Group Blog
 
All Blogs
 

หนึ่งสเตจ 3 สไตล์..จากสามระดับโลก!

หนึ่งสเตจ 3 สไตล์..จากสามระดับโลก!
-----------------------------------------

เคยเห็นหลายๆคนที่พยายามยิงตามคนเก่งๆแบบแป๊ะๆ เพราะคิดว่าตัวเองเก่งเหมือนเขา

และก็เคยเห็นหลายๆคนยิงตามคนเก่งไปเฉพาะตามที่ตัวเองทำได้ แล้วค่อยๆพัฒนาการยิงขึ้นขึ้นไปตามลำดับ

แน่นอนว่าคนทั้งสองกลุ่มนั้น จะมีพัฒนาการในการยิงipscแตกต่างกันไป!

ผมยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆสักหนึ่งประการคือ การยิงเป้าสวิง คือเป้าสวิงที่มีตัวแอ็คติเวทเป็นป็อปเปอร์อยู่ระหว่างเป้าตายอีกตัว

..เป้าตาย-ป็อปเปอร์-สวิง..

มือGMส่วนมากถ้าไม่ยากจริงๆ เขาจะยิง.. ป็อปเปอร์ -ยิงเป้าตาย-ยิงสวิง..

ส่วนคนที่ยังไม่เก่งและไม่รู้ระดับความสามารถของตัวเองนั้น ถ้าไปยิงตามGMก็ย่อมจะมีโอกาสพลาดได้อย่างแน่นอน

ซึ่งแม้แต่GMที่ผมเห็นในบางดิวิชั่น ที่เขาเมคชัวร์จริงๆบางคนเขาก็ยังไม่กล้าที่จะยิงแบบGMคนอื่นๆเลย!

ดังนั้นการยิงไปศึกษาไปสำหรับเราๆน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด วันนี้เรามาลองศึกษาการยิงในสเตจเดียวกันของมือระดับโลก 3 คน คือ อีริค แม๊ก และ คริส...จากการยิงในสเตจ 9 แมชย์ Florida Open 08

ดูไปสังเกตไปแบบที่เรียกว่า Learning by observation ดังนี้

อีริค..


---------
แม๊ก..


---------
คริส..


---------

ดูดีๆนะครับ ..เวลานัดแรก เวลารวม แผนการยิง การมู๊ฟการเคลื่อนตัว อะไรต่างๆ หรือแม้แต่การ ..ไปข้างหน้า-ยิง ( วิ่งไปแล้วยิง)

สโลว์จับทีละช็อต..แล้วเอาความรู้จากตำราไปจับดูว่า ตรงกันจริงแท้แค่ไหน

วิธีไหนแบบใดน่าจะเหมาะกับเรามากที่สุด?

เชื่อว่าคงจะได้กันหลายบทเรียนให้ศีกษากันครับ




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 31 กรกฎาคม 2554 16:29:24 น.
Counter : 616 Pageviews.  

IPSC;ง่ายๆแค่ยิงเร็วๆสาดมั่วๆไปก็จะดีเองเพราะโซนมันกว้าง..จริงหรือ?

IPSC;ง่ายๆแค่ยิงเร็วๆสาดมั่วๆไปก็จะดีเองเพราะโซนมันกว้าง..จริงหรือ?




Free TextEditor

-----------------------------------

มือใหม่หลายคน รวมทั้งผมเองตอนมายิงipscใหม่ๆก็คิดว่า..IPSC;ง่ายๆแค่ยิงเร็วๆสาดมั่วๆไปก็จะดีเองเพราะโซนมันกว้าง..

ดังนั้น เมื่อเชื่อเช่นนั้น ตอนลงยิงก็ยิงเร็วๆมั่วๆไปตามที่คิด ผลคะแนนออกมาก็ไม่ดีเอาเลยจริงๆ!

ถ้าคนไม่รู้เรื่องมาดูมาเห็นตอนยิง ดูลีลาและเสียงปืนแล้ว แชมป์โลกก็แชมป์โลกเถอะ!....แต่ถ้าคนยิงเป็นมาเห็นก็จะบอกว่า ไอ้นี่มันมั่วจริงๆ!

