รูป Mazda CX-3 สีดำ (CX3 Black)
วันนี้ลองคันๆ ดูแล้วเจอรูป Mazda CX-3 สีดำ หล่อ เท่ห์ เข้ม เห็นแล้วบอกได้คำเดียวว่าโดนใจคนที่ชอบรถแนวสปอร์ต เท่ห์ๆ ถ้าเพิ่มชุดแต่งนิดหน่อย Mazda CX-3 สีดำคันนี้คงจะ สวย แบบดุดันน่าดู ว่าแล้วก็อยากจะเห็น Mazda CX-3 สีดำแต่งซะแล้วสิ...ยังไงก็ดูแบบเดิมๆ ไปพรางๆ ก่อนนะ ถ้าเจอ CX-3 สีดำแต่งสวยๆ เมื่อไหร่จะรีบนำมาให้ดูกันครับ ^^

บั้นท้าย CX-3 สีดำ


ด้านหน้า CX-3 สีดำ





Create Date : 04 มีนาคม 2558
Last Update : 4 มีนาคม 2558 15:40:57 น.
Counter : 6173 Pageviews.

0 comment
SKYACTIV-G เครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน
น้ำมันครึ่งถังหายไปไหน?

มีความจริงเกี่ยวกับเครื่องยนต์เดิมๆ ที่คุณไม่เคยรู้ จากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมเต็มถัง ไม่ถึงครึ่งที่ใช้ได้จริง1 ที่เหลือ...สูญเปล่าไปกับการทำงานของเครื่องยนต์
...และถ้าวันนี้มีเทคโนโลยีที่ช่วยคุณประหยัด คุณจะสนใจไหม?

เครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน SKYACTIV-G คือ เครื่องยนต์เบนซินเจนเนอเรชั่นใหม่ ใน 5 นวัตกรรมใหม่ของรถจากเทคโนโลยีสกายแอคทีฟของมาสด้า แรง 192 แรงม้า แรงบิด 256 นิวตัน-เมตร3

ทั้งแรงทั้งประหยัดได้เพราะ...

   + เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในที่มีอัตราส่วนการอัดสูงถึง 14.0:1* อัตราส่วนการอัดยิ่งสูงยิ่งประหยัดน้ำมัน
   + ให้ค่าไอเสีย Co2 ลดลง 15%** และผ่านมาตรฐานข้อบังคับมลพิษยูโร 5 Euro stage 5***
   + ประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิมถึง 15%** ขณะที่ได้แรงบิดเพิ่มขึ้น 15%** จาก
    -  ระบบ DISI – Direct Injection Spark Ignitions เพิ่มประสิทธิภาพของการผสมระหว่างน้ำมันและอากาศ จนได้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ที่สุด
    - ระบบ Dual S-VT วาล์วแปรผันคู่อัจฉริยะ ช่วยให้จังหวะการจุดระเบิดเป็นไปอย่างสมบูรณ์
    - ระบบไอเสีย 4-2-1 พัฒนาการใหม่ที่ช่วยเพิ่มแรงบิดและแก้ปัญหาอาการน็อคของเครื่องยนต์

* ของเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร ** เทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน  MZR 2.0 ลิตร *** มาตรฐานสำหรับรถที่จำหน่ายในยุโรป


เครื่องยนต์สกายแอคทีฟ-จี ทำให้ความแรงมาคู่กับ ความประหยัด


เทคโนโลยีใหม่ของเครื่องยนต์เบนซิน "สกายแอคทีฟ-จี (SKYACTIV-G)" ทำให้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ฉีดเชื้อเพลิงโดยตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีอัตราส่วนการอัดสูงที่สุดในโลก คือ อัตรา14.0:1 ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น 15%* แรงบิดเพิ่มขึ้น 15% และค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 15%

*เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์แบบเดิม

จุดเด่น

   - อัตราส่วนการอัดสูงเท่าที่เคยมีมา 14.0:1
   - อัตราส่วนการอัดที่สูงสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการทำท่อระบายไอเสียแบบ 4-2-1 ลูกสูบแบบมีโพรง หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงรูปแบบใหม่ และนวัตกรรมอื่นที่ป้องกันการเผาไหม้ผิดปกติ (การน็อค)
   - ความเสียดทานในเครื่องยนต์ลดลง 30%
   - จังหวะการเปิด-ปิดวาล์วตามลำดับแปรผันอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านไอดีและไอเสีย (dual S-VT) สามารถลดการสูญเสียกำลังจากการปั๊ม
   - การออกแบบโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาขึ้น: น้ำหนักลดลง โดยรวม 10%
   - ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้ถึง 15% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน MZR ขนาด 2 ลิตร ของมาสด้าในปัจจุบัน
   - แรงบิดเพิ่มขึ้น 15% โดยประมาณ ที่รอบต่ำถึงรอบปานกลาง


เครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน SKYACTIV-G



ข้อได้เปรียบของเครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซินคือ เป็นระบบฉีดเชื้อเพลิงตรง (Direct Injection) ที่ไม่เหมือนใคร อันเป็นผลผลิตจาก "ความคิดริเริ่ม" ทางวิศวกรรมที่เกิดจากการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกันของมาสด้า หลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์ได้ถูกนำมาวิเคราะห์และพิจารณาใหม่ทั้งหมด มาสด้าจึงประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนการอัดสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ 14.0:1 ซึ่งเป็นระดับอัตราส่วนการอัดที่พบได้เฉพาะเครื่องยนต์ของรถแข่งระดับซูเปอร์คาร์เท่านั้น ซึ่งในอดีตยังไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ในปัจจุบันมาสด้าเอาชนะข้อจำกัดที่เคยมีจนได้เครื่องยนต์เบนซินอัตราส่วนการอัดสูง 14.0:1

ในเรื่องอัตราส่วนการอัดต้องพิจารณาถึงข้อดีและสิ่งที่ท้าทายมันอยู่ การเพิ่มอัตราส่วนการอัดในเครื่องยนต์เบนซินเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนเพื่อช่วยปรับปรุงการประหยัดเชื้อเพลิงโดยวิธีลดการสูญเสียพลังงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเดิมๆ ของเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนการอัดสูงคือทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ผิดปกติและทำให้แรงบิดของเครื่องยนต์ลดลงไปด้วย อาการนี้เรียกว่าเครื่องยนต์น็อค ส่วนผสมของเชื้อเพลิง และอากาศที่เหมาะสมและเทคนิคการยืดเวลาให้จังหวะจุดระเบิดช้าลงกว่าเดิมได้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันอาการน็อค

ทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีอัตราส่วนการอัดสูง โดยปราศจากอาการน็อค



อาการเครื่องยนต์น็อคมักจะเกิดเมื่อมีการชิงจุดระเบิดก่อนที่หัวเทียนจะจุดระเบิดให้เกิดประกายไฟ เพราะอุณหภูมิและแรงดันในกระบอกสูบสูงเกินไป อาการนี้สามารถแก้ได้โดยลดปริมาณและแรงดันของก๊าซที่ค้างในกระบอกสูบในห้องเผาไหม้ มาสด้าจึงพัฒนาท่อระบายไอเสียที่ยาวขึ้นพิเศษแบบ 4-2-1 เป็นการป้องกันไม่ให้ก๊าซไอเสีย (ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก) ที่เพิ่งออกจากกระบอกสูบไหลย้อนกลับเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้อีก จึงช่วยให้อุณหภูมิขณะอัดอากาศไม่สูงจนเกินไป เท่ากับช่วยลดอาการน็อค



ช่วงเวลาการเผาไหม้ก็ถูกลดลงด้วยการเผาไหม้ที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงที่ยังไม่เผาไหม้สัมผัสกับอุณหภูมิสูงในเวลาที่สั้นลงกว่าเดิมเพื่อให้การเผาไหม้ตามปกติเกิดขึ้นก่อนเกิดอาการน็อค ดังนั้นเครื่องยนต์ใหม่จะใช้ลูกสูบพิเศษที่มีโพรงอยู่ด้านบนเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เปลวไฟที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของการเผาไหม้กระจายออกไปโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง และใช้หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบมีจำนวนรูฉีดที่มากกว่าเก่ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำและเพิ่มคุณภาพการสเปรย์ของเชื้อเพลิง เมื่อทำงานร่วมกันกับท่อระบายไอเสียแบบ 4-2-1 นวัตกรรมนี้ส่งผลให้เพิ่มแรงบิดได้ 15% มากกว่าเครื่องยนต์มาสด้า MZR ขนาดความจุ 2.0 ลิตร ในปัจจุบัน ผู้ขับขี่ในปัจจุบันจะรักสกายแอคทีฟ-จีที่มีแรงบิดสูงตลอดช่วงการทำงานของรอบเครื่องยนต์ และยิ่งกว่านั้นยังประหยัดเชื้อเพลิงได้ถึง 15%


การลดการสูญเสียจากการปั๊ม



การที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ได้นั้น ข้อแรกต้องลดการสูญเสียจากการปั๊ม (Pumping Loss) หรือจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นเพื่ออัดอากาศในช่วง ในจังหวะดูดอากาศเข้า ที่เรียกเป็นภาษาทางเครื่องยนต์ว่าจังหวะดูด คือเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงเพื่อดูดอากาศหรือไอดีเข้าไป โดยทั่วไปแล้วปริมาณของอากาศที่เข้าสู่กระบอกสูบถูกควบคุมด้วยลิ้นปีกผีเสื้อที่ติดตั้งอยู่ก่อนถึงท่อไอดี โดยทั่วไปแล้ว ที่ภาระเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์จะต้องการอากาศในปริมาณน้อย และเมื่อลิ้นปีกผีเสื้อปิดเกือบสนิท ความดันในท่อไอดีและกระบอกสูบจะต่ำกว่าความดันบรรยากาศภายนอก เป็นผลให้ลูกสูบต้องเอาชนะสภาวะสุญญากาศ ซึ่งนี่คือการสูญเสียจากการปั๊มและแน่นอนว่าเป็นผลกระทบเชิงลบกับประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

