Mystery is my destiny
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
18 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

ปี 2009 ครบรอบ 200 ปีแห่งชาตกาลของบิดาแห่งรหัสคดี

ผมทิ้งการเขียนบล็อกไปนานมากๆๆ เคยมีความตั้งใจว่าไม่อยากทิ้งบล็อกตัวเองให้เป็นขยะไซเบอร์ แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรซักที จนเมื่องานหนังสือครั้งที่ผ่านมา ทางสโมสรหนังสือรหัสคดีได้จัดทำหนังสือพิเศษเพื่อเป็นกำนัลแด่ผู้อ่าน...

หนังสือเล่มนั้นคือ ชีวประวัติขนาดกะทัดรัดของเอ๊ดก้าร์ แอลแลน โป บิดาแห่งรหัสคดี

ปี 2009 นี้คือปีครบรอบ 200 ปีแห่งชาตกาลของนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกท่านนี้




เราอาจไม่ค่อยเห็นผลงานของโปแพร่หลายมากนักในเมืองไทย แต่ในต่างประเทศผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับในวงกว้างและได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่องในฐานะวรรณกรรมคลาสสิก ซึ่งมีทั้งบทกวี บทวิจารณ์ เรื่องสั้น และนิยาย ตอนที่ผมไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย บอกได้ว่าไม่เคยพบร้านหนังสือชั้นนำร้านใดที่จะไม่มีหนังสือของโปวางขายอยู่

อย่างไรก็ตามผลงานที่ได้รับตีพิมพ์เรื่องแรกในชีวิตของโปมิใช่อะไรที่ใกล้เคียงกับรหัสคดีเลย หากแต่เป็นรวมบทกวีชุด Tamerlane and Other Poems (1827) มียอดพิมพ์เพียง 50 เล่ม! ส่วนรหัสคดีเรื่องแรกของโลกอันมีนามว่า The Murders in the Rue Morgue นั้นได้รับการตีพิมพ์ในปี 1841 ตามต่อด้วยอีกสองเรื่องในชุดเดียวกันในปี 1842 และ 1844 ทั้งสามตอนได้รับการรวมเล่มไว้ใน collection ชื่อง่ายๆ ว่า Tales ในปี 1845

สิ่งที่น่าสนใจคือในปี 1841 นั้นยังไม่มีศัพท์คำว่า Detective ที่แปลว่านักสืบในพจนานุกรมเลยด้วยซ้ำ ตามหลักฐานของ Oxford นั้น คำว่า Detective ปรากฏเป็นครั้งแรกในวารสารกฎหมายอังกฤษในปี 1843 หลังจากโปเขียนนิยายสืบสวนเรื่องแรกของโลกถึงสองปี!

อันที่จริงก็น่าคิดว่า...เหตุใดโปจึงเน้นสร้างแต่งานแนวสยองขวัญ ลึกลับดำมืด และความตายออกมา? ผลงานแนวนี้ของเขามีพลังจินตนาการหลุดกรอบอย่างเหลือเชื่อ (เมื่อคิดว่างานเขียนแนวนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในยุคนั้น) บางทีอาจเป็นผลกระทบและแรงบันดาลใจจากชะตาชีวิตที่รันทดและเต็มไปด้วยความทุกข์ยากสาหัสกระมัง

เท่าที่อ่านจากหนังสือ...ชีวิตของโปช่างอาภัพและเต็มไปด้วยปัญหาสารพันจนแทบไม่น่าเชื่อว่าเขายังเหลือไฟฝันและแรงบันดาลใจมาสร้างสรรค์งานวรรณกรรมชั้นปรมาจารย์ออกมาเป็นจำนวนมากได้อย่างไร แต่หากเขามีชีวิตที่เป็นสุขสมบูรณ์แล้วล่ะก็ แนวงานเขียนของเขาอาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ และรหัสคดีเรื่องแรกของโลกก็อาจมิได้อุบัติขึ้น

ตัวผมเองมีหนังสือ Tales of Mystery and Imagination ของโปอยู่บนหิ้งบูชาเล่มหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นเวอร์ชั่นเดียวกับ Tales ที่ตีพิมพ์ในปี 1845 (หรือเปล่าก็ไม่รู้!) หนังสือเล่มนี้รวมผลงานแนวลึกลับและสยองขวัญที่โดดเด่นของโปไว้ครบทุกเรื่อง อาทิ The Gold Bug, The Fall of the House of Usher, The Pit and the Pendulum, The Tell-Tale Heart และแน่นอน...เรื่องสั้นสืบสวนชุดดูแป็งทั้งสามเรื่อง

อีกไม่กี่วันก็จะหมดปี 2009 แล้ว นับว่าโชคดีที่ผมอัพบล็อกได้อีกครั้งก่อนสิ้นปี และหวังกับตัวเองว่าจะสามารถอัพได้อย่างต่อเนื่องซะที

สุดท้ายนี้คงต้องขอขอบคุณเอ๊ดก้าร์ แอลแลน โปสำหรับการสร้างสุดยอดวรรณกรรมตระกูลรหัสคดีออกมา


"นิยายสืบสวนอยู่หนใดเล่า ก่อนที่โปจะเป่าลมหายใจให้มันมีชีวิตขึ้นมา"

เซอร์ อาเธอร์ โคแนน ดอยล์




 

Create Date : 18 ธันวาคม 2552
0 comments
Last Update : 18 ธันวาคม 2552 22:09:06 น.
Counter : 761 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sundown
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เข้ามาปลุกผีบล็อกที่ทิ้งร้างเป็นป่าช้าไปนานอีกครั้ง
Friends' blogs
[Add sundown's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.