สมาคมครูหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

แนวข้อสอบ กพ. ปี 2554

คำสั่ง จงหาตัวเลขถัดไปจากอนุกรมหรือลำดับตัวเลขที่กำหนดให้
ข้อ 1. 1 1 7 9 17 …
1. 25 2. 28 3. 30 4. 33
ข้อ 2. 11 33 99 297 891 …
1. 2,673 2. 2,783 3. 2,571 4. 2,626
ข้อ 3. 3 4 5 12 21 38 …
1. 55 2. 59 3. 68 4. 71
ข้อ 4. 1 3 5 7 10 13 13 17 21 …
1. 17 2. 19 3. 25 4. 27
ข้อ 5. 33 67 136 275 554 ......
1. 1113 2. 1442 3. 1667 4. 1699

คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ข้อ 6. 10 3 7 12 5 7 14 …
1. 6 2. 7 3. 9 4. 11
ข้อ 7. ปีนี้ ก. อายุมากกว่า ข . อยู่ 5 ปี อีก 2 ปี ข้างหน้าอายุของ ก .จะเป็น 2 เท่าของ ข .อยากทราบว่าปีนี้ ก.
อายุเท่าไร
1. 6 ปี 2. 8 ปี 3. 10 ปี 4. 12 ปี
ข้อ 8. พ่อค้าติดราคาสินค้าไว้สูงกว่าต้นทุน 50% แต่ลดราคาให้แก่ผู้ซื้อ 20% ของราคาที่ติดไว้ หากขายสินค้าดังกล่าวได้ พ่อค้าจะได้กำไรกี่ %
1. 30% 2. 25% 3. 20% 4. 18%
ข้อ 9. บริษัทแห่งหนึ่งมีพนักงาน 30 คน เมื่อถึงวันปีใหม่ทุกคนจะต้องส่งบัตรอวยพรให้แก่กันและกัน อยากทราบว่าจะมีบัตรอวยพรรวมทั้งสิ้นกี่ใบ
1. 870 ใบ 2. 900 ใบ 3. 920 ใบ 4.960 ใบ
ข้อ 10. ถ้ารัศมีของวงกลมเพิ่มขึ้น 40% อยากทราบว่าพื้นที่ของวงกลมเพิ่มขึ้นกี่%
1. 40% 2. 80% 3. 96% 4. 125%
ข้อ 11. ถ้ารัศมีของวงกลมลดลง 20% อยากทราบว่าพื้นที่ของวงกลมลดลงกี่%
1. 20% 2. 36% 3. 44% 4. 64%
ข้อ 12. แบบทดสอบคณิตศาสตร์ชุดหนึ่งมี 10 ข้อ ถ้าทำถูกจะได้ข้อละ 10 คะแนน ถ้าทำผิดจะถูกหักออกข้อละ 3 คะแนน นายเปรมศักดิ์ ณ คลองประปา ทำข้อสอบทุกข้อได้คะแนน 61 คะแนน อยากทราบว่าเขาทำข้อสอบดังกล่าวถูกมากกว่าผิดอยู่กี่ข้อ
1. 3 ข้อ 2. 4 ข้อ 3. 5 ข้อ 4. 6 ข้อ
ข้อ 13. แอลกอฮอล์เข้มข้น 50% จำนวน 5 ลิตร ผสมกับแอลกอฮอล์เข้มข้น 30% จำนวน 15 ลิตร จะได้แอลกอฮอล์ผสมใหม่เข้มข้นกี่ %
1. 32% 2. 33.5% 3. 35% 4. 38%
ข้อ 14. นางสาวพิมพ์นภา ณ คลองแสนแสบขับรถจากกรุงเทพฯ ไปชลบุรี ขาไปขับด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขากลับขับรถกลับเส้นทางเดิมด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จงหาความเร็วเฉลี่ยของการขับรถขับรถไป-กลับ กรุงเทพฯ – ชลบุรีในครั้งนี้
1. 94 กม./ชม. 2. 96 กม./ชม. 3. 100 กม./ชม. 4. 108 กม./ชม.
ข้อ 15. คนงาน 7 คน ขุดบ่อ 15 บ่อใช้เวลา 2 วัน ถ้าใช้คนงาน 4 คน ขุดบ่อในเวลา 7 วัน จะขุดได้กี่บ่อ
1. 30 บ่อ 2. 32 บ่อ 3.35 บ่อ 4. 40 บ่อ
ข้อ 16. เกษตรกรเลี้ยงหมูเพื่อจำหน่ายใช้เวลา 1 ปี โดยหมูจะขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ 4 เดือน และจะขายหมูไปทุก 4 เดือนต่อครั้งๆ ละ 24 ตัว โดยในการขายครั้งสุดท้ายปรากฏว่าขายหมูหมดพอดี จงหาว่าเกษตรกรเริ่มเลี้ยงหมูครั้งแรกกี่ตัว
1. 21 ตัว 2. 23 ตัว 3. 24 ตัว 4. 26 ตัว
ข้อ 17. กำหนดให้ 3 * 4 = 25 และ 2 * 3 = 13 แล้ว 2 * (3 * 4) = ?
1. 452 2. 574 3. 629 4. 742
ข้อ 18. กำหนดให้ 9 * 7 = 30 และ 4 * 5 = 19 แล้ว 8 * 6 = ?
1. 20 2. 22 3. 24 4. 26
ข้อ 19. ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2 ห้องพบว่า ห้อง ก. มีนักเรียน 40 คน สอบได้คะแนนเฉลี่ย 70 คะแนน ห้อง ข. มีนักเรียน 45 คน สอบได้คะแนนเฉลี่ย 60 คะแนน อยากทราบว่านักเรียนทั้ง 2 ห้องสอบได้คะแนนเฉลี่ยเท่าใด (โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนนเท่ากัน)
1. 63.5 คะแนน 2. 64 คะแนน 3. 65 คะแนน 4. 66.5 คะแนน
ข้อ 20. ทีมบาสเกตบอลทีมหนึ่งแข่งขันมาแล้ว 60 ครั้ง ชนะ 40 ครั้ง แต่ยังเหลือการแข่งขันอีก 32 ครั้ง ทีมนี้จะต้องชนะอีกกี่ครั้ง จึงจะถือว่ามีสถิติชนะการแข่งขัน 75% ของการแข่งขันทั้งหมด
1. 26 ครั้ง 2. 29 ครั้ง 3. 30 ครั้ง 4. 31 ครั้ง



คำสั่ง พิจารณาข้อมูลที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามแต่ละข้อที่ถามมา
ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรแยกตามภาค (หน่วย : ตัน)
ปี 2540 ปี 2541 ปี 2542
1. ภาคเหนือ 142,111 130,148 154,987
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 198,470 169,401 240,084
3. ภาคกลาง 427,356 401,928 480,757
4. ภาคใต้ 126,598 141,026 176,213

ข้อ 21. โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี เกษตรกรในภาคใดที่ใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณต่ำสุด
1. ภาคเหนือ 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ภาคกลาง 4. ภาคใต้
ข้อ 22. ในช่วงปี 2540 – 2542 ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าภา คใต้ คิดเป็นร้อยละเท่าใด
1. ร้อยละ 27 2. ร้อยละ 30 3. ร้อยละ 37 4. ร้อยละ 45
ข้อ 23. ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีรวมทุกภาคในปี 2542 สูงกว่าปี 2541 กี่เปอร์เซ็นต์
1. 20% 2. 25% 3. 30% 4. 35%
ข้อ 24. ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของภาคกลางเมื่อปี 2542 สูงกว่าภาคเหนือเมื่อปี 2541 ร้อยละเท่าใ ด
1. ร้อยละ 80 2. ร้อยละ 150 3. ร้อยละ 240 4. ร้อยละ 270
ข้อ 25. จากข้อมูลข้างต้นข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ปุ๋ยเคมีปีละประมาณ 2 แสนตัน
2. ปี 2540 เป็นปีที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีปริมาณต่ำที่สุด
3. ปี 2542 ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีมากกว่าปี 2541 ประมาณ 209,500 ตัน
4. ปี 2541 ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของทุกภาคลดลงจากปี 2540 ยกเว้นภาคใต้







คำสั่ง พิจารณาข้อมูลที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามแต่ละข้อที่ให้มา
ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรแยกเป็นรายปี ตั้งแต่มีการเพาะปลูก 2541/42-2543/44
หน่วย : ตัน
พืช ปี 2541/42 ปี 2542/43 ปี 2543/44 ค่าเฉลี่ย
ข้าว 494,147 439,074 584,561 505,927
- ข้าวนาปี 340,055 269,621 ? ?
- ข้าวนาปรัง 154,092 169,453 ? 170,927
อ้อย 140,101 123,730 138,851 ?
ยาสูบ 28,669 32,528 24,737 28,645
พืชไร่ 20,067 18,743 26,547 21,786
ผักต่างๆ 101,413 98,565 126,229 108,735
ยางพารา 67,091 82,576 89,946 79,872
ปาล์มน้ำมัน 17,444 19,122 ? 21,698
ผลไม้และพืชยืนต้น 25,610 28,165 32,642 28,805
รวมทั้งสิ้น ? ? 1,052,041 929,695

ข้อ 26. ในระหว่างปีการเพาะปลูก 2541/42 – 2543/44 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีกับพืชประเภทข้าวรวมเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละเท่า ใดของปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยทั้งหมด
1. 50.74 2. 54.42 3. 60.18 4. 64.78
ข้อ 27. ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีระหว่างพืชประเภทข้างนาปี กับข้าวนาปรังของปีการเพาะปลูกใด มีอัตราส่วนเท่ากับ 8 : 5
1. ปี 2541/42 2. ปี 2542/43 3. ปี 2543/44 4. ถูกทั้ง 3 ปี
ข้อ 28. ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีกับผลไม้และพืชยืนต้นในปีการเพาะปลูก 2543/44 สูงกว่าปีการเพาะปลูก 2541/42 อยู่ร้อยละเท่าใด
1. ร้อยละ 24 2. ร้อยละ 27 3. ร้อยละ 30 4. ร้อยละ 36
ข้อ 29 ในปีการเพาะปลูก 2542/43 ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของพืชประเภทอ้อยสูงกว่าผักต่างๆ อยู่ร้อยละเท่าใด
1. ร้อยละ 18 2. ร้อยละ 22 3. ร้อยละ 26 4. ร้อยละ 30
ข้อ 30. ในปีการเพาะปลูก 2543/44 เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีกับปาล์มน้ำมันทั้งหมดกี่ตัน
1. 25,136 ตัน 2. 27,636 ตัน 3. 28,528 ตัน 4. 29,274 ตัน


