ยืนอยู่บนข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เป็นกลาง
space
space
space
space

3. แรกรัก น้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน ถ้วยที่ 1.

แรกรัก น้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน

บอกตามตรงนะว่า  เพราะสเปค “ Power : 105PS (77KW) + Torque  : 250N.m at 1,500-2,500 รอบ/นาที” นี่แหละ มันคือ สิเนหาอย่างต้นๆสำหรับรถคันนี้เลยก็ว่าได้  โดยเฉพาะน้ำหนักตัวเพียง 1,174 kg ( รวมน้ำหนักตัวคนขับเข้าไปก็ยังไม่ถึง 1,250 kg )  เอาเป็นว่า ถ้าคุณเป็น Mister Spec.  แค่ดูเพียงเท่านี้  จะบอกเลยว่ารถคันนี้จะเป็นรถที่ขับได้สนุกสนานๆมากคันหนึ่ง   มันควรจะเป็นรถที่ตอบสนองเท้าขวาของเราได้ดีมากๆทีเดียว     บวกกับเสียงลือเสียงเล่าอ้าง ที่บอกว่ามันเป็นรถที่โครตจะประหยัดค่าน้ำมันมากมายทีเดียวเชียวเอย  มันจะจริงแบบนั้นเชียวหรือ ที่ทั้งแรง ทั้งประหยัด  

เรามาดูโฆษณาจากผู้ผลิตที่เอ่ยอ้างถึงคุณงามความดีในแต่ละสิ่งที่เขาได้สรรหาใส่เข้าไปในเพื่อผลแห่ง Value added ในรถคันนี้กันดูนะ

 

i-Stop ระบบที่ช่วยลดการเผาน้ำมันทิ้ง

ระบบ i-Stop หรือ ระบบ Stop and Start ที่ใครๆในโลกนี้เขาก็เริ่มมีกันแล้ว  พูดง่ายๆก็คือ ระบบจะดับเครื่องยนต์ให้เมื่อเรากดเบรคให้รถหยุดนิ่งอยู่กับที่  ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว มันจะช่วยประหยัดน้ำมันให้ได้ระดับหนึ่งในขณะที่เราติดไฟแดงช่วงสั้นๆไม่เกิน 2 นาที  แลกกับการต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีค่า CCA สูงกว่าเดิมจากที่เราเคยใช้ในรถรุ่นเก่าๆ
 

 

i-ELOOP ระบบที่สามารถลดอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

มาซสะด้าท่านเคลมไว้ว่า มันสามารถลดอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ถึง 10% เชียวหนานะออเจ้า   ระบบนี้จะประกอบด้วย Generator หรือ ที่เราเรียกกันบ้านๆว่า ไดชาร์จ ( ที่สามารถปั่นไฟได้ตั้งแต่ 13+ volt ไปยันถึงเกือบๆ 25 volt ) , SuperCapacitor ( ขอย่อสั้นๆว่า Capa ) และ DC to DC converter ( แปลง่ายๆว่า เครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสตรงแรงเคลื่อนสูง ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแรงเคลื่อนต่ำ , ขอย่อสั้นๆว่า DC-DC )   


การทำงานของมันก็คือ  เมื่อเราขับรถไปเรื่อยๆ  ไดชาร์จจะทำหน้าที่เหมือนกับรถทั่วไป  ส่งไฟที่ปั่นออกไปยัง DC-DC ปรับแรงดันไฟให้เหมาะสม แล้วส่งไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆในรถยนต์   แต่พอเราขับรถเร็วถึงระดับหนึ่ง  แล้วต้องกดเบรค หรือ ยกคันเร่ง   กล่องคอมพิวเตอร์มันจะส่งคำสั่ง (bus) ไปสั่งให้ไดชาร์จปรับเพิ่มแรงไฟให้สูงขึ้น(สูงสุดถึง 24.3V)  แรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งก็จะเอาไปป้อนให้ Capa เก็บประจุไฟฟ้า  ( Capaนั้น ถึงแม้ว่ามันอาจจะเก็บประจุไว้ได้ไม่มากเท่ากับแบตเตอรี่  แต่มันประจุได้จนเต็มภายในระยะเวลาสั้นๆเลยเชียวนะ ) อีกส่วนหนึ่งก็จะส่งต่อไปยัง DC-DC แล้วลดค่าแรงดันไฟฟ้าลงมาในระดับที่เหมาะสมต่อการใช้งานภายในรถ และการชาร์จไฟคืนให้แก่แบตเตอรี่

