Group Blog
 
All Blogs
 
วิธีวางแผนเงินออม เงินลงทุน เพื่ออิสรภาพทางการเงิน

ทำไมหลายคนมีเงินเดือนสูงแต่ไม่รวยซักที...
ทำไมคนส่วนน้อยบางคนมีเงินเดือนนิดเดียว แต่กลับมีเงินเก็บพอกพูนขึ้นทุกวัน ?
เป็นเพราะสมการในการใช้ชีวิตต่างกัน...

คุณย่อมรู้อยู่แล้วว่า ต้องกันเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่ากินอยู่ ในแต่ละเดือนในแต่ละเดือนเท่าไหร่

ให้ทำอย่างนั้นกับเงินเก็บบ้างสิคะ!!!!!
หลายคนมักจะคิดว่าแค่รายจ่ายประจำวันก็ยังชักหน้าไม่ถึงหลัง

แล้วจะไปเอาเงินส่วนใดมาเก็บก่อนใช้จ่าย...Smiley

จะเป็นไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู๋กับสิ่งเดียว คือ ทัศนคติ โดยให้ปรับทัศนคติว่า เงินออมเป็นเงินเพื่อซื้ออนาคตที่สุขสบายตามอัตภาพ หากไม่กันไม่เก็บไว้ไม่ได้เด็ดขาด โดยยึดหลักที่ว่า "ออมก่อน จ่ายทีหลัง"

ทันที ที่เงินเดือนออก หักออกมาเป็นจำนวนที่คุณ"รู้อยู่แล้ว" ว่าวางแผนจะเก็บเท่านี้ทุกๆเดือน และ "กันเงินไว้แล้ว" สำหรับหยอดกระปุก ไม่ยอมให้กระปุกแห้งเหี่ยวอีกต่อไป

เหลือเท่าไหร่นั่นแหละ จึงจะเป็นค่าใช้จ่าย ที่คุณต้องเอาตัวให้รอดถึงสิ้นเดือนให้ได้ด้วยจำนวนเงินแค่นั้น
           

รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย       

 หลักในการวางแผนเงินออมและเงินลงทุน ควรแบ่งรายได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่าย และเงินออม โดยค่าใช้จ่ายให้แบ่งเป็น 4 กระเป๋า ดังแผนภาพ   

  • เงินใช้หนี้ : มีหนี้ก็ใช้ซะ หรือเงินใช้หนี้บุพการีและผู้มีพระคุณ บำรุงพ่อแม่ให้ท่านสุขสบาย
  • เงินใช้จ่ายส่วนตัว : ค่าใช้จ่ายทุกอย่าง รวมทั้ง เลี้ยงดูบริวารลูกน้อง
  • เงินทำบุญ : เงินส่วนนี้ไว้สำหรับทำบุญทุกประเภท
  • เงินเตรียมลงทุน : เพื่ออนาคต ยังไงก็ต้องเอาเงินมาลงทุนต่อเป็นเงินใหม่นะ

หลักการ คือ ให้แบ่งสี่ส่วนไม่ต้องเท่ากัน ตามแต่ความเหมาะสม แต่ยังไงก็ต้องแบ่ง

อาจเริ่มต้นแบ่งออมเงินจากหลักร้อย หรือหลักพันต่อเดือน หากเวลาผ่านไปภาระหนี้สินลดน้อยลง ค่อยปรับเพิ่มสัดส่วนเงินออมให้สูงขึ้นภายหลังได้ 

วิธีการบรรลุอิสรภาพทางการเงิน

  1. เก็บออม (saving)
  2. ประกันความเสี่ยง (hedging)
  3. ให้ทรัพย์สินที่เราเก็บออม ไปทำงานแทนเรา (investing)

และหัวใจสำคัญของบันไดสามขั้นนี้ จะสำเร็จได้ต้องเข้าใจหลัก 3 ข้อต่อไปนี้ก่อน

  1. มองภาพใหญ่ ว่าจุดหมายเราคืออะไร อยู่ที่ไหน
  2. มองภาพตามความเป็นจริง ไม่ใช่มองแต่โลกในแง่ดี (be realistic, not optimistic)
  3. เลือกหรือปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุน ตามความเหมาะสมของเราเอง วิธีแต่ละคนอาจจะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันขึ้นกับความรู้ ความเข้าใจ และ lifestyle ของแต่ละคน

การวางแผนเงินออมและเงินลงทุนเพื่ออิสรภาพทางการเงิน

 

ตุ่ม A = เงินสดเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน 

เป็นตุ่มที่สำคัญที่สุด ถ้าตุ่มนี้ยังไม่เต็มก็อย่าเพิ่งเอาเงินไปใส่ตุ่มอื่นหรือเอาไปทำอย่างอื่น

เงินสดที่ควรเก็บเผื่อฉุกเฉินคือ "ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของเรา x 7 " = ปริมาณเงินที่ต้องเติมให้เต็มตุ่ม A

 ตุ่ม B = เงินประกันความเสี่ยงขั้นวิกฤติ

ดังนั้น ควรเจียดเงินมาซื้อประกันชีวิต เอาไว้เพื่อให้ได้วงเงินเหมาะสมที่จะคุ้มครองเราและคนข้างหลังเราได้..........
แต่ในการ ทำประกัน อย่ามองที่ผลตอบแทน เพราะเราต้องการ "ประกันความเสี่ยง" ไม่ใช่การลงทุน

เราซื้อประกันความเสี่ยง เราไม่ได้หวังรวยจากดอกเบี้ยประกันชีวิต
ดอกเบี้ยสูงจะมีประโยชน์อะไร ถ้าค่าครองชีพสูงตาม?????


ในตุ่ม B นี้เราจ่ายเงินเพื่อต้องการแค่ "การประกันความเสี่ยงเท่านั้น" ไม่ได้หวังจะได้เงินคืนเลย
ดังนั้นที่ถูกแล้ว ให้เลือกแบบประกันที่ "แทบไม่ได้รับเงินคืนเลย " เพราะแบบประกันพวกนี้ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
            1. คุ้มครองชีงิต ถึงอายุ 60 หรือตลอดชีวิต
            2. เบี้ยถูกมากกกกกก

 ตุ่ม C = เงินออมเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข  

การลงทุนของตุ่ม C ต้องมีการคุ้มครองเงินต้น แต่ถ้าดอกเบี้ยต่ำมาก
อาจมีทางออก คือ แบ่งเงินจากตุ่ม C มาใส่กระเป๋า "ลงทุน" โดยเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ

จะเห็นว่า ในตุ่มเก็บเงิน A B C นี้
มีตุ่มA เท่านั้นที่เป็นเงินร้อน คือ ต้องเก็บในที่สภาพคล่องสูง เช่นฝากธนาคาร
มีเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่ต้องถอนมาใช้ได้ทันที

ส่วน ตุ่ม B กับ C เป็นเงินเย็นเจี๊ยบ แช่แข็งในส่วนที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่ถอนยาก ถอนลำบาก คือมั่นใจว่า เรามีอะไรเดือดร้อน เราไม่แตะ สองตุ่มนี้ เงินสองตุ่มนี้ฝากแล้วปิดตาย อีก 2 – 20 ปีค่อยมาถอนได้

ขอให้แยกแยะให้ดี อยากได้อะไร ก็หักเงินค่าใช้จ่ายไปซื้อ อย่ามาแตะ 2 ตุ่มนี้เด็ดขาด!!!!!

  

 

 




Create Date : 31 กรกฎาคม 2556
Last Update : 31 กรกฎาคม 2556 0:43:34 น. 0 comments
Counter : 2282 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

look up
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add look up's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.