แต่อาจจะมีบางคนเถียงว่า..ใหม่ๆจะว่าเป็นหมูสนามก็เถอะ แต่ลงทุนและซ้อมมากๆๆต่อไปก็ได้ขึ้นคลาสสูงๆได้

ไม่เถียงครับ มีพวกยิงมั่วยิงรัวยิงเร็วโคตรๆในคลาสสูงๆกันไม่น้อย เราจะได้ยินคำแนะนำทีว่า.. เหนี่ยวๆเข้าไปเถอะ..กันบ่อยๆ
---------------------

ผมเองก็เคยเป็นหมูมาช่วงหนึ่งแล้ว ปัจจุบันก็ไม่ได้เก่งกาจมีคลาสสูงอะไรกับใครหรอก แต่ก็ไม่อยากให้คนที่ไม่รู้เรื่องมาเป็นหมูipscด้วย จะได้ยิงipscได้อย่างมีความสุขตามสามารถ แม้จะไปไม่ถึงคลาสสูงๆ เรียกว่ายิงอย่างมีหลักการ จึงอยากจะนำเอาเรื่องราวมาให้อ่านเพื่อพิจารณากัน

เหมือนการเล่นดนตรี เช่น กีตาร์ เล่นโดยหัดเกาจำๆเอาจากเพื่อนก็ได้ หรือ จะไปเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีก้ได้...แต่แบบไหนจะทำให้ได้พัฒนาทักษะและความก้าวหน้าได้ดีกว่ากันล่ะ ..ipscก็คงไม่ต่างกัน ซ้อมเท่า กัน(เน้นว่าซ้อมเท่ากน!)ย่อมจะแพ้คนที่เขามีหลักการที่ถูกต้องกว่าแน่นอน

แต่ก่อนจะไปอ่านเรื่องราวบทความดังกล่าว ลองมาดูแชมป์โลกพวกนี้เขายิงสเตจกันดูก่อน ดูว่าเขายิงช้าเร็วอย่างไร รัวมันมั่วไปทุกนัดเพราะโซนมันกว้างจริงไหม?...สังเกตและฟังเสียงปืนดีๆนะครับ

อีริค..โอเพ่น


---------
อดัม..โปรดัคชั่น


------
เดฟ..เทพกล้อค


----

TT..แชมป์โลก STD. ดิวิชั่น



-------------------
ดูเล่นๆไปก่อน แล้วกลับมาดูว่าที่เห็นๆมา รวมทั้งที่ตัวเองยิงด้วยนั้น มีเร็วช้ากว่าแชมป์โลกพวกนี้อย่างไร มากน้อยแค่ไหนเพียงใด?

บางคน อาจจะบอกว่า..คนไทยเรา ยิงเร็วกว่านี้เยอะเลยยยยย!..เห็นด้วยครับ แต่คำถามคือ..ทำไมไม่ติดระดับเวิร์ลคลาสกันบ้างล่ะ?

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้หมายความยิงเร็วยิงรัว(แต่ไม่ยิงมั่วๆ)ไม่ได้ ความจริงก็คือ มันก็มีทั้งยิงเร็วยิงยิงไม่เร็วปะปนกันไป ตามสภาพความเป็นจริงในการยิงสเตจ

ความเป็นจริงก็ เช่น เหลี่ยมมุมในการยิง ช่องยิง ความยากง่ายของเป้า ระยะเป้า ประเภทของเป้า เป็นต้น

คงจะไม่กล่าวถึงองค์ประกอบดังกล่าวทั้งหมด แต่มาลองพิจารณาเรื่องราวต่อไปนี้เพื่อเอาไปประกอบการยิงช้ายิงเร็วยิงรัวกันเอาเองนะครับ เป็นเรื่องราวที่โปรฝรั่งเขาอธิบายความมาจากหนังสือของอีนอสบวกกับประสบการณ์ระดับโลกของเขา .. ผมเพียงเอามาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น.. ดังนี้ครับ

(***ให้ไปดูเรื่อง.. Calling Your Shots..อย่างไร?..จนเข้าใจก่อน แล้วจะอ่านเรื่องนี้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น...//www.bloggang.com/viewblog.php?id=suer&group=27)

เริ่มกันเลย...

เมื่อได้อ่านเรื่องCalling shotsมาแล้ว เราลองมาพิจารณาเรื่องนี้กันต่อไป คือ ในการยิงเป้าต่างๆนั้น เช่น ..
1.เป้าเดี่ยวและใกล้มากๆ
2. เป้าใกล้ๆหลายๆเป้า
3.เป้าระยะกลางๆหลายๆเป้า
4.เป้าระยะไกลหลายๆเป้า หรือ เป้าเล็กจำพวกเหล็กต่างๆ
5.เป้าระยะไกลและยากมากๆ

จะยิงให้ได้ดี คือ ทั้งแม่นและเร็วนั้น เขาจะต้อง..เห็น..อะไรในการยิง? หรือ ที่โปรฝรั่งกล่าวว่า we see as we shoot controls our speed and accuracy

เรามาดูการยิงเป้าที่กล่าวมานั้นกัน ดังต่อไปนี้

1.เป้าเดี่ยวและใกล้มากๆ..ยิงให้เร็วที่สุด..เป้าแบบนี้เราต้องการการ..เห็น..เพียงแว๊ปๆหรือเล็กน้อยเท่านั้น(เช่น เห็น A หรือ จุดตรงกลางเป้า) ใช้index*ในการยิงดีๆก็ยิงAได้ไม่ยาก เป็นการยิงที่ใช้ความรู้สึกจากภายในมากกว่าการ..เห็น..

2.เป้าใกล้ๆหลายๆเป้า..ยิงให้เร็วมากๆ..การยิงเป้าแบบนี้เราใช้ index ด้วยเหมือนกัน เพียงแต่เราต้องมองและ..เห็น..A บน..ทุกๆเป้า..ให้ชัดมากขึ้น เราต้องคอนเฟิร์มindexที่Aของเป้าแรก จากนั้นก็ยิงออกไปแล้วมองที่Aของเป้าต่อไป วาดปืนตามไปตรงAก็ยิงอีก ทำต่อไปจนครบทุกเป้า โดยไม่ต้องมองที่ศูนย์ปืน

แต่ข้อผิดพลาดที่ควรระวังก็คือต้องมองให้เห็นAให้ชัด ไม่ใช่มอง..แผ่นเป้า..

สรุป ผมเข้าใจว่า การยิงเป้าแบบที่1. และ2. นั้น ให้มองเป้าและเห็นAบนเป้าโดยไม่ต้องมองศูนย์ หรือ ด็อท ใช้indexในการยิงและต้องเหนี่ยวให้เร็ว

(ในการจะเหนี่ยวให้เร็วได้โดยไม่ให้นิ้วแข็งหรือนิ้วตายจากการเกร็งจะทำได้อย่างไร ลองย้อนไปอ่านการเหนี่ยวแบบTGOดูครับ)

ถึงตรงนี้...ดังนั้น ที่เราได้ยินกันมาว่าการยิงipscต้องเห็นศูนย์เห็นด้อททุกนัดก็ไม่จริงแล้วล่ะซี?

ถ้าเห็นศูนย์/ด็อททุกนัด เมื่อมาเจอเป้าแบบนี้ก็แพ้เวลาให้แก่คนที่ไม่มองศูนย์/ด็อทไหมล่ะ เขาคงไปเป้าที่สามแล้วแต่เราอาจจะยังเพิ่งย้ายออกไปจากเป้าที่ 1 ก็ได้มั้ง?..ลองพิจารณาดูครับ!

(INDEX..จอธิบายเป็นฟุตโน๊ตตอนจบ ดังที่ใส่* ไว้แล้ว)

ลองมาดูระดับโลกเขายิงเป้าประเภทที่1.และ 2. กันครับ เช่น...



หรือ..


หรือ..


