กฎหมายแรงงานห้ามหักค่าจ้าง|OT(x1.5,x3 แรง)|ค่าทำงานวันหยุด(x1,x2 แรง) แต่ไม่ได้ห้ามตัดค่าจ้าง ฯลฯ นี





🆀&🅰 ✺ถามมา ก็ตอบไป สายแข็ง|เหล็กไหลกฏหมายแรงงาน The remix of Labour laws ... 
จากใจ 👨🏻AJK | อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️▫️

🔸เพราะมีผู้ฅน ถก และเถียง แชร์สนั่น ให้ความรู้กฎหมายไม่เต็ม แบบว่าครึ่งๆ กลางๆ จนทำให้ผู้เสพกฎหมายเพื่อนำไปปฏิบัติแบบว่า...เพี้ยน ไปกันใหญ่ กลัวว่าจะกู่ไม่กลับ แม้หมู่นี้อาจารย์จะมีภารกิจเยอะก็จริง แต่อดรนทนไม่ไหว ขอใช้เวลาสั้นๆ (แต่ดันเขียนซะเยอะ) เพื่อบอกเล่าความจริงที่ถูกต้องที่สุด ให้ได้เข้าใจ เอาไปใช้กันได้เลย

🔹หากผิดไปจากนี้มาด่าอาจารย์ได้เลย และถ้านำไปใช้แล้วมีปัญหา มาเบิกค่าเสียหายจากคำแนะนำของอาจารย์กฤษฎ์ได้เลยเช่นกัน ยินดีควักเงินสดๆ จ่ายให้เท่ากับที่ท่านเสียหายเลยครับ ขอให้คำมั่นสัญญาบัดนี้เลย ถ้า...หากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำผิดไปจากที่อาจารย์บอกเล่านี้

♦️เริ่ม

👨🏻มาทำความเข้าใจคำ 2 คำนี้ก่อน
{1.▫️}
💵หัก (คำกริยา) :�“เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คำว่าหักบรรจุอยู่ในมาตรา 76 อาจารย์ขอเรียกว่า “การหักหนี้ 5 อย่าง” คือ 1.ภาษี|2.สหภาพ|3.สหกรณ์-สวัสดิการ|4.ประกัน|5.สะสม

{2.▫️}
✂️ตัด (คำกริยา) :
“ทอน [บั่น หรือหั่นออกเป็นท่อน ทำให้สั้นลงหรือหดหายไป] เช่น ตัดเงินเดือน” ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14036/2555 อาจารย์ขอเรียกว่า “การหักหนี้เพราะทำผิดวินัยตามระเบียบ”

♦️ข้อกฎหมาย :

⚖️ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 กำหนดว่า “🚫ห้ามมิให้นายจ้าง “หัก” เงิน 4 ประเภทที่เป็น ค่าตอบแทนการทำงานคือ
▫️1.ค่าจ้าง
▪️2.ค่าล่วงเวลา
▫️3.ค่าทำงานในวันหยุด และ
▪️4.ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ...
🔺(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมาย
บัญญัติไว้ อันนี้หักได้อยู่แล้วเพราะหักชำระภาษีตามกฎหมาย หักประกันสังคม หักใช้หนี้ กยศ. เป็นต้น เนื่องจากกฎหมายมีและระบุให้นายจ้างจงทำซะ!

🔻(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน อันนี้ก็ต้องไปดูว่ามีข้อบังคับของสหภาพแรงงานให้หักได้หรือไม่ ถ้าไม่มีก็หักไม่ได้ ถ้าถามว่าหากสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องอยากให้นายจ้างหักค่าบำรุงฯ นายจ้างต้องตกลงด้วยมั๊ย คำตอบคือก็แล้วแต่นายจ้าง “อยากหรือไม่อยากล่ะ” ฉะนั้นต้องหรือไม่ต้องก็สุดแต่ตัวนายจ้างครับ

🔺(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง อันนี้หักได้ 2 กรณีคือ
🔸ก) หักชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์หักได้ตามข้อบังคับสหกรณ์
🔹ข) หักชำระหนี้อย่างอื่นที่หนี้นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว เช่น ถ้านายจ้างมีสวัสดิการให้ลูกจ้างกู้เงินโดยไม่มีดอกเบี้ย หรือ อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงิน อย่าลืมนะครับว่าหนี้ที่ว่านั้นต้อง “เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว” เท่านั้นนะ นายจ้างต้องไม่มีเอี่ยวอะไรด้วย อย่างนี้หักได้แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างล่วงหน้าด้วย