มาสด้าพยายามลดการสูญเสียจากการปั๊มโดยแก้ไขจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วไอดีและวาล์วไอเสียให้เป็นลำดับขั้น (Sequential Valve Timing หรือ S-VT) โดยเปลี่ยนจังหวะการเปิดและปิดวาล์ว ทำให้ปริมาณอากาศที่ไหลเข้าห้องเผาไหม้ถูกควบคุมด้วยวาล์วแทนที่จะเป็นลิ้นปีกผีเสื้อแบบเก่า ในระหว่างจังหวะดูดขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ลิ้นปีกผีเสื้อและวาล์วไอดีจะถูกสั่งงานให้เปิดกว้างที่สุด โดยปกติจังหวะดูดจะสิ้นสุดเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงถึงศูนย์ตายล่าง แต่ถ้าวาล์วไอดีปิด ณ ตอนนี้ จะทำให้มีอากาศในกระบอกสูบมากเกินไป ดังนั้น เพื่อกำจัดอากาศส่วนเกินออก S-VT จะสั่งให้วาล์วไอดียังคงเปิดอยู่เมื่อลูกสูบเริ่มที่จะเลื่อนขึ้นเข้าสู่จังหวะอัด และจะปิดเมื่ออากาศส่วนเกินได้ถูกดันออกไปแล้ว วิธีการนี้เป็นการใช้ S-VT ช่วยลดการสูญเสียจากการปั๊ม และช่วยให้กระบวนการเผาไหม้โดยรวมทั้งหมดมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

โดยปกติแล้ว การไหลกลับของอากาศจะทำให้การเผาไหม้ไม่เสถียร เนื่องจากวาล์วไอดียังเปิดอยู่แม้เมื่อจังหวะอัดเริ่มแล้ว ภาวะนี้จะทำให้ความดันภายในกระบอกสูบลดลงและทำให้ยากในการเผาไหม้ส่วนผสมอากาศ-เชื้อเพลิง แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับเครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน เพราะมีอัตราส่วนการอัดที่สูงถึง 14.0:1 อัตราส่วนการอัดที่สูง ระดับนี้จะช่วยเพิ่มอุณหภูมิและความดันในห้องเผาไหม้ ดังนั้น กระบวนการเผาไหม้จะยังคงเสถียรขณะที่การสูญเสียจากการปั๊มก็ลดลง ผลลัพธ์ที่ได้คือเครื่องยนต์จะได้ประสิทธิภาพเชื้อเพลิงสูงขึ้น


การลดน้ำหนักเครื่องยนต์  และลดความเสียดทานภายในเครื่อง

แน่นอนว่าการตอบสนองของรถจะดีขึ้นหากชิ้นส่วนที่อยู่บนรถลดขนาดและน้ำหนักลง ดังนั้น เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาเครื่องยนต์ให้ทำงานได้สมบูรณ์แบบจะมุ่งไปที่แนวทางของการออกแบบน้ำหนักรถให้รถมีน้ำหนักเบาขึ้น การที่น้ำหนักลูกสูบเบาขึ้น 20% ก้านสูบเบาขึ้น 15% และความเสียดทานภายในเครื่องยนต์ลดลง 30% (เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ MZR ขนาดความจุ 2.0 ลิตรในปัจจุบัน) ทำให้ต้นกำลังสกายแอคทีฟ-จีใหม่มีความคล่องตัว เร่งขึ้นเร็ว ปรับตัวได้รวดเร็วกว่าเมื่อภาระของเครื่องยนต์เปลี่ยน และเครื่องยนต์ยังใช้พลังงานน้อยลงอีกด้วย ส่งที่น่าทึ่งคือ มาสด้ายังคงรักษาอารมณ์การขับขี่แบบสปอร์ตของรถมาสด้าเอาไว้ได้ ขณะที่สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ถึง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน



ที่มา: mazda.co.th




Create Date : 02 มีนาคม 2558
Last Update : 2 มีนาคม 2558 20:44:16 น.
Counter : 1522 Pageviews.

0 comment
SKYACTIV-D เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ประหยัด 18 กม./ลิตร

เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล SKYACTIV-D คือ เครื่องยนต์คลีนดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่ 1 ใน 5 นวัตกรรมใหม่ของรถจากเทคโนโลยีสกายแอคทีฟของมาสด้า แรง 175 แรงม้า**** แรงบิดสูง 420 นิวตัน-เมตร2 ประหยัดน้ำมันถึง 18 กม./ลิตร3



ทั้งแรงทั้งประหยัดได้เพราะ...

   - เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในรายเดียวที่มีอัตราส่วนกำลังอัดต่ำสุด เพียง 14.0:1*
   - ประหยัดน้ำมันมากกว่าเดิมถึง 20%** เพราะเผาไหม้สมบูรณ์กว่าและสะอาดกว่า
   - Two-stage Turbocharger เทอร์โบชาร์จเจอร์สองชั้น ตอบสนองต่อเนื่องทุกรอบความเร็วได้สูงสุดถึง 5,200 รอบต่อนาที
   - เป็นเครื่องยนต์น้ำหนักเบาและทนทาน
   - ให้ค่าไอเสีย Co2 ลดลง 20% และผ่านมาตรฐานข้อบังคับมลพิษยูโร 6 Euro stage 6***

****  ที่ 4500 รอบ/นาที 2 ที่ 2000 รอบ/นาที 3 ผลจากโหมดการทดสอบในประเทศญี่ปุ่น (JC08 Mode) ที่ใกล้เคียงการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันมากที่สุด/เครื่องยนต์ขนาด 2.2 ลิตร
* เครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปอยู่ที่ 18.0:1 ** เทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD 2.2 ลิตร *** มาตรฐานสำหรับรถที่จำหน่ายในยุโรป

เครื่องยนต์ สกายแอคทีฟ-ดี ที่ให้แรงบิดสูง และการเผาไหม้สะอาด

สะอาด รอบจัด ตอบสนองดี และให้การขับขี่ของคุณสนุกขึ้นกว่าเดิม: มาสด้าได้ยกระดับกำลังของเครื่องยนต์คลีนดีเซล “สกายแอคทีฟ-ดี (SKYACTIV-D)” ให้อัตราการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในอุดมคติ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น 20%* ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 20% และผ่านมาตรฐานข้อบังคับมลพิษ EURO 6**

*เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์แบบเดิม  **มาตรฐานสำหรับรถที่จำหน่ายในยุโรป

จุดเด่น

   - การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงประมาณ 20% (เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD ขนาด 2.2 ลิตร ของมาสด้าในปัจจุบัน) เนื่องจากอัตราส่วนการอัดที่ต่ำถึง 14.0:1 และช่วงการขยายตัวมากขึ้นแบบต่อเนื่องหลังการเผาไหม้
   - ระยะยกวาล์วแปรผันด้านไอเสียทำให้การนำไอเสียกลับมาใช้ใหม่เกิดขึ้นภายในได้ สิ่งนี้ทำให้การเผาไหม้มีเสถียรภาพอย่างทันทีหลังการสตาร์ทในขณะเครื่องยนต์ยังเย็นอยู่
   - เทอร์โบชาร์จเจอร์สองขั้น Two-stage Turbocharge ทำให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดช่วงความเร็วรอบ (สูงสุด 5,200 รอบต่อนาที)
   - มีน้ำหนักลดลง 10% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD ขนาด 2.2 ลิตร ของมาสด้าในปัจจุบัน
   - ความเสียดทานภายในเครื่องยนต์ลดลง 20%
   - เครื่องกรองฝุ่นละอองดีเซลแบบเซรามิกที่มีประสิทธิภาพสูง
   - เป็นไปตามข้อบังคับการปลดปล่อยมลพิษ EURO 6 ของยุโรป Tier II BIN 5 ของสหรัฐอเมริกา และ Japan’s Post New Long-Term ของญี่ปุ่น โดยไม่ต้องใช้เครื่องบำบัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่มีราคาแพง

เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล SKYACTIV-D
นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ของมาสด้ายังมีเครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลคอมมอนเรลรุ่นใหม่ทั้งหมด จุดเด่นของเครื่องยนต์นี้คือมีอัตราส่วนการอัด 14.0:1 เช่นเดียวกันกับเครื่องยนต์สกายแอคทีฟเบนซิน แต่ตัวเลขนี้สำหรับเครื่องประเภทดีเซลถือว่ามีอัตราส่วนการอัดต่ำที่สุดในโลก ตัวเลขยิ่งต่ำ ยิ่งดีต่อคุณภาพการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นแรกๆ ที่สามารถผ่านข้อบังคับมลพิษยูโร 6 ที่เข้มงวดมาก และการลดการคายไอเสียนี้มาสด้าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องบำบัดไอเสียเอสซีอาร์ (Selective Catalytic Reduction, SCR) หรือแอลทีเอ็น (Lean NOx Trap catalyst converter) ที่มีราคาแพงแต่อย่างใด



เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องที่ไม่ต้องใช้หัวเทียนช่วยจุดระเบิด เชื้อเพลิงที่ถูกฉีดเข้าไปในห้องเผาไหม้จะจุดระเบิดได้ด้วยตัวเองภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่สูงใกล้ศูนย์ตายบน (Top Dead Centre หรือ TDC) หรือจังหวะเมื่อหัวลูกสูบเข้าใกล้ฝาสูบ เพื่อให้การสตาร์ทรถขณะเครื่องยนต์เย็นและได้การเผาไหม้ที่เสถียรระหว่างช่วงอุ่นเครื่อง เครื่องยนต์ดีเซลแบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีอัตราส่วนการอัดสูง 16.0:1 หรือบางเครื่องสูงถึง 18.0:1 แต่เพราะนั่นไม่ใช่เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลของมาสด้าที่ไม่เหมือนใคร



