Bullet journal หรือเรียกสั้นๆให้สะดวกคือ Bujo/ บูโจ เป็นการเขียนบันทึกแบบใหม่ที่รวบเอา to do list, planner, journal, diary มาไว้ด้วยกันได้ในสมุดเล่มเดียว
และมันจะกลายเป็นสมุดที่มาช่วยเราจัดระเบียบชีวิตให้หายยุ่งเหยิงได้
เริ่มต้นการเขียนบูโจ นักเขียนแนะนำให้เอากระดาษ 1 แผ่นมาแบ่งสามช่อง ย้ายข้อมูลจากในหัวเรา เขียนลงไปในกระดาษเป็นรายการในแต่ละช่อง แบ่งออกเป็น "สิ่งที่กำลังทำอยู่"/ "สิ่งที่ควรทำ" และ "สิ่งที่อยากทำ"
พอทำเสร็จเราก็จะเห็นว่า ตอนนี้เรากำลังใช้เวลาไปกับการทำอะไรอยู่ สิ่งที่มีความจำเป็นหรือสำคัญไหม อะไรที่คิดทบทวนแล้วว่าไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญ ก็ตัดทิ้งไป เพื่อให้เราใช้เวลาและพลังงานไปทำในสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ Mental inventory สิ่งที่กำลังทำอยู่ | สิ่งที่ควรทำ | สิ่งที่อยากทำ |
เขียนบูโจ | เก็บเงินให้ได้ 50k | ไปเที่ยวญี่ปุ่นอีกรอบ |
รีวิวหนังสือ | ซื้อประกันสุขภาพ | ไปทำเลเซอร์หน้า |
| | |
เราจะบันทึกอะไรในบูโจ ?
สิ่งที่ต้องทำ - งาน (task)
ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในชีวิต (event)
ข้อมูลที่จดไว้กันลืม (note)
และสิ่งสำคัญคือต้องมีเลขหน้าของสมุดทุกหน้า
ในสมุดบันทึกของเราควรจะมีกี่ส่วน? ควรจะมีอะไรบ้าง?
หนังสือเล่มนี้เรียกการรวมรวมชุดข้อมูลเป็นหัวข้อๆว่า “คอลเล็กชั่น (collection)” ทุก bullet journal ควรจะมี 4 คอลเล็กชั่นหลัก คือ
1. ดัชนี (Index) – สารบัญ ให้เรากลับมาดูว่าบันทึกเรื่องอะไรไว้หน้าไหน
2. บันทึกประจำวัน (Daily Log) - บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น และน่าจดจำลงในบันทึกประจำวัน
3. บันทึกประจำเดือน (Monthly Log) - ถอยออกมามองภาพกว้างว่าเดือนนี้มีอะไรต้องบ้าง
4. บันทึกอนาคต (Future Log) - มองภาพใหญ่ๆ ไกลๆ ว่าในอีกหลายเดือนข้างหน้า เรามีโปรเจคที่ต้องทำให้สำเร็จ หรือแพลนอะไรที่อยากทำในอนาคต
และจุดเด่นของการบันทึกแบบบูโจ คือการย้ายข้อมูล (Migration)
การย้ายข้อมูลในแต่ละเดือนเป็นการโอนย้ายข้อมูลโดยการคัดลอก ในแต่ละเดือนให้ดูว่างานไหนที่ยังไม่เสร็จ (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) ให้นั่งคิดทบทวนกับตัวเองว่า ทำไมถึงไม่เสร็จ
ถ้าเป็นงานที่
ไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญแล้ว ให้ขีดทิ้ง
ถ้าเป็นงานที่สำคัญและเพิ่มคุณค่าในชีวิตของเรา ให้จัดการย้ายข้อมูลไป เช่น > ย้าย taskไป monthly log เดือนใหม่// > ย้าย taskไป collection พิเศษ// < ย้าย taskไป future log เมื่อมีกำหนดการนอกเหนือเดือนปัจจุบัน
memo หลังอ่านจบ: เป็นหนังสือสอนการทำบูโจ บวกกับการบอกเล่าเรื่องราว ยกตัวอย่างของคนที่ลองนำการบันทึกแบบบูโจไปใช้แล้วเห็นผลจริง
โดยส่วนตัวแล้วลองทำตามได้ 1 เดือน (แต่ไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่นหรือจัดข้อมูลตรงตามที่นักเขียนตั้งระบบการเขียนไว้ 100%) ค้นพบว่าการขีดๆเขียนๆทำให้ได้นั่งคุยกับตัวเอง ทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวัน และมันทำให้ช่วยจัดการชีวิตให้เป็นระเบียบขึ้นได้จริง
หากใครชีวิตยุ่งเหยิง ลืมนู่นลืมนี่อยู่บ่อยๆ ลองทำบูโจและนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของตัวเองจะช่วยได้แน่นอน