คราวนี้พอภาวะที่ต้องเบรค หรือ ยกคันเร่ง ผ่านไป   ภายใน Capa จะมีประจุไฟฟ้ามากมายอยู่จำนวนหนึ่ง   ซึ่งก็มากพอที่จะส่งไปยัง DC-DC เพื่อส่งต่อให้รถเอาไปใช้งานได้อีกระยะหนึ่ง   กล่องคอมพิวเตอร์จะรับทราบภาวะนี้ แล้วส่ง bus ไปบอกไดชาร์จว่า “เฮ่ย ข้ามีตังค์ใช้แล้ว  เอ็งไม่ต้องบ้าทำงานนักก็ได้ พักซะหน่อยละกัน ไว้ตังค์หมด เอ็งค่อยขยันใหม่”  เท่านั้นแหละ ไดชาร์จก็ไม่ต้องมาโหลดเครื่องยนต์ไปอีกพักหนึ่ง  จึงทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลนี้    

โห มันโครตเจ๋งเลยใช่ป่าว

 

 

 

"SkyActiv drive" ระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 speeds   

ในขณะที่รถเก๋งค่ายญี่ปุ่นแทบจะทุกๆรุ่น  เขาหันไปคบค้าสมาคมกับเกียร์ CVT กันหมดแล้ว  เรื่องหนึ่งที่ควรจะทราบกันสักนิด  เกียร์ CVT มีจำนวนชิ้นส่วนที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมายเท่ากับเกียร์อัตโนมัติที่ใช้ระบบเกียร์ระบบดาวนพเคราหะ์แบบที่เราใช้กันมาก่อน  ทำให้เกียร์มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา และที่สำคัญคือ ต้นทุนโดยรวมมันลดลงจ้า   ออกแบบห้องเครื่องให้เล็กลง แล้วไปเพิ่มขนาดห้องโดยสาร แล้วไปเพิ่ม image ของผลิตภัณฑ์ว่า ภายในโอ่โถง โล่งกว้าง    สรุปคือ มันเป็นธุรกิจล้วนๆเลยนะจ๊ะ 


ส่วนเกียร์ DCT ( dual-clutch transmission ) ซึ่งเป็นเกียร์อัตโนมัติที่มีโครงสร้างกึ่งๆเกียร์แมนนวล แต่ทำงานแบบอัตโนมัติ  มีความได้เปรียบในเรื่องของความว่องไวในการเปลี่ยนเกียร์ ทำให้สร้างความบันเทิงให้กับการขับขี่ได้ดีที่สุด จนคล้ายเกียร์แมนนวล แต่ผ่าสิ หากใครได้เคยเจอกับมันมาก่อน แล้วจะรู้ว่า ไอ้การที่ต้องเหยียบคลัทช์สับเกียร์ถอนคลัทช์ยัดคันเร่งนี่ ใครก็ตามที่ลำพองคิดว่าตรูเป็นเทพแล้ว  พอมาเจอกับการเปลี่ยนเกียร์ของ DCT เข้านี่  จะรู้สึกหดหู่ท้อแท้ และสำนึกตัวได้ว่า เป็นได้แค่พนักงานล้างเท้าเทวดาเท่านั้นแหละ   ครับ เกียร์ DCT มันเป็นเกียร์ที่มีช่วงเปลี่ยนเกียร์ที่เร็วมาก มากจนเร็วกว่าเกียร์แมนนวลภายใต้อุ้งเท้าและอุ้งมือของคนที่ชำนาญมากๆด้วยซ้ำไป  ก็อย่างที่บอกไปหนะนะ    แต่ก็ใช่ว่าเกียร์ DCT มันจะเหมาะสมกับรถญุ่ปุ่นที่มุ่งไปที่ต้นทุนจำกัดนะ  เพราะราคามันแพง แถมขนาดมันก็ไม่ได้เล็กกว่าเกียร์อัตโนมัติแบบที่ต้องใช้ Torque Converter แบบที่เราคุ้นเคยกันหรอกนะ  นอกจากนี้ภายใต้ความซับซ้อนของมันเองนั่นแหละที่กลายเป็นจุดอ่อนในเรื่องของการบำรุงรักษา และการใช้งานในระยะยาว ( อันนี้เป็นเรื่องของผู้บริโภคต้องแบกรับกันเอาเอง )