อัตราส่วนการอัดที่ต่ำเพียง 14.0:1 ช่วยปรับช่วงเวลาการเผาไหม้ได้อย่างเหมาะสม เมื่ออัตราส่วนการอัดต่ำลง อุณหภูมิและความดันในการอัด ณ ศูนย์ตายบนจะลดลง เป็นผลให้การจุดระเบิดเกิดได้ยาวนานขึ้นแม้ว่าเมื่อเชื้อเพลิงถูกจะฉีดใกล้ศูนย์ตายบนก็ตาม ทำให้การผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิงรวมตัวกันได้ดีขึ้น สิ่งนี้เป็นผลดีต่อการป้องกันการเกิดไนโตรเจนออกไซด์และเขม่า อันมีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ของสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันในภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและออกซิเจนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การฉีดเชื้อเพลิงและการเผาไหม้ใกล้ศูนย์ตายบนทำให้เครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประสิทธิภาพของการดึงปริมาณพลังงานของเชื้อพลิงมาใช้หรือเรียกกันว่าอัตราส่วนการขยายจะมากกว่าในเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปที่มีอัตราส่วนการอัดสูง ช่วงเวลาการเผาไหม้ที่เหมาะสมของเครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลหมายถึงการใช้พลังงานในเชื้อเพลิงได้ดีกว่า และสิ่งนี้เป็นเหตุผลหลักที่มาสด้าสามารถลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้ถึง 20%



ผ่านมาตรฐานไอเสียยูโร 6 โดยไม่ต้องใช้เครื่องบำบัดไอเสียจากไนโตรเจนออกไซด์


ไม่เหมือนเครื่องยนต์ดีเซลอื่นทั่วไป เนื่องจากอัตราส่วนการอัดต่ำ เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลเผาไหม้ได้สะอาดหมดจด ปล่อยไนโตรเจนออกไซด์และเขม่าในปริมาณต่ำมากอยู่แล้ว จึงสามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องบำบัดไอเสียจากไนโตรเจนออกไซด์และยังสามารถผ่านมาตรฐานมลพิษของยุโรปที่เข้มงวดทั่วโลกเช่นยูโร 6 ที่จำกัดปริมาณไนโตรเจนออกไซด์ที่ปล่อยออกมา

เป็นความจริงที่ว่าการคิดค้นและพัฒนาเครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลได้ถูกพิจารณาว่าเป็นการบุกเบิกของนวัตกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน ที่ยังไม่มีผู้ผลิตใดสามารถทำให้เท่าเทียมในเรื่องอัตราส่วนการอัดที่ต่ำระดับนี้ ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิในการจุดระเบิดด้วยการอัดสำหรับการสตาร์ทเย็นและระหว่างการทำงานที่อุณหภูมิต่ำ โดยปกติแล้วหากต่ำไปและเครื่องยนต์ยังมีอัตราส่วนการอัดต่ำเพียง 14.0:1 นั้น เครื่องยนต์อาจทำงานไม่ราบเรียบโดยเฉพาะในฤดูหนาว เครื่องยนต์อาจไม่จุดระเบิดระหว่างอุ่นเครื่อง หรือที่อุณหภูมิต่ำมากๆ เครื่องยนต์อาจสตาร์ทไม่ติดในครั้งแรก

ระบบวาล์วไอเสียแปรผัน วีวีแอล (Variable Valve Lift, VVL)


ดังนั้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการสตาร์ทเย็นและการทำงานที่อุณหภูมิต่ำ มาสด้าได้ใช้หัวเผาเซรามิกกับเครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซล และใช้การยกตัวของวาล์วไอเสียแบบแปรผัน ประการหลังทำหน้าที่ให้เกิดการหมุนเวียนของก๊าซไอเสียร้อนภายในห้องเผาไหม้ หัวเผาเซรามิกจะถูกใช้ในช่วงต้นของการเผาไหม้ที่ต้องเพิ่มอุณหภูมิก๊าซไอเสียได้อย่างเพียงพอ หลังจากเครื่องยนต์สตาร์ทแล้ววาล์วไอเสียจะไม่ได้ปิดแบบปกติในระหว่างจังหวะดูด แต่จะยังคงเปิดเล็กน้อยเพื่อให้ก๊าซไอเสียบางส่วนกลับเข้ามาใหม่เพื่อช่วยเพิ่มอุณหภูมิอากาศในห้องเผาไหม้ และในทางกลับกัน ยังเป็นการช่วยการจุดระเบิดของส่วนผสมอากาศ-เชื้อเพลิงเพื่อแก้ปัญหาการไม่จุดระเบิดได้อีกด้วย

