันอยู่ ไม่ยอมแพ้เสียทีตอนนี้สมเด็จพระจักรพรรดิ์ทรงรับสั่ง ว่า ต้องยอมเขาแล้ว ! (We must bow to the inevitable)
วันที่ 9 สิงหาคม รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และ สหรัฐทิ้งระเบิด Fat Man ถล่มนางาซากิอีก ท้ายที่สุด นายกฯ จึงกราบบังคมทูลเชิญให้สมเด็จพระจักรพรรดิ์ ให้มีพระบรมราชโองการ ซึ่งพระองค์ตรัสว่า หาก สงครามยืดเยื้อต่อไป เราก็คงสิ้นชาติ
วันที่ 10 สิงหาคม ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามและยื่น เงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตรว่าต้องให้สมเด็จพระจักร พรรดิ์เป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นต่อไป ซึ่งฝ่ายสัมพันธ มิตรก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หากแต่ว่าในช่วงแรก สมเด็จพระจักรพรรดิ์ต้องอยู่ใต้การบัญชาการของ นายพลแมคอาเธอร์ ซึ่งพอได้รับคำตอบนายทหาร หลายคนของญี่ปุ่นก็โกรธ ถือว่าเป็นการหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ จะไม่ยอมแพ้ขึ้นมาอีก แต่สมเด็จพระจักร พรรดิ์ทรงยินยอมต่อข้อตกลงนี้ สงครามจึงสิ้นสุด
เอกสารอ้างอิง //www.crf-usa.org/bria/bria15_3.html
------------------------------------------------------ สถานการณ์ทางฝ่ายอเมริกัน ช่วงใกล้สงครามยุติ ------------------------------------------------------ ภายหลังฮิตเลอร์เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปได้ ไม่นาน โครงการแมนฮัตตันก็ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีรูสเวลส์ได้มอบหมายให้ นายพล Leslie R. Groves เป็นผู้ควบคุมกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างหัวรบนิวเคลียร์อันมี J. Robert Oppenheimer เป็นผู้นำกลุ่มวิจัย แทบทุกคนใน โครงการต่างเชื่อว่าอเมริกาจะใช้ระเบิดนิวเคลียร์เพื่อ ยุติสงคราม
ต่อมาเมื่อประธานาธิบดีรูสเวลส์เสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 รองประธานาธิบดีทรูแมนขึ้นเป็น ประธานาธิบดีแทน หลังจากนั้นสองอาทิตย์ นายพล Groves ก็ได้แนะนำให้ประธานาธิบดีทรูแมนทราบ ถึง ระเบิด
แม้เยอรมันจะยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 แล้ว ระเบิดนิวเคลียร์ก็ยังไม่ พร้อมใช้งานเสียที สงครามกับญี่ปุ่นในมหาสมุทรแป ซิฟิคก็ยังดำเนินต่อไป ประธานาธิบดีทรูแมนได้ตั้ง คณะกรรมการเพื่อให้คำแนะนำในการใช้ระเบิด นิวเคลียร์ (Interim committee) ซึ่งมีประธานคณะ กรรมการคือ Henry S. Stimson คณะกรรมการนี้ ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้นำทางฝ่ายพลเรือนและนัก วิทยาศาสตร์ ซึ่งผลการตัดสินของคณะกรรมการคือ ให้ใช้ระเบิดนิวเคลียร์ทันทีเมื่อพร้อมใช้งานได้