---------------

3.เป้าระยะกลางๆหลายๆเป้า ให้ยิงด้วยความเร็วเท่าที่เราสามารถจะยิงเข้าจุดที่เราต้องการจะยิงได้ เช่น พื้นที่ของโซน

การยิงเป้าแบบนี้จะให้แม่นยำ ในปืนศูนย์เปิดจะต้องเน้นไปที่การเห็นจุดที่จะยิงบนเป้า(A)และเห็นศูนย์ด้วย เช่น อาจจะเห็นบนเป้าชัด เห็นศูนย์เบลอ เป็นต้นและมื่อศูนย์กระโดดขึ้น สายตาไปจับเป้าถัดไป วาดปืนตามมา จะต้องดึงสายตากลับมามองที่ศูนย์อีกครั้งก่อนจะไปเริ่มยิงเป้าถัดไป

แต่ในปืนโอเพ่นนั้น เรามองที่Aของเป้าเท่านั้น เมื่อด็อทมา เราก็มองที่ด็อท ต้องเห็นว่าด็อทควรจะอยู่..ตรงไหน..จึงยิง แล้วก็ไปมองA ในเป้าถัดไป ทำไปจนยิงครบทุกเป้า


4. เป้าระยะไกลหลายๆเป้า หรือ เป้าเล็กจำพวกเหล็กต่างๆ ..เป้าแบบนี้ต้องเน้นเรื่องความแม่นยำมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องเร็วตามความสามารถ กุญแจสำคัญก็คือ การฟอลโล่ธรู โดยในการยิงทุกนัดเราจะต้องเห็นชัดๆ คือ ศูนย์หน้า หรือ ด็อท กระดกขึ้นจากจุดที่เล็งบนเป้า


5. เป้าระยะไกลและยากมากๆ..ยิงแบบเน้นความแม่นมากกว่าความเร็ว..แต่ก็ไม่ช้าเสียจนเวลาเพิ่มมามากมาย ในการยิงเป้าแบบนี้นั้น การยิงทุกนัดเราจต้องเห็นศูนย์ หรือ ด็อท กระดกขึ้นและกลับลงมา (ครบวงจร) และหัวใจสำคัญที่สุดในการยิง คือ การเดินไก จะต้องเดินไกให้เนียนมากๆ


------------------------------
อ่านจบแล้วลองคิดดูว่าในแต่ละสเตจที่เรายิงนั้น เป้าต่างๆเป็นเป้าแบบไหน เราควรยิงช้าเร็วอย่างไรเพียงใด ซึ่งก็ต้องหันกลับไปดูที่การฝึกซ้อมด้วยว่าทำได้แค่ไหนอย่างไรด้วย

ใครที่ชอบยิ่งมั่วรัวเอาเร็วเกินสามารถ เน้นว่า เร้วเกินสามารถ คือ ยิงเร็วแต่ไม่ได้โซน หรือที่เรียกว่ายิงเสียงเป็นพระเอกแต่โซนเป็นโจร! นั้น ถ้าอยากพัฒนาฝีมือ อยากให้อ่านข้อคิดจากนักกีฬาระดับโลกคนหนึ่งคือ Saul Kirsch เขากล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า

"Many shooters tend to shoot IPSC in various levels of panic. This sometimes works, but consistency is what we are after. A shooter in a state of panic moves quickly, aggressively, tends to shoot many extra shots, often not needed, and is sincerely surprised to find a miss on a target when he walks back with the RO. This is what we seek to avoid. You absolutely have to call each shot you fire, and to do that you need to SEE."




Free TextEditor


จะยิงipscด้วยอารมณ์ความรู้สึกแบบPanic รัวมั่วๆไปด้วยความเมามัน หรือ ยิงด้วยความมันส์ในอารมณ์ซาดิสซ์ เพียงอย่างเดียว...หรือจะยิงแบบมันส์ด้วย พัฒนาฝีมือไปด้วย และอาจจะได้ถ้วยหรือได้ขึ้นคลาสสูงๆไปด้วย ก็เลือกเอาได้ตามใจนะครับ!
-----------

โปรอีกคนคือMax Michel Jr. ก็กล่าวไว้อย่างน่าสนใจซึ่งถ้าเราเข้าใจปรัชญาของipscก็อาจจะเรียกว่าหัวใจของการยิงipscก้ได้ เขากล่าวไว้บางช่วงบางตอนดังนี้ คือ stay in control of every shot ซึ่งถ้าจะให้ตีความก็คงจะหมายถึงการcontrolความแม่นและความเร็ว เพื่อให้ได้โซนที่ดีในการยิงนั่นเอง โปรคนนี้กล่าวถึงสิ่งสำคัญไว้ให้คิดว่า there is no reason to rush anything , Do not get ahead of yourself และ shoot your game. Do not worry about anyone else or the clock

-----------
ถึงตรงนี้ คงจะมีคำถามว่า ตกลงยิงเร็วๆรัวๆดีหรือไม่ดี?
คำตอบก็คือ ดีแน่นอนถ้ายิงแบบมีหลักการดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่จะเร็วได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆองค์ประกอบของแต่ละบุคคล!