การลดน้ำหนักเครื่องยนต์  และลดความเสียดทานภายในเครื่อง
อัตราส่วนการอัดที่ต่ำของเครื่องสกายแอคทีฟคลีนดีเซลยังมีคุณประโยชน์หลายด้าน ในประเด็นนี้คือหมายถึงความดันสูงสุดจะมีค่าต่ำลงไปด้วย ดังนั้น ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์จะเกิดความเครียดน้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซลแบบเดิมๆ ผลที่ได้นี้ถูกนำไปต่อยอดด้วยโอกาสที่จะปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ให้ลดน้ำหนักลงได้ เริ่มจากฝาสูบที่มีความหนาน้อยลงและท่อร่วมไอเสียมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องรุ่นเก่าถึง 3 กิโลกรัม รวมกับเสื้อสูบที่ในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้อลูมินัม รวมๆ แล้วตรงนี้ก็ลดน้ำหนักเครื่องไปได้แล้ว 25 กิโลกรัม



นอกจากนี้ ยังมีน้ำหนักของลูกสูบและเพลาข้อเหวี่ยงที่ลดลงได้อีก 25% มาสด้าสามารถลดความเสียดทานภายในเครื่องยนต์รวมได้อีก 20% เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD ของตัวเองในปัจจุบัน แล้วผู้ใช้รถได้อะไร? สิ่งที่ได้คือการตอบสนองที่เหนือกว่า พละกำลังที่แรงกว่า และการใช้เชื้อเพลิงที่ประหยัดกว่า



เทอร์โบชาร์จเจอร์สองขั้น Two-stage Turbocharger




หน้าที่ของเทอร์โบชาร์จเจอร์ไม่ได้เพียงแต่ช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลได้แรงบิดสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ และลดการปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เครื่องยนต์สกายแอคทีฟคลีนดีเซลใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์สองขั้น เป็นเทอร์โบชาร์จเจอร์ที่มี 2 ขนาด ตัวหนึ่งขนาดเล็กและอีกตัวหนึ่งขนาดใหญ่กว่า เทอร์โบชาร์จเจอร์ทั้งสองตัวนี้ทำงานตามสภาพการขับขี่ เทอร์โบชาร์จเจอร์ตัวเล็กทำหน้าที่ป้อนอากาศเข้าห้องเผาไหม้ที่รอบต่ำเพื่อผลิตแรงบิดที่รอบต่ำและกำจัดช่วงดีเลย์ของเทอร์โบชาร์จเจอร์ (Turbo lag) อันจะสังเกตได้จากแรงบิดที่ต่ำผิดปกติและการตอบสนองต่อการเร่งไม่ดีเท่าที่ควร สิ่งนี้เกิดจากความดันของก๊าซไอเสียที่ไม่มากพอที่จะขับดันใบจักรของเทอร์โบชาร์จเจอร์ให้หมุนตามความเร็วที่ต้องการในการเพิ่มความดันในการอัด การใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ตัวทำให้แน่ใจว่าจะได้แรงบิดสูงเพียงพอและจะได้การตอบสนองที่ดีที่ความเร็วรอบต่ำและได้พละกำลังมากที่รอบสูง สำหรับเครื่องสกายแอคทีฟคลีนดีเซลแล้ว ไม่ยากเลยที่จะเร่งความเร็วไปจนแตะความเร็วรอบขีดแดง (Red zone) ที่ 5,200 รอบต่อนาที โดยที่เครื่องเต็มไปด้วยกำลัง ด้วยการศึกษาพลศาสตร์ของการขับขี่อย่างลึกซึ้ง และความพยายามที่จะรักษาความสนุกอันเป็นหัวใจของการขับขี่ ทำให้มาสด้าได้เครื่องยนต์คลีนดีเซลประสิทธิภาพที่เหนือธรรมดา การทำงานเทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ขั้นเสริมกับอัตราส่วนการอัดที่ต่ำ ทำให้เครื่องยนต์มีจังหวะการเผาไหม้ที่เหมาะสมได้ และการมีปริมาณอากาศหรือออกซิเจนเพียงพอต่อการเผาไหม้ ก๊าซมลพิษไนโตรเจนออกไซด์และเขม่าจึงเกิดขึ้นและถูกปล่อยออกมาน้อยลง



Create Date : 01 มีนาคม 2558
Last Update : 1 มีนาคม 2558 12:48:48 น.
Counter : 1942 Pageviews.

0 comment
รูปภายใน Mazda CX-3 (Mazda CX-3 interior)
หลังจากเห็นรูปลักษณ์ภายนอกของเจ้า Mazda CX-3 ว่ามีความสวยงาม สปอตเร้าใจ และโดดเด่นมากไปบ้างแล้ว วันนี้ขอนำรูปภายใน Mazda CX3 มาให้ดูกัน ว่าจะสวยกว่ารุ่นพี่อย่าง CX-5 หรือเปล่าไปดูกันเลยจร้า...



รูปภายใน CX3 คอนโซลและพวงมาลัย




CX3 เบาะหนังสีขาวตัดดำ ดูสวยสะอาด แต่ก็ยังคงความสปอร์ต สไตล์ Mazda


คันเกียร์ CX3 ออกแบบมาได้อย่างลงตัว




Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2558 21:25:39 น.
Counter : 3404 Pageviews.

0 comment
SKYACTIV TECHNOLOGY: เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ
รถแรงและประหยัด มีอยู่แค่ในฝัน??

