<<
มกราคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มกราคม 2555
 

GM เปิดศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลมูลค่า 6,000 ล้านบาท

GM Powertrain facility
ภาพ : จันทนา เจริญทวี Friday, 9 September, 2011 3:12 PM
800x
GM เปิดศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลมูลค่า 6,000 ล้านบาท
ยกระดับศักยภาพการผลิตในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
baจีเอ็ม ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศเปิดศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลมูลค่า 6,000 ล้านบาท (200 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในจังหวัดระยองอย่างเป็นทางการ เสริมศักยภาพการผลิตร่วมกับศูนย์การผลิตรถยนต์ของ จีเอ็ม ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการลงทุนที่มีมูลค่าสูงสุดของ จีเอ็ม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

baศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งนี้มีพื้นที่ 54,275 ตารางเมตรหรือราว 34 ไร่ นับเป็นศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแห่งแรกในโลก ที่จะผลิต เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ใหม่ล่าสุดในตระกูล ดูราแมกซ์ (Duramax)
GM Powertrain facility
• มร. มาร์ติน แอพเฟล ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสท์ เอเชีย โอเปอเรชั่นส์, บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
800x
baด้วย กำลังการผลิตประมาณ 120,000 เครื่องยนต์ต่อปี ศูนย์การผลิตฯ ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนแผนการผลิต สำหรับใช้ในยานยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย และส่งออกไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก จีเอ็ม คาดการณ์ว่า ภายในปี 2555 จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้ราว 2,800 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากการใช้ชิ้นส่วนและการบริการที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ เพื่อการผลิตเครื่องยนต์รุ่นนี้

baเครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกที่ออกจากสายการผลิต จะถูกติดตั้งอยู่ในรถกระบะ Chevrolet Colorado รุ่นใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาด้านวิศวกรรม และผลิตโดยศูนย์การผลิตรถยนต์ของจีเอ็ม ในจังหวัดระยองแห่งนี้เช่นกัน

baศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของ จีเอ็ม แห่งนี้ เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อการเติบโต และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ และเครื่องยนต์ระดับโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยก่อนหน้านี้ จีเอ็ม ได้ประกาศการลงทุนมูลค่า 4,500 ล้านบาท (150 ล้านเหรียญฯ) เพื่อเปิดดำเนินการ ศูนย์การผลิตรถยนต์เบกาซี ในอินโดนีเซียอีกครั้ง รองรับการผลิตรถรุ่นใหม่ ออกสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
GM Powertrain facility
• ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
800x
baในงานแถลงข่าวเปิดศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, มร.ไมเคิล แอล. แมคกี (Michael L. McGee) ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานมากมาย ทั้งพนักงาน จีเอ็ม ประเทศไทย, ผู้แทนจำหน่ายรถ Chevrolet, คู่ค้า ตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งได้รับการต้อนรับจาก มร.มาร์ติน แอพเฟล (Martin Apfel) ประธานกรรมการ ประจำประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ba"จีเอ็ม มีความมุ่งมั่นที่จะเติบโต และขยายการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" มร. แอพเฟล กล่าว "ศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของเราแห่งนี้ เป็นไปตามปณิธานที่ให้ไว้ นั่นคือการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทรงประสิทธิภาพ และเปี่ยมด้วยสมรรถนะเพื่อลูกค้าของเรา"

baมร. แอพเฟล กล่าวเพิ่มเติมว่า "การผลิตเครื่องยนต์ในประเทศไทย ตอกย้ำคำมั่นของเรา ที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของจีเอ็มในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อ ไป ขณะเดียวกัน ยังเป็นสัญญาณที่ดีที่ชี้ว่า อุตสาหกรรมภายในประเทศมีประสิทธิภาพ และเรามีความเชื่อมั่นอย่างมาก"
GM Powertrain facility
• มร. เดวิด คลาร์คสัน รองประธานเพาเวอร์เทรน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
800x
การผลิตด้วยเทคโนโลยีก้าวล้ำ
baศูนย์ การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งนี้ จะดำเนินงานด้วยพนักงานจำนวน 500 คนภายในสิ้นปีนี้ ทำการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ผสมผสานระบบคอมพิวเตอร์ และเลเซอร์ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อคุณภาพที่ดีเยี่ยม ขณะเดียวกันยังมีความสามารถผลิตเครื่องยนต์ขนาดความจุ 2.5 ลิตร หรือ 2.8 ลิตร สลับกันได้ตามความต้องการของตลาดในขณะนั้น

baศูนย์ การผลิตฯ แห่งนี้ ยังใช้เทคโนโลยีควบคุมให้ปราศจากฝุ่นละออง และควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างสูงสุดต่อการทำงาน นอกจากนี้ จีเอ็ม ประเทศไทย ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งการดำเนินงานของศูนย์การผลิตฯ ซึ่งรวมถึงการใช้ระบบแสงไฟที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิม 40% เมื่อเทียบกับระบบทั่วไป

