Group Blog
 
 
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 

อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชน






สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

เสนอผลสำรวจภาคสนาม
เรื่อง
อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
สถานการณ์การเมืองไทยกับการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9

กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


ผลสำรวจโดยสรุป


สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่ามีข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนและกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะข่าวสารทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ดังนั้นการออกมาเคลื่อนไหวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนจึงมักจะเป็นที่จับตามอง ของประชาชนผู้นิยมบริโภคข่าวสารทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาล หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรัฐบาล เพราะนั่นอาจจะหมายถึงการส่งสัญญาณบางอย่างไปยังการนำเสนอข่าวของสื่อ จึงทำให้การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่กำลังตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นกลาง และถูกมองว่ามีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ตลอดจนอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ตลอดจนสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น สำรวจความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่เกิดจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ สำรวจความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งของประชาชนในวันที่ 2 เมษายน 2549 และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองที่เกี่ยวข้อง นำไปประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศต่อไป



โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "อารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยกับการสั่งย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าช่อง 9 : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 24-25 มีนาคม 2549 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,494 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +/- ร้อยละ 5 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้


ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินกว่า 1 ใน 4 เล็กน้อยทราบข่าวเรื่องการโยกย้ายบรรณาธิการข่าวเช้าของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดในทางลบต่อรัฐบาลและสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หลายด้านด้วยกัน เช่น เชื่อว่ารัฐบาลแทรกแซงสื่อมวลชนจริง และคนที่ต้องรับผิดชอบมีอยู่สามส่วนคือผู้บริหารระดับสูงของช่อง 9 รัฐมนตรีกำกับดูแลสื่อมวลชน และรัฐบาล โดยเรียกร้องให้สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ประชาชนที่ติดตามข่าวช่อง 9 และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าตรวจสอบ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประชาชนเปลี่ยนไปดูข่าวของโทรทัศน์ช่องอื่นๆ นั้นได้แก่ ดู ITV เป็นอันดับแรก ตามด้วย ช่อง 3 และช่อง 7


เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อปัญหาสถานการณ์การเมืองในขณะนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 46.2 ระบุว่าอยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 37.0 ระบุยังไม่วิกฤต และร้อยละ 16.8 ไม่ระบุความเห็น จากผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่าภายใต้สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ตัวอย่างพบว่าร้อยละ 27.2 ระบุนายกรัฐมนตรีควรลาออก ในขณะที่ร้อยละ 41.6 ระบุไม่ควรลาออก และร้อยละ 31.2 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ พบว่าประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการสนับสนุนให้รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในขณะนี้พบว่าร้อยละ 24.0 สนับสนุนอย่างยิ่ง/สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 50.6 ไม่สนับสนุน/ไม่สนับสนุนเลย และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น


ส่วนแนวคิดในการพระราชทานนายกรัฐมนตรีพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.2 เห็นด้วยต่อแนวคิดดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 38.5 ระบุไม่มีความเห็น ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อปัญหาการเมืองในขณะนี้สูงถึงร้อยละ 97.3 ในขณะเดียวกัน ความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่ผ่านมา (ร้อยละ 75.3 รู้วิตกกังวล / ร้อยละ 50.8 รู้สึกเครียด ) ส่วนความต้องการของประชาชนที่มากขึ้นเรื่อยๆ คือการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี และการเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม คิดเป็นร้อยละ 90.5 และร้อยละ 81.3 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความขัดแย้งในเรื่องการเมืองกับคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และคนที่ทำงานพบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ได้มีความขัดแย้งแต่อย่างใด


เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่จะมาถึงนี้ตัวอย่างร้อยละ 15.0 ระบุไม่ไปเลือกตั้งแน่นอน ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุไปแน่นอน และ ร้อยละ 43.6 ระบุไม่แน่ใจ จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงวิธีการลงคะแนน หากไปเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พบว่าตัวอย่างเกือบครึ่งคือร้อยละ 46.0 ระบุจะเลือกพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ในขณะที่มีประมาณ 1 ใน 4 คือ ร้อยละ 25.6 ที่ระบุจะไปเลือกตั้งแต่งดลงคะแนน และร้อยละ 28.4 ระบุยังไม่ได้ตัดสินใจ นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ผ่านพ้นไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.8 ระบุคิดว่าดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 28.4 ระบุแย่ลง จากนั้นได้สอบถามถึงความคาดหวังของกลุ่มตัวอย่างต่อความคาดหวังต่อการเจรจาด้วยสันติวิธี และความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคาดหวังน้อยและไม่คาดหวังเลยเลยว่าทุกฝ่ายจะเจรจาด้วยสันติวิธี หรือจะมีความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ โดยคิดเป็นร้อยละ 58.9 และ ร้อยละ 54.8 ตามลำดับ


ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือความคิดเห็นของตัวอย่างนายกรัฐมนตรีต่อการยินยอมให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอิสระเรื่องปัญหาในการขายหุ้นชินคอร์ป พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 56.6 เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรยอมให้มีการตรวจสอบ ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ระบุไม่ควรมีการตรวจสอบ และร้อยละ 35.1 ระบุไม่มีความเห็น "สำหรับประเด็นวิกฤตการเมืองในกระแสอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนนั้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 คิดว่าสถานการณ์การเมืองขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตแล้ว แต่เมื่อถามถึงแนวคิดการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก แนวคิดนายกรัฐมนตรีพระราชทาน กลับพบว่า แนวคิดทั้งสองเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างเด่นชัดนักเพราะแนวโน้มของประชาชนที่ไม่ต้องการแสดงความเห็นกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดทั้งสองลดต่ำลง แต่ที่น่าพิจารณาคือสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว ถ้ามีการเลือกตั้งวันนี้จะไม่มีพรรคใดได้รับคะแนนเกินกว่าร้อยละ 50 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลสำรวจครั้งนี้ยังค้นพบอีกด้วยว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งสูงถึงร้อยละ 42" ดร.นพดล กล่าว


ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้อึมครึมมากสร้างความวิตกกังวลและความเครียดกระจายไปยังกลุ่มประชาชนทุกชนชั้นในสังคม เป็นที่น่าสงสารคนไทยในขณะนี้ที่กำลังเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในช่วงแรกๆ ของสถานการณ์ผลสำรวจค่อนข้างจะชี้ให้เห็นว่าเป็นการพัฒนาการของคุณภาพประชาชนคนไทยทั้งประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแต่เมื่อสำรวจหลากหลายครั้งกลับพบว่าภายใต้ภาพที่มีความสงบเรียบร้อยกำลังมีความร้อนแรงคุกรุ่นอยู่แบบน่ากลัวมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา "สถานการณ์ในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลวิจัยหลายครั้งที่ผ่านมา น่าจะกล่าวได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรคือกุญแจสำคัญที่สุดในการแก้ไขและป้องกันสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ เป็นผู้ที่สามารถบอกกับคนไทยที่รักและศรัทธากระจายอยู่ทั่วประเทศได้ว่าต่อไปนี้พรรคไทยรักไทยคือพรรคที่ยืนเคียงข้างประชาชนระดับรากฐานของสังคมถึงแม้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะไปเป็นผู้ผลักดันเบื้องหลังของพรรคแทน เพราะได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพรรคเพื่อประชาชนมาเหนื่อยมากแล้ว ผลงานทั้งในเชิงนโยบายสาธารณะและภาพลักษณ์ส่วนตัวปรากฏเป็นที่รักใคร่ของประชาชนระดับรากฐานของสังคม ซึ่งผลวิจัยหลายครั้งพบว่า ถ้าไม่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประชาชนก็ยังนิยมศรัทธาต่อพรรคและนโยบายสาธารณของพรรค เช่น นโยบายแก้ปัญหายาเสพติด นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งยังไม่มีพรรคการเมืองใดจะสามารถครองใจคนไทยได้มากเท่า" ดร.นพดล กล่าว


ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ถ้าจะอยู่ต่อไปสถานการณ์คงไม่ดีขึ้นแน่ และคะแนนนิยมของประชาชนหลังการเลือกตั้งจะไม่สูงเท่ากับการเลือกตั้งสองครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลก็จะทำงานต่อไปลำบากเพราะการทำงานได้อย่างดีหลังการเลือกตั้งรัฐบาลจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศตัวเลขคะแนนนิยมน่าจะเกินร้อยละ 70 ขึ้นไปเพื่อผลักดันนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลให้สำเร็จภายใต้การร่วมมือจากประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ใช่ประชาชนบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นปรามจารย์ด้านธุรกิจและเคยเป็นอาจารย์สอนวิจัยมาก่อนน่าจะมองดูสถานการณ์ตัวเลขต่างๆ ที่มาจากการสนับสนุนของประชาชนได้อย่างดี "อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากระแสอารมณ์ความคิดเห็นของสาธารณชนในผลสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมาและกระแสข่าวความรู้สึกของนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะกล่าวได้ว่าถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ รอได้จนถึงวันที่ 2 เมษายน คือรอผลการเลือกตั้งออกมา เชื่อว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะตัดสินใจที่สร้างความโล่งใจคลี่คลายความตึงเครียดให้กับประชาชนทั้งประเทศ เพราะวันที่ 2 เมษายนจะทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับชัยชนะและการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ไม่สนับสนุนทักษิณก็จะได้รับชัยชนะเช่นกัน นั่นคือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณจะชนะใจประชาชนทั้งประเทศด้วยสปิริตของผู้นำประเทศ ไม่แพ้ต่อทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่ว่าคนชนบทเลือกรัฐบาลและคนกรุงล้มรัฐบาล เพราะไม่ได้ลาออกจากแรงกดดันของประชาชนคนกรุงเทพฯ แต่ลาออกเพราะยอมรับผลการเลือกตั้ง และนั่นคือความสำเร็จของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่สามารถสร้างกระแสทำให้ประชาชนแสดงเจตนารมย์ที่จะไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณกระจายไปทั่วประเทศเช่นกัน ดังนั้นภายใต้สถานการณ์ตัวแปรต่างๆ ในปัจจุบัน อาจสรุปได้ว่า อีก 7 วันข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยความสงบเรียบร้อยอย่างแท้จริง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายความมั่นคงคงต้องทำงานหนักอย่างยิ่งควบคุมสถานการณ์ต่อไปให้ได้อีกอย่างน้อย 7 วันเช่นกัน" ดร.นพดล กล่าว



......เอแบคโพลล์รายงาน



เอแบคโพลล์

ข้อมูล จาก thai.man Blog //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=thaiman&group=1





 

Create Date : 27 มีนาคม 2549
4 comments
Last Update : 27 มีนาคม 2549 19:06:16 น.
Counter : 768 Pageviews.

 

ท่านเห็นว่า นรม.ควรจะทำอย่างไร หากพบว่า กฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่ ?
ก. ใช้อำนาจของ นรม. ที่ได้รับมาจากประชาชน ดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อแก้ข้อกฏหมายที่มีช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของชาติ
ข. ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้น เพื่อประโยชน์ของตนเอง และคนรอบข้าง แล้วอ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน


 

โดย: ScaRECroW IP: 161.200.26.178 27 มีนาคม 2549 21:20:36 น.  

 

 

โดย: ประกายดาว 27 มีนาคม 2549 23:42:58 น.  

 

เบื่อการเมืองค่ะ

 

โดย: อพันตรี 27 มีนาคม 2549 23:48:30 น.  

 

^
^
^
อาการเหมือนคุณข้างบนค่ะ เหนื่อยใจจัง


 

โดย: ไม่รักไม่มา ...Naka (ไม่รักไม่มา ...Naka ) 28 มีนาคม 2549 0:53:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Sky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






ข่าวประชาสัมพันธิ์




สถานีวิทยุ 1
สถานีวิทยุ 2
สถานีวิทยุ 3
สถานีวิทยุ 4
สถานีวิทยุ 5
สถานีวิทยุ 6
สถานีวิทยุ 7
สถานีวิทยุ 8
สถานีวิทยุ 9
สถานีวิทยุ 10


Google

Friends' blogs
[Add Sky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.