อาจไม่ใช่ทุกคน ที่เชื่อแบบนั้น...
ยังมีบางคนตั้งคำถามว่า ความหมายที่แท้จริงของรถยนต์คืออะไร?
คำตอบคือ รถที่คงความแรงและความสนุกในการขับขี่
วันนี้....มาสด้าทำให้ความหมายของรถยนต์มีคุณค่ามากขึ้น
“รถแรงที่ประหยัดน้ำมัน” ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรอการพิสูจน์

เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ คือ Next-Generation Technology เทคโนโลยีของรถแรง ที่ดูแลง่าย และประหยัดในการใช้งานจริง เป็นครั้งแรกของโลก ที่รวม 5 นวัตกรรมใหม่ของรถเข้าไว้ด้วยกัน และทำงานเสริมกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของรถทั้งคัน



เทคโนโลยียั่งยืนที่ทั่วโลกยอมรับ
ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีที่ประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จึงได้รับรางวัลมากมายจากสถาบันยานยนต์ และสถาบันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก

   -  “The First Green Car Technology Award Winner” โดย Green Car Journal, U.S.A. ปี2013
   - “Best New Technology of the Year for 2012” โดย Le Guide de l’Auto, Canada
   - “Development of the gasoline engine which realized low fuel consumption equivalent to a Hybrid car” The Commendation of Science and Technology 2013 โดย the Minister of Education, Culture, Sports, Science and Technology: Prizes for Science and Technology

นิยามแห่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ SKYACTIV Technology จะทำให้รถมาสด้าขับสนุก และ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น

ความสุขในการขับรถ คือเป้าหมายหลักของวิศวกรมาสด้า เราจึงพัฒนาเทคโนโลยีสกายแอคทีฟขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยานยนต์มาสด้ารุ่นใหม่ทั้งหมด

   - ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์
   - เพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมความสนุกสนานในการขับขี่

ทั้งหมดนี้ ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้เทคโนโลยี สกายแอคทีฟ ที่รวม 5 นวัตกรรมใหม่สำหรับรถทั้งคันไว้ด้วยกัน ตั้งแต่เครื่องยนต์ ระบบเกียร์ โครงสร้างตัวถังและระบบช่วงล่าง ที่จะอยู่ในรถมาสด้า เจนเนอเรชั่นใหม่ ซึ่งคุณสามารถสัมผัสด้วยตัวคุณเอง

เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ (SKYACTIV Technology)
มาสด้าแนะนำเทคโนโลยีสกายแอคทีฟครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2556 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะอยู่ในรถมาสด้าเจนเนอเรชั่นใหม่ทุกรุ่น มาสด้าเลือกที่จะเดินตามแนวคิด "กล้าที่จะต่าง" หรือ DEFY CONVENTION โดยมองลึกลงไปที่ข้อจำกัดของรถยนต์ในปัจจุบัน และศึกษาหาทางออกทางวิศวกรรมที่ช่วยให้ลบข้อจำกัดทางเทคนิคนั้นให้หมดไป เช่น ศึกษาหลักพลศาสตร์การขับขี่อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนำเรื่องของพลศาสตร์มาช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่รถ และช่วยให้ประหยัดการใช้น้ำมันยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน การพัฒนารถรุ่นใหม่ๆ ของมาสด้าจะให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการปรับปรุงเทคโนโลยียานยนต์อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงที่กล่าวถึงนี้หมายถึงเทคโนโลยีใหม่ของรถทั้งคัน ตั้งแต่เครื่องยนต์ ระบบเกียร์ โครงสร้างตัวถัง ช่วงล่าง และระบบบังคับเลี้ยว



ที่มาของเครื่องยนต์สันดาปภายในอุดมคติที่มาสด้าสร้างขึ้น

มาสด้าสร้างเส้นทางที่โดดเด่นของตนเองโดยชูพื้นฐานความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์อันยาวนานของการเป็นผู้ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์ มีคนตั้งคำถามว่า “ทำไมมาสด้าจึงไม่คิดที่จะตีจากเครื่องยนต์ไปสู่เทคโนโลยีอื่น?” นั่นเพราะจากการศึกษาเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ได้ถูกสร้างขึ้นและพัฒนามาเป็นเวลากว่า 120 ปีนั้น พบว่าเครื่องยนต์ประเภทนี้ยังคงมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ หรือพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า ยังคงมีการสูญเสียของพลังงานเชื้อเพลิงสูงถึง 70 - 90% เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้ออกมา การสูญเสียพลังงานลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติทางธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสูญเสียเรื่องอุณหภูมิความร้อน สามารถจำแนกได้เป็นความร้อนที่สูญเสียไปกับไอเสีย ไปกับระบบหล่อเย็น ผนังเครื่องยนต์ และห้องเกียร์ หากจะลดการสูญเสียเหล่านี้ก็ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องยนต์ให้ได้ หากจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ควรลดความเสียดทานภายในเครื่องยนต์และลดน้ำหนักของเครื่องยนต์ลงด้วย จึงเป็นเหตุให้มาสด้าทำงานอย่างหนักเพื่อเอาชนะข้อจำกัดเดิมๆ ของเครื่องยนต์



