Group Blog
 
<<
มกราคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 มกราคม 2562
 
All Blogs
 
ย้อนรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง



“วิกฤต ต้มยำกุ้ง”

หลังรัฐบาล พล.อ.ชาติชายชุณหะวัณ ซึ่งเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เศรษฐกิจในประเทศไทยดีวันดีคืนดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 10% เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์เมื่อดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศนั้นสูงมากแต่เศรษฐกิจ-ตลาดหุ้นโตไม่หยุด ผู้บริหารทุกบริษัทคุยกันเรื่อง ROE บริษัทเท่าไหร่หลายสถาบันจึงต้องกู้เงินจากนอกประเทศ ซึ่งดอกระยะสั้นจะถูกเพื่อที่เอามาใช้จ่ายหนี้ระยะยาวทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลังเกิดหนี้เสียมากมายในที่สุดก็มีสโลแกนคำว่า”ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย”ประกอบกับช่วงนั้นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องการเก็งกำไรมองเห็นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไม่ดีมีหนี้เยอะและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบคงที่ รัฐบาลซึ่งนำโดยอดีตนายทหารได้ใช้ทุนสำรองทั้งหมดไปสู้กับค่าเงินเมื่อทุนสำรองหมด คนก็เก็งกำไรไปมากแล้ว ทางเดียวที่มีคือต้องลดค่าเงินบาท จาก 25บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ เมื่อรัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาทหนี้ต่างประเทศของทุกคนที่มีจึงเพิ่มเป็น 2 เท่า อันดับแรกคือประเทศจนลงจากค่าเงินที่ลดเด้งที่สองคือหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เจ้าของบริษัทหลายรายฆ่าตัวตายวิกฤตการเงินลามไปทั่วเอเชียแต่จีนยืนยันกับไทยว่าจะไม่ลดค่าเงินหยวนเพื่อแข่งกับประเทศอื่นๆเพราะจะพังกันหมดทั้งภูมิภาค

วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น วิกฤติการเงิน วิกฤติธนาคารหรือวิกฤติหนี้ระหว่างประเทศ โดยอาจเกิดจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดหรือเกิดจากกลไกทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเป็นหนึ่งในตัวอย่างของวิกฤติเศรษฐกิจทางด้านการเงิน

ประวัติของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

คำอธิบาย: https://www.npc-se.co.th/backoffice/stock_photo/A_872.jpg

ภาพการ์ตูนวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

https://npc-se.co.th

พ.ศ. 2540 มีการไหลเข้าของทุนรวมสู่ประเทศในทวีปเอเชียโดยที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สามารถรักษาอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงนักลงทุนชาวต่างชาติจึงเข้าสู่ภูมิภาคนี้กันมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า ผลดีคือประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอย่างมากมีเงินเข้าภูมิภาคเป็นปริมาณมาก รวมทั้งมูลค่าสินทรัพย์สะสมก็เพิ่มขึ้นในช่วงนั้นทวีปเอเชียได้รับการกล่าวว่าเข้าสู่ช่วง “ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจแห่งเอเชีย” แต่ “พอล ครุกแมน” นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งไม่เห็นด้วยว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้จะเกิดผลดีเขากล่าวว่าการเจริญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เกิดจากการลงทุนแต่ปัจจัยรวมด้านผลิตภาพนั้นแทบไม่เพิ่มขึ้นซึ่งตามหลักแล้วการเจริญโดยที่ปัจจัยรวมเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นการเจริญที่แท้จริงคือมีความมั่นคง และมั่งคั่งในระยะยาว ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งขึ้นโดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

การนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐบาลไทยสมัยนั้นประกาศลอยตัวค่าเงินบาทโดยตัดการอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก

ไม่นานวิกฤตินี้ก็ขยายสู่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งญี่ปุ่นอีกด้วย ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มีการปรับตัวลดลงส่วนภาคเอกชนก็มีหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้น ได้แก่เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย แต่ พ.ศ. 2542 เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว

สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง อาจแบ่งได้ 5 สาเหตุดังนี้

1. หนี้ต่างประเทศ

ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางระบบการเงินเกิดการก่อหนี้ และการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจาก

              - พ.ศ. 2533 ไทยเปิดระบบการเงินสู่สากล ตามพันธะสัญญาใน IMF

              - พ.ศ. 2534 ไทยประกาศปริวรรตเงินตราต่างประเทศ(การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ หรือInternational Monetary System คือ แนวทางการควบคุมปริมาณเงิน โดยประเทศต่าง ๆ จะรักษาค่าของเงินให้คงที่จากการเทียบกับสิ่งของบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้โลหะเงินและทองคำ)

              - พ.ศ. 2535 ธนาคารพาณิชย์ตั้งกิจการ “วิเทศธนกิจไทย” ( BIBF – BangkokInternational Banking Facilities คือ ธนาคารที่ทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แล้วนำมาให้กู้ทั้งภายในและนอกประเทศไทยหรือคือการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีนั่นเอง ) และในปี พ.ศ. 2536 มีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแต่รัฐบาลไม่มีการดูแลที่มีประสิทธิภาพ

คำอธิบาย: https://www.doctorwe.com/wp-content/uploads/2012/05/420.jpg

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการลงข่าวการอนุมัติ BIBF

https://www.doctorwe.com/variety/20120522/1279

2. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออกที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว

3. ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

อาจเรียกว่าการลงทุนที่เกินตัวโดยช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539 กิจการอสังหาริมทรัพย์ เช่น สนามกอล์ฟ ที่อยู่ อาคาร สวนเกษตรหรือสำนักงานต่าง ๆ เกิดขึ้น และเติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศและการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุนต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้ประกอบการจึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่” ( Economic Bubble / Bubble Economy )เป็นภาวะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงกว่าความเป็นจริง และเพิ่มอย่างต่อเนื่องผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวเหมือนฟองสบู่ เราอาจเคยเจอคำว่า “ภาวะฟองสบู่แตก” นั่นคือ ภาวะฟองสบู่ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆเมื่อราคาเริ่มลดลง ผู้ประกอบการจะเลิกลงทุนเกิดการหดตัวเหมือนฟองสบู่ที่หดตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาหนี้เสียขึ้นตามมาเหมือนฟองสบู่ที่แตก ( หนี้เสีย คือ หนี้ที่เมื่อเราทวงจากลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่สามารถชำระให้ได้ ความหมายคล้ายกับ สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ – NonPerforming Loan หรือ NPL ส่วนหนี้สูญ คือหนี้ที่เราไม่สามารถทวงจากลูกหนี้ได้ เพราะลูกหนี้อาจหายสาบสูญ หรือเสียชีวิต )

4. การดำเนินงานของสถาบันการเงิน

                  - พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2540 รัฐบาลไม่เชื่อมั่นสถาบันการเงินในประเทศและสั่งปิดสถาบันการเงินไปถึง 58 สถาบันโดยรัฐบาลต้องใช้เงินสนับสนุนสถาบันการเงินเหล่านั้นถึง 6 แสนล้านบาท จาก “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน” ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย

5.  การโจมตีค่าเงินบาท

โดยนักลงทุนต่างชาติมีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาทเมื่อเงินสำรองมีน้อยลง นายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ“ลอยตัวค่าเงินบาท” เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

คำอธิบาย: https://www.doctorwe.com/wp-content/uploads/2012/05/1419.jpg

นาย George Soros ผู้ดูแลกองทุน Quantum Fund หนึ่งในกองทุน  “Hedge Funds”

https://www.doctorwe.com/variety/20120522/1279

ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา

         - สัดส่วนระหว่างหนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์

         - IMF (หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซียไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด

         - ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวันถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่าไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้

         - ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมากมีการกดดันให้รัฐบาลลาออก

         - ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาทโดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

         - สำหรับการแก้ไขนั้นไม่มีแนวทางที่ชัดเจน IMF ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดและปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ จึงเพียงประคองสถานการณ์ และให้ประชาชนหันมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุน SMEs กองทุนหมู่บ้าน OTOP ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น




Create Date : 27 มกราคม 2562
Last Update : 27 มกราคม 2562 23:35:10 น. 0 comments
Counter : 346 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1997699
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1997699's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.