🔻(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง อันนี้มี 2 กรณีคือ
▪️ก) หักเงินประกันในกรณีที่นายจ้างมีสิทธิหักเงินประกันการทำงานได้ด้วยครับ (ไปดูมาตรา 10) และ
▫️ข) หักชำระค่าเสียหาย ซึ่งกรณีหักชำระค่าเสียหายนี้ ก็ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นครั้งเป็นคราวไป จะให้ลงชื่อไว้ล่วงหน้ารวบยอดครอบจักรวาลก่อนที่จะเกิดความเสียหายนั้นไม่ได้จ๊ะ

🔺(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม อันนี้ ยกตัวอย่างเช่นการหักเพื่อชำระกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

👉 การหักตาม (2) /(3) /(4) และ (5) ในแต่ละกรณี ห้ามมิให้หักเกิน 10% และจะหักรวมกันต้องไม่ให้เกิน 20% ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนจึงจะหักได้เยอะๆ และหักเกินได้

⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548 ♦️แม้ลูกจ้างทำหนังสือยินยอมให้นายจ้างหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่สามีลูกจ้างกระทำละเมิดไว้แก่นายจ้าง นายจ้างก็ไม่อาจหักค่าจ้างของลูกจ้างได้ (เพราะสามีลูกจ้าง มันไม่ใช่ลูกจ้างไงละครับจะไปหักได้ยังไง กฎหมายให้หักได้กับลูกจ้างครับ)

⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14036/2555 ♦️แม้จะมีกฎหมายบัญญัติว่าห้ามนายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ (ลูกจ้าง) เนื่องจากโจทก์ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ไม่เชื่อฟัง แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบ (จำไว้ต้องมีระเบียบ ไม่มีไม่ได้ครับ) และ ธรรมเนียมของบริษัท ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่การทำงาน ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงาน ด้วยการตัดค่าจ้างของเดือนกันยายน 2548 ในอัตราร้อยละ 10 นั้น การลงโทษของจำเลย (นายจ้าง) ไม่ใช่การหักค่าจ้างโจทก์(ลูกจ้าง) แต่เป็นการลงโทษตามวินัยการทำงานซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ทั้งไม่ปรากฏว่าคำสั่งตัดค่าจ้างของจำเลยดังกล่าว เป็นคำสั่งลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ คำสั่งลงโทษดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

👨🏻 อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ ขอสรุปเลยว่าหลักใหญ่ใจความของกฎหมายมาตรา 76 นั้น ท่านกำหนดไว้จะๆ ว่าห้ามนายจ้าง “หัก” เงิน 4 ประเภท|อย่างของลูกจ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น 5 ข้อข้างต้น ที่อาจารย์เรียกว่า “การหักหนี้ 5 อย่าง” คือ 1.ภาษี|2.สหภาพ|3.สหกรณ์-สวัสดิการ|4.ประกัน|5.สะสม ครับ

🚫ฝ่าฝืน : คุก 6 เดือน |ปรับ 100,000 หรือ|ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 144 (1))

🔹แต่ไม่ได้ห้าม “ตัด” ค่าจ้าง หรือเงินทั้งสี่นี่ ก็จึงตัดได้ซิครับถ้าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเขียนไว้ดีๆ ขั้นเทพว่านายจ้างสามารถ “ตัด” ได้ เนื่องจากลูกจ้างได้ทำผิดวินัย เช่น มาสาย ขาดงาน ละทิ้งหน้าที่ เป็นต้น แต่ถ้าลืมเขียน หรือเขียนไม่ถึง หรือไม่ได้เขียนไว้ ก็จะไม่มีสิทธิไปตัดเด็ดขาดครับ ใครบอกว่ามาสายตัดไม่ได้มีกรณีเดียวเท่านั้นคือ “ระเบียบไม่ได้เขียนไว้” ถ้าตอบตีขลุมละก็...ผิดครับ และ “มั่ว”