6 ตัวแปรหลักที่สามารถควบคุมได้ด้วยหลักวิศวกรรม คือ

   - อัตราส่วนการอัด (Compression Ratio)
   - อัตราส่วนอากาศต่อเชื้อเพลิง (Air-Fuel Ratio)
   - ช่วงเวลาการเผาไหม้ (Combustion Period)
   - จังหวะการเผาไหม้ (Combustion Timing)
   - การสูญเสียจากการปั๊ม (Pumping Loss)
   - การสูญเสียจากความเสียดทานเชิงกล (Mechanical Loss)

เป้าหมายคือการหาจุดหรือจังหวะที่เหมาะสมที่ทำให้ตัวแปรเหล่านี้ทำงานได้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อก้าวไปสู่เครื่องยนต์สันดาปภายในในอุดมคติได้ ในท้ายที่สุดก็พบว่า อัตราส่วนการอัดเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล



หนึ่งในจุดแข็งของมาสด้า คือ ศักยภาพด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลง การจัดการเวลา และการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างยอดเยี่ยม ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ เครื่องยนต์โรตารี่ที่ไม่เหมือนใครของมาสด้า ที่เป็นขุมพลังให้กับรถแข่ง มาสด้า 787B ในตำนานการแข่งเลอ มังส์ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์โรตารี่หนึ่งเดียวที่ชนะในรายการแข่งขันเลอ มังส์ เมื่อปี พ.ศ. 2534 อีกตัวอย่างหนึ่งคือ มาสด้า MX-5 ที่พลิกฟื้นตลาดของโรดสเตอร์ทั่วโลก เทคโนโลยีสกายแอคทีฟกำลังจะเป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ยานยนต์ ที่แสดงให้เห็นว่า มาสด้ากำหนดแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองอย่างไร สิ่งนี้ได้ถูกพัฒนาโดยใช้กระบวนการของมาสด้าที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องยนต์สกายแอคทีฟใหม่ มิได้ถูกพัฒนาโดยฝ่ายวิศวกรเครื่องยนต์เพียงฝ่ายเดียว แต่เริ่มจากทีมงานทั้งหมดที่เชี่ยวชาญในแต่ละองค์ประกอบของรถยนต์ รวมถึงฝ่ายออกแบบรถยนต์ด้วย เพื่อร่วมกันพัฒนาให้ได้เครื่องยนต์ต้นแบบที่ดีที่สุดขึ้นมาก่อนในเบื้องแรก แล้วใช้เครื่องต้นแบบนั้นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเครื่องยนต์ใหม่ทุกรุ่นที่จะผลิต โดยยังไม่คำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องจำนวนกระบอกสูบหรือชนิดของเชื้อเพลิงทั้งสิ้น และทำให้มาสด้าได้พื้นฐานของเครื่องยนต์เจนเนอเรชั่นใหม่ที่ทีมวิศวกรแผนกอื่นๆ สามารถนำไปทำงานต่อและต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เซอิตะ คาไน มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยกันใช้ความรู้ทางวิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มากด้วยประสิทธิภาพ สมรรถนะ และคุณภาพดีที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น เราจึงลองทุกอย่าง เช่น ลองทำให้กระบอกสูบใหญ่ขึ้น ลองให้เล็กลง ลองเพิ่มลองลดจำนวนกระบอกสูบ สี่สูบบ้าง หกสูบหรือสามสูบบ้าง ลองทุกๆ ความเป็นไปได้ เพื่อที่จะสร้างเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายในอนาคตขึ้นมา”

แทนที่จะลดขนาดเครื่องยนต์ มาสด้าเลือกเครื่องยนต์ขนาดเหมาะสมแต่ให้อัตราส่วนการอัดสูง

มีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายที่พยายามปรับปรุงการประหยัดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เบนซินโดยเลือกที่จะลดขนาดของเครื่องยนต์ลง (Downsizing) แต่การลดขนาดก็เท่ากับลดกำลังและแรงบิดของเครื่องยนต์ลงด้วย เพื่อรักษากำลังของเครื่องยนต์จึงต้องชดเชยด้วยการนำอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยใช้ตัวช่วยคือ เทอร์โบชาร์จเจอร์ และซูเปอร์ชาร์จเจอร์

ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ผู้ผลิตรายอื่นเลือกแล้วคิดว่าได้ผล แต่มาสด้ากล้าที่จะเลือกใช้แนวทางอื่นที่ยากและท้าทายความสามารถมากกว่า ดังเช่นที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ การพัฒนาเครื่องยนต์ในอุดมคตินั้นเป็นหลักการสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของมาสด้า สำหรับเครื่องยนต์เบนซินในอุดมคตินั้น ต้องทำให้อัตราส่วนการอัดเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งสูงเครื่องยนต์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น



Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2558 22:05:41 น.
Counter : 1497 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

MStaRT
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog