"Neo-Warrior กู ผู้ชนะ"
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
21 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 

แพนเซอร์ 1 (Pz Kpfw I)

สายพันธุ์ม้าศึกแห่ง ไรซ์ ที่ 3

Panzerkampfwagen I (แพนเซอร์แคมซ์ฟวาเกน 1)
และอนุพันธุ์



1 Panzerkampfwagen I Ausf A ohne Aufbau
ชื่ออื่นๆอย่างไม่เป็นทางการ Krupp Traktor LaS
ประเภท ยานเกราะเบาสำหรับใช้ฝึก
โรงงานผลิต Henschel , MAN , Daimler-Benz , Rheinmetall-Borsig ,
Krupp-Gruson
หมายเลขตัวถัง 8011-9000
ยอดการผลิต15 คัน ระหว่าง เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือน เมษายน 1934
มาตรทานรถ

พลประจำรถ 2 นาย
น้ำหนัก(ตัน) 3.5
ยาว(เมตร) 4.02
กว้าง(เมตร) 2.06
สูง(เมตร) 1.15
เครื่องยนต์ Krupp M
ระบบส่งกำลัง 5 เกียร์เดินหน้า 1 เกียร์ถอยหลัง
ความเร็วสูงสุด 37 กม./ชม.
พิสัยปฏิบัติการ 145 กม.

เกราะ




* มุม คือ มุมลาดเอียงของแผ่นเกราะ เช่น 13/27 หมายความว่า แผ่นเกราะหนา 13 มม. และเอียงทำมุม 27 องศา


ประวัติ จากสนธิสัญญาแวร์ซาย เยอรมันถูกจำกัดในการผลิตอาวุธหรือแผนแบบรถถังและยานรบต่างๆ เยอรมันจึงหาทางออกด้วยการผลิตเพียงแคร่รถถัง โดยไม่มีโครงสร้างส่วนบน ป้อมปืน หรืออาวุธโดยจะทำการผลิต 15 คัน เยอรมันนั้นต้องการให้คนของตนมีประสบการณ์ในการผลิตและต้องการกระจายการผลิตให้ได้กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นในปี 1933 5 บริษัทจึงถูกเลือกให้ทำการผลิตแคร่รถดังกล่าวโดยจะผลิตบริษัทละ 3 คัน เยอรมันได้ทำการปกปิดโครงการณ์ดังกล่าวโดยใช้ชื่อว่า Landwirtschaftlicher Schlepper (รถแทร็กเตอร์ทางการเกษตร) แต่อันที่จริงแล้วมันคือการเริ่มต้นของการเรียนรู้ในการแผนแบบและผลิตรถถังและยานเกราะแบบต่างๆ
คุณลักษณะเฉพาะ เป็นยานเกราะสายพานแต่มีเฉพาะตัวถังรถ สายพานช่วงล่างแต่ละข้างประกอบด้วย ล้อขับสายพาน(ล้อฟันเฟือง ใช้ในการขับเคลื่อน) 1 ล้อ,ล้อกดสายพาน 4 ล้อ ล้อกดสายพานล้อที่ 5 ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าจะทำหน้าที่เหมือนกับล้อปรับสายพาน,และล้อรับสายพาน 3 ล้อ ล้อกดสายพานล้อหน้าสุดรับแรงกระแทกด้วย คอยสปริงและไฮโดรลิกซ์ชอร์กแอบซอบเบอร์ ส่วนอีก 4 ล้อที่เหลือ(รวมทั้งล้อที่5ที่ใหญ่กว่าที่ทำหน้าที่เหมือนกับล้อปรับสายพาน) จะเข้าคู่กันรับแรงกระแทกด้วยแหนบสปริงเสริมด้วยแผ่นตง(แผ่นเหล็กยาว) ซึ่งเจ้าแผ่นตงนี้เป็นร่องรอยหลงเหลือและพัฒนามาจากการออกแบบช่วงล่างของ คาร์เดน-ลอร์ด(Carden-Loyd)
ประวัติการรบ เนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อเป็นยานสำหรับการฝึกไม่ได้แผนแบบมาเพื่อทำการรบจึงไม่มีประวัติการรบ ในฤดูใบไม้ผลิปี 1934 Krupp Traktor ได้แจกจ่ายให้กับกรมยานเกราะ 2 กรมแรก, Kraftfahrlehrkommando(Motorization Instructional Command:น่าจะแปลได้ประมาณว่า กองบังคับการหน่วยฝึกยานยนต์) Zossen และ Ohrdruf ได้ฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในการขับยานเกราะสายพานเป็นครั้งแรก