baก่อนหน้าการเปิดศูนย์การผลิตฯ อย่างเป็นทางการ จีเอ็ม ได้ทดสอบการผลิตอย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลากว่า 9 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่า สามารถผลิตเครื่องยนต์ตามมาตรฐานสูงสุดที่วางไว้ ตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการ
GM Powertrain facility
Duramax ที่สุดแห่งเทคโนโลยีดีเซล
baเครื่องยนต์ขนาด 2.5 ลิตร และ 2.8 ลิตร เป็นเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล ดูราแมกซ์ ใช้ฝาสูบอลูมิเนียม เพลาราวลิ้นเหนือฝาสูบ พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ เพียบพร้อมด้วยคุณภาพและความทนทานสูงสุด

baนอกจากจะได้รับการพัฒนาให้มีแรงบิดสูงสุดในเครื่องยนต์ระดับเดียวกัน ดูราแมกซ์ 4 สูบรุ่นนี้ ยังมีความทนทาน และประหยัดน้ำมัน ผ่านการทดสอบอย่างถึงขีดสุดในทุกสภาวะการขับขี่ ทั้งในแอฟริกา, เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐานไอเสีย ยูโร 4 รองรับทั้งระบบเคลื่อนสองล้อหน้า และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ

baเครื่องยนต์ความจุ 2.5 ลิตร และ 2.8 ลิตร ทั้ง 2 บล๊อคนี้ ผ่านกระบวนการพัฒนาและทดสอบ แบบเดียวกันกับเครื่องยนต์ ดูราแมกซ์ เทอร์โบ ดีเซล ความจุ 6.6 ลิตร ที่จำหน่ายอยู่ในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีความโดดเด่นที่สมรรถนะอันยอดเยี่ยม พร้อมชื่อเสียงในด้านความทนทาน และรองรับการใช้งานในทุกสภาวะ โดยยอดจำหน่ายนับตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมดถึง 1.3 ล้านเครื่อง

baศูนย์ การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งนี้ ทำให้เม็ดเงินลงทุนในประเทศไทยของจีเอ็ม นับตั้งแต่ปี 2541 มีจำนวนทั้งหมดอยู่ที่ 39,000 ล้านบาท (1,300 ล้านเหรียญฯ) •
GM Powertrain facility
ข้อมูลศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งแรกของจีเอ็มในประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป
จีเอ็ม ประเทศไทย ใช้เงินลงทุน 6,000 ล้านบาทในศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลทันสมัยแห่งนี้
เป็นศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งแรกของจีเอ็ม ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ของจีเอ็มแห่งแรกในโลก ที่ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ตระกูล ดูราแมกซ์
ศูนย์ การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งนี้ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ของศูนย์การผลิตยานยนต์ของจีเอ็ม ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
ภายในปี 2554 ศูนย์การผลิตฯแห่งนี้จะมีพนักงานมากกว่า 500 คน ทำให้พนักงานของจีเอ็มในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 3,508 คน
การอบรม ฝึกฝนทักษะเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นศูนย์การผลิตฯแห่งนี้ พนักงานได้รับการอบรมจากประเทศต่างๆ อย่างประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อฝึกฝนทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นเวลาหลายเดือน
เมื่อรวมเงินลงทุนของศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้จีเอ็ม ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนทั้งหมดรวมแล้ว 39,000 ล้านบาท
ประวัติการก่อสร้าง
การก่อสร้างจีเอ็ม เพาเวอร์เทรน เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ 2551 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ 2553
ก่อ สร้างบนพื้นที่ 34 ไร่ (54,275 ตารางเมตร) ในอาณาเขต 400 ไร่ของศูนย์การผลิตรถยนต์จีเอ็ม ประเทศไทย ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
ตั้งอยู่เคียงข้างกับศูนย์การผลิตรถยนต์จีเอ็ม ประเทศไทย
การผลิต
ศูนย์การผลิตเครื่องยนต์ดีเซล จะผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ดูราแมกซ์ของจีเอ็ม ขนาด 2.5 ลิตร และ 2.8 ลิตร
เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ จะถูกติดตั้งอยู่ในรถกระบะ เชฟโรเลต โคโลราโด รุ่นใหม่ ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปีนี้ ในประเทศไทย
เครื่องยนต์เครื่องแรกถูกผลิตขึ้นเพื่อกระบวนการทดสอบในช่วงปลายปี 2553
เริ่มต้นการผลิตเพื่อใช้งานจริงในเดือนสิงหาคม 2554
จีเอ็ม เพาเวอร์เทรน จะมีมูลค่าการสั่งซื้อชิ้นส่วนและการบริการในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 2,800 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) จากซัพพลายเออร์ในประเทศภายในปี 2555
ศูนย์ การผลิตเครื่องยนต์ดีเซลแห่งนี้ใช้หลักการออกแบบพื้นที่การทำงานด้วยนวัต กรรมเพิ่มความกระชับใช้พื้นที่น้อย แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ในการทำงาน มีความปลอดภัยสูงสุด ทำให้คุณภาพการผลิต เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจีเอ็ม
ศูนย์การผลิตฯทันสมัยที่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการผลิต มีศักยภาพการผลิตประมาณ 120,000 เครื่องยนต์ต่อปี
มีเทคโนโลยีใหม่ล่า สุด และเครื่องจักรอันล้ำสมัย ตลอดจนระบบการทำงานอัตโนมัติ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และระบบเลเซอร์ที่ให้ความแม่นยำ ทั้งหมดเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกันด้วยเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคุณภาพการผลิตขั้นสูงสุด
ใช้ระบบทดสอบ cold-test ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ให้ข้อมูลอย่าง ละเอียด และสามารถวัดความถูกต้องได้มากกว่า
ด้วยความสามารถใน การปรับเปลี่ยนโปรแกรมการผลิตของกระบวนการผลิต ศูนย์การผลิตฯ ทันสมัยนี้ จึงสามารถปรับเปลี่ยนสายการผลิตขนาดเครื่องยนต์ระหว่าง 2.5 ลิตร และ 2.8 ลิตรโดยไม่ต้องหยุดสายการผลิตแต่อย่างใด
ศูนย์การผลิตฯที่ปราศจากฝุ่นละอองแห่งนี้ มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นให้คงที่ เพื่อการผลิตเครื่องยนต์ที่มีคุณภาพสูงสุด
เพื่อป้องกันฝุ่น ละออง จึงมีการปรับแรงดันภายใน (แรงดันภายในศูนย์การผลิตฯ สูงกว่าภายนอก) เพื่อไล่ และป้องกันฝุ่นละออง ไม่ให้เข้ามาในศูนย์การผลิตฯ
ที่ศูนย์การผลิตฯ มีการทดสอบการผลิตยาวนานถึง 9 เดือนเพื่อป้องกันปัญหา และเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตจริง และเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถผลิตเครื่องยนต์คุณภาพได้ ตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการ
ศูนย์การผลิตฯแห่งนี้ จะเริ่มต้นการผลิตด้วย 2 รอบการทำงาน ขณะที่ศูนย์การผลิตส่วนใหญ่ เริ่มต้นด้วยรอบการทำงานเดียว
ที่ ศูนย์การผลิตฯแห่งนี้เน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิการใช้ระบบไฟให้ความสว่างที่ใช้พลังงานเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระบบการให้ความสว่างแบบปกติ
GM Powertrain facility
Mr. David Clarkson
รองประธานเพาเวอร์เทรน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Vice President - Powertrain, General Motors Thailand/Southeast Asia General Motors (Thailand) Limited
baมร. เดวิด คลาร์คสัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธาน เพาเวอร์เทรน เจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รับผิดชอบในการก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ด้วยเทคโนโลยีของ จีเอ็ม อันทันสมัย และเทียบเท่ามาตรฐานสากลในประเทศไทย