นอกจากนี้คณะกรรมการยังไม่สนับสนุนให้เตือนญี่ปุ่น ถึงอานุภาพของระเบิดนิวเคลียร์ด้วย สิ่งที่คณะ กรรมการคือต้องการให้รัฐบาลและประชาชนชาวญี่ปุ่น คาดไม่ถึง เพื่อยอมแพ้อย่างรวดเร็ว โดยเป้าหมายที่ ควรจะนำระเบิดไปหย่อนคือ บริเวณที่เป็นโรงงานผลิต อาวุธสงครามที่มีคนงานจำนวนมากตั้งบ้านเรือนอยู่ ใกล้เคียง และคาดว่าผลการใช้ระเบิดนิวเคลียร์จะทำ ให้ควบคุมสหภาพโซเวียตได้ด้วย
เนื่องจากช่วงนั้นระเบิดยังไม่พร้อม กลุ่มนายทหาร ระดับสูงได้ให้คำแนะนำประธานาธิบดีทรูแมนในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1945 ว่าคงต้องบุกเข้ายึดเกาะ ญี่ปุ่นแทน และประมาณการความสูญเสียทหารของ ฝ่ายอเมริกันไว้ที่ 200,000 คน โดยจะมีทหารเสียชีวิต ประมาณ 50,000 คน ตัวเลขนี้ไม่ประทับใจ ประธานาธิบดีทรูแมนเท่าใดนัก แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสิน ใจใดๆ อีกหนึ่งเดือนต่อมาประธานาธิบดีก็ไปร่วม ประชุมกับผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เมือง Potsdam เยอรมัน และเร่งให้โจเซฟ สตาลินประกาศสงคราม กับญี่ปุ่น เพราะได้สัญญากันไว้แล้วว่าถ้าเยอรมันแพ้ สหภาพโซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่น เพราะ ตอนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ นั้น รัสเซียได้เซ็น สนธิสัญญาไม่รุกรานประเทศญี่ปุ่น (non-aggression treaty) ระหว่างการประชุมนั้นประธานาธิบดีทรูแมนก็ ได้รับข้อความยืนยันว่าระเบิดนิวเคลียร์ผ่านกาทดสอบ ที่นิวเม็กซิโกแล้ว ซึ่งเขาก็ได้สั่งการให้ทหารใช้ระเบิด นิวเคลียร์ทันทีเมื่อพร้อม แต่อย่าทิ้งระเบิดก่อนวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945
เสนาธิการทหารเลือกเป้าหมายเมืองของญี่ปุ่น 4 เมือง ไว้แล้ว ซึ่งแต่ละเมืองก็ไม่ได้มีโรงงานผลิตอาวุธ ขนาดใหญ่ใดๆ แต่ที่เลือกเพราะเมืองใหญ่อื่นๆ ถูก ระเบิดที่ใช้กันปกติถล่มจนแทบจะไม่มีอะไรเหลือ แล้ว
ประธานาธิบดีเขียนลงในสมุดบันทึกกล่าวถึงระเบิด นิวเคลียร์ว่า
The most terrible bomb in the history of the world
พอนักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มผู้สร้าง (รวมไปถึง Szilard ด้วย) ทราบว่าระเบิดจะถูกนำเอาไปใช้จริงก็ ตกใจ ต่างพยายามล่ารายชื่อผู้ต่อต้านการใช้อาวุธ นิวเคลียร์นี้ และว่าหากใช้ระเบิดจะเกิดสงครามเย็นกับ โซเวียตด้วย แต่มันสายไปเสีย แล้ว...
