กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
Review ✱ เลือก Cleansing ให้ถูกกับผิวกันค่ะ
สวัสดีค่ะ 
ขอออกตัวก่อนว่า บทความนี้นำมาจาก 

FB fanpage: Cosmetic Knowledge from Dr.Naphatsorn


มายด์คิดว่าเป็นความรู้ใหม่ เลยรวบรวมให้อ่านกันค่ะ




เรียกได้ว่าในยุคปัจจุบันนี้ Cleansing เป็นสิ่งจำเป็นมาก ถ้าหน้าเราสะอาด 
ผิวเราก็จะขาวเปล่งปลั่งมีสขภาพดีไม่หมองคล้ำ และไม่มีสิวต่างๆมาเยือนค่ะ

จริงๆไม่อยากให้มองว่า Cleansing เป็นแค่ผลิตภัณฑ์สำหรับล้างเครื่องสำอาง 
ถ้าเราไม่ได้แต่งหน้าจะไม่จำเป็น เพราะ Cleansing พวกนี้มันช่วยเช็ดเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดมาจากสิ่งแวดล้อม และมาสะสมอยู่กับผิวออกไปได้ดีค่ะ 

ใครเคยลองแบบว่า วันว่างๆอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ต้องแต่งหน้าอะไรเลย 
แล้วพอจะนอนลองเอา สำลีชุบ Cleansing เช็ดดู สำลีนี่เรียกว่า ดำเลยนะคะ 
ถึงจะไม่ได้แต่งหน้า แต่ความมันที่ผิวเราสร้างออกมาจะเป็นเหมือนแม่เหล็กคอยดูดซับฝุ่นละออง และมลพิษต่างๆไว้กับผิว ทำให้ผิวเราหมองคล้ำได้ค่ะ

ถ้าแบ่ง Cleansing แอดมินขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่ใช้ตอนหน้าแห้ง กับ กลุ่มที่ใช้ตอนหน้าเปียก

เรามาดูไปทีละกลุ่มดีกว่านะคะ 
กลุ่ม Cleansing ที่เช็ดหน้าตอนหน้าแห้ง

Cleansing กลุ่มนี้มักจะเป็นตัวเช็ดทำความสะอาดเมคอัพต่างๆออก ก่อนไปล้างหน้าด้วยน้ำ

เราจะแบ่งเป็น 
- Cleansing water                  
- Cleansing milk (lotion น้ำนม)
- Cleansing cream                 
- Cleansing oil                        

แอดมินจะชอบบอกเสมอว่าเราควรมี Cleansing 2 ขวดติดบนโต๊ะเครื่องแป้ง 
เพราะอะไร ลองมาดูดีกว่าค่ะ

หลายๆคนมักจะคิดว่า Cleansing water ตัวเดียวจบหมดทั้งตา ปาก และเบสเมคอัพ 
แต่จริงๆแล้ว Cleansing water ต่อให้เคลมมาดิบดีแค่ไหน
ก็ยังไม่ควรเอามาล้างเครื่องสำอางรอบดวงตาค่ะ

เพราะอะไรหรอ??

เพราะ Cleansing water ประกอบด้วย "น้ำ" กับ "Surfactant" 
ซึ่ง Surfactant พวกนี้ สามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีนในน้ำตาที่เคลือบตาได้ค่ะ ก็จะไม่เหมาะเท่าไหร่ค่ะ

ส่วนของ Cleansing lotion (แบบน้ำนม) และ Cream 
พวกนี้ประกอบด้วย น้ำ กับ น้ำมัน เหมือนเป็นลูกครึ่งค่ะ Surfactant ที่มักจะอ่อนโยนลงมาถ้าเทียบกับกลุ่มน้ำ

กรณีนี้นับรวมถึงที่เป็นแบบสองชั้นที่ต้องเขย่าก่อนใช้ด้วยค่ะ

สุดท้ายคือ Cleansing oil ประกอบด้วยน้ำมัน กับ Surfactant ที่ละลายได้ใน OIl 
ซึ่งพวกนี้มักจะอ่อนโยนกว่า Surfactant ที่ละลายได้ในน้ำ 
และน้ำมันก็ไม่ได้ทำร้ายอะไรในส่วนของโปรตีนจากน้ำตาเคลือบตาด้วยค่ะ 
แต่จะให้เอา Cleansing oil มาทาทั้งหน้าก็ไม่ไหวใช่มั้ย ก็เลยต้องมี Cleansing 2 ขวดวางอยู่บนโต๊ะ