Pz Kpfw I Ausf A ohne Aufbau





2 Panzerkampfwagen I Ausf A (Sd Kfz 101)
ชื่ออื่นๆอย่างไม่เป็นทางการ LaS (Vs Kfz 617)
ประเภท รถถังเบาติดปืนกล
โรงงานผลิต Henschel , MAN , Daimler-Benz , Krupp, Krupp-Gruson
หมายเลขตัวถัง 9001-10477
ยอดการผลิต 818 คัน ระหว่างเดือน กรกฎาคม 1934 ถึง เดือน มิถุนายน 1936

มาตรทานรถ


พลประจำรถ 2 นาย
น้ำหนัก(ตัน) 5.4
ยาว(เมตร) 4.02
กว้าง(เมตร) 2.06
สูง(เมตร) 1.72
เครื่องยนต์ Krupp M 305
ระบบส่งกำลัง 5 เกียร์เดินหน้า 1 เกียร์ถอยหลัง
ความเร็วสูงสุด 37 กม./ชม.
พิสัยปฏิบัติการ 145 กม.
วิทยุ FuG2
อาวุธ

ปก. MG 13 ขนาด 7.92 มม. 2 กระบอก
มุมส่าย 360 องศา (หมุนด้วยมือ)
มุมกระดก ต่ำสุด -12 องศา สูงสุด +18 องศา
ศูนย์เล็ง TZF2
อัตรากระสุน 2250 นัด (ธรรมดา:ธด./ส่องวิถี:สว.)

เกราะ





ประวัติ ดั้งเดิมแล้วรู้จักกันในนาม MG Panzerwagen (Armoured MG carrier)(Vs Kfz 617) หรือ ยานเกราะบรรทุกปืนกลนั่นเอง Pz Kpfw I Ausf A นับได้ว่าเป็นรถถังแบบแรกของเยอรมันที่เข้าสายการผลิตและมียอดการผลิตจำนวนมาก ในขั้นต้นยอดสั่ง 135 คันได้ถูกส่งให้กับบริษัท Krupp และก็มียอดสั่งเพิ่มเติมตามมาอีก 450 คันในเดือน มกราคม 1934
คุณลักษณะเฉพาะ Pz Kpfw I Ausf A มีแคร่รถและระบบช่วงล่างแบบเดียวกับ Pz Kpfw I Ausf A ohne Aufbau ตัวรถส่วนบนถูกสร้างอยู่เหนือสายพานมีป้อมปืนอยู่ทางด้านขวา โดยที่ว่างด้านซ้ายถูกเว้นไว้สำหรับพลขับและช่องทางเข้าออก ป้อมปืนติดตั้งปืนกล 2 กระบอกร่วมแกนกัน โล่ปืนด้านหน้าเป็นแบบติดตั้งภายใน ถึงแม้ว่าจะมีพลประจำรถเพียง 2 นาย แต่ตัวรถมีช่องตรวจการณ์ 5 ช่อง และที่ป้อมปืนอีก 6 ช่อง ในรุ่นแรกๆนั้น Pz Kpfw I Ausf A ประสบปัญหาเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องเกิดโอเวอร์ฮีต ต่อมาได้ทำการแก้ไขโดยการเพิ่มช่องดักลม โดยติดตั้งที่บริเวณข้างบนด้านหลังตัวรถ และอีก 2 ช่องที่ด้านท้ายเพื่อดูดอากาศออก
ประวัติการรบ Pz Kpfw I Ausf A ล็อตแรกที่ผลิตเสร็จถูกแจกจ่ายไปยังหน่วยครั้งแรกในปี 1934 ในปี 1935 Kraftfahrlehrkommando ได้รับ Pz Kpfw I Ausf A จำนวน 475 คัน หน่วยยานเกราะหน่วยใหม่ๆได้ถูกจัดตั้งขึ้นและได้ดึงตัวฝ่ายเสนาธิการ(เสธ.)มาจากตามหน่วยเก่าๆ และฝ่ายเสธ.เหล่านั้นก็ได้นำเจ้า Pz Kpfw I Ausf A มาใช้เป็นยานฝึกในหน่วยของตนเอง ทำให้ในช่วงเริ่มต้นสงคราม(สงครามโลกครั้งที่ 2) มี Pz Kpfw I Ausf A กระจายไปตามหน่วยยานเกราะแทบจะทุกหน่วย Pz Kpfw I Ausf A ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในการรบ โปแลนด์ และ ฝรั่งเศส Pz Kpfw I Ausf A ได้จ่ายให้กับกองพันยานเกราะ 40 กองพัน ในการบุกเดนมาร์กและนอร์เวย์ ปลายปี 1940 จนถึงปี 1941 เยอรมันได้ถอน Pz Kpfw I Ausf A ออกจากหน่วยในสมรภูมิหลักทั้งหมด การปฏิบัติการครั้งสุดท้าย Pz Kpfw I Ausf A ได้เข้าร่วมการยุทธในฟินแลนด์และอัฟริกาเหนือในปี 1941







