ธันวาคม 2565

 
 
 
 
1
3
4
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog
ลูกน้อยทีรักเป็นนักกีฬา ควรดูแลเรื่องโภชนาการอาหารอย่างไร
ไมโล พาคุณแม่มาดู โภชนาการสำหรับนักกีฬา
    ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของ โภชนาการนักกีฬา โดยกำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น 5-8 กรัมต่อน้ำหนักตัว/วัน และโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.4-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว/วัน ในการดูแลเรื่อง โภชนาการสำหรับนักกีฬา จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงก่อนเล่นกีฬา ระหว่างการเล่นกีฬา และหลังการเล่นกีฬา
โภชนาการสำหรับนักกีฬา 3 ระยะ
ระยะ 1 ช่วงก่อนออกกำลังเล่นกีฬา

    ช่วงก่อนการเล่นกีฬาควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญ คือ คาร์โบไฮเดรต แหล่งสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายอย่างรวดเร็ว สะสมพลังงานในรูปแบบไกลโคเจนเป็นแหล่งพลังงานกล้ามเนื้อ พบได้ใน  อาหารจำพวกข้าว แป้ง ผลไม้ น้ำตาล โดยช่วงก่อนออกกำลังกายยังแบ่งเป็นอีก 2 ช่วงเวลาที่ควรได้รับสารอาหารซึ่งมีความแตกต่างกัน  
ก่อนเล่นกีฬา 3 ชั่วโมง 
    ช่วงเวลานี้ควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง โปรตีนปานกลาง ไขมันต่ำ เนื่องจากไขมันเป็นสารอาหารที่ต้องใช้พลังงานและเวลามากในการย่อย หากรับประทานอาหารจำพวกไขมันมากเกินไปจะทำให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ในการย่อย และจะเหลือพลังงานไว้ทำกิจกรรมน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ลดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรม 
ก่อนเล่นกีฬา 30 นาที 
    ถึงช่วงเวลาที่ร่างกายต้องใช้กำลัง  อาหารที่ควรบริโภคยังคงเป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมง่าย และรวดเร็ว เช่น อาหารเหลว พวกเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง น้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือขนมปังทาแยม แต่เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงคือ เครื่องดื่มประเภทนม เพราะนมมีโปรตีนสูงจะไปขัดขวางการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต และควรดื่มน้ำให้ได้ปริมาณ 500-600 มิลลิลิตร เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำระหว่างออกกำลังกาย
ระยะที่ 2 ช่วงระหว่างการเล่นกีฬา 
    เมื่อร่างกายใช้พลังงานที่สำรองไว้ในการเล่นกีฬาไปแล้วเกิน 1 ชั่วโมง ปริมาณไกลโคเจนจะลดลง จึงจำเป็นต้องเสริมระหว่างทางด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมอย่างรวดเร็ว และควรได้รับปริมาณเกลือแร่ที่สูญเสียไปในระหว่างการเล่นกีฬา โดยอาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่ เครื่องดื่มผสมเกลือแร่ หรือ energy gel ที่มีพลังงานจากน้ำตาลที่ดูดซึมรวดเร็ว เช่น กลูโคส อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารจำพวกโปรตีน เช่น นม และควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง
ระยะที่ 3 ช่วงหลังการเล่นกีฬา
    หลังการเล่นกีฬาช่วงเวลาที่ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ควรฟื้นฟูร่างกายด้วยอาหารหลังออกกำลังกายประเภทโปรตีนชั้นดี ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนโดยเฉพาะกรดอะมิโนลิวซีน เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้ได้ 1.5 ลิตรเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และอาหารช่วงหลังออกกำลังกายแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา  
   ใน 30 นาทีแรกหลังออกกำลังช่วงที่ร่างกายตอบสนองต่อสารอาหารดีที่สุด ควรรับประทานอาหารหลังออกกำลังกายประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ไมโลขอแนะนำ เครื่องดื่มไมโลนมถั่วเหลือง UHT ที่พัฒนาและออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องคุณประโยชน์เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี มีกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิดครบถ้วนในกล่องเดียว เป็นนมถั่วเหลืองสำหรับเด็กรสชาติอร่อยทำจาก ถั่วเหลืองและมอลต์สกัด 
   หลังเล่นกีฬา 2 ชั่วโมง ร่างกายยังต้องการสารอาหารและพลังงานควรเน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน สามารถทานอาหารเป็นมื้อหลักได้ เลือกทานอาหารประเภท ข้าว เนื้อสัตว์ รวมถึงผักผลไม้  
    หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้ดูแลลูกอย่างถูกต้อง ให้ลูกน้อยได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เขาชื่นชอบได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพค่ะ

หากคุณแม่ท่านไหนกำลังมองหาไอเดียทำของว่างให้ลูกทานอย่างพุดดิ้งไมโล สามารถดูสูตรและวิธีทำพุดดิ้งไมโลหรือเมนูอื่นๆ ได้ที่เว็บไซต์ไมโล



Create Date : 11 ธันวาคม 2565
Last Update : 11 ธันวาคม 2565 22:38:50 น.
Counter : 323 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 7250765
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]