เรามาทำความรู้จักกับ Surfactant กันดีกว่าค่ะ

เจ้าสารที่เรียกว่า Surfactant คำนี้แปลเป็นไทยว่า “สารลดแรงตึงผิว” 
แต่แปลแล้วก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย ก็ขอเรียกว่า สารทำความสะอาด ดีกว่า 
ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์มากนัก แต่ก็อนุโลมให้แล้วกันเนาะ

เจ้าสารทำความสะอาดที่ว่านี้มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดผิว 
เพราะตัวของมันจะมีส่วนหัวที่ชอบน้ำ กับส่วนหางที่ชอบไขมัน มองดูคล้ายๆไม้ขีด 

สรรพสิ่งบนโลกใบนี้จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ 
ละลายในน้ำ หรือ ละลายในน้ำมัน หรือไม่ก็ไม่ละลายในอะไรเลย
เวลาเราล้างหน้า สิ่งสกปรกที่ละลายน้ำได้ก็จะออกไปกับน้ำ 
ส่วนที่ไม่ละลาย ถ้าขัดๆถูๆหน่อยมันก็หลุดออกไปได้ไม่มีปัญหาอะไร 
แต่เจ้าสิ่งสกปรกที่ไม่ละลายน้ำมันถ้าล้างด้วยน้ำเฉยๆมันก็จะไม่ออกไป แต่พอเรามีสารทำความสะอาดอยู่ด้วยเวลาเขาเจอสิ่งสกปรกที่เป็นพวกละลายน้ำมัน มันจะเอาส่วนหางที่ชอบน้ำมันเข้าไปจิ้มไว้ แล้วชูส่วนหัวออกมาข้างนอก พอเราล้างน้ำตาม ส่วนหัวมันก็จะออกมาอยู่กับน้ำ โดยจะดึงเอาหางที่เกาะกับน้ำมันออกมาด้วยกับน้ำ ผิวเราก็จะสะอาด 
(ลองดูรูปที่ให้ไว้ดูค่ะ)



ส่วนของสารทำความสะอาด เราแบ่งได้เป็น 4 แบบ ตามประจุบนส่วนหัวของมัน ดังนี้

1. Surfactant ประจุบวก (Cationic surfactant) 
จะมีหัวเป็นบวก สารพวกนี้ไม่ค่อยเจอเท่าไหร่ในพวกผลิตภัณฑ์ผิวหนัง 
แต่จะเจอกับพวกครีมนวดผม และตัวมาสค์หมักผม เพราะพวกนี้มันจะจับกับโปรตีนได้ดี ทำให้ผมเสียนุ่มสลวย แต่ก็มีใช้ใน Cleansing สำหรับผิวด้วย เพราะพวกนี้จะจับกับโปรตีนบนผิว ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง สารบางตัวสามารถใช้ใน Skincare ได้ด้วย ก็จะให้ผิวนุ่มเนียนน่าสัมผัส 
สารกลุ่มนี้ส่วนมากมักจะระคายเคืองผิว พวกนี้จะลงท้ายด้วยคำว่า -nium

2. Surfactant ประจุลบ (Anionic surfactant)
เป็นตัวหลักในกลุ่มทำความสะอาด เพราะให้ฟองที่เยอะมาก มีความสามารถในการทำความสะอาดสูง แต่ก็ระคายเคืองได้บ้าง พวกนี้มีเยอะ มักจะมีคำว่า Sodium หรือ Potassium หรือ Ammonium นำหน้าสาร บางตัวก็อ่อนโยน บางตัวก็รุนแรง ตัวที่รุนแรงที่สุดคือ Sodium lauryl sulfate 

3. Surfactant สองประจุ (Amphoteric surfactant)
พวกนี้มีทั้งบวกและลบ ขึ้นกับค่า pH ของผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นบวก ก็ให้ผลเคลือบปรับสภาพผิว ถ้าเป็นลบก็ทำความสะอาดไป พวกนี้เช่นที่ลงท้ายด้วย Betaine หรือมีคำว่า ampho ในชื่อสาร กลุ่มนี้มีความอ่อนโยนเพิ่มขึ้น

4. Surfactant ที่ไม่มีประจุ (Nonionic surfactant)
พวกนี้ไม่มีประจุเลย มักจะมีความอ่อนโยนกับผิวมาก แต่ก็จะไม่มีฟอง 
เราเจอในสูตรที่เขา Claim ว่าไม่มีฟอง หรือพวกอ่อนโยน สารกลุ่มนี้มีเยอะและค่อนข้างกว้าง



คนส่วนใหญ่ จะคิดว่าถ้ามีฟอง จะทำความสะอาดได้สะอาดหมดจด
แต่ความเป็นจริง ความสามารถในการทำความสะอาดไม่ขึ้นกับฟองค่ะ 
แต่ถึงรู้ทั้งรู้ แอดมินเองก็ชอบให้ Cleanser มีฟองอยู่ดี

กลับมาที่ Surfactant นะคะ 
พวกนี้เวลาเขาอยู่ในน้ำ ในความเข้มข้นต่ำๆ เขาจะเรียงตัวกันอย่างสะเปะสะปะ 
บางครั้งก็จะลอยขึ้นไป แล้วเอาหางชี้ออกไปสู่อากาศ เพราะหางนั้นไม่ชอบน้ำมากๆ 
แต่เมื่อความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดๆหนึ่ง Surfactant พวกนี้เขาจะเรียงตัวกันเป็นวงกลม ส่วนของหางจะชี้เข้าหากันและอยู่ด้วยกันในวงกลมอันนั้น

ลักษณะการเรียงตัวเป็นวงกลมแบบนี้เราเรียกว่า "Micelle” ค่ะ 
และความเข้มข้นจุดนี้ ที่เป็นจุดต่ำสุดที่ Surfactant มาเรียงตัวกันเป็นไมเซลล์ 
เราเรียกว่าเป็น Critical micellar concentration (CMC)



ซึ่งความรู้ว่าสารพวกนี้มีการสร้างไมเซลล์นี้มีมาหลายสิบปีแล้วค่ะ 
แต่เพื่อการตลาด อยู่ดีๆ ก็เกิดคำว่า Micellar solution ขึ้นมา นับว่าเป็นการตลาดที่สวยหรูและเลอค่า ที่ Based on หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จริงๆ

ดังนั้น Micellar solution คืออะไร??

คือ สารละลายที่มีความเข้มข้นของ Surfactant ที่ค่าๆหนึ่ง 
ที่ Surfactant พวกนี้มาเรียงตัวกันเป็นไมเซลล์ พอ Surfactant อยู่ในรูปแบบไมเซลล์ จะมีความสามารถในการทำความสะอาดได้ค่อนข้างสูงค่ะ

ถ้าเราเลือก Surfactant ชนิดที่ค่อนข้างอ่อนโยนมาทำไมเซลล์
 มันก็จะอ่อนโยนตามชนิดของ Surfactant ค่ะ แต่ถ้าถามว่าตัวไหนอ่อนโยนบ้าง จริงๆก็เยอะค่ะ และอีกอย่างคือ การตอบสนองของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน 
บางคนอาจจะทน Surfactant ตัวนี้ได้ แต่อีกคนมาใช้แล้วรู้สึกแห้ง ตึง แสบ ก็เป็นไปได้ 
ดังนั้นถ้าอยากรู้จริงๆ คงต้องลองค่ะ ถึงจะตอบได้






Create Date : 13 กรกฎาคม 2558
Last Update : 13 กรกฎาคม 2558 12:12:31 น.
Counter : 2176 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sweetie_mild
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



ชื่อมายด์นะคะ

❥ วิศวกรโยธา
❥ ชอบแต่งหน้า
❥ ชอบกิน กินเยอะด้วย
❥ ชอบถ่ายรูป หลงใหลกล้องฟิลม์
บางครั้งก็ to be a backpacker ☺

มีเพจด้วย ขอบคุณทุกคนที่ติดตามค่ะ

( /) ❤
( . .)/
c(”)(”) มี facebook fanpage ด้วย
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามค่ะ


♥ ♥ ♥ ♥ ♥ IG : sweetie_mild ♥ ♥ ♥ ♥ ♥