•••••••••••••••
▪️อีกครั้ง ย้ำๆ : “ตัด” ค่าจ้าง ไม่ใช่ “หัก” ค่าจ้าง ทำได้ครับ ใครบอกทำไม่ได้ ผิดครับ 🙅🏻‍♂️อย่าไปเชื่อ

อาจารย์ขอลงรายละเอียดอีกนิดของฎีกานี้
⚖️ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14036/2555

▫️คำสั่งลงโทษโจทก์ด้วยการตัดค่าจ้างร้อยละ 10 (10%) เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น
▪️เห็นว่า ข้อเท็จจริงแม้จะปรากฏว่ามีประกาศคณะกรรมการแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 31 จะบัญญัติห้ามนายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างก็ตาม
▫️แต่การที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์เนื่องจาก...โจทก์

1️⃣ ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่
2️⃣ ไม่เชื่อฟังและแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา
3️⃣ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของบริษัท
4️⃣ ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่การงาน
5️⃣ ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงาน

♦️(👨🏻จะเห็นว่าไอ้ 5 พฤติกรรมเอาเรื่องของลูกจ้างข้างบนนั้นมันคือ การกระทำความผิดทางวินัย เมื่อทำผิดต้องลงโทษซิ หลักเบๆ (Basic) มาก และมันก็ไม่ได้อยู่ใน มาตรา 76 ด้วยครับ คนละบริบทกัน พวกนักกฎหมายที่ไม่ใช่สายแข็งเฉพาะทางด้านแรงงานเมาหมัด ปล่อยไก่หมดเล้า แล้วตามคืนไม่ได้|ไม่ครบมาเยอะแล้ว ออกสื่อให้ว่อน พวกนักข่าวที่ไม่รู้เรื่องก็นำไปสื่อไปปล่อยต่อๆ ผู้ฅนทั่วประเทศจึงเสพข้อมูลผิดๆ ทำกันเพี้ยน ส่งเสริมลูกจ้างเบี้ยวงาน ไร้วินัย เหมือนไร้ขื่อแป จนผมทนไม่ไหว เพราะมักพูด มักชี้แนะว่าห้ามหักค่าจ้าง ฯลฯ นะโว้ย ถ้านอกเหนือ 5 กรณีของมาตรา 76 มันก็ถูก แต่ถูกไม่หมดครับ ยังมีช่องทางอื่นอีกที่ศาลฎีกาเรียกว่า “การตัดค่าจ้าง” แล้วมัยมึงไม่เอามาอธิบายให้กระจ่างซะคราวเดียวกัน ปล่อยให้ลูกจ้างเข้าใจผิดๆ พอถูกตัดเงินเดือนไปฟ้องศาล ศาลยกฟ้อง มาโอดครวญว่าไหงเป็นงั้น คุณทนาย ทะแนะ ที่ปรึกษากฎหมายหายหัวหมด แถมแถว่า ผมบอกว่าหักไม่ได้ก็จริงนี่ แต่ไม่ได้บอกว่าตัดไม่ได้ ไอ้เวร! ทำลูกจ้างเข้าใจผิดๆ เลยมาสาย บ่ายหลบ จบด้วยการขาดงาน กระหยิ่มยิ้มย่องลำพองใจตัดค่าจ้าง ฯลฯ กูไม่ได้หรอกโว้ย เป็นการชี้ช่องแนะนำให้หนีงานไปซะอย่างนั้น เฮ้อ!!!)

🔸แต่ถ้าไม่กำหราบด้วยการตัดค่าจ้าง หรือกำหราบแล้วไม่แคร์ ยังหน้าด้านมาสาย ขาดงาน วินัยหย่อนยานอีก ผมว่านำไปพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปี จ่ายโบนัส พิจารณาความดีความชอบ ใช้มาตรการทางวินัยออกใบเตือนถ้าไม่ร้ายแรง ซ้ำใบเตือนไล่ออกไปเลย ถ้าร้ายแรงไม่ต้องเตือนให้เสียค่ากระดาษ ไล่ออกไปเลย แล้วนายจ้างก็สร้างวัฒนธรรมวินัยที่ดี ทำตัวเป็นแบบอย่าง กฎหมายถือว่าเป็น “สิทธิฝ่ายจัดการ” (Management Rights) อยู่แล้ว จะเข้าท่ากว่าเป็นไหนๆ นะ อย่าเส้นผมบังภูเขา มีอีกหลายวิธี คิด🤔ซิคิด 💭