baนอกจากนี้ มร. คลาร์คสัน ยังเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรกลุ่มเพาเวอร์เทรน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือก เครื่องยนต์ และระบบส่งกำลัง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

baก่อนหน้าที่จะเข้ารับตำแหน่งนี้ มร. คลาร์คสัน ดำรงตำแหน่งผู้จัดการศูนย์การผลิต ฝ่ายเพาเวอร์เทรน ให้กับ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เมืองเฟรเดอริคเบิร์ค มลรัฐเวอร์จิเนีย มร. เดวิด เข้าร่วมงานกับทาง จีเอ็ม เป็นครั้งแรกกับทาง บูอิค มอเตอร์ ดิวิชั่น ที่เมืองฟลินท์ มลรัฐมิชิแกน ใน พ.ศ. 2526 และได้เติบโตในงานสายงานวิศวกรรมด้านปฏิบัติการในโรงงานและการผลิต กระทั่งใน พ.ศ. 2537 จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการบำรุงรักษาและดูแลโรงงาน ในโรงงานเพาเวอร์เทรนที่เมืองฟลินท์ มลรัฐมิชิแกน

baพ.ศ. 2541 มร. คลาร์คสัน ได้ย้ายไปประจำที่โรงงานส่วนประกอบเพาเวอร์เทรน ในเมืองเฟรเดอริคเบิร์ค มลรัฐเวอร์จิเนีย ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการโรงาน โดยมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลและควบคุมทีมการผลิต คุณภาพและการซ่อมบำรุง

baกว่า 28 ปีที่ มร. คลาร์คสัน ร่วมงานกับทาง เจนเนอรัล มอเตอร์ส เขามีผลงานสำคัญมากมาย และประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้านการควบคุมการผลิตในโรงงงานผลิตของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส หลายแห่ง

baมร. คลาร์คสัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเคทเทอริ่ง




 

Create Date : 30 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 30 มกราคม 2555 20:23:44 น.
Counter : 2729 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment VIP Friend
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wpolkaew1
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add wpolkaew1's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com