space
space
space
<<
มีนาคม 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
30 มีนาคม 2566
space
space
space

ความแตกต่างระหว่างค่าไฟเกษตรกับค่าไฟครัวเรือน

เรื่องนี้ควรรู้ ค่าไฟเกษตร กับ ค่าไฟครัวเรือน ต่างกันอย่างไร รวมถึงวิธีการขอใช้ที่แตกต่างกัน 

สำหรับหลายๆ คนคงได้ยินแต่ค่าไฟฟ้าครัวเรือน หรือ ค่าไฟฟ้าบ้าน อาคาร ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ร้านค้า ต่างๆ ซะส่วนมาก น้อยคนหนักคงยังไม่รู้จักว่าค่าไฟฟ้าเกษตร คืออะไร และต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพามาหาคำตอบให้ท่านทราบกันแบบเข้าใจง่ายๆ ตามข้อมูลต่อไปนี้ 

ค่าไฟฟ้าครัวเรือนคือ ค่าไฟฟ้าที่บุคคลประชาชนคนไทยทั่วไปใช้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันในครัวเรือน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือห้างร้านบริษัทออฟฟิศต่างๆ ที่ได้ขอการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีการติดตั้งหม้อแปลงตามหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องนี้กำหนดชี้วัดในการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนของครัวเรือน หรือสถานที่นั้นๆ ตามราคามาตรฐานที่กำหนดไว้อยู่แล้ว  ซึ่งเมื่อถึงกำหนดชำระก็ไปจ่ายเงินตามปกติที่ถือเป็นเรื่องทั่วไปที่หลายๆคนทราบกันดีอยู่แล้ว  สำหรับวิธีการขอใช้ไฟฟ้าครัวเรือนก็ไม่ยุ่งยากหลักๆ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเข้าเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

-เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า มีที่อยู่ที่ชัดเจน สำเนาบัตรประชาชนเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า

-ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษร

-ผู้มีสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมาย หรือตามสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อ เป็นต้น  

สำหรับค่าไฟฟ้าครัวเรือน ก็จะแตกต่างในการใช้งานกันออกไป รวมถึงยังมีค่า FT เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย คราวๆ จะอยู่ประมาณ 4.4217 บาท ขึ้นไป ที่ยังไม่รวมค่าอื่นๆ อีก 

แต่สำหรับไฟฟ้าการเกษตรนั้น หมายถึงคือ ไฟเกษตรคือไฟที่มีไว้ใช้สำหรับทำการเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ไฟเดินเครื่องสูบน้ำ จ่ายน้ำ จ่ายไฟ ในสวน ไร่ นา เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะสามารถใช้ไฟเกษตรได้ แต่ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติต่าง ๆ ที่โครงการกำหนดด้วย ดังนี้ 

จะขอไฟเกษตร ต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง?

1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าพื้นที่ที่จะขอใช้ไฟไม่ได้เป็นพื้นที่หวงห้ามจากราชการ เพื่อที่จะได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

2. เส้นทางต้องเป็นสาธารณะและสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก

3. จุดที่ขอใช้ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงได้จากระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสาย

4. ได้รับการรับรองด้านขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

5. ระบุแหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิตทางการเกษตรให้ชัดเจน

6. ที่ดินต้องไม่ถูกถือครองโดยเอกชนรายใหญ่ และต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร

7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ต่อ 1 ราย

ในส่วนของราคาก็จะแตกต่างกันออกไปอีกด้วย ซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าค่าไฟฟ้าในครัว เพราะส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยลดต้นทุนในการช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรเป็นหลัก 

สำหรับอัตตราค่าไฟการเกษตรปัจจุบันจะอยู่ที่ราคา 4 บาทต่อหน่วย 

ดังนั้นสำหรับไฟฟ้าเกษตรนั้น สามารถทำเรื่องขอได้ โดยพี่น้องเกษตรกร สามารถรวมตัวไปยื่นเรทค่าไฟเป็นไฟเกษตรได้ โดยรวมตัวกันตั้งแต่ 3 ครัวเรือนขึ้นไป ในละแวกพื้นที่การทำเกษตรด้วยกัน หรือ พื้นที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก โดยสามารถติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ของท่านที่ท่านอยู่อาศัยหรือรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์นี้ https://safesavethai.com/articles/what-is-agricultural-electricity/


Create Date : 30 มีนาคม 2566
Last Update : 30 มีนาคม 2566 20:15:49 น. 0 comments
Counter : 310 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7372997
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7372997's blog to your web]
space
space
space
space
space