คำสั่ง พิจารณาเงื่อนไขที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามแต่ละข้อตามหลักเกณฑ์การตอบที่กำหนดให้ กำหนดให้เครื่องหมายเป็นดังนี้
= หมายถึง เท่ากับ  หมายถึงไม่เท่ากับ ซึ่งอาจมากกว่าหรือเท่ากับ
> หมายถึง มากกว่า < หมายถึง น้อยกว่า
> หมายถึง ไม่มากกว่า ซึ่งอาจน้อยกว่าหรือเท่ากับ
< หมายถึง ไม่น้อยกว่า ซึ่งอาจมากกว่าหรือเท่ากับ
หลักในการตอบคำถาม
ตอบ 1. ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ 2. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ 3. ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด หรือไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
ตอบ 4. ถ้าข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริง หรือไม่เป็นจริงหรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง
เงื่อนไข ถ้า A > B < C = 2N > M
และ E > C < P > S < T (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
ข้อ 31. ข้อสรุปที่ 1 A > M
ข้อสรุปที่ 2 A = E
ข้อ 32. ข้อสรุปที่ 1 B = N
ข้อสรุปที่ 2 C > T
ข้อ 33. ข้อสรุปที่ 1 3M > 2N
ข้อสรุปที่ 2 E < S
ข้อ 34. ข้อสรุปที่ 1 P > M
ข้อสรุปที่ 2 C < S
ข้อ 35. ข้อสรุปที่ 1 C < S
ข้อสรุปที่ 2 5N > 2T
เงื่อนไข
- มีนักท่องเที่ยว 5 ชาติ คือ จีน สิงคโปร์ เกาหลี คูเวต และมาเลเซีย มาเที่ยวประเทศไทย แต่ละคนต้องการไปชมสถานที่ต่างๆ ซึ่งไม่ซ้ำกัน
- สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนต้องการไป คือ วัดเบญจมบพิตร ตลาดน้ำวัดไทร วัดพระแก้ว ศาลหลักเมือง และพิพิธภัณฑ์ แต่ปรากฎว่ามีนักท่องเที่ยว 4 คน หลงไปที่อื่น คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ และวัดสุทัศน์
- มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปตลาดน้ำ วัดไทรไปถามทางจากนักศึกษาจึงหลงทางไปตลาดน้ำตลิ่งชัน
- มีนักท่องเที่ยวอยู่คนหนึ่ง ไม่ได้ถามทางใครและไม่หลงทาง
- ชาวคูเวตต้องการไปชมหินอ่อนที่วัดเบญจมบพิตร
- ชาวสิงคโปร์ไปถามทางจากคนแต่งชุดสีกากีแล้วหลงทางไปวัดโพธิ์
- คนจีนไม่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์และหลงทางไปวัดอรุณราชวราราม
- ชาวมาเลเชียไปถามทางจากพระจึงหลงทางไปที่อื่น ทั้งๆ ที่จะไปศาลหลักเมือง
- คนที่หลงไปตลาดน้ำตลิ่งชันคือ ชาวเกาหลี
- มีนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
ข้อ 36. ข้อสรุปที่ 1 ชาวจีนไปถามทางจากกระเป๋ารถเมล์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวสิงคโปร์ถามทางจากตำรวจ
ข้อ 37. ข้อสรุปที่ 1 ชาวคูเวดหลงทางไปวัดสุทัศน์
ข้อสรุปที่ 2 ชาวมาเลเชียไม่ได้หลงทาง
ข้อ 38. ข้อสรุปที่ 1 นักศึกษาบอกทางคนเกาหลี
ข้อสรุปที่ 2 ชาวจีนต้องการไปเที่ยววัดพระแก้ว
ข้อ 39. ข้อสรุปที่ 1 คนที่หลงทางไปวัดสุทัศน์คือ คนที่อยากไปวัดเบญจมบพิตร
ข้อสรุปที่ 2 ชาวเกาหลีต้องการไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่าไปเที่ยววัด
ข้อ 40. ข้อสรุปที่ 1 คนที่ต้องการไปพิพิธภัณฑ์กลับหลงทางไปเที่ยววัดโพธิ์
ข้อสรุปที่ 2 กระเป๋ารถเมล์ช่วยบอกทางให้กับคนที่ต้องการไปวัดเบญจมบพิตร
คำสั่ง พิจารณาคำคู่แรกว่าสัมพันธ์กันอย่างไรแล้วหาคำคู่หลังที่มีความ สัมพันธ์เช่นเดียวกัน
ข้อ 41. ขลุ่ย : แตร :: ? : ?
1. พิณ : ไวโอลิน 2. ขิม : กลอง 3. จะเข้ : ระนาด 4. ปี่ : ฆ้อง
ข้อ 42. ลพบุรี : เมืองละโว้ :: ? : ?
1. ญี่ปุ่น : เมืองปลาดิบ 2. แม่ฮ่องสอน : เมืองสามหมอก
3. ลำปาง : เมืองหริภุญชัย 4. ภูเก็ต : เมืองร้อยเกาะ
ข้อ 43. เชียงใหม่ : ลอนดอน :: ? : ?
1. ซิดนีย์ : นิวยอร์ค 2. เกียวโต : ปารีส 3. มะนิลา : เจนีวา 4. เจนีวา : ซิดนีย์
ข้อ 44. ถุงพลาสติก : ใบตอง :: ? : ?
1. ดาวเหนือ : เข็มทิศ 2. เตาถ่าน : เตาไฟฟ้า 3. เครื่องคิดเลข : ลูกคิด 4. เกวียน : รถยนต์
ข้อ 45. รัศมี : เส้นผ่าศูนย์กลาง :: ? : ?
1. ปักษ์ : เดือน 2. ศอก : วา 3. คืบ : เมตร 4. เดือน : ปี


คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ข้อ 46. คนจีนทุกคนเป็นคนขยัน คนขยันทุกคนเป็นคนซื่อสัตย์ คนซื่อสัตย์ทุกคนเป็นคนโอบอ้อมอารี ดังนั้น
1. คนจีนบางคนเป็นคนซื่อสัตย์ 2. คนซื่อสัตย์บางคนเป็นคนโอบอ้อมอารี
3. คนจีนทุกคนเป็นคนโอบอ้อมอารี 4. คนโอบอ้อมอารีทุกคนเป็นคนขยัน
ข้อ 47. ถ้าจัตุรัสเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่รูปนี้ไม่เป็นสี่เหลี่ยม ดังนั้น
1. รูปนี้อาจจะเป็นจัตุรัส 2. รูปนี้ไม่ใช่จัตุรัส
3. รูปนี้อาจจะมีเหลี่ยม 4. รูปนี้เป็นทรงกลม
ข้อ 48. ถ้ารัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน ฉันจะเลิกใช้รถยนต์ ฉันเลิกใช้ รถยนต์ ดังนั้น
1. รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน 2. รัฐบาลไม่ขึ้นราคาน้ำมัน
3. รัฐบาลให้เลิกใช้รถยนต์ 4. สรุปแน่นอนไม่ได้
ข้อ 49. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประช าชนกับรัฐบาล แม้รัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาประเทศไปเป็นจำนวนมากสักเพ ียงใด แต่หากขาดความร่วมมือของประชาชนแล้ว งบประมาณจำนวนมหาศาลดังกล่าวก็แทบจะไม่มีประโยชน์ ดังเช่นในอดีต ประเทศเวียดนามใต้ เมื่อครั้งสงครามเย็น แม้รัฐบาลจะได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อมาจัด สรรงบประมาณมากสักเพียงใด แต่คนประเทศขาดความร่วมมือส่งผลให้การพัฒนาไม่เกิดผล
ข้อความข้างต้นสอดคล้องกับข้อใด
1. ความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว ่างประชาชนกับรัฐบาล
2. ความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างประ ชาชนกับรัฐบาล
3. การขาดความร่วมมือระหว่างประชาชนกับรัฐบาลเป็นสาเหตุของความล้ม เหลวในการพัฒนาประเทศ
4. การขาดความร่วมมือระหว่างประชาชนกับรัฐบาลเป็นสาเหตุของความสำเ ร็จของการพัฒนาประเทศ
ข้อ 50. การพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพจะต้องพัฒนาทั้งระบบ ทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและการพัฒนาขีดความส ามารถในเทคโนโลยี นอกเหนือจากสิ่งอื่นใดในการพัฒนาจะต้องปลูกฝังจิตใจ จิตสำนึกให้แก่บุคลากรในองค์กรนั้นด้วย โดยให้ทุกคนตระหนักเสมอว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ด้วยพนักง านทุกๆ คน
ข้อความข้างต้นสอดคล้องกับข้อใด
1. การพัฒนาชุมชนที่ไม่มีประสิทธิภาพจะไม่พัฒนาทั้งระบบ
2. การพัฒนาชุมชนที่ไม่มีประสิทธิภาพจะพัฒนาทั้งระบบ
3. การพัฒนาชุมชนเพียงบางระบบจะทำให้การพัฒนานั้นไม่มีประสิทธิภาพ
4. การพัฒนาชุมชนเพียงบางระบบจะทำให้การพัฒนานั้นมีประสิทธิภาพ


คำสั่ง พิจารณาเลือกคำหรือกลุ่มคำที่เหมาะสมเติมลงในช่องว่างให้ได้ใจค วามถูกต้องสมบูรณ์
ข้อ 51. น้ำผึ้งเป็น…………ของน้ำหวานจากดอกไม้และจากแหล่งน้ำหวานอื่นๆ
1. เสบียง 2. ผลิตผล 3. อาหารเสริม 4. ผลพลอยได้
ข้อ 52. ผู้ปฏิบัติงานยังไม่เห็นความสำคัญของข้อมูลเบื้องต้น ทั้งๆ ที่สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารที่มี……………..
1. หลักการ 2. คุณภาพ 3. มาตรฐาน 4. ประสิทธิภาพ
ข้อ 53. เวียดนามโชคดีที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มี….……….ในการพั ฒนาได้สูง……………สิ่งที่เวียดนามยังขาดอยู่ในขณะนี้คือ ทุน เทคโนโลยี และความรู้ ความชำนาญในการนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้
1. คุณภาพ เพราะ 2. ศักยภาพ แต่ 3. สมรรถภาพ ทว่า 4. ประสิทธิภาพ ดังนั้น
ข้อ 54. ปากกบคือ รอยมุมของสิ่งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม…………....กันเป็นรอยแบ่งมุมฉา กออกเป็นสองมุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง เป็นต้น
1. เชื่อม 2. ประชิด 3. ประกบ 4. ต่อเนื่อง
ข้อ 55. ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกเห็นความส ำคัญและกำหนดมาตรการ ในการ………..สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการ…………..เทคโนโลยีและเศรษฐกิ จ
1. รักษา ศึกษา 2. ดูแล ปรับปรุง 3. อนุรักษ์ พัฒนา 4. ควบคุม ส่งเสริม
ข้อ 56. การเรียนรู้ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ…………เป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับชีวิต
1. โดยทั่วถึง 2. โดยสม่ำเสมอ 3. โดยเกี่ยวข้อง 4. โดยกว้างขวาง
ข้อ 57. ชีวิตของคนไทยและประเทศไทย…………..กับน้ำและคนไทย…………..ชีวิตอยู่ ได้ด้วยดีตลอดมา
1. ผูกพัน ดำรง 2. เกี่ยวข้อง ของ 3. สัมพันธ์ ดำเนิน 4. เกี่ยวพัน พัฒนา
ข้อ 58. สมปอง……………..กางเกงชุดนอนออกแล้ว เอาเครื่องแบบมาสวมเพื่อไปทำงานใน…………..ที่สองของวันเสาร์
1. ผัด ผลัด 2. ผลัด ผัด 3. ผัด ผัด 4. ผลัด ผลัด
ข้อ 59. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทำให้รถบรรทุก…………….การจราจรและทำให้การเด ินรถ…………..
1. ขัดขวาง ติดขัด 2. กีดขวาง ขัดข้อง 3. ขัดขวาง ขัดข้อง 4. กีดขวาง ติดขัด
ข้อ 60. การทำงานโครงการนี้…………….จะได้รับความร่วมมือประสานงานจากทุกฝ่ ายเป็นอย่างดี……………สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
1. ถึง ก็ 2. หาก จึง 3. แม้ แต่ก็ 4. แม้ว่า แต่ก็ไม่



คำสั่ง พิจารณาเลือกข้อที่ใช้ภาษารัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 61. 1. เป็นธรรมดาของผลไม้มีทั้งรสหวานและรสเปรี้ยว
2. แถวนี้มีบ้านเรือนของคนอยู่เป็นจำนวนมาก
3. เขาชอบดูหนังนอกจากนั้นก็ชอบไปเที่ยวทะเล
4. ปัญหาการจราจรติดขัดต้องได้รับการแก้ไข
ข้อ 62. 1. ราชนาวีไทยทำหน้าที่คุ้มครองน่านน้ำไทย
2. ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พิจารณาว่าจะอนุมัติให้ลาหรือไม่
3. อุดมการณ์สำคัญประการหนึ่ง คือ การให้บริการทางด้านวิชาการแก่สังคม
4. สวนสาธารณะมีความจำเป็นสำหรับประชาชน
ข้อ 63. 1. กระทรวงมหาดไทยชี้แจงว่าข่าวดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริ ง
2. ศูนย์บริการประชาสัมพันธ์เสนอข่าวไม่ทันต่อเหตุการณ์และไม่เห็น ความสำคัญกับประชาชน
3. ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมต่อสังคม
4. รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยต่อนักศึกษา
ข้อ 64. 1. การดูแลรักษาอย่างดีจะทำ ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานได้อย่างมีสมรรถภาพ
2. ผู้ที่จะออมเงินควรศึกษาติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสถานบันการเงินให ้เข้มงวด
3. เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วยให้งานบ้านบางอย่างเสร็จสิ้นในเวลาอันรวดเร ็ว
4. รถนำเที่ยวสมัยใหม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอยู่พร้อมเพรียง
ข้อ 65. 1. นากเป็นสารประกอบระหว่างทองคำและทองแดง
2. ประเทศในกลุ่มอาเซียนสนับสนุนมติของสหประชาชาติ
3. คู่มือการปฏิบัติงานได้ให้บริการแล้ว
4. การตากแดดช่วยปกป้องโรคกระดูกอ่อน
ข้อ 66. 1. ผ้ามัดหมี่ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีแนวทางแจ่มใส
2. ผู้ที่ติดยาเสพติด เป็นพลเมืองที่ไม่มีคุณภาพ
3. ยางพารา เป็นพืชที่ให้ผลประโยชน์มาช้านาน
4. ปัจจุบันอุบัติเหตุจากรถยนต์เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง
ข้อ 67. 1. ระบบการค้าแบบเสรีเอื้ออำนวยกับผู้ประกอบการ
2. สหประชาชาติจึงได้ส่งข้าวสารจำนวนมากไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่ นดินไหว
3. ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร
4. เจ้าหน้าที่ได้แจกสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก



ข้อ 68. 1. การประชุมตามกำหนดข้อบังคับปีละหนึ่งครั้งเรียกว่า การประชุมสามัญ
2. การขุดแร่ที่ถูกวิธีทำให้ได้ปริมาณมากและสูญเสียน้อย
3. ปัจจัยหลายประการทำให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
4. ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยตกต่ำมากก็เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี
ข้อ 69. 1. ศาสตร์ต่างๆ ล้วนให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนรู้ด้วยกันทั้งนั้น
2. นโยบายการคลัง เป็นมาตรการรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล
3. อัตราการตายของทารกตกต่ำแสดงถึงความเจริญทางการแพทย์
4. อาหารมีรสชาติกลมกลืนกันมาก
ข้อ 70. 1. หลักการทำงานที่ขาดความชำนาญทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
2. สตรีเป็นผู้ที่ได้รับการทดแทนในเชิงเศรษฐกิจต่ำ
3. รัฐบาลควรสนับสนุนการวางแผนครอบครัวอย่างรัดกุม
4. ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้เกษตรกรไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธร รม
คำสั่ง ในแต่ละข้อให้พิจารณาคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้และมีตัวอักษร ก, ข หรือ ค กำกับอยู่ แล้วเลือกตอบดังนี้
ตอบ 1. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้ทั้ง 3 กลุ่ม ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ 2. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม ก และ ข ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ 3. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม ก และ ค ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ตอบ 4. ถ้าคำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้เฉพาะกลุ่ม ข และ ค ใช้ได้รัดกุมและถูกต้องตามหลักภาษา
ข้อ 71. กาแฟคือพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในโครงการลดพื้นที่เพาะปลูกตามนโยบา ยการปรับโครงสร้างการผลิตทาง
ก ข
การเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ป ี พ.ศ. 2534

ข้อ 72. ลำไยเป็นผลไม้ที่เหมาะกับอากาศทางภาคเหนือของประเทศ จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ จังหวัด-
ก ข
เชียงราย พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ เบี้ยวเขียว ชมพู อีดอ เป็นต้น

ข้อ 73. รัฐบาลของประเทศมาเลเซียได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาระบบการธนาค ารอิสลามให้สามารถทำ

ธุรกิจตามหลักคำสอนของศาสนา ทั้งยังปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับการธนาคารระหว่าง
ข ค
ประเทศด้วย


ข้อ 74. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 12 ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปกับกลุ่มประเทศ

สมาคมการค้าเสรียุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างให้ทวีปยุโรปเป็นตลาดการค้าเพียงตลา ดเดียว

เพื่อขจัดอุปสรรคด้านการค้าและการลงทุน

ข้อ 75. การเปลี่ยนแปลงทางประชากรเป็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งปัจจัยภายนอกในกลุ่มประชากร

ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเกิด การตาย การย้ายถิ่น เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มี

ผลโดยตรงกับขนาดของประชากร

คำสั่ง พิจารณาข้อความในตัวเลือก 1, 2, 3 และ 4 ว่าข้อความใดเป็นลำดับที่ 1, 2, 3 หรือ 4 แล้วจึงตอบคำถามแต่ละข้อที่กำหนดให้
ข้อ 76. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 2
1. ส่วนเครื่องหมายอัญประกาศปิด
2. ถ้าข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศมีความยาวหลายย่อหน้า
3. ให้ใส่ไว้เฉพาะย่อหน้าสุดท้าย
4. ให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิดไว้ข้างหน้าแต่ละย่อหน้า
ข้อ 77. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
1. ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการสำรวจ
2. การจัดทำทะเบียนแหล่งชุมชนโบราณ
3. ในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนโบราณ
4. และเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนดำเนินงาน
ข้อ 78. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 2
1. และอ่านด้วยวิธีการที่เหมาะสม 2. โดยใช้เวลาแรงงานน้อยที่สุด
3. ผู้อ่านต้องกำหนดเป้าหมายในการอ่าน 4. เพื่อให้ตนเองบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
ข้อ 79. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 2
1. การสอนต้องยึดจุดมุ่งหมายยึดหลักการเป็นแม่บท
2. การสอบที่ดีจะต้องช่วยให้การสอนบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
3. ส่วนการสอบเป็นการติดตามผลการเรียนการสอนเพื่อหาทางแก้ไขข้อบกพ ร่องต่างๆ
4. การสอบเป็นส่วนหนึ่งของการสอน
ข้อ 80. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 4
1. เป็นเหตุให้พืชผลได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง
2. ในอัตราไม่เกินร้อยละ 100 ของพื้นที่เสียหาย
3. จะได้รับความช่วยเหลือพันธุ์พืชอายุสั้นเพื่อนำไปปลูกทดแทน
4. เกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็นผู้ประสบภัยธรรมชาติ
ข้อ 81. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 2
1. และตกเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 2. พายุหมุนในโซนร้อนนับว่าเป็นตัวการสำคัญ
3. ทำให้แผ่นดินได้รับความชุ่มชื้นทั่วไป 4. ที่ทำให้เกิดฝนตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง
ข้อ 82. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
1. ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
2. กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
3. คณะรัฐมนตรีอนุมัติการทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือการท ูต
4. และความตกลงยกเว้นหนังสือเดินทางทูตและราชการกับบราซิลและอาเจน ติน่า
ข้อ 83. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
1. โดยให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำในการจัดตั้งบริษัท
2. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วมถือหุ้นเพื่อดำเนินการ
3. เนื่องจากมีความพร้อมอยู่แล้ว
4. บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด
ข้อ 84. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
1. กำหนดไว้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ชัดเจน
2. มีสอนกันอยู่ทั่วไปไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนา
3. การสอนให้ละเว้นความชั่วและให้ทำความดี
4. แต่การสอนให้ชำระจิตใจให้สะอาดทางพระพุทธศาสนา
ข้อ 85. ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
1. เข้าในจานแม่เหล็กชนิดแข็ง
2. ประเทศไทยได้ทำงานสำคัญเป็นประเทศแรกในโลก
3. เพื่อนำเข้าคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531
4. ที่ได้นำข้อความในพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม



คำสั่ง ให้อ่านและทำความเข้าใจกับบทความหรือข้อความที่กำหนดให้ แล้ตอบคำถามที่ตามมา
ข้อ 86. กรมการค้าภายในเชื่อว่าภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตครั้งนี ้คงจะไม่กระทบกระเทือน ประชาชนผู้บริโภคมากนัก เพราะปริมาณน้ำมันพืชที่มีอยู่ในสต๊อกในขณะนี้ยังมีพอเพียงกับค วามต้องการในประเทศ
ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
1. ปริมาณน้ำมันพืชในอนาคตจะลดลง
2. ความต้องการน้ำมันพืชในประเทศมีไม่มากนัก
3. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำมันพืชกำลังขาดแคลน
4. กรมการค้าภายในมีหน้าที่สำรวจตลาดน้ำมันพืช
ข้อ 87. ประเทศที่มีประชาชนด้อยการศึกษานิยมใช้วิธีเลือกผู้แทนไปอ อกความเห็นในสภาแต่ประเทศที่เจริญที่พลเมืองมีการศึกษานั้นยังน ิยมให้ประชาชนแสดงประชามติตัดสินใจในปัญหาสำคัญ
ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
1. ประเทศที่มีพลเมืองมีการศึกษาจะไม่มีการเลือกผู้แทน
2. ประเทศที่ประชาชนด้อยการศึกษาจะใช้วิธีการแสดงประชามติไม่ได้
3. ในการตัดสินปัญหาบางเรื่องประชามติดีกว่าการให้ผู้แทนออกเสียง
4. พลเมืองที่มีการศึกษาดีจะแสดงความคิดเห็นได้ดีกว่าผู้แทนที่ออก ความคิดเห็นในสภา
ข้อ 88. สาเหตุของการเกิดนิ่วเป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครสามารถบอกได้แน่น อนว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เท่าที่พบพอบอกได้ว่าอะไรบ้างที่อาจจะเป็นสาเหตุส่งเสริมทำให้เ กิดนิ่วได้
ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
1. นิ่วไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดเหตุหนึ่งโดยเฉพาะ
2. สาเหตุของการเกิดนิ่วเท่าที่พบนั้นเป็นสาเหตุที่แท้จริง
3. สาเหตุที่ส่งเสริมทำให้เกิดนิ่วนั้นยังไม่มีใครบอกได้แน่นอน
4. สิ่งที่เป็นสาเหตุส่งเสริมทำให้เกิดนิ่วเสมอ
ข้อ 89. จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
1. แต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่น้อยกว่า 3 คน
2. แต่ละจังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน
3. จังหวัดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้มีเขตเลือกตั้งเดียว
4. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง


ข้อ 90. เท่าที่ผ่านมาในอดีตนั้นหนังสือภาพสำหรับเด็กที่ผลิตและเขียนโด ยคนไทยมีน้อยมากจะมีอยู่บ้างก็เป็นประเภทการ์ตูนซึ่งมีเนื้อหาไ ม่เหมาะสมกับวัยเด็ก
ข้อความข้างต้นตีความได้อย่างไร
1. ในอดีตที่ผ่านมาไม่มีหนังสือการ์ตูนที่เขียนโดยคนไทย
2. หนังสือภาพสำหรับเด็กที่ไม่ใช่การ์ตูนยังไม่เคยมีคนไทยผลิต
3. หนังสือที่ผลิตสำหรับเด็กเรียกว่าหนังสือการ์ตูน
4. คนไทยส่วนใหญ่ผลิตหนังสือภาพสำหรับเด็ก
ข้อ 91. การศึกษาในปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีมีป ระสิทธิภาพ โรงเรียนในปัจจุบันทำหน้าที่แทนครอบครัวซึ่งก็เป็นไปตามสภาพของ เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. ในปัจจุบันการศึกษาทั่วไปกระทำเฉพาะในโรงเรียน
2. แต่เดิมการศึกษากระทำกันในเฉพาะครอบครัว
3. สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีผลกระทบต่อคุณภาพของเยาวชน
4. ปัจจุบันโรงเรียนมีหน้าที่อบรมคนให้เป็นคนดีมีความสามารถ
ข้อ 92. ในภาษาไทยมีคำว่า “บัณฑิตย์” อีกคำหนึ่งแปลว่าความเป็นบัณฑิต คำนี้ไม่ค่อยใช้โดด ในภาษาไทยมักจะใช้กับคำอื่นในรูปของคำสมาส เช่น ราชบัณฑิตยสถาน เนติบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. บัณฑิตย์มักใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับสถานที่
2. บัณฑิต และบัณฑิตย์มีการใช้และความหมายแตกต่างกัน
3. คำที่อ่านว่า บัน-ดิด มักใช้คู่กับคำอื่นในรูปของคำสมาส
4. บัณฑิตใช้โดดๆ ได้ แต่บัณฑิตย์ใช้โดดไม่ได้
ข้อ 93. อาหารบางประเภทไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เช่น ทุเรียน หรือของสด เช่น ปลาสลิด จะมีปัญหาในเรื่องกลิ่น ทำให้สายการบินทั้งในและต่างประเทศพากันลำบากใจในการรับขนส่ง จึงจำเป็นต้องมีเที่ยวบินพิเศษเพื่อรับขนส่งสิ่งเหล่านี้โดยเฉพ าะ
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. อาหารบางประเภทไม่เหมาะกับการขนส่ง
2. การขนส่งอาหารบางประเภทต้องใช้เที่ยวบินพิเศษ
3. การขนส่งอาหารบางประเภทเป็นปัญหาของทุกสายการบิน
4. สายการบินทุกแห่งไม่รับขนส่งอาหารที่มีปัญหาในเรื่องกลิ่น


ข้อ 94. ปัจจุบันคลองต่างๆ หนาแน่นไปด้วยผักตบชวาและวัชพืช รัฐบาลที่ผ่านมาทุกยุคสมัยได้มีการกำจัดแต่ไม่เป็นผล ทำให้สภาพน้ำในคลองต่างๆ เน่าเสียเพราะน้ำไม่ไหลถ่ายเท
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. ผักตบชวาและวัชพืชในลำคลองไม่สามารถกำจัดได้
2. ผักตบชวาและวัชพืชในลำคลองเป็นสาเหตุทำให้สภาพน้ำเน่าเสีย
3. ผักตบชวามีจำนวนมากขึ้นจนไม่สามารถกำจัดได้
4. รัฐบาลไม่สามารถหาวิธีกำจัดผักตบชวา
ข้อ 95. ปรอทวัดไข้จะมีรอยคอดที่หลอดแก้วในส่วนที่อยู่เหนือกระเปาะที่เ ก็บปรอทเพื่อกันมิให้ปรอทขยายตัวออกจากกระเปาะไปแล้วกลับเข้าสู ่กระเปาะได้อีกเมื่อถูกความเย็น นับเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัด อุณหภูมิอื่นๆ
สาระสำคัญของข้อความข้างต้นคือข้อใด
1. เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิไม่ได้ใช้ปรอท
2. เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิไม่มีกระเปาะเก็บปรอท
3. เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิไม่มีรอยคอดที่หลอดแก้วซึ่งอยู ่เหนือกระเปาะ
4. เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิปรอทจะไม่กลับเข้าสู่กระเปาะเม ื่อถูกความร้อน
คำสั่ง อ่านบทความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมา
จังหวัดอ่างทองมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่านสองสาย คือแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทำนา ซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติ ถ้าปีใดฝนตกน้อยหรือมากไป ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวก็จะลดน้อยลงตามความเสียหายที่เกิดขึ้น
ช่วงปี พ.ศ. 2510 – 2518 เป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกันที่ชาวบ้านตำบลบ้านวัดตาล (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบางเสด็จ) อำเภอป่าโมก ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงเสด็จพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ. 2518
ด้วยพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่ทรงดำริให้มีการฝึกฝนอาชีพการปั้นตุ๊กตาชาววังจากดินเหนียวใ ห้แก่กลุ่มแม่บ้าน ให้ทำเป็นงานอดิเรกเพื่อเพิ่มพูนรายได้ และทรงรับเป็นโครงการในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยในปี พ.ศ. 2519 พระองค์ท่านได้ส่งอาจารย์พร้อมวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างมาสอนที่วัด สระแก้ว สอนสัปดาห์ละ 2 วัน แต่เรียนได้เพียง 3 สัปดาห์ ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวเพราะการปั้นตุ๊กตาชาววังถือเป็นศิลปะช ั้นสูง ถ้าเรียนโดยไม่มีการทำพิธียกครูอาจไม่เป็นมงคล ประกอบกับในช่วงเวลานั้นมีลูกเด็กเล็กแดงเจ็บป่วยบ่อยๆ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเสด็จมาทำพิธีครอบครู ซึ่งเป็นพิธีกรรมแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านจึงคล ายความกังวลลงได้
กรรรมวิธีการปั้นตุ๊กตาชาววังมีหลายขั้นตอน เริ่มด้วยการเตรียมดิน ซึ่งช่างปั้นต้องเป็นคนไปหาเอง เพื่อให้ดินเหนียวเหมาะกับงานปั้นตุ๊กตา เมื่อเผาออกมาแล้วจะมีสีแดงสวยงามตามธรรมชาติ ดินที่ได้มานั้นต้องนำมาละลายน้ำและผ่านกรองเอาเศษกรวด เศษหิน ออกให้หมดเสียก่อน จึงจะนำมาปั้นได้
ด้วยฝีมือที่ชำนาญทำให้การปั้นใช้เวลาไม่มาก บางชิ้นส่วน เช่น ศีรษะตุ๊กตาหรือผลไม้ที่มีความละเอียดมากจะใช้แม่พิมพ์ปูนพาสเต อร์ดินเหนียวออกมา ช่วงที่ยากและทำให้ตุ๊กตาเสียหายมากที่สุดคือการเผา เนื่องจากที่นี่ยังใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม จึงต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะอยู่เป็นวันๆ ถ้าเพิ่มความร้อนเร็วหรือช้าจนเกินไปจะทำให้ตัวตุ๊กตาแตกหัก บางทีเผาเสร็จเหลือตุ๊กตาไม่ถึงครึ่ง
ลงท้ายด้วยการระบายสี ที่ต้องมีการรองพื้นด้วยสีโปสเตอร์ขาวก่อนตามด้วยสีน้ำมันขาวอี กที ก่อนจะระบายเสื้อผ้าและวาดหน้าตาได้ แต่ละขั้นตอนมีกระบวนการที่จุกจิก ยุ่งยาก ต้องพิถีพิถัน ทำให้เสียเวลามาก คนทำต้องอดทนและใจเย็น
ตุ๊กตาชาววังนอกจากจะทำตามขั้นตอนตอนข้างต้นแล้ว ยังมีการปั้นอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า การปั้นเหมือนจริง ซึ่งจะมีความละเอียดเหมือนคนจริงๆ มากกว่า สีผิวจะเป็นสีของดินเผาแท้ จะลงสีเฉพาะเสื้อผ้าเท่านั้น ใบหน้าก็จะไม่มีการหล่อพิมพ์ แต่จะใช้อุปกรณ์แกะเป็นหน้าตา ตุ๊กตาแบบนี้จะแพงกว่าแบบแรก เพราะมีกรรมวิธียากกว่ามาก
ข้อ 96. คำว่า “ราชินูปถัมภ์” ในย่อหน้าที่ 3 หมายความว่าอย่างไร
1. ราชินีทรงเกื้อหนุน 2. พระราชทานโดยพระราชินี
3. ราชินีทรงห่วงใย 4. ความกังวลของราชินี
ข้อ 97. ชื่อเรื่องที่เหมาะสมกับบทความข้างต้นคือ
1. อ่างทองดินแดนแห่งความสมบูรณ์ 2. ตุ๊กตาชาววังบางเสด็จ
3. กรรมวิธีการปั้นตุ๊กตาชาววัง 4. ตุ๊กตาชาววังกับรายได้เสริม
ข้อ 98. ขั้นตอนการทำตุ๊กตาชาววังของชาวบ้านตำบลบางเสด็จมีทั้งหมดกี่ขั ้นตอน
1. 2 ขั้นตอน 2. 3 ขั้นตอน 3. 4 ขั้นตอน 4. 5 ขั้นตอน
ข้อ 99. หากจะให้ตุ๊กตาชาววังของชาวบ้านตำบลบางเสด็จมีการจำหน่ายมากขึ้ นควรได้รับการช่วยเหลือในเรื่องใด
1. วิทยาการสมัยใหม่ในการเผา 2. เงินทุนที่มากขึ้นกว่าเดิม
3. การตลาดที่กว้างขวางขึ้น 4. การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
ข้อ 100. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1. ประชาชนในจังหวัดอ่างทองทุกพื้นที่ประสพความสำเร็จในการทำนา
2. การทำตุ๊กตาชาววังของชาวบ้านต้องซื้อดินจากหน่วยราชการ
3. ตุ๊กตาชาววังตำบลบางเสด็จสามารถจำหน่ายได้ในราคาแพงกว่าตุ๊กตาช าววังที่อื่นๆ
4. การปั้นเหมือนจริงเป็นการปั้นตุ๊กตาชาววังแบบหนึ่ง




