|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
มังกรเซน...หากเจ้าพบพระพุทธเจ้า จงฆ่าพระองค์เสีย!
สมัยหนึ่ง...นานมาแล้ว ผมเคยเห็นหนังสือปรัชญาเซนหลายเล่มของดอกหญ้าอยู่บนแผงหนังสือ ไม่นานก็หายไป จึงดีใจไม่น้อยที่เห็น "มังกรเซน" เล่มนี้ของคุณวินทร์ เลียววาริณ
Blog 
หนังสือเล่มนี้ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติและที่มาที่ไปของเซนที่หาอ่านจากที่อื่นได้ยาก ไล่มาตั้งแต่พระโพธิธรรมจนถึงยุคที่เซนไปเรืองรองในญี่ปุ่น จนกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น นับเป็นหนังสือเซนที่ควรมีไว้ประดับตู้หนังสือเป็นอย่างยิ่ง
คุณวินทร์ได้ให้ข้อสังเกตไว้ในหนังสือว่าผู้รู้หลายท่านเห็นว่าเซนไม่ใช่ทั้งศาสนาและปรัชญา ไม่มีพิธีกรรม ไม่มีพระเจ้า แต่เป็นเหมือนสายธารทางความคิดอีกแขนงหนึ่งที่มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา บางคนมองว่าเป็นส่วนผสมแนวคิดของพุทธและเต๋า ฯลฯ
ส่วนตัวผมมองว่าเซนก็คือพุทธศาสนานิกายหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะพิเศษตรงที่ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรม แต่เน้นไปที่การบรรลุธรรมโดยตรง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการบรรลุธรรมแบบเซนแตกต่างอย่างไรกับนิพพาน แต่ที่เห็นได้ชัดคือ เซนไม่มีเรื่องปาฏิหาริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทว่าหัวใจหรือแก่นของเซนมิได้ต่างจากคำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นคือความว่าง อนัตตา และการเข้าถึงธรรมชาติเดิมแท้ของเรา
ผมชอบอ่านเซน (แม้จะเข้าใจไม่ถึงครึ่งของที่อ่าน) ก็เพราะประทับใจในแนวคิดของเซนที่เน้นความเรียบง่าย ทว่าลุ่มลึกอย่างยิ่ง เซนไม่มีหลักการสอนหรือคัมภีร์ตายตัว ไม่ยึดติดกับแบบแผนหรือกติกาใดๆ หลักการของเซนคือการทำลายกรอบแห่งความเคยชิน หากจะเรียกแบบสมัยใหม่ก็อาจเรียกได้ว่าเป็น "พุทธะแบบนอกกรอบ"
จากคำโปรยปกหลัง...
ถามว่าทำไมต้องอ่านเซน คำตอบคือไม่จำเป็น ทว่าการอ่านเซนจะเป็นประสบการณ์หนึ่งในการเข้าใจการดำรงอยู่ของเราในโลกนี้ เพราะเมื่อเห็นความไร้สาระของอัตตา ก็ทำให้โลกนี้เย็นลงทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากเหลือเกินในยุค 'เท่าไรก็ไม่พอ'
"หากเจ้าพบพระพุทธ จงฆ่าพระองค์เสีย!"
ความหมายของปริศนาธรรมนี้คือ...อย่าได้ยึดติดถือมั่นกับสิ่งใด แม้กระทั่งองค์ศาสดา คัมภีร์ หรือกระทั่งตัวตนของเราเอง นี่นับเป็นจุดโดดเด่นของเซนที่ต่างจากแนวคิดหรือนิกายทางพุทธศาสนาอื่นๆ นั่นคือการมุ่งสู่หนทางแห่งการบรรลุธรรมโดยตรงเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจต่อพิธีกรรมหรือเปลือกนอกอื่นใดทั้งสิ้น
เซนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ นั่นคือเราทุกคนล้วนมีพุทธภาวะอยู่ในตัว อยู่ที่ว่าจะ "ตื่น" หรือไม่
ในแง่ของกฎแห่งกรรม...เราอาจเชื่อว่าคนที่จะบรรลุธรรมได้ต้องสั่งสมบุญและธรรมบารมีมาพอสมควร ทว่าจุดน่าคิดอาจอยู่ที่ว่า...แล้วเรามั่นใจหรือว่าโอกาสของเรา (ที่จะก้าวเข้าไปให้ใกล้อีกสักก้าวหนึ่ง) จะมิใช่ในชาติภพนี้แหละ! หรือกระทั่งว่า...ไม่เริ่มตอนนี้แล้วจะเริ่มเมื่อใดเล่า?
ผมเชื่อว่าการอ่านเซนจะเป็นอาหารทางจิตวิญญาณที่มีประโยชน์ยิ่ง คนอ่านไม่จำเป็นต้องเข้าใจเซนทั้งหมดในทันทีที่อ่าน บทสนทนาธรรมและปริศนาธรรมแบบเซนอาจดูเหมือนเล่นโวหาร แต่อ่านแล้วแบบว่ามันโดน ประทับใจ ได้มุมมองใหม่ๆที่ไม่เคยคิดมาก่อน หากที่แน่ๆ...คนอ่านจะได้ประสบการณ์ของความเรียบง่าย สงบ และอาจ...อมยิ้มได้เป็นพักๆ เป็นได้ทั้งการพักผ่อนและการบริหารจิต
ใครที่กำลังมองหาความสงบและร่มเย็นแห่งจิตใจ เซนอาจเป็นคำตอบ...
"โพธิ์นั้นไม่มีต้น กระจกเงาก็ไม่มี สรรพสิ่งแต่แรกมาคือความว่างเปล่า ฝุ่นละอองจะลงจับบนสิ่งใด?"
Create Date : 03 เมษายน 2553 |
Last Update : 3 เมษายน 2553 21:27:43 น. |
|
5 comments
|
Counter : 4458 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Clear Ice วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:20:26:03 น. |
|
|
|
โดย: ไลเดเลีย วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:19:37:54 น. |
|
|
|
โดย: sundown วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:17:19:39 น. |
|
|
|
โดย: sundown วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:19:14:14 น. |
|
|
|
|
|
|
|
ขอบคุณสำหรับรีวิวนะจ๊ะ