space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2567
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
28 พฤศจิกายน 2567
space
space
space

นอนไม่หลับ นอนหลับยากเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

นอนไม่หลับเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง? รู้จักอาการที่ไม่ควรมองข้าม

นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ (Insomnia) เกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพกายและใจ สภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต หากมีอาการรุนแรงและเรื้อรังอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้

การนอนไม่หลับเป็นความผิดปกติของการนอนที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะง่วงแต่นอนไม่หลับ นอนไม่หลับเพราะสมองไม่หยุดคิด หรืออาการหลับไม่สนิท ซึ่งอาการเหล่านี้ขึ้นได้ทั้งจากหลายปัจจัย หากนอนไม่หลับบ่อย ๆ หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในอนาคตได้ บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับโรคนอนไม่หลับว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากอาการนอนไม่หลับ และแนวทางการแก้ไขปัญหานอนไม่หลับด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ


นอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นปัญหาการนอนที่พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ที่มีภาวะการนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นบ่อยช่วงกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว อาจมีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอตามมาได้ โดยสาเหตุของอาการนอนไม่หลับนั้นเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้ 

  • ปัจจัยด้านร่างกาย เกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น โรคหัวใจ, โรคสมองเสื่อม, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือกรดไหลย้อน รวมไปถึงการใช้ยารักษาโรคที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความเครียดสะสม ความวิตกกังวล หรือความผิดปกติทางด้านอารมณ์อย่างภาวะซึมเศร้าและไบโพลาร์ 
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น เสียงรบกวน, แสงสว่างที่มากเกินไป, อากาศร้อน หรือกลิ่นเหม็น 
  • ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มคาเฟอีน, การสูบบุหรี่, การนอนไม่เป็นเวลา, การรับประทานอาหารที่ย่อยยาก หรือการออกกำลังกายมากเกินไป 

อาการนอนไม่หลับ มีกี่แบบ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท? 

อาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยตัวอย่างอาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • นอนหลับยาก อยากนอนหรือรู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับ ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะนอนหลับได้
  • สะดุ้งตื่นหรือตื่นขึ้นมากลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว และหลับต่อได้ยาก 
  • หลับได้ไม่นาน 
  • รู้สึกเหมือนนอนไม่หลับทั้งคืน 
  • ตื่นนอนเร็วกว่าที่ควรจะตื่น และไม่สบายตัวหลังตื่นนอน 
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการเหนื่อยล้าระหว่างวัน 
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือมีอาการซึมเศร้า 
  • มีอาการหลงลืมง่าย จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้น้อยลง 

นอนไม่หลับส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

หลายคนอาจคิดว่าการนอนไม่หลับนั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นแล้วจะหายไป แต่หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของการนอนลดลง ส่งผลต่อการทำงานของสมอง และเสี่ยงเกิดปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น 

  • เจ็บป่วยง่าย มีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง 
  • ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เสี่ยงเกิดโรคอ้วน 
  • เสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืดหรือภูมิแพ้, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคสมองเสื่อม, หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
  • ความสามารถในการจดจำลดลง
  • ส่งผลต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย หงุดหงิด ตึงเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือเฉื่อยชา
  • มีพฤติกรรมอยู่ไม่สุข หรือก้าวร้าวง่ายขึ้น 
  • รู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติ 

แนวทางแก้ไขปัญหานอนไม่หลับด้วยตัวเองโดยไม่ใช้ยา 

วิธีแก้ นอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับแก้ยังไงดี? หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับเกิดจากปัจจัยใด และมีอาการแบบไหนบ้าง ซึ่งอาการนอนไม่หลับที่เรื้อรังและสะสมไปนาน ๆ สามารถส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการนอนไม่หลับแย่ลง สำหรับใครที่มีอาการนอนไม่หลับที่ไม่รุนแรงมากนัก เราลองมาดูวิธีแก้ไขหากมีอาการนอนไม่หลับแบบธรรมชาติที่ใครก็ทำได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยากัน ซึ่งมีทั้ง

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับจากนิสัยการนอนและพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • กำหนดเวลานอน และทำต่อเนื่องทุกวัน
  • รีบนอนเมื่อรู้สึกง่วง
  • หลีกเลี่ยงการนอนหรืองีบหลับระหว่างวัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน
  • งดการดื่มชาหรือกาแฟก่อนเข้านอน 
  • งดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน 
  • ไม่ออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ ก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงคลอเบา ๆ 

วิธีทําให้นอนหลับง่ายขึ้นจากสภาพแวดล้อม 

  • ปิดไฟเมื่อต้องการเข้านอน 
  • เลือกที่นอนและหมอนที่เหมาะกับสรีระ ช่วยให้หลับพักผ่อนได้สบายมากขึ้น 
  • ใช้ผ้าม่านหนา ๆ หรือผ้าม่านสีทึบเพื่อกันแสงไฟจากภายนอก
  • ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการนอน 
  • สวมผ้าปิดตาระหว่างนอน
  • สวมที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

สรุป โรคนอนไม่หลับ อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะดูไม่อันตรายมากนักแต่หากรุนแรงและกินระยะเวลายาวนานมากขึ้น ก็อาจเกิดเป็นอาการเรื้อรังจนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับได้ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตได้มากกว่าที่คิด ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนกระทั่งนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากนอนไม่หลับหรือนอนหลับยากก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่หากมีอาการร้ายแรงและนอนไม่หลับบ่อยมากขึ้นก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2567 4:08:51 น. 0 comments
Counter : 134 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 8284441
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 8284441's blog to your web]
space
space
space
space
space