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2554 19:48:49 น.
Counter : 2262 Pageviews.  

แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป

แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป
เสาะหามาฝากโดย....
พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี(เส่ง สิงห์โตทอง)

1. ประทศไทยมีการปฏิรูปการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
2. การปฏิรูปการปกครอง ยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ คือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
4. การปฏิรูปการปกครองได้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เป็นฉบับที่ 17 มีทั้งหมด 39 มาตรา ให้ไว้ ณ วันที่
1 ตุลาคม 2549 เป็นปีที่ 61 ในรัชกาลปัจจุบัน
6. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน 250 คน อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ฯ
โดยทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
7. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิ์เข้าชื่อเสนอประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียพ้นจากสมาชิกภาพ โดยมติที่ประชุม 2 ใน 3
8. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายซักถามคณะรัฐมนตรีได้
แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจไม่ได้
9. ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) คณะองคมนตรี ประกอบด้วยประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี ประธานองคมนตรี
เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี การพ้นจากตำแหน่งเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
10. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก จำนวนไม่เกิน 35 คน
11. การแต่งตั้งและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ประธาน คมช.เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
12. สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายใน
เวลา 2 ปี ก่อนวันได้รับการคัดเลือก และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติในขณะเดียวกัน
13. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
14. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีสิทธิเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสุงสุด
เรียงลำดับจนครบ 200 คน และเสนอ คมช.คัดเลือกให้เหลือ 100 คน นำทูลเกล้าแต่งตั้ง
15. ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ได้แก่ นายนรนิติ เศรษฐบุตร
รองประธาน สสร. คนที่ 1 ได้แก่ นายเสรี สุวรรณภานนท์
รองประธาน สสร. คนที่ 2 ได้แก่ นายเดโช สวนานนท์
16. ในการร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง จำนวน 25 คน จาก
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญตามมติสภา และผู้ทรงคุณวุฒิตามลักษณะดังกล่าว ตามคำแนะนำของ คมช. อีก 10 คน รวม 35 คน
17. ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายประสงค์ สุ่มศิริ

-2-
18. การสรรหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มโดย
18.1 การสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในแต่ละจังหวัด รวม 3 ประเภท 6 กลุ่ม ได้แก่ (จำนวน 2,000 คน)
18.1.1 ประเภทผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม รวม 4 กลุ่ม
1) ผู้แทนองค์กรด้านการเกษตร 2) ผู้แทนองค์กรด้านการอุตสาหกรรม
3) ผู้แทนองค์กรด้านการบริการ 4) ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิจดทะเบียน
18.1.2 ประเภทผู้แทนภาครัฐ ได้แก่ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
18.1.3 ประเภทผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
18.2 การสรรหาสมาชิกแห่งชาติ โดยผู้แทน ให้เหลือ 200 คน
18.3 เสนอ คมช. พิจารณาแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน
19. สภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องจัดทำและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
20.สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับจากคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
21.ร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติของประชาชน ไม่เร็วกว่า 15 วันและไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่
22.หากสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นชอบ ให้ คมช.ร่วมกับคณะรัฐมนตรี พิจารณารัฐธรรมนูญฯ
ฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แล้วนำทูลเกล้าประกาศใช้
23.บรรดากฎหมายใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นผู้พิจารณาตัดสิน
24.คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 5 คน เป็นตุลาการ
25.คมช. ย่อมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ
26.คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย 1) ประพันธ์ 2) สุเมธ 3) อภิชาต 4) สมชัย 5) สดศรี
โดยมีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต.
27. คมช. แต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
28.รัฐบาลประกาศวาระแห่งชาติ 2 เรื่อง คือ
1) การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
2) การตรวจสอบทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการ
29. นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่เป็นภารกิจสำคัญให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ 4 เรื่อง ดังนี้
1) ประชาธิปไตย 2) เศรษฐกิจพอเพียง 3) อยู่ดีมีสุข 4) สมานฉันท์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
30. ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด 5 เรื่อง
1) เศรษฐกิจพอเพียง 2) ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น 3) การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส
4) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การบริการประชาชน
31. รัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี คนที่ 24 มีทั้งหมด 27 คน รวม นายกฯ 28 คน
32. รัฐบาลชุดนี้ ยึดแนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบาย



- 3 -

33. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ได้แก่ สะพานเชื่อมมุกดาหาร-สวรรค์ณเขต เปิดสะพานวันที่ 20 ธันวาคม 2549
ถนนหมายเลข 9
34. กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 จัดที่ประเทศกาต้า ใช้ชื่อ DOHA 2006 เกมส์
35. เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดที่เมืองกวางเจา ประเทศจีน ปี 2010
36. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน
37. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ นายอารีย์ วงษ์อาริยะ
38. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ
39. ปลัดกระทรวงมหาดไทย คือ นายพงศ์โพยม วาสุภูติ
40. กระทรวงมหาดไทย แบ่งกลุ่มภารกิจงานให้รองปลัดกระทรวงรับผิดชอบ ดังนี้
1.กลุ่มภารกิจบริหาร 2. กลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคง 3.กลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง
4.กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
5.ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
41. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) คือ นายพระนาย สุวรรณรัฐ
42. รัฐบาลกำหนดให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษได้แก่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล สงขลา
43. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คือ
นายสมชาย ชุ่มรัตน์
44. ประเทศไทย เกิดภัยน้ำท่วมทั้งสิ้น 47 จังหวัด
45. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช้ระหว่าง พ.ศ.2550-2554 (ครม.เห็นชอบเมื่อวันอังคารที่ 15 ส.ค.49)
46. วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีสาระ ดังนี้
มุ่งพัฒนาสู่ “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน
เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนอยู่ภายใต้
ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและอยู่ใน
ประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ”
47. พันธกิจ ในการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ” ภายใต้แนวปฏิบัติของ
“ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” ดังนี้
1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม
3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
4) พัฒนาระบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข
48. เป้าหมาย ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มี 5 ด้าน คือ
1) ด้านการพัฒนาคุณภาพคน 2) ด้านการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน 3) ด้านเศรษฐกิจ
4) ด้านการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 5) ด้านธรรมาภิบาล
-4-
49. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มี ดังนี้
1) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
3) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
4) การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5) การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
50. วัตถุประสงค์ ของการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง
2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยง
5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม
6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
51. นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ฯ) ยึดหลัก 4 ป ในการบริหารประเทศ คือ โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ
52. แนวทางการบริหารงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ 3 ส
: เสมอภาค สุจริต สามัคคี
53. แนวทางการบริหารงานของ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) คือ 5 มุ่ง 3 ต้อง 2 ไม่
5 มุ่ง คือ 1. มุ่งบริหารงาน 2. มุ่งบริหารบุคลากร 3. มุ่งบริการ
4. มุ่งบรรษัทภิบาล 5. มุ่งบูรณาการ
3 ต้อง คือ 1. ต้องโปร่งใส 2. ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน
3. ต้องรักษาเกียรติชื่อเสียงของสถาบัน
2 ไม่ คือ 1. ไม่ก่อปัญหา 2. ไม่ทำให้หมู่คณะแตกแยก
54. นโยบายกระทรวงมหาดไทย มีดังนี้
1) สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
2) ส่งเสริมการใช้แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนา
3) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม
55. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงมหาดไทย “ ใช้หลักคุณธรรมนำการพัฒนา ”
56. ยุทธศาสตร์ของระบบคุณธรรมนำการพัฒนาเพื่อ “ 5 มุ่ง 3 ต้อง 2 ไม่ (บัญญัติ 10 ประการ )” คือ (ของท่านบัญญัติ
จันทน์เสนะ รมช.มท.)
1) มีแผนงานที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันที
2) การสานต่อในสิ่งที่ดีมีประโยชน์
3) การพัฒนางานให้เป็นระบบ พัฒนาความคิดให้ทันสมัย
4) กล้าคิดริเริ่ม กล้าทำและกล้ารับผิดชอบ
-5-
5) ทำงานเชิงรุก มองภาพอย่างองค์รวม กว้างไกล
6) ใช้หลักการแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา
7) ทำหน้าที่ต้องไม่รีรอ
8) ทำงานด้วยความโปร่งใส
9) มีความสมัครสมานสามัคคี
10) การทำงานใด ๆ ต้องได้ทั้งงานและน้ำใจ
57. หลักการมีส่วนร่วม 5 ร่วม ได้แก่ ร่วมอยู่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมทุกข์ และร่วมสุข
58. การดำเนินงานของกรมฯ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
1) เศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ดำเนินไปใน “ ทางสายกลาง ”
- ความพอประมาณ - ความพอประมาณ - การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ยึดหลัก “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” ทั้งนี้ต้องอาศัย “ ความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง ”
หลักการพัฒนาชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ ปฏิบัติ และติดตามผล
วิธีการ สร้างชุดปฏิบัติการ (พัฒนากร และผู้นำ อช./อช.)
ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6 ด้านคือ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ ประหยัด การเรียนรู้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การเอื้ออารีย์
2) การแก้ไขปัญหาความายากจน โดยใช้โครงการปฏิบัติการแก้จนแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน
หลักการ - ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง - ประชาชนมีส่วนร่วม
วิธีการ 1. สร้างชุดปฏิบัติการแก้จน (พัฒนากร ผู้นำ อช./อช./ผู้นำสตรี/ผู้นำอาชีพก้าวหน้า)
2. ใช้กระบวนการชุมชนเพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมาย
2.1 คนจนที่มีสมรรถภาพ 2.2 คนจนไร้สมรรถภาพ
3. ปฏิบัติการเคาะประตูบ้านคนจนที่มีสมรรถภาพ เพื่อปฏิบัติการ 4 ท คือ ทัศนะ ทักษะ ทรัพยากร ทางออก
4. ปรับแผนชุมชน
ตัวชี้วัด 1. ครัวเรือนยากจนมีรายได้มากกว่า 1,230 บาท/คน/เดือน
2. ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ข้อ 19 ครัวเรือนมีความอบอุ่น
3. ผ่านเกณฑ์ จปฐ. อย่างน้อย 70 % ของตัวชี้วัดทั้งหมดอย่างน้อย 26 ข้อ จากทั้งหมด 37 ข้อ
4. ครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
5. ครัวเรือนยากจนยากจนมีความพึงพอใจในการดำรงชีวิตตามแนวคิด 3 พ คือ เศรษฐกิจพอเพียง
ความสุขพอเพียง ครอบครัวอบอุ่นพอเพียง
6. ใช้กระบวนการแผนชุมชนในการแก้ปัญหาความยากจน
3) การพัฒนาประชาธิปไตย หลักการ ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง
วิธีการ 1. พัฒนาทีมวิทยากรจังหวัด ๆ ละ 5 คน
2. จัดทำกรณีศึกษา แล้วใช้ประกอบการส่งเสริมการเรียนรู้
4) การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
หลักการ 1. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 2. ยึดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
-6-
วิธีการ 1. จัดทีมตำบลสานสัมพันธ์
2. จัดทำแผนชุมชน สอดคล้องกับสถานการณ์
3. จัดกิจกรรมทางเลือกด้านเศรษฐกิจชุมชนและทรัพยากรมนุษย์
59. จริยธรรมนักพัฒนา
ทุติยปาปริกสูตร หลักคุณลักษณะ 3 ประการ
1. จักขุมา การมีปัญญามองการณ์ไกล
2. วิชูโร การจัดการธุระได้ดี มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
3. วิสสุกรรมปันโน การพึ่งพาอาศัยคนอื่นได้
หลักพละ 4 ประการ ที่นักพัฒนาควรนำไปใช้มาก คือ
1. ปัญญาพละ กำลังความรู้หรือความฉลาด
2. วิริยพละ กำลังแห่งความเพียร
3. อนวัชชพละ กำลังการทำงานที่ไม่มีโทษหรือความสุจริต
4. สังคหพละ กำลังการสังเคราะห์หรือมนุษย์สัมพันธ์
อคติ 4 ประการ คือ
1. ฉันทาคติ ความลำเอียงเพราะชอบ
2. โทสาคติ ความลำเอียงเพราะชั่ว
3. โมหะคติ ความลำเอียงเพราะหลง
4. ภยาคติ ความลำเอียงเพราะกลัว
สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ
1. ทาน คือ การให้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา คือ ทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตตา คือ การปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวสม่ำเสมอ
พรหมวิหาร 4 ประการ คือ
1. เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
2. กรุณา ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข
4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง การวางเฉย
60. HR Scorecard เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมรรถนะระบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการที่สำนักงาน ก.พ. ได้นำมา
ประยุกต์ใช้ในการติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ
61. Fix it Center คือศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ระหว่าง 15 ส.ค. - 14 ต.ค.48 จำนวน 2,000 หมู่บ้าน
ระยะที่ 2 ระหว่าง 15 ต.ค.48 - 14 ก.พ.49 จำนวน 18,000 หมู่บ้าน
เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การ
-7-
มหาชน), กรมการพัฒนาชุมชน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ โดยยึดข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค.)
62. ระบบธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วย
1. หลักนิติธรรม 2. หลักคุณธรรม 3. หลักการมีส่วนร่วม 4. หลักความโปร่งใส
5. หลักความคุ้มค่า 6. หลักความรับผิดชอบ
63. Best Practice คือ การปรับปรุงงาน โดยวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง แล้วผลจากการศึกษาเปรียบเทียบดีเด่น
สามารถนำเผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์ก่อองค์การต่าง ๆ ในการนำไปเปรียบเทียบและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง
ได้ หรือ “ การศึกษาจากวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ”
64. Benchmarking คือ “ การเปรียบเทียบกระบวนการ หรือวิธีการปฏิบัติกับผู้ที่ทำได้ดีกว่า ” ซึ่งเป็นเครื่องมือของผู้บริหาร
ที่จะช่วยกำกับการปรับปรุงหรือพัฒนาผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการทำงานแก้ปัญหาขององค์การ
มี 10 ขั้นตอน ดังนี้
1. การคัดเลือกกระบวนการ 2. การเตรียมความพร้อมของทีม
3. การแยกแยะ/กำหนดองค์การหรือผู้ที่จะมาเป็น Partner 4. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
5. การวิเคราะห์ช่องว่างและจุดแข็งขององค์การ 6. ศึกษาสิ่งที่ค้นพบให้ลึกและกว้าง
7. การสื่อสารสิ่งที่ค้นพบและพร้อมรับฟัง 8. กำหนดเป้าหมาย
9. การพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติการ 10. การพัฒนาและทบทวนอย่างต่อเนื่อง
65. ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้แก่ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ โดยมี
นายศราวุธ เมนะเศวต เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ ปปช.
กรรมการประกอบด้วย นายกล้าณรงค์ จันทึก นายใจเด็ด พรไชยา นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ศจ.ภักดี โพธิศิริ
นายวิชัย วิวิตเสรี นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล
66. คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 30 ลง
วันที่ 30 ก.ย.49 มีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธานกรรมการ นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นเลขาธิการ คตส.
นายสัก กอแสงเรือง เป็นโฆษก คตส.
67. คตส. ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนการทุจริตใน 3 เรื่อง คือ
1. การจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000
2. การทุจริตงานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. การทุจริตการจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตร
68. เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้แก่
นายสุริยะใส กตะศิลา.
69. HR Scorecard คือการพัฒนาสมรรถนะระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล
70. Competency คือ สมรรถนะของบุคคล
71. CSFs ย่อมาจาก Critical Success Factors คือปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของการบริหารงาน
72. Result Based Management คือการบริหารงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