ยิงเร็วได้ แต่จำไว้ว่า..to win consistently at IPSC you will need to be able to shoot as accurately as you can shoot fast !




Free TextEditor

ภาคผนวก..

Every time you shoot an event, you are exemplifying your ability, like it or not. If you're missing 5 - 6 shots per match, it doesn't matter how fast your times are. You've got to do something about the missing. First thing to determine is why you are missing ... Obviously, it's because the gun is not pointed at the target when it goes off. The real problem isn't even that.

I'm more concerned that you're not seeing all of those misses when you fire them! If you are, why aren't you making up the shots? Chances are, you are not aware of the errant shots when you fire them, because you are just not seeing everything that's happening.

Pick any drill you like. How you do it, not which drill, is what's important. See the gun when it goes off. See where it's pointed. The three elements you must be visually aware of are: the front sight, the rear sight, and their placement on the target.

Dont' mistake this for telling you to just slow down. We all want to shoot as fast as possible, but the catch words here are "as possible", not as fast as you WISH you could. Everybody can shoot faster than they can hit. A good shooter shoots only as fast as he/she can hit...( Adrian! RL)

ยกมาเน้น..Everybody can shoot faster than they can hit. A good shooter shoots only as fast as he/she can hit..







Free TextEditor



หทายเตุ..เรื่อง iNDEX* ยกไปขึ้นหัวข้อต่อไปด้านบนดีกว่าครับ

-------------------------------




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2554    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2554 9:59:47 น.
Counter : 1293 Pageviews.  

การครองปืนเมื่อต้องวิ่งถอยกลับมา..อีกเวอร์ชั่น

#การครองปืนเมื่อต้องวิ่งถอยกลับมา..อีกเวอร์ชั่น#



Free TextEditor

---------------------------------------------

เราชาวipscคงพอจะคุ้นเคยกับท่าการครองปืนวิ่งถอยหลังกลับออกมาจากช่องยิงด้านในสุดๆกันอยู่แล้ว

ท่าที่เห็นๆกันทั้งมือโปรระดับโลกและมือทั่วไปอย่างเราๆก็คือ มือถนัดถือปืนชี้ไปด้านหลังแล้ววิ่งหน้าตั้งออกมาเพื่อตัดปัญหาเรื่องแนวปืนอันอาจจะทำให้DQได้

ซึ่งวิธีนี้ทำกันได้ไม่ยากและแพร่หลายทั่วไป ดูลุงชิวGM Openของพวกเราวิ่งถอยในแบบที่กล่าวถึงนี้กันครับ .. เยื่ยมมากเลย


-----------


แต่วันนี้ ไปเห็นการวิ่งถอยมาในอีกเวอร์ชั่น ดูการครองปืนตามภาพครับ ปืนยังชี้ไปด้านหลัง แต่ปืนอยู่ด้านล่างๆต่ำๆ



Uploaded with ImageShack.us>

ดูชัดที่ลิ้งค์ของEric แชมป์โลกครับ ที่นี..
//www.ericgrauffel.com/media/videos/2011/pages/med_4.html


ใครสนใจก็ลองฝึกดูกันได้ แต่ผมคงไม่เอา เพราะลงแข่งipscมา 60 กว่าครั้งก็ยังไม่เคยโดนDQ! และประกอบกับได้เคยคุยกับROรุ่นใหม่หลายๆคน เขาบอกว่า..ถ้าก้ำกึ่งผมจับDQเลยล่ะ!

จึงยังอยากจะคงสถิติเอาไว้ต่อไปครับ




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2554 16:16:58 น.
Counter : 622 Pageviews.  

เปลี่ยนแม้กฯแบบเร็ว..แต่ไม่ร่วง

เปลี่ยนแม็กฯแบบเร็ว..แต่ไม่ร่วง




Free TextEditor
----------------------------------------

ในการยิงipsc นักกีฬาคงจะฝึกการเปลี่ยนแม็กกาซีนกันทุกคน...โดยเฉพาะนักกีฬาที่เน้นการฝึกซ้อมที่ถูกต้อง

รายละเอียดและขั้นตอนในการเปลี่ยนแม้กฯก็คงพอจะรู้ๆกันอยู่แล้ว มีข้อเขียนและคลิปต่างๆให้ดูมากมาย

เช่น คลิปของนักกีฬาอเมริกัน คนนี้






-----
มาดูอีกคนครับ วิธีของคนนี้ ผมเคยเห็นคลิปที่เขาชนะนักกีฬาusaที่เปลี่ยนแม๊กได้เร็วมากๆมาแล้ว..แต่แม้กร่วง ต้องเสียเวลาใส่เข้าไปใหม่

เข้าไปที่ลิงค์นี้..
//www.ericgrauffel.com/media/videos/famous/videos.html

แล้วดูที่หัวข้อ Eric Mag Changes

วิธีนี้มีคอนเซ็ปท์ว่า.. fast-slow-fast...ไม่ใช่เร็วทุกขั้นตอน!(แล้วมีแม็กฯร่วงเพราะตบแม็กฯเข้าไม่สุด)

ผมเคยแนะวิธีนี้ให้กับหลานipscคนหนึ่งชนะการยิงชู๊ตอ๊อฟที่นวม.มาแล้ว !

แต่ผมทำไม่ได้หรอกกกนะ

fast ตรงไหน-slowตรงไหน ..ดูเอากันเอาเองครับ

(ดูไม่ออกค่อยพีเอ็มไปที่เฟสบุ๊ค)

----------------
ข้อสังเกตส่วนตัว...

วิธีของคนแรก กับ วิธีของคนที่สอง นั้น เท่าที่ผมเคยเห็นในดีวีดีแมชย์สำคัญๆ เช่น ในการยิงในstd div.ในuspsa คนแรกโดยเจ้าตัวเองเลยก็เสียบแม็กแล้วร่วงทำให้ต้องเสียเวลาไปนิดหนึ่งมาแล้ว ซึ่งในมือระดับโลกนั้นเวลาแค่นิดหน่อยก็เสียแต้มได้ครับ

นอกจากนี้ยังเคยเห็นเพื่อนซี๊ของคนที่หนึ่ง(แม๊ก ไมเคิ่ล) ยิงชู๊ตอ๊อฟแพัคนที่สอง(อีริค)เพราะเสียบแม็กฯแล้วร่วงมาครั้งหนึ่งด้วย

ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวคิดว่า วิธีของอีริคโดยมีเคล็ดว่า fast-slow-fast น่าจะเส๊ฟมากกว่า




 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 22 พฤษภาคม 2554 9:03:53 น.
Counter : 916 Pageviews.  

การเหนี่ยวไกกับการยิงIPSC..อีกเวอร์ชั่น!

การเหนี่ยวไกกับการยิงIPSC




Free TextEditor

พูดถึงการเหนี่ยวไก นักกีฬาipscคงจะเข้าใจกันดีอยู่แล้วและส่วนมากจะใช้วิธีเหนี่ยวกันแบบ..อุบไก..

การเนี่ยวแบบอุบไก อธิบายง่ายๆก็คือ นิ้วแตะหน้าไกตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มเหนี่ยวจนปืนลั่น และปล่อยไกดีดกลับออกมาจนกระทั่งจะเริ่มเหนี่ยวนัดต่อไป นิ้วก็ยังแตะอยู่ที่หน้าไก

การเหนี่ยวแบบอุบไกนี้ นักกีฬาipscบ้านเรานิยมใช้กันมากโดยเฉพาะนักกีฬาที่มาจากการยิงแบบแม่นยำ เช่น สั้นชาวบ้าน นั้นเชื่อว่าเหนี่ยวไกแบบนี้กันแทบทุกคน

ถามว่าการเหนี่ยวแบบนี้ดีไหม? ดีแน่นอนครับเพราะว่ากันว่าจะทำให้ยิงได้แม่นถ้าเล็งดีๆ และจะช่วยป้องกันการกระตุกไกรือขยุ้มไกได้ในระดับหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการยิงipscนั้น ยังมีนักกีฬาอีกจำนวนหนึ่งที่ใช้วิธีการเหนี่ยวไกแบบ..ตบไก..