 

ด้วยความที่มาสด้าเองต้องการอะไรที่มัน”ไม่ใช่”รูปแบบเดิมๆ คือ กูทำทั้งที มันต้องมีอะไรที่”เหนือ”กว่าชาวบ้านเขา  ทุกอย่างก็เลยมุ่งมาที่การพัฒนาเกียร์อัตโนมัติรูปแบบเดิมๆให้ฉีกพ้นข้อจำกัดเก่าๆ  


1. พัฒนาให้เจ้า Torque converter มีขนาดเล็กลง  เพื่อให้การส่งกำลังจากกังหัน Turbine ไปยังกังหัน Impella เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว   จากนั้นก็ออกแบบให้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Lock Up Torque Converter หรือ เรียกแบบมาสด้าว่า Torque Converter Clutch ( ย่อว่า TCC ) ทำงานให้เร็วขึ้นกว่าเดิม   โดยเริ่มทำงานกันตั้งแต่ปลายๆเกียร์ 1 หรือ ต้นๆเกียร์ 2 กันเลยแหละ   อารมณ์แบบนี้มันก็คล้ายๆกับเกียร์แมนนวลเลย  เพราะเกียร์อัตโนมัติโดยทั่วไปนั้น  ตัวTorque converterจะไม่ได้ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังชุดเกียร์แบบ 1:1 เหมือนกับเกียร์แมนนวลหรอกหนา  ทั้งนี้เพราะเจ้ากังหัน Turbine ที่หมุนตามเครื่องยนต์ จะกวักน้ำมันเกียร์ให้เกิด Hydraustatic force ไปผลักให้กังหัน Impella หมุนตาม แล้วกังหัน Impella จะไปฉุดให้ชุดเฟืองเกียร์หมุนต่อไป   แต่การแรง Hydraustatic force นี้ก็ไม่ได้ส่งไปแบบเต็มร้อยหรอกนะ  มันก็ต้องมีการสูญเสียกำลังไปบ้าง  ทำให้รอบของเครือ่งยนต์มันหมุนเร็วกว่ารอบของกังหัน Impella  เราจึงรู้สึกว่า เกียร์อัตโนมัติที่เราเคยรู้จัก มันจะมีช่วงวืดวาด รอบกวาดแล้วความเร็วยังไม่กระชากตาม มันรอนิดๆ

พอมีเจ้า TCC ที่ขยันทำงานเร็วขึ้น  คือ มันจับแล้ว มันก็จับไปตลอดจนกว่าเราจะลดความเร็วให้ต่ำลงมามากๆเท่านั้นแหละ  การส่งกำลังมันจึงเป็น 1:1 ในทันทีที่มันทำงาน  ความสำราญในการขับขี่ก็จะเกิดขึ้นตามมา   แล้วพอมีเจ้า TCC แสนขยัน  Torque converterก็แทบจะไม่ต้องทำหน้าที่อะไรมากมาย  น้ำมันเกียร์ก็เลยไม่ต้องแบกภาระเรื่องการส่งกำลัง  คงเหลือเฉพาะแค่ไปหล่อลื่น ชะล้าง และระบายความร้อนเท่านั้นแหละ  จะไปถ่ายมันทิ้งทำไมเนอะ ??? ฮ่า ฮ่า ฮ่า  ( รออ่านเรื่องราวในตอนถัดๆไปนะ  ช่วงนี้บอกแล้ว แรกรัก น้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน )

 

2. พัฒนาให้ชุด Multiple disc clutch ที่ทำหน้าที่ตัดต่อเชื่อมกำลังระหว่างเกียร์ต่างๆให้มีขนาดใหญ่ขึ้น   เพราะเมื่อ TCC มันขยันกว่ากุลีที่พยายามทำรอบหาเงิน  ชุดclutches ก็จะต้องมารับภาระแทน  ( ในเกียร์อัตโนมัติทั่วไป เวลาเปลี่ยนเกียร์  กำลังเครื่องยนต์ทั้งหมดไม่ได้มาลงที่ชุด Multiple disc clutch หรอกนะ  เพราะเจ้าtorque converter เขาจะแบ่งการรับโหลดไปด้วย  )  การจับของ Multiple disc clutch จึงต้องมีจังหวะที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้มันเองมีการสึกหรอมากเกินไป และ ไม่ทำให้เกิดอาการกระตุกรุนแรงเหมือนกับเวลาที่เราขับรถเกียร์แมนนวลแล้วถอนคลัทช์แบบพรวดพราด 