-8-
73. Knowledge Worker คือ องค์ความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดย คน พช. ต้องมีภูมิสาม คือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน
โดย 1. ลุ่มลึกในหลักการ 2. ยืดหยุ่นในวิธีการ 3. อ่อนตัวตามเหตุการณ์
4. สนองตอบสถานการณ์ 5. มุ่งมั่นสู่จุดหมาย 6. จุดประกายพัฒนาชุมชน
74. โปรแกรม Skype (สไคพ์) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สามารถสนทนาแบบ Online ที่สามารถมองเห็นและได้ยิน
คู่สนทนาเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน
75. กษัตริย์ภูฎาน ทรงประกาศสละราชสมบัติ เจ้าชายจิกมี ขึ้นครองราชย์แทน
76. กรมการพัฒนาชุมชน จะย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการ ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งวัฒนะ กลางปี 2551
77. ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมสำหรับพระราชา มีดังนี้
1. ทานัง.....การให้ 2. สีลัง......การปฏิบัติเพื่อให้เกิดภาวะปกติ
3. ปะริจจาคัง.....การให้ทางจิตใจ 4. อาชชะวัง.....ความซื่อตรง
5. มัททะวัง.....อ่อนโยน 6. กะปัง.....ความวิริยะ
7. อักโกธัง.....ไม่โกรธ 8. อะวิหิงสา......ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
9. ขันติ.....อดทน 10. อะวิโรธะนัง.....ความถูกต้อง
78. วินัย 4 ประการ สู่ความสำเร็จ
วินัยที่ 1 มุ่งเน้นกับสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
วินัยที่ 2 สร้างตารางคะแนนที่ทรงพลัง
วินัยที่ 3 เปลี่ยนเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นการกระทำที่ชัดเจน
วินัยที่ 4 สร้างความรับผิดชอบต่อผลงานตลอดเวลา
79. ปี 2549 กรมการพัฒนาชุมชน มีอายุครบ 44 ปี (1 ต.ค.49)
80. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีจำนวน 5 คน วาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี (เพียงวาระเดียว)
คุณสมบัติ 1. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันเสนอชื่อ 2. การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
81. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตรงกับแผนมหาดไทยแม่บท ฉบับที่ 8
82. สุขาภิบาล ไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
83. ก.พ.ร. ย่อมาจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
84. อำเภอ เป็นหน่วยงานที่ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
85. ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ปฏิบัติงานแทน ในลักษณะปฏิบัติราชการแทน
(กรณีผู้ว่าราชการจังหวัด ยังปฏิบัติงานอยู่)
86. พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผลใช้บังคับปี พ.ศ.2542
87. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 36 คน ประกอบด้วย
1. ภาคราชการ 12 คน 2. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 คน 3. ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน
คุณสมบัติ อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
88. ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้ ปี 2544
รัฐฯต้องจัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่น มีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ปี 2549 รัฐฯต้องจัดสรรงบประมาณให้กับ
ท้องถิ่น มีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35
-9-
89. ปี 2549 ประเทศไทยพบปัญหาวิกฤตสำคัญที่ต้องรีบแก้ไขเร่งด่วน คือเรื่อง สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
90. ระบบ Call Center คือ ระบบโทรศัพท์ตอบ-รับ อัตโนมัติ
91. ระบบบริหารราชการปัจจุบัน มุ่งการบริหารรูปแบบ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
92. ตามระเบียบฯ งานสารบรรณ การลงรับหนังสือถือปฏิบัติคือประทับตราลงรับมุมบนด้านขวา 93. E-mail หมายถึง การส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์
94. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ใช้ KPI ป็นตัวชี้วัด
95. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ใช้ในช่วง พ.ศ. 2545-2549
96. ต้นไม้ประจำชาติ คือ ต้นราชพฤกษ์
97. วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
98. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 ประกอบด้วย
1. ปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
2. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหาราชการแผ่นดิน
3. รื้อปรับระบบการเงินและงบประมาณ
4. สร้างระบบการบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
5. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่
6. เสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย
7. เปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
99. การบริหารงานราชการยุคใหม่ ยึด
1. นำนโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy Needs)
2. ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Needs)
3. มาตรฐานการดำเนินงานเทียบเท่าสากล (Bussiness Needs)
100. กระบวนการบริหารงานราชการยุคใหม่ ประกอบด้วย
1. ศึกษา วิเคราะห์ ในนโยบาย/ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/มาตรฐานการดำเนินงาน
2. หาความต้องการ
3. จัดทำ SWOT




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 14:57:27 น.
Counter : 2179 Pageviews.  

รวมแนวข้อสอบ ภาค ก ของ ก.พ. เยี่ยมมากด่วน!!!

รวมแนวข้อสอบ วิชาภาษาไทย
//www.mk-job.com/thread-700-1-1.html

ติวสอบก.พ. ภาค ก เป็น คลิปวีดีโอครับ มีคนใจดีเอามาแจก
//www.mk-job.com/thread-832-1-1.html

ตัวอย่างข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์
//www.mk-job.com/thread-1438-1-1.html

แนวข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปจำนวน 600 หน้า
//www.mk-job.com/thread-41-1-1.html

โจทย์แบบฝึกหัดอนุกรม พร้อมเฉลย
//www.mk-job.com/thread-299-1-1.html

เทคนิคการทำข้อสอบเงื่อนไขทางภาษา
//www.mk-job.com/thread-471-1-1.html

เเนวข้อสอบ ภาค ก ก.พ. (ป.ตรี) ระดับปฏิบัติการ
//www.mk-job.com/thread-252-1-1.html

รวมแนวข้อสอบอนุกรม
//www.mk-job.com/thread-699-1-1.html

ปัดฝุ่นวิชาคณิตศาสตร์ทั่วไป
//www.mk-job.com/thread-276-1-1.html

ข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป
//www.mk-job.com/thread-702-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 2 (ภาษาไทย)
//www.mk-job.com/thread-2593-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 6 (การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจากบทความ)
//www.mk-job.com/thread-2606-1-1.html

แนวข้อสอบภาษาไทย ตอนที่ 1
//www.mk-job.com/thread-2619-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 1 (อนุกรม)
//www.mk-job.com/thread-2592-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 3 (ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์)
//www.mk-job.com/thread-2600-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 7 (แบบทดสอบด้วยตนเอง)
//www.mk-job.com/thread-2617-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 4 (เงื่อนไขทางสัญลักษณ์)
//www.mk-job.com/thread-2604-1-1.html

ข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ชุดที่ 5 (เงื่อนไขทางภาษา)
//www.mk-job.com/thread-2605-1-1.html

แนวข้อสอบ ภาค ก. ( แนวข้อสอบความรู้ทั่วไป )
//www.mk-job.com/thread-834-1-1.html




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 14:56:22 น.
Counter : 19952 Pageviews.  

ฟรีตัวอย่างแนวข้อสอบ ก.พ.ภาค ก

ฟรีตัวอย่างแนวข้อสอบ ก.พ.ภาค ก
11-08-2009 Views: 7373
ฟรีตัวอย่างแนวข้อสอบ ก.พ.ภาค ก

คลิกโหลดได้เลยจ้า


//www.powerbraingroup.com/data/test kp.pdf




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 14:53:57 น.
Counter : 1326 Pageviews.  

เรื่องความสามารถด้านภาษา

บทความสั้น ดูกลุ่มคำที่สำคัญดังนี้
1. ถามประโยคสำคัญดูคำต่อไปนี้ ทำให้ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดจาก บรรลุผล สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้ (ทำให้ + ประโยคสำคัญ) กรณีที่บทความสั้นมีคำกริยาสำคัญอยู่หลายคำที่ซ้ำกันให้ดูกริยาตัวสุดท้าย เช่นถ้ามีคำว่าทำให้อยู่หลายตัว ให้ดูคำว่าทำให้ตัวสุดท้าย (ถ้าในบทความมีคำว่า “เพราะ” มากกว่าหนึ่งคำให้ดูคำว่า “เพราะ” ตัวแรก ถ้ามีคำว่า “ทำให้” หรือกริยาสำคัญตามข้อ 1 นี้ ให้ดูคำว่า ”ทำให้” หรือ กริยาสำคัญ ตัวสุดท้าย ถ้ามีคำว่า ”เพราะ” และคำว่า “ทำให้” อยู่ในบทความเดียวกันให้ดูคำว่า “ทำให้” หลังคำพวกนี้คือคำตอบ
2. ถามจุดประสงค์ของบทความดูคำต่อไปนี้ เพื่อ สำหรับ (เพื่อ + จุดประสงค์) คำว่า เพี่อ หรือ สำหรับ ถ้าอยู่ท้ายประโยคจะสำคัญ และสามารถนำประโยคที่อยู่ท้ายคำว่าเพื่อมาตอบได้

3. เปลี่ยน เปลี่ยนเป็น แทน กลาย กลายเป็น แทนที่ ให้ความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งสู่สิ่งหนึ่ง ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วยและคำนามสำคัญจะอยู่หลังคำกลุ่มนี้ การตอบให้มีคำนามตัวนี้ด้วยเช่นกัน

4. ถ้าในบทความมีคำว่าจำเป็นหรือคำว่าไม่จำเป็น ข้อที่ถูกอาจบอกว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ รวมทั้งคำว่า

เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ข้อที่ถูกจะมีคำว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

5. ถ้า หาก ให้ความหมายเป็นประโยคเงื่อนไข (ถ้า + ประโยคเงื่อนไข) พิจารณาข้อเลือกมีคำกลุ่มนี้หรือไม่

- ไม่มีคำกลุ่มนี้ ถือว่าข้อความนั้นเป็นเพียงส่วนขยายให้ตัดออก

- มีคำกลุ่มนี้การตอบให้เน้นเงื่อนไขในบทความ

- ถ้ามีคำว่า “ ถ้า “ “ หาก” อยู่ในบทความ ถ้าในข้อเลือกมีคำพวกนี้อยู่ด้วยให้ตอบข้อนั้นได้เลย แต่ถ้าไม่มีคำว่า “ถ้า “ “หาก” อยู่ในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อเลือกนั้นผิดทันที

6. น้อยกว่า มากกว่า ต่ำกว่า สูงกว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่า) ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วย หากมีคำเปรียบเทียบมากกว่า 1 ข้อเลือก พิจารณาว่าบทความเป็นการเปรียบเทียบเรื่องใด และจะต้องเป็นเรื่องเดียวกับข้อเลือกที่ถูกต้อง หากไม่มีในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อนั้นผิดทันที

7. ทั้งหมด ทั้งสิ้น สิ่งแรก สิ่งเดียว อันเดียว เท่านั้น ที่สุด ยกเว้น นอกจาก เว้นแต่ (กลุ่มคำที่เพื่อต้องการเน้นปริมาณทั้งหมด) หากบทความมีคำกลุ่มนี้ ในตัวเลือกที่ถูกต้องจะต้องมีคำกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน หากบทความไม่มีคำกลุ่มนี้ แต่ในข้อเลือกกลับมีคำกลุ่มนี้ถือว่าข้อเลือกนั้นผิดทันที (อย่าตอบข้อเลือกที่เน้นเจาะจง ถ้าในบทความไม่มี เช่น ที่สุด เฉพาะ เท่านั้น

8. เพราะ เนื่องจาก (เพราะ + ประโยคเหตุผล) เน้นการเปลี่ยนประโยคจากเพราะ เนื่องจาก เป็นประโยคทำให้ ข้อสอบเน้นการตอบประโยคสาเหตุ + นามสำคัญ (ประธาน) ถ้าบทความมีความว่าเพราะอยู่หลายที่ ให้ดูคำว่าเพราะตัวที่หนึ่ง ถ้าบทความมีคำว่าเพราะและกริยาสำคัญเช่นคำว่าทำให้ ให้ดูที่คำว่าทำให้

9. ตระหนัก คำนึง (ตระหนัก + ถึง คำนึง + ถึง) นามที่อยู่ข้างหลังตระหนัก + ถึง จะต้องเป็นนามสำคัญรองจากประธาน และคำนามนี้จะต้องอยู่ในข้อเลือกที่ถูกต้อง

10. แต่ ทั้ง ๆ ที่ อย่างไรก็ตาม แม้…..แต่ ไม่…….แต่ (แต่ + ประโยคขัดแย้ง) ถ้าเป็นบทความสั้น แต่ + ประโยคสำคัญ ถ้าเป็นบทความยาว แต่ + ใกล้ประโยคสำคัญ

