|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า โคนิเดีย หรือ สปอร์ จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค ไตรโคเดอร์มา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง (เส้นใยมีผนังกั้นแบ่งมีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวางทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ได้แก่ - เชื้อรา Pythium spp. สาเหตุโรคกล้าเน่าหรือโรคเน่าคอดิน - เชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรครากและโคนเน่า - เชื้อรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า - เชื้อรา Sclerotium spp. สาเหตุโรครากและลำต้นเน่า - เชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคเหี่ยว สำหรับในประเทศไทย ได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโค เดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า (Seed rot) โรคเน่าระดับดิน (Damping off) โรคกล้าไหม้ (seedling blight) โรครากเน่า (Root rot) โรคโคนเน่า (Stem rot, trunk rot, basal rot) บนพืชหลายชนิด เช่นมะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี
ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้น สูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็น อย่างต่ำ
3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต
ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)เชื้อราไรซ็อค โทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) รูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช
1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัย อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต 2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช 3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง
Create Date : 04 มกราคม 2553 |
|
4 comments |
Last Update : 23 พฤษภาคม 2553 21:39:36 น. |
Counter : 8097 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: Patteera 10 มกราคม 2553 19:02:57 น. |
|
|
|
| |
โดย: chat IP: 117.47.39.141 16 สิงหาคม 2553 12:10:45 น. |
|
|
|
| |
โดย: Na IP: 202.44.135.242 1 ธันวาคม 2555 16:03:44 น. |
|
|
|
|
|
|
|