 

3. เกียร์ลูกนี้มันเป็นเกียร์ระบบไฟฟ้า  การเปลี่ยนเกียร์จะใช้คำสั่งจาก Transmission control module ( TCM , ทำงานผสานกันกับกล่องควบคุมเครื่องยนต์  หรือ Powertrain module )  มาสั่งให้ Solinoid valve เปิดหรือปิด เพื่อส่งหรือตัดแรงดัน Hydraustatic ของน้ำมันเกียร์  ไปยังชุด multiple disc clutch แต่ละชุด   หรือ สั่งให้ TCC จับหรือปล่อยอีกเช่นกัน   ยกยอปอปั้นกันหน่อยก็ได้ เกียร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ 

 

4. เจ้า TCM ตัวดีนี่แหละ คือ สมองของมัน  มันจะเรียนรู้นิสัยใจคอการขับขี่ของผู้ขับ  เช่น  เท้าหนักเบาแค่ไหน  ขับช้าขับเร็วอย่างไร  ส่งผลให้ปรับปรุงรูปแบบการทำงานของ TCC และ การเปลี่ยนเกียร์ให้สอดคล้องกับ”สันดาน”ของคนขับรถคนนั้น  แต่มันต้องเรียนรู้จนเท่าทันสันดานของคนขับอยู่พักหนึ่งก่อน ( จริงๆมันก็ไม่ได้ฉลาดอะไรนักหรอกนะ  เพราะหากมันคุ้นกับสันดานอันนั้น  แล้วคนขับดันหันมาใช้”นิสัยชั่วคราว”บ้าง  อาการไม่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนเกียร์ไม่สอดคล้องกับความต้องการ หรือ การทำงานของ TCC ในจังหวะที่เราไม่ต้องการก็อาจจะมารบกวนกันได้บ้างนะ , ช่างมันเถอะ บอกแล้ว แรกรัก น้ำต้มผัก ก็ว่าหวาน  )

 

5. เกียร์อัตโนมัติ 6 speeds ที่อัตราทดในระดับที่เรียกว่า Overdrive หรือ OD ( อัตราทดที่ต่ำกว่า 1.0 ) จะเริ่มต้นตั้งแต่เกียร์ 5 แปลว่าเกียร์ลูกนี้มีอัตราทด OD ถึง 2 เกียร์   เมื่อบวกเข้ากับแรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์ที่มีมาตั้งแต่รอบต่ำๆ  ก็แปลว่า เกียร์ลูกนี้ก็จะส่งเสริมการขับขี่แบบประหยัดน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากมาย

 

ปล. อย่าดีใจหรือภูมิใจมากมายนัก  เพราะSkyactiv drive ไม่ใช่เกียร์อัตโนมัติลูกแรกที่พัฒนามาด้วยหลักการแบบนี้   อันที่จริงหากรู้จักชื่อเสียงของ “ZF” ซึ่งเป็นขาใหญ่ของวงการเกียร์อัตโนมัติในโลกแห่งยานยนต์มาก่อน  ก็จะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไรกับสิ่งที่ Skyactiv drive ทำได้เลย  เพราะสิ่งที่ Skyactiv drive ทำได้นั้น  ZFทำมาก่อนหน้านั้นนานมากแล้ว  แล้วเรื่องราวdrama ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอายุการใช้งานของน้ำมันเกียร์ก็มาในแนวทางเดียวกัน  แต่อย่าเพิ่งใส่ใจให้เสียอารมณ์หอมหวานของน้ำต้มผักเลยนะครับ  

 

มาดูสื่อโฆษณาที่สาธยายถึงคุณงามความดีของเขากันครับ
 





<--ย้อนกลับไปอ่านตอนก่อนหน้านี้

อ่านต่อตอนถัดไป-->




Create Date : 21 มิถุนายน 2563
Last Update : 21 มิถุนายน 2563 12:24:43 น. 0 comments
Counter : 2200 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

lucifer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add lucifer's blog to your web]
space
space
space
space
space