หลังจากการประชุมที่ Potsdam ในวันที่ 26 กรกฏา คม ค.ศ. 1945 ฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศว่า กองทหาร ญี่ปุ่นทั้งหมดต้องยอมแพ้อย่างไม่เงื่อนไข ฝ่าย สัมพันธมิตรจะไม่เจรจาสงบศึกแบบมีเงื่อนไข และว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นควรร่วมมือร่วมใจเลือกตั้งรัฐบาล ใหม่ ซึ่งคำประกาศนี้ไม่กล่าวถึงสมเด็จพระจักรพรรดิ์ เลย ทำให้ตีความกันไปว่าฝ่ายสัมพันธมิตรอาจ ต้องการล้มล้างระบบกษัตริย์ในญี่ปุ่น และที่สำคัญไม่ มีการกล่าวถึงระเบิดนิวเคลียร์หรือที่สหภาพโซเวียตจะ ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้า ญี่ปุ่นไม่ยอมแพ้ จะต้องพบกับความหายนะโดย สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว ------------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง //www.crf-usa.org/bria/bria15_3.html
สนธิสัญญาสงบศึก (ควรจะเรียกว่าการยอมจำนน มากกว่า) ส่วนที่ 1
ร่างโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ฝ่ายญี่ปุ่นลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มาโมรุ ชิจิมิตซุ และนายพลโยชิจิโร่ อุมิซุ
เอกสารอ้างอิง //www.archives.gov/exhibit_hall/featured_documents/japanese_surrender_document/
สนธิสัญญาสงบศึก (ควรจะเรียกว่าการยอมจำนน มากกว่า) ส่วนที่ 2
สนธิสัญญาสงบศึกส่วนที่ 3
เอกสารอ้างอิง //www.archives.gov/exhibit_hall/featured_documents/japanese_surrender_document/
ภาพการเซ็นสนธิสัญญาสงบศึก
เอกสารอ้างอิง //historicaltextarchive.com/sections.php?op=viewarticle&artid=188
Create Date : 01 มกราคม 2548 | | |
Last Update : 1 มกราคม 2548 7:58:43 น. |
Counter : 1666 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
มาทำความเข้าใจในบทบาทของไอน์สไตน์ในโครงการ Manhattan ที่สร้างระเบิดปรมาณูกันครับ
จากข้อความที่โพสต์ในกระทู้ข้างล่าง
คุณคิดว่าควรยกย่องไอสไตน์หรือไม่ //www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X3180752/X3180752.html และ ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลคือ ทำลายความสงบสุขของ จิตใจมนุษย์ //www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X3180716/X3180716.html
ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์กว่าการถกเถียงโดยไม่มี หลักฐานอ้างอิง คิดเอาเองว่าคงเป็นอย่างนั้นเป็นอย่าง นี้ ทำให้ผู้ไม่รู้เกิดความเข้าใจผิดได้ครับ ในกระทู้นี้ เราจะมาดูหลักฐานในประวัติศาสตร์กันว่าไอน์สไตน์มี บทบาทมากแค่ไหนในโครงการนี้ และโครงการ Manhattan นี้มีรายละเอียดอย่างไรครับ
ทำไมอเมริกาต้องสร้างระเบิดปรมาณู
การทดลองนิวเคลียร์ฟิชชั่น (nuclear fission) ซึ่งจุด ประกายความคิดการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ที่ใช้ถล่ม ฮิโรชิม่าและนางาซากินั้น ไม่ได้ทำโดยไอน์สไตน์ หากแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันสามท่านคือ อ๊อตโต้ ฮาห์น (Otto Hahn), ฟริทซ์ สตร้าซแมน (Fritz Strassman) และ ลิส มิทเนอร์ (Lise Meitner คนนี้เป็นผู้หญิงครับ) นักวิทยาศาสตร์สองท่านแรก สาธิตกลไกการทำงานของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น ในปี ค.