▪️ด้วยการตัดค่าจ้างของเดือน กันยายน 2548 ในอัตราร้อยละ 10 (10%) นั้น การลงโทษของจำเลย “มิใช่เป็นการหักค่าจ้างโจทก์”

▫️แต่เป็นกรณีลงโทษตามวินัยการทำงานซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการงาน ทั้งไม่ปรากฏว่าคำสั่งตัดค่าจ้างของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ดังนั้นคำสั่งลงโทษโจทก์ด้วยการตัดค่าจ้างร้อยละ 10 (10%) ตามเอกสารหมาย ล.17 จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

🔺คำพิพากษาศาลฎีกานี้วินิจฉัยว่า หากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้เขียนไว้เป็นบรรทัดฐานอย่างดีชัดเจนแล้ว การลงโทษโดยตัดค่าจ้างจึงเป็นกรณีการลงโทษทางวินัย ไม่ใช่เป็นการหักค่าจ้าง และนายจ้างมีเหตุในการลงโทษดังกล่าวและเป็นการลงโทษพอสมควรแก่เหตุ จึงสามารถลงโทษโดยการตัดค่าจ้างได้

𗀼 “หัก” ค่าจ้าง จึงต่างจาก “ตัด” ค่าจ้าง ด้วยประการฉะนี้

ครับ 👌🏻 ตามนั้น คงจะแล้วใจกันมั่ง ไม่มากก็น้อยนะครับ

••••••••••••••••
🎦 เชิญดูคลิปอาจารย์กฤษฎ์ ได้ครับ เคยพูดไว้จนปากแฉะแล้ว |เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560*

▶️ https://youtu.be/nq56s5wVwtg


🔸ที่มา : *f live "ผ่าประเด็นบริหาร 'ฅน' ชี้ถูกผิดกฎหมายแรงงาน" กับ 👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ (H͛ཞ&LДЩ 4.0 by Aʝƙ)
🔅ตอน "🔘กฎหมายห้ามหักเงินเดือน ค่าจ้าง OT จริงหรือ?"
🔹เสนอเป็นตอนที่ 13 |วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2560 |เวลา 15:00 น.


•••••••••••••
🙋🏼‍♂️🙋🏻‍♀️สนใจเชิญติดต่อ สอบถามได้ที่...
👉 LINE@ : 🔹 https://goo.gl/LpxiYk
👉 f Messenger : 🔹 https://m.me/AJK.sciArtist/
📞Phone : +66 (0) 63 918 8881 หรือ
+66 (0) 89 968 1884
📧E-mail : KDV@KRISZD.COM
🌐 www.KRISZD.com
•••••••••••••

👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
🔻ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
🔻ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”

✺Credit : 👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Ref. : www.KRISZD.com
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞa̘̫͈̭͌͛͌̇̇̍ṭⒸ อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt
🕸ωωω.ƘRISZD.ꉓom
📧KDV@KRISZD.com

#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJKsMissionDevelopmentCenter #อาจารย์กฤษฎ์#AJK #AjKriszd #SciArtist
#AJKPublicFigure #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #บริหารทรัพยากรบุคคล #กฎหมายแรงงาน #GuruHR #Management #KRISZD #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #KDV #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation#KriszdUthairatn #คดีแรงงาน #ชนะคดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน#อันดับ1คดีแรงงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #สัญญาทางธุรกิจทุกประเภท#number1กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ผู้เชี่ยวชาญHRM_HRD_OD_StrategicManagement_TQM_ISO_Safety_BusinessAnalysis
#สภาพการจ้าง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #ทนายความคดีแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ให้บริการจัดอบรมสัมมนาภายในองค์กร #ผู้บริหารและบุคลากรต่างด้าว #ทุกหลักสูตรเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานไทย #ตัดค่าจ้าง #ลดค่าจ้าง

.




Create Date : 17 สิงหาคม 2561
Last Update : 17 สิงหาคม 2561 20:53:00 น.
Counter : 1183 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4713931
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
🔻ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
🔻ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
สิงหาคม 2561

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31