วิธีการเหนี่ยวไกแบบ ตบไก นี้ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ หลังจากเหนี่ยวไกจนปืนลั่นแล้วก็จะดีดนิ้วชี้ออกไปจากหน้าไกทันที ซึ่งอาจจะดีดนิ้วชี้ออกไปจนชนโกร่งไกก็ได้ จากนั้นดึงนิ้วชี้กลับมากระทบหรือตบหน้าไกเหนี่ยวยิงนัดต่อไป ..จะเห็นได้ว่าวิธีนี้นิ้วชี้จะไม่อุบอยู่หน้าไกตลอดเวลา!

ผู้ที่ให้กำเนิดหรือเอาวิธีการเหนี่ยวแบบ ตบไก นี้มาเผยแพร่นั้น ตามที่ผมเข้าใจนั้นน่าจะเป็น แชมป์โลกIPSCหลายสมัย Rob Leathamหรือเจ้าของสมญานามว่า TGO หรือ "The Great One"นั่นเอง

TGO เขาไม่ได้ดูหมิ่นวิธีการเหนี่ยวแบบ อุบไก ซึ่งในบางกรณีเขาก็ยังเหยี่นวแบบอุบไกด้วยเหมือนกัน แถมยังยอมรับว่าในการยิงซ้ำหรือยิงเร็วนั้น การเหนี่ยวแบบ อุบไก จะเร็วกว่าการเหนี่ยวแบบ ตบไก แม้ว่าจะไม่มากจนมีนัยสำคัญสักเท่าไรก็ตาม

TGO กล่าวถึงข้อเสียของการเหนี่ยวแบบ อุบไก ในการยิงไว้ว่า..
The bad side of this method is you might not let the trigger move ahead far enough to reset. If the trigger doesn't reset, obviously the gun won't fire when you press the trigger. You have to release it again to reset. By then you may be swinging to another target or even starting to move to another position. Then you've really lost time.

ชัดไหมสำหรับการยิงIPSC ? ผมเองปกติก็เหนี่ยวแบบ อุบไก และก็เคยเจอเหคุการณ์ที่เหนี่ยวไวๆแล้วนัดต่อมาไม่ลั่นนั้นมาหลายครั้ง ตอนแรกคิดว่า..นิ้วตาย..เพราะการเกร็งมือและนิ้วมือมากเกินไป แต่ที่จริงแล้วเป็นเพราะเหนี่ยวก่อนที่ไกจะรีเซ็ทนั่นเอง! หรือก็คือไกยังถอยกลับไปยังไม่ทันเข้าที่ก้เหนี่ยวก่อนแล้ว

บางครั้งก็ดวงดีไปเพราะแม้นัดที่สามจะไม่ลั่นแต่ก็ได้สองเอไปแล้วและเป็นเป้าสุดท้ายด้วย เช่น ในคลิปต่อไปนี้ ผมยิงด้านขวามือเป้าใกล้ๆก่อนจบสองเป้า กะกดเร็วๆชัวร์ๆเพื่อให้ได้Aหมดทั้งสองเป้า โดยกะรัวเป้าละ 3 นัด

แต่ดูดีๆจะเห็นว่า ที่เป้าจบนั้นมีเสียงปืนแค่สองนัด! ทีแรกเมื่อนัดที่สามไม่ลั่นคิดว่าปืนแจม และนิ้วตายหรือเปล่า? แต่จริงๆแล้วนัดที่สามนั้นผมรีบเหนี่ยวแบบอุบไกก่อนที่ไกจะรีเซ็ทนั่นเอง!



------------------------------------


TGO ได้กล่าวถึงข้อดีของการเหนี่ยวแบบ ตบไก ของเขาว่า..

Releasing the trigger completely as I do may be marginally slower, but it is more reliable and consistent.