ศ. 1938 ซึ่งเป็นยุคเรืองอำนาจของจักรวรรดิ นาซี การทดลองนั้นแสดงให้เห็นว่าอนุภาคนิวตรอน พลังงานสูงสามารถดีดนิวเคลียสของธาตุยูเรเนียม ออกมา และทำให้นิวเคลียสนั้นแตกตัวเกิดเป็น พลังงานมหาศาลขึ้น ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ของไอน์สไตน์ (E = mc^2) เมื่อผลงานวิจัยนี้แพร่ กระจายออกไปในวงการวิทยาศาสตร์ก็ได้เกิดคำแนะ นำจากนักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่ได้ศึกษาผลการ วิจัย โดยสังเกตเห็นว่าผลลัพธ์หนึ่งของการปฏิกิริยานี้ ก็คือนิวตรอนอีกตัว ที่อาจไปดีดนิวเคลียสของอะตอม ธาตุยูเรเนียม อะตอมอื่นๆ ออกมาได้อีกเกิดเป็น ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) และในทางทฤษฎี สามารถนำไปทำระเบิดที่มีอานุภาพร้ายแรงได้ สิ่งที่ ควรทราบคือ ลิส มิทเนอร์ หนึ่งในสามผู้ค้นพบ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นปฏิเสธที่จะเข้าร่วมโครงการ วิจัยเพื่อพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์
ฝ่ายอเมริกันเริ่มกลัวกันแล้วว่า พรรคนาซีของเยอรมัน จะพัฒนาความรู้ที่มีอยู่เป็นอาวุธเพื่อการทำลายล้าง เพราะดินแดนที่ฝ่ายเยอรมันยึดครองอยู่ทั้งในนอร์เวย์ และเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia) มีแหล่ง ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างระเบิดนิวเคลียร์อัน ได้แก่ น้ำหนัก (heavy water) และยูเรเนียม-238
เอกสารอ้างอิง //inventors.about.com/library/inventors/blnuclearfission.htm
จดหมายของไอน์สไตน์ ไปยังประธานาธิบดี รูสเวลส์ ในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 นั้น กลุ่มนักฟิสิกส์ สามท่าน (Leo Szilard, Eugene Wigner และ Edward Teller) Leo Szilard ได้ร่างจดหมายขึ้น เพื่อนำเสนอต่อประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา แล้วมาขอให้ไอน์สไตน์ช่วยเซ็นรับรองให้ it was he (Leo Szilard) who coordinated the letter sent to President Roosevelt from Einstein encouraging the establishment of the Manhattan Project.
(อ้างอิงจาก //www.invent.org/hall_of_fame/141.html ) ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลในปีค.ศ. 1921 ดังนั้น ใครๆ ก็รู้จัก ในจดหมายดังกล่าวได้แนะนำงานวิจัย ของ Fermi และ Szilard ต่อประธานาธิบดีรูสเวลส์ และว่าธาตุยูเรเนียมจะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ใน อนาคตอันใกล้ หลังจากได้อ่านจดหมายนี้ ประธานาธิบดีก็ได้สั่งการจัดตั้งคณะกรรมการที่ ปรึกษาเรื่องยูเรเนียม
ในวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน โปแลนด์ถูกเยอรมัน บุกเข้ายึดครอง
วันที่ 6 ธันวาคม ปีค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีรูสเวลส์ เซ็นอนุมัติโครงการ Manhattan Engineering District ซึ่งภายหลังพัฒนาเป็น Manhattan project อันเป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แข่งกับเยอรมัน ในปัจจุบันยังมีห้องปฏิบัติการลูกของ โครงการแมนฮัตตันเหลืออยู่ ตัวอย่างได้แก่ ห้องแล็บ Argonne ซึ่งจากรายงานการวิจัยที่ทำอยู่ ตอนนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม
วันที่ 7 ธันวาคม ปีค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นถล่ม Pearl Harbour ของสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างผลงานตีพิมพ์ของไอน์สไตน์
Special Theory of Relativity (1905), Relativity (English translations, 1920 and 1950), General Theory of Relativity (1916), Investigations on Theory of Brownian Movement (1926), The Evolution of Physics (1938), About Zionism (1930), Why War? (1933), My Philosophy (1934), Out of My Later Years (1950)
จดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลส์ ที่ไอน์สไตน์เซ็นรับรอง หน้า 1
เอกสารอ้างอิง //inventors.about.com/library/inventors/bl_einstein_letter.htm
จดหมายถึงประธานาธิบดีรูสเวลส์ ที่ไอน์สไตน์เซ็นรับรอง หน้า 2
เอกสารอ้างอิง //inventors.about.com/library/inventors/bl_einstein_letter.htm
ระเบิดนิวเคลียร์ที่ถูกใช้ในสงครามจริงมีสองลูก คือ Little Boy และ Fat man
Little Boy คือชื่อสมญาที่ให้แก่อาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ ยูเรเนียม-235 โดยทิ้งลงมาจากเครื่องบิน B-29 แล้ว จุดระเบิดเหนือพื้นดินที่ความสูง 550 เมตร เหนือ เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ในเช้าวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ระเบิดนี้มีอนุภาพเทียบเท่าระเบิด TNT น้ำหนัก 13,000 ตัน (ตัวระเบิดมีน้ำหนักจริง 4 ตัน) ตัวระเบิดบรรจุยูเรเนียม-235 ปริมาณ 60 กิโลกรัม แต่ คาดกันว่าที่ระเบิดไปนั้นเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น มีผู้เสียชีวิตทันทีระหว่างเจ็ดหมื่นถึงหนึ่งแสนสามหมื่น คน และยังมีอีกจำนวนมากที่ตายเนื่องจากกัมมันต ภาพรังสีที่ตกค้างหลังการระเบิด (nuclear fallout) และ มะเร็ง
นักบินควบคุมเครื่อง B-29 คือ Paul W. Tibbets เขา ตั้งชื่อเครื่องบิน B-29 นี้ว่า Enola Gay ตามชื่อคุณแม่ ในคืนก่อนทิ้งระเบิด
Fat Man เป็นระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่สองที่ใช้ในการ สงคราม มีความสลับซับซ้อนและรุนแรงกว่าลูกแรก ใช้พลูโตเนียม มีอำนาจการทำลายล้างเทียบเท่า ระเบิด TNT น้ำหนัก 20,000 ตัน ใช้เครื่อง B-29 นำ ไปหย่อนที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 45,000 คน คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเพราะระเบิดนี้มีทั้งหมด กว่า 73,900 คน
นักบินคือ Charles W. Sweeney ซึ่งปกติไม่ได้ควบ คุมเครื่องบินลำนี้หากแต่เป็น Fred Bock ชื่อสมญา ของเครื่องบิน B-29 นี้จึงถูกตั้งในภายหลังว่า Bocks car
เอกสารอ้างอิง //www.atomicmuseum.com/tour/dd2.cfm //en.wikipedia.org/wiki/Fat_Man //en.wikipedia.org/wiki/Little_Boy
ทำไมอเมริกาต้องคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นผู้บริสุทธิ์จาก การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ด้วย
จากระเบิดที่อเมริกาใช้ถล่มเมืองของชาวญี่ปุ่น 100% กว่า 20% ของระเบิดใช้พื่อทำลายแหล่ง ทรัพยากรไม้และเชื้อเพลิงต่างๆ ที่อาจจะนำมาใช้ทาง การทหารได้และอีกเกือบ 80% ใช้เผาเมือง เพื่อก่อ ความไม่สงบ
ฝ่ายอเมริกาให้เหตุผลว่าอุตสาหกรรมต่างๆ ในญี่ปุ่นที่ สนับสนุนฝ่ายทหารนั้น กระจายอยู่ในเมืองต่าง ๆ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเพื่อผลิตอาวุธ (ใน ลักษณะช่วยๆ กันไป) หลังบ้านหนึ่งอาจมีการทำ ปลอกกระสุน ฯลฯ ส่งไปให้ศูนย์สรรพาวุธ อีกทั้งมี ความเป็นชาตินิยมสูง จึงต้องทำลายเป้าหมาย พลเรือนให้สิ้นซากไปด้วย
ว่ากันว่า ไม่ค่อยมีการทิ้งระเบิดแบบปกติที่ฮิโรชิม่า เท่าไหร่ เพื่อแสดงอานุภาพของระเบิดนิวเคลียร์ที่ จะนำไปทิ้งภายหลัง
//en.wikipedia.org/wiki/Manhattan_Project
Create Date : 31 ธันวาคม 2547 | | |
Last Update : 31 ธันวาคม 2547 21:21:00 น. |
Counter : 1650 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|