3 Panzerkampfwagen I Ausf B(Sd Kfz 101)
ชื่ออื่นๆอย่างไม่เป็นทางการ LaS Maybach
ประเภท รถถังเบาติดปืนกล
โรงงานผลิต Henschel , MAN , Daimler-Benz , Krupp, Krupp-Gruson ,
Wegmann
หมายเลขตัวถัง 10478-16500
ยอดการผลิต 675 คัน ระหว่างเดือน สิงหาคม 1935 ถึง เดือน มิถุนายน 1937

มาตรทานรถ
พลประจำรถ 2 นาย
น้ำหนัก(ตัน) 5.8
ยาว(เมตร) 4.42
กว้าง(เมตร) 2.06
สูง(เมตร) 1.72
เครื่องยนต์ Maybach NL38TR
ระบบส่งกำลัง 5 เกียร์เดินหน้า 1 เกียร์ถอยหลัง
ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม.
พิสัยปฏิบัติการ 170 กม.
วิทยุ FuG2

อาวุธ

ปก. MG 13 ขนาด 7.92 มม. 2 กระบอก
มุมส่าย 360 องศา (หมุนด้วยมือ)
มุมกระดก ต่ำสุด -12 องศา สูงสุด +18 องศา
ศูนย์เล็ง TZF2
อัตรากระสุน 2250 นัด (ธรรมดา:ธด./ส่องวิถี:สว.)