11. ถามหาทรรศนะผู้เขียน ดูคำว่า ควร ควรจะ อาจ อาจจะ น่า น่าจะ คิด คิดว่า คาด คาดว่า

เชื่อว่า แนะ เสนอ ศักยภาพ เสนอแนะ แนะนำ ความสามารถ ใช้กับข้อสอบที่ถามว่า ผู้เขียนคิดอย่างไร จุดประสงค์ของผู้เขียน เป้าหมายของผู้เขียน จุดประสงค์ของบทความ ความต้องการของผู้เขียน กลุ่มคำทรรศนะส่วนมากจะวางไว้ท้ายบทความ ท้ายคำกลุ่มนี้ + ประเด็นสำคัญ

12. เปรียบเสมือน เปรียบเหมือน เสมือน ดุจ ประดุจว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบ อุปมา อุปมัย) ข้อสอบจะเน้นบทความเชิงเปรียบเทียบอุปมา อุปมัย เช่นเปรียบเทียบเปลือกไม้กับชนบท ในการตอบให้เอาส่วนท้ายของบทความมาเป็นจุดเน้น

13. ดังนั้น เพราะฉะนั้น จึง ดังนั้น + นามสำคัญ+จึง (ดันนั้น + ข้อสรุป จึง + ข้อสรุป) คำที่อยู่หลังคำกลุ่ม1นี้จะต้องเป็นข้อสรุปของบทความ และสามาถนำเอาคำที่อยู่หลังกลุ่มนี้มาตอบ ส่วนมากจะใช้กับคำถามประเภทสาระสำคัญ ใจความสำคัญ หรือสรุป

14. พบ พบว่า ต้องการ ปรารถนา (พบว่า + นามสำคัญ) คำที่อยู่หลังกลุ่มนี้จะเป็นสาระสำคัญ ส่วนมากแล้วจะพบตอนต้นของบทความ

15. ผลต่อ ผลกระทบ ส่งผลต่อ อิทธิพลต่อ เอื้ออำนวยต่อ (ผลต่อ + นามสำคัญ) คำนามที่อยู่หลังคำกลุ่มนี้จะเป็นนามสำคัญรองจากประธาน พิจารณาว่าในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำนามนี้ พบมากตอนท้ายของบทความ(ถ้ามีคำเหล่านี้อยู่ในคำตอบข้อไหนข้อนั้นมีโอกาสถูก 60%

16. ทั้ง……..และ และ ระหว่าง…….กับ กับ (กลุ่มคำที่มีคำนามสำคัญ 2 ตัว) การตอบข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำนามทั้ง 2 ตัว ข้อสอบส่วนมากจะมีส่วนขยายที่ยาว ให้ตัดส่วนขยายออก และถือว่านามทั้ง 2 ตัวเป็นนามสำคัญ

17. นับว่า ถือว่า เรียกว่า อันนับว่าเป็น ถือได้ว่าเป็น (กลุ่มคำที่วางประธานไว้ท้ายบทความ) คำกลุ่มนี้ + ประธาน (นามสำคัญ) จะวางไว้ตอนท้ายบทความ ในการตอบให้เน้นประธาน หรือนามสำคัญตัวนี้

18. นอกจาก……แล้วยัง……….., นอกจาก…..ยังต้อง…., ไม่เพียงแต่….แล้วยัง….,(กลุ่มคำที่ให้ความหมายนอกเหนือจากที่กล่าวมาหรือมีความหมายหลายอย่าง) การตอบให้ตอบในลักษณะไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว มีหลาย ๆ อย่าง มีทั้งสองอย่าง หรือ การตอบตามโครงสร้างไวยากรณ์ โดยเน้นประโยคหลังคำว่า แล้วยัง ยังต้อง

19. บาง บางสิ่ง บางอย่าง บางประการ ประการหนึ่ง จำนวนที่ไม่ใช่ทั้งหมด (กลุ่มคำเพื่อต้องการเน้นปริมาณไม่ใช่ ทั้งหมด) หากคำเหล่านี้อยู่ในตัวเลือกใด ส่วนมากจะถูกต้อง แต่หากมีคำเหล่านี้หลายตัวเลือกให้พิจารณาคำเหล่านี้ทำหน้าที่ขยายคำนามตัวใดในตัวเลือกต้องขยายคำนามตัวเดียวกัน

20. โดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (กลุ่มคำเพื่อใช้เน้น) หากคำกลุ่มนี้รวมกับคำนามตัวเดียว หมายถึงการเน้นเพื่อใช้ตอบคำถาม แต่ถ้ารวมกับคำนามหลายตัว หมายถึงยกตัวอย่างสามารถตัดออกได้

21. เช่น ได้แก่ อาทิ (กลุ่มคำที่ยกตัวอย่าง) หากมีกลุ่มคำนี้ในบทความหมายถึงตัวอย่างให้ตัดออก แต่บางกรณีที่สามารถตอบตัวอย่างได้ แต่ต้องกล่าวถึงตัวอย่างให้ครบทุกตัว

22. เป็นที่น่าสังเกตว่า สังเกตว่า อย่างไรก็ตาม (กลุ่มคำที่ต้องการเน้นการขึ้นย่อหน้าใหม่(พิเศษ)) ข้อความหรือนามที่อยู่หลังกลุ่มนี้สามารถนำไปตอบได้ ส่วนมากเน้นขึ้นต้นย่อหน้าซึ่งบอกความหมายว่าย่อหน้านั้นเป็นย่อหน้าพิเศษ (มีคำถามซ้อนอยู่)

23. ที่ ซึ่ง อัน เพื่อ ใน โดย ด้วย สำหรับ ของ จาก ตาม (กลุ่มคำนี้เป็นส่วนขยาย) หากกลุ่มคำนี้อยู่กลางประโยคถึงเป็นส่วนขยายสามารถตัดออกได้ แต่มีบางคำเช่น เพื่อ สำหรับ จะต้องพิจารณาตำแหน่งของคำ (ดูข้อ 2)

24. ประธาน+เป็น ,นับเป็น, ถือเป็น, (กลุ่มคำที่ใช้หาประธาน) ใช้เมื่อบทความให้หาประธานแบบง่าย หรือข้อสอบเรียงประโยค โดยส่วนมากแล้วการหาประธานในบทความจะหาได้จากคำนามในข้อเลือกที่ซ้ำ ๆ หรือหาได้จากการกล่าวซ้ำคำนามตัวเดิมในประโยคที่สอง

25. ที่สำคัญอย่างเอาตัวอย่างในบทความมาตอบเด็ดขาด



รูปแบบของข้อสอบบทความสั้น
รูปแบบที่ 1 ประโยคสอดคล้อง ตีความประโยค ไม่สอดคล้อง ตีความไม่ถูกต้อง มีประมาณ 5 ข้อ

รูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องหาประธาน โดยสามารถตีความจากข้อต่าง ๆ ตามข้างบนได้

รูปแบบที่ 2 สรุปใจความสำคัญ หาประธาน ตัดตัวเลือกที่ไม่มีประธาน เหลือไว้เฉพาะที่มีประธานเท่านั้น

อ่านและขีดเส้นใต้คำที่สำคัญข้างต้น ประธาน + คำที่สำคัญ คือคำตอบ

รูปแบบที่ 3 เรื่องย่อย ๆ

1. ข้อความข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด ทำเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 2 (ออกครั้งละ 1 ข้อ)

2. ข้อความข้างต้นผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร หรือจุดประสงค์ของบทความ ทำโดยใช้กลุ่มคำภาษาแสดงทรรศนะ (ข้อ 8) ส่วนมากภาษาแสดงทรรศนะจะแสดงไว้ท้ายบทความ

3. ข้อความข้างต้นกล่าวไว้กี่ประเด็น (ข้อสอบจะตอบ 2 ประเด็นทุกครั้ง)

4. ข้อสอบให้แยกความแตกต่างของคำในพจนานุกรม เช่น เรื่องเม็ด กับเมล็ด

5. ความแตกต่างของคำศัพท์ เช่นให้ความหมายของที่วัด ที่กัลปนา แต่ถามความหมายของธรณีสงฆ์

6. ข้อสอบให้บริบทมาและศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ แล้วถามความหมายของศัพท์โดยการแปลจากบริบทข้างเคียง

7. ข้อสอบให้ความหมายของศัพท์แต่ให้หาคำจำกัดความ

8. การหาประโยคที่มีความหมายหรือโครงสร้างประโยคที่เหมือนกัน

ทฤษฎีบทความยาว

อ่านคำถามก่อนที่จะอ่านบทความ ในขณะที่อ่านให้ขีดเส้นใต้คำนาม คำนามเฉพาะ ตัวเลข หรือคำที่สามารถจดจำง่ายแล้ว

1. ทำการค้นหา

1.1 หากบทความยาวมาก 10 – 12 บรรทัด (3-4ย่อหน้า) ให้ค้นหาคำที่เราขีดเส้นใต้ไว้

1.2 หากบทความยาวพอสมควร 5-6 บรรทัดให้อ่านอย่างคร่าว ๆ เมื่อพบคำที่ขีดเส้นใต้แล้วให้อ่านอย่างจริงจัง

2. ข้อสอบให้ตั้งชื่อเรื่อง

2.1 หาประธานของบทความ โดยดูจากตัวเลือกว่าคำใดที่ซ้ำกันมากที่สุดและคำนามในประโยคแรกของย่อหน้าแรก

2.2 ดูประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า รวมกับประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้ายเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

2.3 นำข้อ 2.1 และ 2.2 มาพิจารณารวมกันอีกครั้ง

3. ข้อสอบถามสาระสำคัญของบทความ

3.1 หาประธาน (ทำเหมือนกับข้อ 2.1)

3.2 หาคำที่สำคัญ (ทำเหมือนบทความสั้น)

4. ข้อสอบถามจุดประสงค์ของผู้เขียน (บทความจะกล่าวเชิงลบ)

4.1 หาสาระสำคัญของบทความ

4.2 เอาสาระสำคัญมาเปลี่ยนแปลงจากเชิงลบให้เป็นเชิงบวก

4.3 บทความอาจจะมีคำว่า เพื่อ สำหรับ วางไว้ท้ายบทความ( เพื่อ สำหรับ ให้บอกจุดประสงค์ของบทความ)

5. เทคนิคกพ




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553    
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 14:52:21 น.
Counter : 969 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

hangclub
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




Friends' blogs
[Add hangclub's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.