นั่นคือการเหนี่ยวแบบ ตบไก เชื่อมั่นได้อย่างแน่นอนว่า เหนี่ยวแล้วลั่นทุกนัดเพราะไกจะรีเซ็ทสมบูรณ์ก่อนจะเหนี่ยวนัดต่อไปนั่นเอง

วิธีเหนี่ยวแบบตบไกนั้นTGOกล่าวไว้ว่า...
1. The instant the sear breaks my trigger finger moves forward, off the trigger. Sometimes it will move so far forward I'll hit the inside front of the trigger guard with the finger.


2. As the gun fires and flips up the trigger finger moves forward, off the trigger.

3.The gun cycles and the trigger resets as I'm pulling it down from recoil. As the gun indexes back on target I'm already moving the finger back to fire the next shot.

ข้อ 1 -2 มีความหมายเดียวกัน แต่ยกมาเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเท่านั้นเอง และการเหนี่ยวแบบนี้จะไปจบที่ข้อ 3. แล้วจึงเริ่มต้นใหม่ในการยิงนัดต่อไป

TGOได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความผิพลาดในการยิงไว้ว่าเกิดจาก.. poorly-fired shots, not poorly aimed shots.

ระดับเราๆคงไม่มีปัญหาในการเล็งกันแล้วมั้ง? ดังนั้นในการยิงIPSCถ้าไม่อยากเหนี่ยวก่อนไกจะรีเซ็ทแล้วปืนจะไม่ลั่น ซึ่งจะทำให้เสียเวลาไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เราควรจะเหนี่ยวแบบใด?

แต่อย่างไรก็ตามส่วนตัวผมเห็นว่าการเหนี่ยวแบบ ตบไก น่าจะเหมาะกับไกที่มีน้ำนักไม่ควรเกิน 3 ปอนด์ เพราะน่าจะ..ตบ..ได้ง่ายกว่านั่นเอง

การเหนี่ยวแบบ ตบไก นั้น เท่าที่รู้มามีแชมป์โลกipscประมาณ 3 คนที่ใช้วิธีนี้ คนแรกก็คือเจ้าตำหรับคือ Rob Leatham" TGO ", Todd Jarrett และ Eric Grauffel

มาลองสังเกตนิ้วTGOในการเหนี่ยวแบบ ตบไก กันสักเล็กน้อยจากคลิปนี้ซึ่งเป็นการยิงช้าๆ นิ้วจึงยังดีดกลับไปไม่ไกลถึงหน้าโกร่งไกด้านในสักเท่าไร




----------------------------------




TGOเขา ตบไก ยิงBill Drill ได้ไวประมาณในคลิปนี้..

-------------------------------

(เรียบเรียงโดยใช้ข้อมูลบางส่วนของ BNET)


หมายเหตุ;  เหนี่ยวแบบTGO ก็ต้องกริ๊ปปืนแบบTGOด้วยนะครับ!   TGO กริ๊ปอย่างไร..โปรดติดตามตอนต่อไป!







Free TextEditor





 

Create Date : 06 เมษายน 2554    
Last Update : 7 เมษายน 2554 12:22:53 น.
Counter : 3653 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

SUER
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




เป็นนักกีฬายิงปืนIPSC และเป็นสมาชิก...

1.สมาคมกีฬายิงปืนรณยุทธไทย(THPSA) ตั้งแต่ 25 ธ.ค.48-ปัจจุบัน
2.Thailand IPSC Shooting Association (TISA) ตั้งแต่ 10 มกราคม 2553
3.ชมรมกีฬายิงปืนสโมสรข้าราชการศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)
4.NAVAMINDRAJINEE SHOOTING RANGE

การยิงปืน..
1.เรียนยิงปืนพกสั้นเบื่องต้น กับ พล.ต.ท.จารักษ์ แสงทวีป

2.เรียนยิงIPSC กับ คุณเฉลิมชัย บุญคุ้มสวัสดิ์ เป็นหลัก

--

Tanapol Chutmas

Create Your Badge --*
widget free counters
Contact Email: ctanapol@yahoo.com
-- world map hits counter
map counter
Friends' blogs
[Add SUER's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.