เกราะ




ประวัติ หลังจาก Pz Kpfw I Ausf A ได้ผ่านการใช้งานจริงและได้ตรวจพบถึงปัญหาเครื่องยนต์มีความร้อนสูง จึงนำเอาป้อมปืนและโครงสร้างส่วนบนมาติดตั้งกับโครงรถใหม่ซึ่งโครงรถดังกล่าวได้ออกแบบสำหรับ Kl Pz Bef Wg (Kleiner Panzerbefehlswagen)ซึ่งเป็นรถถังแพนเซอร์ 1 ตัวบังคับบัญชา ซึ่งจะได้นำเสนอรายละเอียดต่อไป
คุณลักษณะเฉพาะ Pz Kpfw I Ausf B มีแคร่รถยาวกว่า Ausf A เพราะว่าได้ใช้แคร่รถที่ได้ออกแบบสำหรับ Kl Pz Bef Wg (Kleiner Panzerbefehlswagen) ระบบช่วงล่างได้รับการดัดแปลงใหม่ โดยเพิ่มล้อกดสายพาน ล้อรับสายพาน และล้อปรับสายพาน Ausf B จะมีล้อกดสายพาน 5 ล้อ ล้อรับสายพาน 4 ล้อ และ ล้อปรับสายพาน 1 ล้อ (ล้อที่อยู่ท้ายหลังสุด) โดยล้อปรับสายพานนั้นจะมีมุมที่ยกสูงขึ้นกว่าล้อกดสายพาน(ไม่สัมผัสพื้นในการวิ่งบนพื้นผิวเรียบ)ทำให้ความยาวของช่วงล้อที่สำผัสพื้น(ล้อกดสายพาน)และความยาวของการใช้งานล้อรับสายพาน(ล้อเล็กๆด้านบน)ไม่ได้ยาวไปกว่าเดิม ด้านบนของท้ายรถก็ได้รับการดัดแปลงสำหรับการติดตั้งช่องดักลมสำหรับการจ่ายอากาศและระบายอากาศของเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำและระบบหม้อน้ำของเครื่องยนต์ สำหรับป้อมปืนและโครงสร้างส่วนบนของ Ausf B เหมือนกับ Ausf A
ประวัติการรบ Pz Kpfw I Ausf B ได้ถูกจ่ายให้กับหน่วยยานเกราะทั้งหมดที่มีอยู่ตอนนั้นในปี 1935 จนถึงปี 1940 ครึ่งหลังของปี 1940 จนถึงต้นปี 1941 ซึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสุดท้ายของการประจำการจนกระทั้งเยอรมันบุกรัสเซียในเดือน มิถุนายน(ยุทธการ บาบารอสซ่า) มี Ausf B เหลือในกรมยานเกราะต่างๆรวมกันเพียง 74 คัน นอกจากหน่วยยานเกราะแล้ว Ausf B ยังถูกจ่ายให้เป็นรถของ ผบ.ร้อย.(ผู้บังคับกองร้อย) และ ผบ.พัน.(ผู้บังคับกองพัน) ของกองพันต่อสู้รถถัง(Panzerjagerabteilung: Sf : Pz Jag Abt หน่วยพิฆาตรถถังยุทโธปกรณ์ที่ใช้คือ ปืนต่อสู้รถถัง อัตราจร ซึ่งเป็นการนำเอาปืนต่อสู้รถถังมาติดตั้งบนแคร่รถแบบต่างๆของเยอรมัน สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องลากจูง)ด้วยเช่นกัน ในช่วงท้ายปี 1943 ผบ.หน่วยของกองพันต่อสู้รถถังได้จดบันทึกข้อบกพร่องต่างๆและบ่นเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องที่ Ausf B ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรถบังคับบัญชา เพราะไม่สามารถตอบสนองต่อการบังคับบัญชาหน่วยได้เต็มประสิทธิภาพ

*หมายเหตุ ช่วงล่างของรถถัง หลักๆนั้นจะประกอบไปด้วยล้อแบบต่างๆดังนี้
- ล้อขับสายพาน(sprocket) ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนสายพานเพื่อทำให้ตัวรถ
เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ
- ล้อกดสายพาน(road wheel) ทำหน้าที่กดสายพานให้สัมผัสพื้นในการ
เคลื่อนที่
- ล้อรับสายพาน(return roller) เป็นล้อเล็กๆอยู่ด้านบนของล้อกดสายพานทำ
หน้าที่รองรับสายพานช่วงด้านบน
- ล้อปรับสายพาน(idler) ทำหน้าที่ปรับความตึงของสายพาน




Pz Kpfw I Ausf B





4 Panzerkampfwagen I Ausf B ohne Aufbau
ชื่ออื่นๆอย่างไม่เป็นทางการ Instandsetzungskraftwagen I
ประเภท รถเกราะเบากู้ซ่อม
โรงงานผลิต Henschel , MAN ,Daimler-Benz , Krupp-Gruson ,Wegmann
หมายเลขตัวถัง 10478-16500
ยอดการผลิต 164 คัน ระหว่าง ปี 1936 ถึง เดือน พฤศจิกายน 1938
มาตรทานรถ

พลประจำรถ 3 นาย
น้ำหนัก(ตัน) 4.0
ยาว(เมตร) 4.42
กว้าง(เมตร) 2.06
สูง(เมตร) 1.35
เครื่องยนต์ Maybach NL38TR
ระบบส่งกำลัง 5 เกียร์เดินหน้า 1 เกียร์ถอยหลัง
ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม.
พิสัยปฏิบัติการ 170 กม.

เกราะ




ประวัติ Pz Kpfw I Ausf B ohne Aufbau ถูกออกแบบขึ้นสำหรับเป็นยานเกราะเบากู้ซ่อมประจำกองร้อยยานเกราะ
คุณลักษณะเฉพาะ Pz Kpfw I Ausf B ohne Aufbau ออกแบบมาจากตัวถังของ Pz Kpfw I Ausf B แต่ตัดในส่วนของป้อมปืนและโครงสร้างส่วนบนออกไป ส่วนบนของท้ายรถยังคงเหลือไว้เพื่อป้องกันเครื่องยนต์จากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศและในเรื่องของการไหลของอากาศในระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์
ประวัติการรบ Pz Kpfw I Ausf B ohne Aufbau ถูกแจกจ่ายให้กับตอนซ่อมบำรุงของกองร้อยยานเกราะ จนถึงปี 1941 Ausf B ohne Aufbau ก็ถูกมองว่าเล็กเกินไปสำหรับการกู้ซ่อม ตั้งแต่กลางปี 1940 Ausf B ohne Aufbau จึงถูกปลดประจำการออกจากตอนซ่อมบำรุงและได้ส่งไปเป็นยานเกราะหลักสำหรับการฝึกแทน









 

Create Date : 21 มีนาคม 2551
11 comments
Last Update : 8 เมษายน 2551 16:50:01 น.
Counter : 7005 Pageviews.

 

 

โดย: shame_of_sins 8 เมษายน 2551 2:47:18 น.  

 

 

โดย: Opey 21 เมษายน 2551 3:39:33 น.  

 

มาเยี่ยมว่ะ

555

 

โดย: helldiver 28 เมษายน 2551 19:50:45 น.  

 

โหล ๆ ๆ พี่บอมส์

 

โดย: นางน่อยน้อย 9 พฤษภาคม 2551 6:40:42 น.  

 

มาทักทายครับ
หลังจากจบแล้ว ไม่ทราบน้องบอมส์สังกัด หน่วยไหนครับ
รูปที่ท่านฝึกตอนเรียนอยู่ ยังเก็บไว้ทุกรูปครับ ชอบ

 

โดย: FT Wing IP: 61.91.73.130 10 มิถุนายน 2551 15:34:34 น.  

 

ท่าทางจะนาซีเหมือนกันสิเนี่ย ขอแอดไว้นะ

 

โดย: บุปผาชน (นภานุภาพ ) 19 กรกฎาคม 2551 1:17:43 น.  

 

เฮ้ย กรูรอแพนเซอร์แคมป์สวาเกน สอง เนี่ย แต่ใจตอนนี้ลอยไปถึง เลพเพิร์ด แล้วนะ

555

 

โดย: helldiver 17 สิงหาคม 2551 1:41:56 น.  

 

มีไวใช้ ใช้เข้า แพนเซอร์โคโร ราโด

 

โดย: คิกาปู IP: 124.157.206.44 25 กันยายน 2551 23:07:10 น.  

 

หวัดดีคร้าบ

 

โดย: SuperToy_nc 4 เมษายน 2553 0:13:13 น.  

 

สวัสดีครับ อยากคุยจังเลยครับไม่ได้เจอตั้งนาน

 

โดย: phat21 (tinaphat ) 13 มิถุนายน 2553 7:08:15 น.  

 

ของง่ายๆแบบนี้ทำไม ไม่ให้บริษัทเอกชนภายในประเทศเปิดสายการผลิต เพื่อไปช่วยราชการใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศเราผลิตรถยนต์ส่งออก มีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติเปิดโรงงานอยู่เป็นจำนวนมา ไม่จำเป็นต้องนำเข้าด้วยซ้ำ ประเทศเราส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนติดอันดับโลกทั้งในเรื่องคุณภาพและปริมาณ รวมถึงการออกแบบ
แต่ทำไมเราถึงปล่อยพี่น้องเราไปตายโดยที่เราไม่ช่วยอะไรเลย

 

โดย: เฮียคนเก่า IP: 124.120.3.25 30 มกราคม 2554 14:47:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


FW190
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"วันใดพ่ายแก่ไพรี วันนั้นปฐพีไม่มี กู"
Friends' blogs
[Add FW190's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.